บทคัดย่องานวิจัย


รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

 

บทคัดย่อ

 

ชื่องานวิจัย                     รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง  การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำมาตรา ตัวสะกด เด็กพิเศษเรียนร่วมประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้(LD) ด้านการเขียน  สะกดคำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓  โดยใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด

ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า         นางสาวสุวิมล  กัณหา

ปีที่ศึกษาค้นคว้า            พ.ศ. ๒๕๕๑

ปีที่ผลิต                           พ.ศ.  ๒๕๕๒     

                   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดของเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)  ด้านการเขียนสะกดคำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)  ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ 

                  กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้(LD)ด้านการเขียนสะกดคำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน จำนวน ๑๓  คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งคัดกรองตามแบบคัดกรองกรองนักเรียนที่มีสภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม (KUS-SI  Rating  Scales : ADHD/LD/Autism (PDDs) ) และวัดเชาวน์ปัญญาตามคู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ ๒ ๑๕ ปี ของกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข

                     เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่  แบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด  สำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  จำนวน ๑๒ ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กพิเศษเรียนร่วม    ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)  ด้านการเขียนสะกดคำ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)  และทดสอบสมมุติฐานใช้  t- test

                     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า  แบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด  สำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)  ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔     มีประสิทธิภาพ ๘๗.๓๔/๘๓.๓๑  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  หมายถึง  เด็กพิเศษเรียนร่วม  ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)  ด้านการเขียนสะกดคำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  ทำแบบฝึกชุดที่ ๑๑๒  ได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ ๘๗.๓๑   และสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หลังการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดได้ถูกต้อง โดยเฉลี่ยร้อยละ ๘๓.๓๑  แสดงว่า แบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด  โดยการทดสอบ t-testคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้ดัวยแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕    แสดงว่า  แบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้(LD)  ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  ทำให้เด็กพิเศษเรียนร่วมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเรียนรู้ มีความสามารถด้านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสูงขึ้น สามารถนำแบบฝึกไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้  และผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ด้านการเขียนสะกดคำด้วยแบบฝึกการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด

 

                                        

หมายเลขบันทึก: 248976เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2009 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ครูโรงเรียนในฝัน

จากบทคัดย่อและได้ศึกษาดูงานของท่าน ได้รับประโยชน์จากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างได้

สวัสดีค่ะครูมล

ยินดีต้อนรับสู่บ้าน Gotoknow นะค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูในการทำงานค่ะ

ครูโรงเรียนบ้านไทร

จากการศึกษางานวิจัย นวัตกรรมน่าสนใจและเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

congratualation ยินดีด้วยนะก๊า น่าสนใจ และมีสาระความรู้มากมาย

รบกวนอาจารย์ด้วยนะครับ งานวิจัยของอาจารย์มีประโยชน์กับผมมากครับ

จะเป็นการรบกวนไหมครับถ้าจะกรุณาขอแบบฝึกหัดที่อาจารย์ใช้สอนครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท