การทำบุญ


ทรัพย์จะมีน้อยก็ได้บุญมาก

วันนี้ดิฉันก็ได้อ่านบทความหนึ่งคิดว่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจึงนำมาให้อ่านต่อนะค่ะ
ปกติไม่ชอบอ่านหนังสือค่ะ แต่ชอบอ่านเกี่ยวกับธรรมะ มีความรู้สึกสบายเมื่อได้อ่านได้แง่คิดต่างๆๆ
มากมาย บางทีก็ทำไม่ได้แต่อ่านแล้วทำให้จากที่เราทุกข์หรือเศร้า จะทำให้เราสงบขึ้น ก็เป็นวิธีคลายเครียด
ของดิฉันค่ะ บทความนี้เป็นเกี่ยวกับการทำบุญค่ะ

 

ในสมัยครั้งพุทธกาล นายติณบาลฯ เป็นคนยากจนอาสาเป็นลูกจ้างทำสวนหญ้าให้เศรษฐีทำหน้าที่ตัดหญ้าที่บริเวณ บ้านเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง เขาคิดว่า เรานี้เป็นคนยากจน เพราะไม่เคยทำบุญใดไว้ในชาติก่อนเลย เกิดมาชาตินี้จึงเป็นคนรับใช้ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวแม้แต่น้อย เมื่อเขาคิดดังนี้แล้ว เขาจึงแบ่งอาหารที่ได้รับจากการรับจ้างแต่ละเดือนออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้ถวายแก่พระสงค์ที่บิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภคเอง

อยู่ ต่อมาพอถึงเทศการออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศัทธาต่างพากันทำบุญทอดกฐินเป็นการใหญ่ แม้เศรษฐีผู้เป็นนายเขาก็เตรียมการจะทอดกฐินเช่นกัน จึงได้ประกาศให้สาธารณะชนทราบทั่วไป เมื่อนายติณบาลฯได้ยินการประกาศ ก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันที คิดในใจว่ากฐินนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ จึงเข้าไปพูดกับเศรษฐีผู้เป็นนายว่า อยากจะร่วมอนุโมทนากฐินทานครั้งนี้ด้วย แต่ตัวเองไม่มีเงินติดตัวเลย จึงคิดอยู่นาน ในที่สุดเขาได้เปลื้อง (ถอด) ผ้านุ่งของตนออกทำความสะอาดแล้วพับอย่างดี ส่วนตัวเองนำเอาใบไม้มาเย็บนุ่งแทนผ้าแล้วนำผ้าฯ เที่ยวเร่ขายไปตามร้านตลาด หมู่ชนเห็นเขานุ่งใบไม้ก็พากันหัวเราะต่าง ๆ นา ๆ นายติณบาลจึงชูมือขึ้นกล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าฯ ยากจน ไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าเราจะนุ่งผ้าอันเป็นทิพย์

เขา ขายผ้าได้ห้ามาสก (1 บาทของเราในปัจจุบัน) แล้วนำเงินดังกล่าวมาร่วมอนุโมทนาทอดกฐินกับเศรษฐีผู้เป็นนาย ขณะนั้นได้เกิดการโกลาหลทั่วไปในหมู่ชนตลอดถึงเทวดาในชั้นฉกามาวจรสวรรค์ ติณบาลมีฐานะร่ำรวยอย่างไม่มีใครคาดคิด

บั้นปลายของชีวิตเขาได้รับ ตำแหน่งเป็นเศรษฐีอยู่จนมีอายุขัย ก็ถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นดาวดึงส์สวรรค์ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้วสูงได้ห้าโยชน์ มีนางอัปสรหนึ่งพันแวดล้อมเป็นบริวาร (ทำบุญด้วยความเลื่อมใสมาก ถึงทรัพย์จะมีน้อยก็ได้บุญมาก)

ที่มา

http://www.tamdee.net/db/forum_posts.asp?TID=1137


หมายเลขบันทึก: 250492เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ   ชอบมากค่ะเรื่องบุญเป็นสิ่งที่ดค่ะ  บุญอยู่ที่ใจ  อยู่ที่คิดดี  ทำตามกำลังทรัพย์ที่เรามี หากทำแล้วเราเดือดร้อนก็แย่ มีน้อยทำตามน้อยหรือตามกำลังที่เรามีก็ดีแล้วค่ะ

                                

                          

ครั้งหนึ่งในชีวิต (ตอนนั้นยังเป็นนักเรียนมัธยม..ยังไม่ได้ทำงาน)  ไปไหว้หลวงพ่อโตวัดกัลยา.. (ซำปอกง)  และในใจคิดว่าตัวเองมีปัจจัยน้อย ก็ตั้งใจไว้ว่า จะทำบุญตามที่มีนี่แหละ.. (แบบไม่ค่อยสบายใจที่ต้องคิดอยู่ในใจพูดออกมาไม่ได้)   เพราะการที่เราเข้าวัด มีการเดินบนดินของเขตวัด เท้าก็จะติดดินในวัดออกมาด้วย..  มีการได้เข้าไปใช้สถานที่ อาจมีน้ำไฟในวัด..  มีการรับรู้ความร่มเย็นเป็นสุขของวัด ซึ่งวัดอาจมีค่าใช้จ่าย..  ดังนั้น ความคิดของตัวเองคือ เมื่อเข้าวัด ต้องทำบุญ ไม่มากก็น้อย  1. เพื่อเป็นการบำรุง-รักษา..สืบต่อพระพุทธศาสนา  2. เพื่อใช้หนี้สงฆ์..

แล้วก็เสี่ยมเซียมซี (ต้องทำบุญค่าเซียมซีหลังจากเสี่ยงเสร็จด้วย เป็นปกติของตัวเอง)  ไม่ได้อธิษฐานหรือพูดสิ่งที่ไม่สบายใจให้ใครรู้เลย..

ในเซียมซีที่เสี่ยงได้  มีคำพูดออกมา 1 คำพูด คือ

..จงทำบุญแต่พอประมาณจิต..

ขอบคุณครับสำหรับข้อธรรม

ถ้าเราทำบุญโดยยังคิดถึงลาภสักการะ คิดถึงผลตอบแทนต่างๆ ผลก็จะน้อยครับ

ถ้าเราทำบุญเพื่อขัดเกลาจิตใต ลดละอัตตา ความยึดมั่นถือมั่น ลดความเห็นแก่ตัว ผลก็จะมากเหลือประมาณครับ

ขอบคุณครับที่แวะไปเยี่ยม

ผมลองขยายความข้อธรรมของหลวงปู่ไว้ใน blog เดิมนะครับ ลองเข้าไปดูนะครับ

ขอบคุณค่ะ

คุณ Phornphon , a little sheep,คุณครู ตุ๊กตา

ดีใจมากๆๆค่ะที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท