การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้(Assessment FOR Learning) ตอนที่ 1


ได้อ่านการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ของ
ไตรรงค์   เจนการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  

สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ   กรุงเทพมหานคร
การประเมินผล  แบ่งได้   
3   ประเภท  
ที่มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
การประเมินผลที่เราคุ้นเคยและใช้อยู่เป็นประจำคือ การประเมินผลการเรียนรู้   
(Assessment OF Learning) หรือการประเมินผลเพื่อการตัดสินผลการเรียนรู้
อีกประเภทหนึ่งมองการประเมินผลเหมือนกับการเรียนรู้
(Assessment AS
Learning) หมายถึง การมองการประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
และการประเมินผลประเภทที่ 3คือการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้
(Assessment FOR Learning) ซึ่งใช้การประเมินผลเป็นเครื่องมือช่วยเหลือพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในระหว่างการทำกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการประเมิน ผลที่สำคัญ อย่างยิ่ง
          การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้   (assessment   FOR learning) 
ไปใช้ สามารถทำให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก้าวหน้าขึ้น
อย่างไม่เคยมีมาก่อน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนต่ำมาตลอดปี  โดยนัยสำคัญสำหรับการเพิ่มขึ้น
ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถพอที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้า
ตามเป้าหมายการเรียนรู้ได้ตลอดทั้งปี  และปิดช่องว่างของคะแนน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลงได้อย่างแน่นนอนแท้จริง
ความเข้าใจในการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ทำอย่างไร
, มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน สิ่งหนึ่งที่ต้องเริ่มต้น,ด้วยความรู้สึกโดยทั่วไป  โดยทำอย่างไรจะให้การประเมินผลเหมาะสมสอดรับไปกับการเรียนการสอน เราประเมินการเรียนการสอน
ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ รายงานผลการตัดสินใจในการจัดการเรียนการสอน
และสนับสนุนเร่งเร้านักเรียนในการพิสูจน์ผลทดลองในการเรียนรู้

         ถ้าการประเมินผล ซึ่งมองดูว่าเป็นส่วนที่สำคัญน้อยที่สุด

ของกระบวนการทั้งหมดเป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จะรายงานให้ความรู้

เกี่ยวกับการตัดสินใจในการจัดการเรียนการสอน  ดังนั้นควรเริ่มต้นด้วยคำถามที่สำคัญๆ  เกี่ยวกับการประเมินผลดังนี้คือ ตัดสินใจเกี่ยวกับอะไร, ใครเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนั้น, และข้อมูลสารสนเทศอะไรมีประโยชน์ที่จะช่วยเหลือพวกเขา? ในกรณีสำหรับการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ คำถามที่สำคัญก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นตามมาเมื่อเรียนรู้แล้ว? ผู้ที่จะตัดสินใจก็คือครูผู้สอนและพวกนักเรียน  และข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการศูนย์รวมไปอยู่ที่พวกนักเรียนปัจจุบันเกิดการเรียนรู้ก้าวหน้าขึ้นเกิดการรอบรู้สัมฤทธิ์ผลทางวิชาการ ในแต่ละมาตรฐาน
การเรียนรู้อยู่ที่ตรงไหน

การประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูจะต้องปฏิบัติใน 5 ประการ  ด้วยกันคือ  

1)     ทำให้นักเรียนกลายเป็นผู้ที่รอบรู้ มีสมรรถภาพด้วยตัวของเขาเองในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนเป็นผู้นำผู้ทำในสิ่งนั้นๆ ด้วยตนเอง

2)     มีความเข้าใจว่ามาตรฐานการเรียนรู้ เหล่านี้เปลี่ยนแปลงรูปร่างภายในหลักสูตรกันอย่างไร ซึ่งรูปแบบนั้นๆ เป็นเครื่องช่วยให้นักเรียนปีนป่ายไปตามวิถีทางที่พัฒนาขึ้น,สูงขึ้นไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้แต่ละมาตรฐาน

3)     เปลี่ยนแปลงเป้าหมายสัมฤทธิ์ผลของระดับชั้นเรียนกลายเป็น
บทแปลที่ง่ายต่อความเข้าใจสำหรับนักเรียน

4)     เป้าหมายต่างๆ ของชั้นเรียนเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเป้าหมายในชั้นเรียนที่มีคุณภาพสูง โดยทำการประเมินผลผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียน  ความมีสติปัญญาที่มีความคิดไตร่ตรองอย่างถูกต้องแม่นยำ

5)     ใช้การประเมินผลในลักษณะเช่นนี้  โดยใช้เวลาจากการร่วมมือกับพวกนักเรียนทั้งนี้เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้พวกนักเรียนมีจิตใจจดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ตลอดเวลา

ยุทธวิธีหนึ่งที่ครูผู้สอนจะพึ่งพาอาศัยกับการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้(AFL)  ได้ก็คือการเตรียมนักเรียน  ด้วยการให้พวกเขามองเห็น  เป้าหมาย
การเรียนรู้ให้ชัดเจนจากการเริ่มแรกหรือเริ่มต้นของการเรียนรู้
  จากผลงาน/ชิ้นงานที่ดีเด่นและผลงาน/ชิ้นงานที่แย่ๆ เพื่อให้พวกเขาได้เห็นความพัฒนาเจริญ ก้าวหน้าในผลงานแต่ละระดับคุณภาพเพื่อ  นำเสนอถึงความสามารถในระดับคุณภาพต่างๆ ก่อนที่พวกเขาจะลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง อีกส่วนหนึ่ง คือการเตรียมจัดหาหนทางให้กับนักเรียนด้วยวิธีการของการนำข้อมูลย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง (Feedback) (ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับ Evaluativeหรือ Judgmental:การประเมินผลหรือการตัดสินผล)  นั่นคือข้อมูลสารสนเทศที่จะช่วยเหลือพวกนักเรียนมองเห็นการพัฒนางานว่าจะทำให้มีคุณภาพได้อย่างไร ความต้องการเช่นนี้นักเรียนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยการกระทำซ้ำๆ จากการประเมิน ผลด้วยตนเอง  ดังนั้นพวกเขาสามารถจับตาเฝ้ามองผลความสำเร็จด้วยพวกเขาเองของการจัดการบนายทางตามศักยภาพของพวกเขา ผลสุดท้าย,พวกนักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการนำผลข้อมูลย้อนกลับ(feedback)มาทำให้เกิดผลสิ่งนั้นๆ ด้วยตัวของเขาเองและกำหนดเป้าหมายต่างๆ ในสิ่งที่ได้มาในการเรียนรู้นั้นๆ ในแต่ละการปฏิบัติการเฉพาะเจาะจงของสิ่งเหล่านี้

ทำให้นักเรียนแสดงถึงความ- สามารถของเขาลงลึกลงไปอย่างมากต่อการรับผิดชอบในความสำเร็จของเขาหรือเธอเอง

 

      

สภาวะสิ่งแวดล้อมในบทบาทหน้าที่ของนักเรียนในการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ (assessment FOR learning) คือการมุ่งมั่นฝ่าฟันเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจข้อคิดเป็นผลสำเร็จและการใช้การประเมินผลแต่ละชนิด  ตัดสินใจกำหนดว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิมอยู่ตลอดเวลา ในเวลาต่อไป การประเมิน ผลกับกลายเป็นเหตุการณ์ที่ผูกติดกันไปจนจบของกระบวนการเรียนการสอน  การประเมินผลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  โดยเหนี่ยวรั้งนักเรียนอยู่ในจุดหรือตำแหน่งของการพัฒนาการก้าวหน้า
และเกิดความมั่นใจอย่างเพียงพอต่อการมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิงจาก : http://academic.obec.go.th/assessment2549/word/small/skablrarn1.doc

คำสำคัญ (Tags): #assessment of learning
หมายเลขบันทึก: 248649เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท