Pui
นางสาว อัมพวรรณ อิ่มเอมทรัพย์

How come & Where to go


เวลาเด็กเค้าพูดภาษาไทยเสียงตัวสะกดมักจะหายไป ยิ่งไปกว่านั้นพวกเค้ามักจะพูดสั้นๆและเร็วๆ หากไม่ได้ยินบ่อยๆ ก็อาจเกิดอาการ งง ได้ว่า พวกเค้าพูดอารายหว่า?? พอพวกเค้าต้องมาออกเสียงภาษาอังกฤษบ้าง ที่นี่ปัญหาเกิดเลยทันที

บันทึกนี้อยากจะเขียนถึงที่มาและที่(กำลังจะ)ไปของเจ้าบล๊อกนี้ค่ะ

เนื่องจากมีโอกาสได้ไปสอนที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่มาเป็นเวลา 1 ปี ในวิชาภาษาอังกฤษซึ่งส่วนมากก็สอนในวิชาพื้นฐานที่ทุกเอก ทุกสาขาต้องเรียน ในระหว่างที่สอนก็สังเกตได้ว่า เด็กที่นี่ซึ่งส่วนมากมีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างต่ำ การสอนต้องมีการปรับวิธีสอนมากพอสมควร จะสอนแบบเด็กมหาวิทยาลัยทั่วไป จึงค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรมากมาย ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กกว่าครึ่งซึ่งเป็นชาวเขามีปัญหาด้านการพูดภาษาอังกฤษเข้าขั้นต้องดูแลเป็นพิเศษ

จากการสังเกตและคลุกคลีกับเด็กชาวเขา ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กกะเหรี่ยง รู้สึกได้ว่าโดยธรรมชาติของภาษากะเหรี่ยงจะไม่มีตัวสะกด เสียงจะค่อนข้างสั้น เวลาเด็กเค้าพูดภาษาไทยเสียงตัวสะกดมักจะหายไป ยิ่งไปกว่านั้นพวกเค้ามักจะพูดสั้นๆและเร็วๆ หากไม่ได้ยินบ่อยๆ ก็อาจเกิดอาการ งง ได้ว่า พวกเค้าพูดอารายหว่า??

พอพวกเค้าต้องมาออกเสียงภาษาอังกฤษบ้าง ที่นี่ปัญหาเกิดเลยทันที เพราะภาษาอังกฤษการออกเสียงจำเป็นต้องมีทั้ง stress, intonation และที่สำคัญ final sound ซึ่งเจ้าหลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่เด็กชาวเขาขาด ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของครูผู้สอนที่จะต้องทำให้พวกเค้าให้ออกเสียงให้ถูกต้อง

และนี่จึงเป็นที่มา และที่(ต้องก้าวต่อ)ไป ของบล๊อกนี้ค่ะ

 

 

ป.ล. 1 ที่จริงแล้วการออกเสียงเป็นปัญหาของเด็กไทยส่วนมากที่เรียนภาษาอังกฤษ แต่ด้วยภาษาไทยมีทั้งวรรณยุกต์ และตัวสะกดซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีในการออกเสียงภาษาอื่นๆอยู่แล้ว จึงทำให้เด็กไทยสามารถที่จะฝึกได้ง่ายกว่าเด็ก(ไทย)ชาวเขา อีกอย่างด้วยความที่เด็กที่สอนเป็นเด็กชาวเขาดังนั้นจึงอยากพุ่งความสนใจส่วนมากไปที่เด็กกลุ่มนี้ค่ะ
ป.ล. 2 หากคุณครู อาจารย์ท่านใดมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ขอเชิญร่วมแบ่งปันนะคะ เพื่อก้าวต่อไปของเด็กชาวเขาผู้ซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษาของเราค่ะ
หมายเลขบันทึก: 250710เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้า ต้อนฮับบล็อกใหม่ :)

ประเด็นเรื่องนี้มีหลายคนได้ทำวิจัยบ้างแล้วครับ

ให้คำแนะนำอะไรดีล่ะ ???

1. น่าจะมีข้อมูลอยู่ที่เขตการศึกษาพื้นที่เขต 1 แม่ฮ่องสอน ครับ (ท่าน ศน.เอื้องแซะ น่าจะช่วยได้)

2. ลองค้นวิทยานิพนธ์ของสายการสอนภาษาอังกฤษ หรือ การศึกษาพิเศษ ดูครับ

ฯลฯ คิดไม่ออกแหละ

BYE :)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท