ชุมชนบ้านทุ่งขาม หมู่ที่6 ต.ใหม่พัฒนา อ.เกาะคา จ.ลำปาง


การจัดการความรู้ชุมชน

           การพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและทางสังคมได้ ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการพัฒนา แต่ปัญหามักอยู่ที่การนำความรู้มาใช้ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ขาดการจัดระเบียบและการเห็นคุณค่าหรือยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องและคนในชุมชนเอง ความรู้ชุมชนจึงจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบและการจัดการส่งเสริมให้คนในชุมชนได้นำความรู้ของตนเองออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการกับความรู้สากล เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าเหมาะสมกับท้องถิ่น/ชุมชนของตนเอง

ศบอ.เกาะคา ได้ดำเนินการจัดการความรู้ชุมชนบ้านทุ่งขาม หมู่6 ต.ใหม่พัฒนา โดยได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ดังนี้

1.การกำหนดความรู้  ศบอ.เกาะคาร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน ชาวบ้าน ภาคี อาทิ อบต.ใหม่พัฒนา รร.บ้านทุ่งขาม วัดบ้านทุ่งขาม เกษตรตำบลใหม่พัฒนา พัฒนาชุมชนอ.เกาะคา   จัดทำแผนชุมชน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและรายครัวเรือน แผนพัฒนาสวัสดิการและสังคม และแผนพัฒนาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการดำเนินการจัดทำแผน โดยเริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน  การกำหนดวิสัยทัศน์  กำหนดค่านิยม กำหนดพันธกิจ กำหนดกลยุทธ์ และกำหนดแผนปฏิบัติการ ในขั้นตอนนี้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดความรู้ในการพัฒนาชุมชนบ้านทุ่งขาม ม.6 โดยได้ผลการเรียนรู้ดังนี้

        1.มีแผนชุมชน โดยมีวิสัยทัศน์ ความว่า "ภายในปี2550 ชุมชนบ้านทุ่งขาม ม.6 มีรายได้ พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้"  มีค่านิยมความว่า "บ้านทุ่งขาม ม.6 ผักปลอดสารพิษ คิดพัฒนา พึ่งพาตนเอง เน้นศิลปวัฒนธรรม" โดยกำหนดพันธกิจ ดังนี้ 1)ให้ประชาชนสร้างและพัฒนาอาชีพ การเลี้ยงปลาในกระชัง การปลูกผักสวนครัว การปลูกพริก การทำสวนลำไย และการทำสวนส้ม 2)ให้ประชาชนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม โดยการดูแลสุขภาพ พัฒนากองทุนหมู่บ้าน แหล่งน้ำและสร้างสะพาน 3)ให้ประชาชนร่วมพัฒนาสังคม อนุรักษ์ และส่งเสริมดอยฮางเป็นสถานที่ท่ิงเที่ยว ส่งเสริมประเพณีและคุณธรรมจริยธรรม

        2.มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและรายครัวเรือน แผนพัฒนาสวัสดิการและสังคม และแผนพัฒนาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

        3.มีแผนปฏิบัติการ โดยกำหนดโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

2.การสร้างความรู้ ความรู้หลายเรื่องเป็นเรื่องใหม่ชวบ้านยังไม่มีประสบการณ์ จำเป็นต้องสร้างใหม่ ยกตัวอย่างเช่นคือความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาในกระชัง ชาวบ้านร่วมกับครู กศน.นำความรู้ ข้อมูลจากภายนอกชุมชน โดยการเชิญวิทยากรท่ี่มีความรู้และประสบการณ์จากภายนอกมาให้ความรู้กับชาวบ้านและชาวบ้านออกไปเสาะหาความรู้จากแหล่งประกอบการและผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยเลือกพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน จากนั้นลงมือปฏิบัติในการเลี้ยงปลา เริ่มตั้งแต่การเลืกแหล่งน้ำ การทำกระชัง การคัดเลือกพันธ์ปลา การเลี้ยงและดูแลปลา ชาวบ้านลงมือปฏิบัติพบปัญหาเกือบทุกขั้นตอน และไ้ด้แก้ไขโดยการปรึกษากับวิทยากร ลองหาวิธีใหม่ด้วยตนเองโดยการปรึกษากันภายในสมาชิกผู้เลี้ยงปลาในหมู่บ้าน จนได้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในชุมชนและพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป

3.การแลกเปลี่ยนความรู้ ศบอ.เกาะคาได้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติและแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มอาชีพทั้ง 5 กลุ่ม คือกลุ่มการเลี้ยงปลาในกระชัง การปลูกผักสวนครัว การปลูกพริก การทำสวนลำไย และการทำสวนส้ม และจัดเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับหมู่บ้าน ยกตัวอย่างเช่น การทำเตาอบพริก สมาชิกที่ปลูกพริกมักประสบกับปัญหาการทำพริกแห้ง ซึ่งผลผลิตของชาวบ้านมักเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝน การทำพริกแห้งต้องอาศัยแสงแดด แต่สมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ในการทำเตาอบ แต่ในชุมชนมีผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศบอ.จึงดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้การทำเตาอบพริกให้แก่สมาชิก  และแลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกพริกโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านจะต่างคนต่างทำการปลูกพริก แลกเปลี่ยนความรู้กันน้อย  ศบอ.เกาะคาจึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งระดับกลุ่มอาชีพและระดับหมู่บ้าน จากการสัมภาษณ์ ผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้าน ทราบว่าชาวบ้านพึงพอใจที่มีความรู้่เพิ่มขึ้น โดยตั้งข้อสังเกตุว่า ชาวบ้านทุ่งขามเป็นผู้ที่มีความรู้มากเกินกว่าที่คิดไว้ บ้างก็บอกว่านึกไม่ถึงว่าคนนี้เก่ง มีความรู้มากกว่าที่คิดไว้

4.การประยุกต์ใช้ความรู้ จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ทุกลุ่มอาชีพนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้การทำเตาอบพริก การทำน้ำส้มควันไม้ สมาชิกวางแผนในการทำเตาอบพริกโดยใช้ไม้สำหรับเผาถ่านเป็นเชื้อเพลิงพร้อมกับออกแบบให้ผลิตน้ำส้มควันไม้ได้ในเวลาเดียวกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25114เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การที่คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการพัฒนาชุมชนของตนเองโดยมีวิสัยทัศน์ของชุมชนที่เกิดจากการที่ทุกคนในชุมชมมีส่วนร่วมกันในการกำหนดวิสัยทัศน์นั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทำให้การขับเคลื่อนแผนการปฎิบัติงานเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการที่ในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอาชีพ ทำให้องค์ความรู้เกิดขึ้น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศบอ.เกาะคาได้ดำเนินการจึงเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์ต่อชุมชน และคุณกิจที่ได้ปฎิบัติงานในพื้นที่บ้านทุ่งขาม

ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับอารยธรรมที่เจริญ นำมาสู่ความภาคภูมิใจในความเป็นคน

ชุมชนจะพึ่งพาตัวเองได้อยู่ที่ประชากรในท้องถิ่นร่วมมือพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน

ไม่ใช่เฉพาะแค่ใครบางคนหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง นี่คือจุดอ่อนในจุดแข็ง ที่ชุมชนต้องมีส่วนร่วม อย่าปล่อยให้อำนาจอยู่ในมือของคนเห็นแก่ตัว ขอสดุดีแด่ เซกูวารา นักรบแห่งการปลดปลอย

ดอยฮางสูงเด่น

เย็นน้ำออกฮู

ธารน้ำแม่ยาวลือเลื่อง

เมืองส้มเขียวหวาน

ตำนานปูนขาว

สาวงามแดนหน้าบ่าว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมีหรือป่าวคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท