บทสะท้อนในตู้ข่าวในบ้าน....


สู้ต่อไป

บทสะท้อนในตู้ข่าวในบ้าน....    

(เสียใจ....หวั่นวิตก....)

ข่าวคราวปิดโรงงานจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์"แฮมเบอร์เกอร์"

มีคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนไม่น้อย  

เกิดความกังวลขึ้นต่ออนาคตที่ไม่แน่นอนของคนที่เป็นลูกจ้างทั่วไป

เห็นแล้วก็อดที่จะนึกถึงความไม่แน่นอนในอนาคตของตัวเองบนเส้นทางลูกจ้างไม่ได้

และไม่รู้ว่าเหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไหร่

(เส้นทางสายเก่า..เราก็อยู่ได้..)

มันทำให้ผมคิดถึงสมัยเมื่อ 50 -60 ปีที่แล้ว 

สมัยที่ปู่ย่า ตาทวดเคยยึดอาชีพทำนาทำไร่เป็นอาชีพทำกินเลี้ยงดูลูกหลาน

แต่ท่านก็สามารถเลี้ยงทุกชีวิตให้เติบโตจนแยกตัวออกไปสร้างครอบครัวใหม่ได้

การสร้างครัวครอบใหม่ของชาวนานั้น 

นอกจากการเลี้ยงดูให้เติบโตทางร่างกายและจิตใจจนเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว

ทักษะในการทำกสิกรรมก็ต้องมีให้ลูกทุกคนด้วย

ให้โดยการที่พ่อแม่ได้พาเรียนรู้ แบบพาทำตามวิถีทางของชาวนา

เป็นทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ เป็นการสืบทอดต่อกันมาโดยแท้

และ สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ทุกคู่ชีวิตจะต้องมีคือ"พื้นที่ทำกิน" 

ถึงแม้จะมีไม่มากมาย แต่ก็ขอให้มีพื้นที่ใช้ทำกินกันไปในชาติหนึ่ง

หากแต่ว่าลูกหลานไม่ด่วนขายมันไปเสียก่อน 

ผืนนาก็จะยังคงอยู่เป็นมรดกให้รุ่นต่อไปได้อาศัยเป็นที่ทำกินกันสืบไป  

าพอาคารเรียนในวัดศรีสะอาดยังตรึงตราเสมอมา

(จุดเปลี่ยนที่ 1  แรงบันดาลใจในทางสายใหม่)

สมัยก่อนการที่ชาวนาจะส่งเสียให้ลูกหลานให้ได้รับการศึกษานั้น

ดูน้อยคนนักที่จะทำได้ จะมีแต่บุตรชายเท่านั้นที่พอจะมีช่องทางอยู่บ้าง

คือการได้อาศัยเข้าบวชเรียนตามวัดวาอาราม 

ถือได้ว่าวัดนั้นได้ให้โอกาสแก่ลูกหลานชาวนาให้ได้มีโอกาสในการศึกษา

โอกาสนั้นอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตลูกหลานชาวนาให้มาเป็นคนทำงานนั่งโต๊ะ

หรือ รับราชการ  แต่ก็เป็นได้แค่ราชการชั้นผู้น้อยและพนักงานทั่วไปตามบริษัทต่างๆ  สูงกว่านั้นอย่าไปหวัง

 

มาสมัยนี้เขามีกองทุนการศึกษาให้กู้ยืม เรียกว่าเป็นหนี้ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบก็ว่าได้

พอจบก็ออกไปหางานทำใช้หนี้ที่ยืมเรียน ทิ้งชีวิตชาวนาไปเป็นลูกจ้างโรงงาน

เรียนสูงหน่อยก็ตำแหน่งและเงินเดือนดีหน่อย  เรียนมาน้อยเงินก็ถ่อยลงมานิด

แต่ทุกคนก็ยังเป็นลูกจ้าง  ฝากชีวิตไว้กับเศรษฐกิจสากลอยู่ดี

หากโชคร้ายนักบ้างคนถึงกับต้องตกงาน 

  

(จุดเปลี่ยนที่ 2  แรงบันดาลใจในทางสายใหม่)

เมื่อครั้งยังเด็กพ่อเคยสร้างแรงบันดาลใจให้ผม 

เพื่อเป็นการจุดประกายความฝันให้ผมในการบวชเรียนเขียนอ่าน

ท่านได้เล่าอ้างถึงเรื่องราวของเด็กบ้านนอกที่บวชเรียนเขียนอ่านจนได้ดิบได้ดี

เข้าไปสร้างครัวครอบใหม่ในเมืองใหญ่   มีชีวิตใหม่ที่ไม่ใช่ชาวนา

มาถึงตรงนี้น้ำเสียงของพ่อฟังดูเหนื่อย ๆ  ประหนึ่งว่าอาชีพของของชาวนานั้นมันเหนื่อยและหนัก

ไม่ชวนให้น่าเจริญรอยตามสักเท่าไร  เหมือนจะผลักไสให้ผมเดินออกจากรอยทางสายนี้

 

พพ่อขุนยังคงฝังจำอยู่ลาง ๆ

ละนั้นมันเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ผมเดินเข้าสู่โอกาสของการศึกษา

เพื่อจะเดินทิ้งห่างจากวิถีชาวนา

หตุการณ์ครั้งนั้นมันควรจะทำให้ผมดีใจหรือเสียใจดี

เพราะจากแรงผลักดันของพ่อในครั้งนั้น

มันทำให้ผมได้ละทิ้งทักษะของการทำกสิกรรมไปอย่างน่าเสียดาย

เสียดายที่ทักษะอาชีพดั่งเดิมของบรรพบุรุษ ที่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คนมาช้านาน จะสิ้นสุดลงในรุ่นของผม

  

นจึงเกิดคำถามกับใจตังเองว่า...

หากแต่ครั้งนั้นเพียงแค่ผมหันหลังกลับไปเพื่อสืบสานอาชีพชาวนาผมจะมีความรู้สึกอย่างไรกับข่าวปลดคนงานในวันนี้ ?

 

วันที่ผู้คนอยู่อย่างหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอนในอาชีพลูกจ้าง 

ซึงเป็นทางเดินสายใหม่ที่ไม่ใช้การทำนา และเป็นเส้นทางที่พวกเราได้เลือกและนั้นมันก็หมายถึงอนาคตของลูกหลานเราด้วย

เห็นข่าวเลิกจ้างคนงานก็อดหวั่นไหวไม่ได้

เพราะคนเหล่านั้นส่วนใหญ่ล้วนเป็นลูกหลานของชาวนาทั้งสิ้น

นี้คือความล้มเหลวของชาวนาไทย ที่ต้องปะทะกับแรงเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมมาทุกยุคทุกสมัย

คำสำคัญ (Tags): #เลิกจ้าง
หมายเลขบันทึก: 250237เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2009 03:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • ได้อ่านอย่างตั้งใจหลายเที่ยวค่ะ
  • ปัญหา..ตัวอักษรเล็กค่ะ  เป็นอุปสรรคกับ..ส.ว.อย่างพี่
  • นี่แหละค่ะ..คิดเช่นเดียวกัน
  • สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านที่โรงเรียนตั้งอยู่ ตอนนี้ขายที่ขายทางให้กับคนต่างถิ่น เข้าไปตั้งบ้านเรือน ปลูกยางพารา
  • แล้วเจ้าตัวก็ไปเป็นลูกจ้างเขาทำงานในร่ค่ะ
  • เงินที่ได้ก็มาเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินฉาบฉวย
  • อุปสรรค..เกิดขึ้นมากมายกับคนเป็นครู
  • พี่หันมาสอนทักษะชีวิต สืบสานภูมิปัญญา..ฝ่าฟันอุปสรรคมานานกว่า ๖ ปีค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ  เขียนต่อพี่จะมาติดตามอ่านค่ะ

ผมดีใจที่ครูคิมเข้ามาชี้แนะ

บางทีอาจะยังใหม่กับการใช้เครื่องมือ

และที่สำคัญทุกอักษรที่ผมบันทึกในแต่และเรื่องราวมันมาก

จนบางครั้งดูจะน่าเบื่อในการอ่านจนทำให้หลายคนมองผ่าน ๆ

โดยไม่ได้รับรู้ในเจตนารมณ์ต้องการจะสื่ออย่างแท้จริง

หากอักษรใหญ่เกินไปความสวยงานในการจัดหน้าคงทำได้ลำบาก

แต่ผมจะพยายามหาเวลาศึกษาการตกแต่งบล็อกให้อ่านง่ายและชวนอ่าน

ขอบพระคุณมากครับที่ช่วยชี้แนะให้

  • "...นี้คือความล้มเหลวของชาวนาไทย ที่ต้องปะทะกับแรงเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมมาทุกยุคทุกสมัย..."

    อยากตั้งคำถามกับ ประโยคข้างบนจังค่ะ
  • หากคิดแบบ "ชาวนาไทยขนานแท้" แล้ว "ความล้มเหลว" นี้ไม่น่าจะเป็นของชาวนา
  • แต่...เพราะว่าสมัยนี้สังคมไม่ได้ให้คุณค่าต่อ "ความคิดของชาวนาขนานแท้"
    ที่เคยพึ่งพาตนเองได้ และมีอิสระในการดำรงชีวิตจากระบบเศรษฐกิจกระแสหลัก
  • มนุษย์สมัยใหม่...หันไปยึดเอาลัทธิทุนนิยมเป็นตัววัดความเจริญและความมั่งคั่ง
    ของมนุษย์เป็นสรณะ
  • จึงทำให้...การพึ่งตนเองได้ของชาวนา...กลายเป็นความยากจน
    ความรู้ของชาวนา...กลายเป็นภูมิปัญญาที่ล้าสมัย
    คนที่สืบทอด...เป็นคนไม่มีอนาคต...ไม่มีความเจริญ

  • แม้ลูกหลาน...ก็เห็นสิ่งที่มีคุณค่านั้น...หมดความหมาย
  • เมื่อ...ทุนนิยมล่มสลาย...สุดท้ายก็ต้องกลับสู่ท้องนา.

      เถียงนา...รอลูกหลาน...กลับคืน.

ผมคิดว่าน่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากกว่านะครับ สมัยเด็ก ๆ ในหมู่บ้านเห็นไม่มีอะไรที่ดูแล้วน่าตื่นเต้นเท่ากับสิ่งที่ว่าทันสมัย เมื่อ 30 สิบกว่าปีผ่านมา ทั้งหมู่บ้านมีทีวี 2-3 เครื่องในจำนวน 200-300 หลังคาเรือน มีรถยนต์แค่ 1 คัน และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น เกวียนในหมู่บ้านเริ่มลดน้อยถอยลง รถไถเริ่มเข้ามาแทนที่ควาย ดินที่ เคยอุดมกับจืดชืดจากธาตุอาหารของพืช ปุ๋ยเคมีเริ่มเข้ามามีบทบาท จะเห็นได้ว่าทุนนิยมมันเริ่มคืบคลานเข้ามาเรื่อย ๆ สิ่งที่เราเห็นนั้นคือแผนพัฒนาประเทศสมัยก่อนหรือเปล่าผมไม่แน่ใจใครเป็นคนนำมันเข้ามา ลองคิดถึงหลักของความเป็นจริงถ้าเทียบจำนวนสมาชิกในครอบครัวกับพื้นที่ทำกินแล้ว ลูกแต่ละคนจะได้จำนวนพื้นที่ที่เป็นส่วนแบ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ก็คือการให้วิชาความรู้แก่ลูก ๆ เพื่อรองรับชีวิตใหม่ในอนาคต แม้แต่การศึกษาในปัจจุบันยังต้องใช้เงิน และ ส่วนใหญ่สร้างค่านิยมในการศึกษาต่างมุ่งเป้าไปที่ความสำเร็จ เมื่อมันเป็นอย่างนี้แล้วจะไม่ให้สังคมไปยกย่องลัทธิทุนนิยมคงไม่ได้ การที่บอกว่า“ทำให้การพึ่งตนเองได้ของชาวนา...กลายเป็นความยากจนความรู้ของชาวนา...กลายเป็นภูมิปัญญาที่ล้าสมัยคนที่สืบทอด...เป็นคนไม่มีอนาคต...ไม่มีความเจริญแม้ลูกหลาน...ก็เห็นสิ่งที่มีคุณค่านั้น...หมดความหมาย”ที่คิดอย่างนี้ก็คงไม่ผิดหรอกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท