ภารกิจของครูในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้


การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตร ๒๕๕๑

กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ครูควรปฏิบัติ  มีดังนี้

.   ศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดจากหลักสูตรสถานศึกษา  สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค เกณฑ์ต่าง ๆ ที่สถานศึกษากำหนด ตลอดจนต้องคำนึงถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  รวมทั้งสมรรถนะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เพื่อนำไปบูรณาการ สอดแทรกในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงธรรมชาติรายวิชา รวมถึงจุดเน้นของสถานศึกษา

                   . จัดทำโครงสร้างรายวิชาและแผนการประเมิน

                         .  วิเคราะห์ตัวชี้วัดในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้แล้วจัดกลุ่มตัวชี้วัดเนื่องจาก การวิเคราะห์ตัวชี้วัดจะช่วยผู้สอนในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาผู้เรียนและประเมินให้ครอบคลุมทุกด้านที่ตัวชี้วัดกำหนด  หากเป็นรายวิชาเพิ่มเติมให้วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ตามที่สถานศึกษากำหนด         

                         .  กำหนดหน่วยการเรียนรู้โดยเลือกมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่สอดคล้องสัมพันธ์กันหรือประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียน ซึ่งอาจจัดเป็นหน่วยเฉพาะวิชา (Subject unit) หรือหน่วย
บูรณาการ
(Integrated unit)
 แต่ละหน่วยการเรียนรู้อาจนำการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์  มาพัฒนาในหน่วยการเรียนรู้ด้วยก็ได้  ในขณะเดียวกันผู้สอนควรวางแผนการประเมินที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ด้วย  กรณีที่ตัวชี้วัดใดปรากฏอยู่หลายหน่วยการเรียนรู้   ควรพัฒนาตัวชี้วัดนั้นในทุกหน่วยการเรียนรู้  ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย  ก่อนบันทึกสรุปผล เพื่อสามารถประเมินผู้เรียนได้อย่างครอบคลุม 

                         .    กำหนดสัดส่วนเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้  ตามโครงสร้างรายวิชา โดยคำนึงถึงความสำคัญของมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้  ในหน่วยการเรียนรู้

                         .    กำหนดภาระงานหรือชิ้นงานหรือกิจกรรมที่เป็นหลักฐานแสดงออกซึ่งความรู้ความสามารถที่สะท้อนตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้  การกำหนดภาระงาน หรือชิ้นงาน อาจมีลักษณะดังนี้

                                      ..    บูรณาการหลายสาระการเรียนรู้และครอบคลุมหลายมาตรฐานการเรียนรู้ หรือหลายตัวชี้วัด         

                                      ..๒ สาระการเรียนรู้เดียวแต่ครอบคลุมหลายมาตรฐานการเรียนรู้  หรือหลายตัวชี้วัด                             

                         .   กำหนดเกณฑ์สำหรับประเมินภาระงาน/ชิ้นงาน/กิจกรรม  โดยใช้เกณฑ์การประเมิน(Rubrics) หรือกำหนดเป็นร้อยละ หรือตามที่สถานศึกษากำหนด 

                         .       สำหรับตัวชี้วัดที่ยังไม่ได้รับการประเมินโดยภาระงาน  ให้เลือกวิธีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม

๓.              ชี้แจงรายละเอียดของการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ วิธีการ เครื่องมือ  ภาระงาน  เกณฑ์  คะแนน ตามแผนการประเมินที่กำหนดไว้          

                   . การจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้  ควรวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็น    ระยะ  ได้แก่ ประเมินวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน  ประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน  และการประเมินความสำเร็จหลังเรียน  โดยมีรายละเอียดดังนี้

                         .     ประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน 

                                      การประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน  เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้   เพื่อตรวจสอบความรู้  ทักษะและความพร้อมด้านต่าง ๆ  ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม  แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุง  ซ่อมเสริม  หรือเตรียมผู้เรียนทุกคน  ให้มีความพร้อมและมีความรู้พื้นฐาน   ซึ่งจะช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี   แต่จะไม่นำผลการประเมินนี้ไปใช้ในการพิจารณาตัดสินผลการเรียน  มีแนวปฏิบัติดังนี้

                                      ๔.๑.     วิเคราะห์ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานของเรื่องที่จะเรียนรู้

                                      ๔.๑.    เลือกวิธีการและเครื่องมือสำหรับประเมินความรู้และทักษะพื้นฐาน                   อย่างเหมาะสม  เช่น การใช้แบบทดสอบ  การซักถามผู้เรียน การสอบถามผู้สอน การพิจารณาผลการเรียนเดิมหรือพิจารณาแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ที่ผ่านมา  เป็นต้น

                                      ๔.๑.   ดำเนินการประเมินความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียน

                                      ๔.๑.  นำผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียน เช่น จัดการเรียนรู้พื้นฐานสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และเตรียมแผนจัดการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ  เป็นต้น

                         .    การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน 

                                      การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน  เป็นการประเมินที่มุ่งตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนในการบรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัด  ผลการเรียนรู้  ตามหน่วยการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้วางแผนไว้   เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศไปพัฒนา  ปรับปรุง  แก้ไขข้อบกพร่อง  และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและเกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ   นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน   การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียนที่ดำเนินการอย่างถูกหลักวิชาและต่อเนื่องจะให้ผลการประเมินที่สะท้อนความก้าวหน้าในการเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียนอย่างถูกต้อง  น่าเชื่อถือ  โดยผู้สอนเลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติวิธีการประเมินที่เหมาะสม  สำหรับการประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน  ได้แก่  การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นผลจากการเรียนรู้  ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลได้หลากหลาย ดังนี้

                      ๔..         เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ เช่น การประเมินด้วยการสังเกต  การซักถาม  การตรวจแบบฝึกหัด   การประเมินตามสภาพจริง  การประเมินการปฏิบัติ  เป็นต้น  

..  สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการประเมิน
ที่กำหนด

                                      ..   ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                                      ..   นำผลไปพัฒนาผู้เรียน

                         .   การประเมินความสำเร็จหลังเรียน 

                                      การประเมินความสำเร็จหลังเรียน  เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียน ใน ๒  ลักษณะ คือ

      ..   การประเมินเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้  เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วย                การเรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว  เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้   พัฒนาการของผู้เรียนเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน ทำให้สามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน  และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสำเร็จภายหลังการเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไข วิธีการเรียนของผู้เรียน  การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน  หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้

                                         การประเมินความสำเร็จหลังเรียนนี้  จะสอดคล้องกับการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน หากใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินชุดเดียวกันหรือคู่ขนานกัน  เพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนได้ชัดเจน        

                      ..   การประเมินปลายปี/ปลายภาค  เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้  และใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุงแก้ไข  ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินตัวชี้วัด  การประเมินปลายปี/ปลายภาคสามารถใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลายและเลือกใช้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด  อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ  หรือประเมินโดยใช้ภาระงานหรือกิจกรรม  โดยมีขั้นตอนหรือวิธีการดังนี้

                                                      ๑) เลือกวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล

                                                      ๒) สร้างเครื่องมือประเมิน

                                                      ๓) ดำเนินการประเมิน

      ๔) นำผลการประเมินไปใช้ตัดสินผลการเรียน  ส่งผลการเรียนซ่อมเสริม  แก้ไขผลการเรียน

สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกระดับชั้น นั้น ผู้สอนที่รับผิดชอบต้องดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการตามบริบท

ที่เหมาะสมของสถานศึกษานั้นๆ  ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด   จึงจะผ่านเกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษา  มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

                   .   ศึกษากิจกรรมและเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามที่คณะกรรมการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษากำหนด

                   . ออกแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามลักษณะของกิจกรรมนั้น 

                   . ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และพัฒนาตามรูปแบบ วิธีการที่กำหนด

                   . เลือกวิธีการ เครื่องมือให้สอดคล้องกับกิจกรรมการประเมินให้เหมาะกับลักษณะของกิจกรรม

                   . สร้างเครื่องมือและกำหนดวิธีการประเมิน 

                   .  ดำเนินการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โดยคำนึงถึงต่อไปนี้

                         .  เวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

                         .ผลการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

                   .  สรุปผลประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   

                   .  ส่งผลการประเมิน

 

 

 
หมายเลขบันทึก: 251356เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ความรู้ครับ ขอบคุณมากครับ

ตามมาดู..ขอบคุณแทนเพื่อนครูทุกคนค่ะ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท