Lily pink
พลับพลึง พลับพลึง สีชมพู

นักวิทยาศาสตร์วัยจิ๋ว


การทดลอง
                                                             
การทดลองสนุก ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความดันอากาศมีหลากหลาย กิจกรรมและเคยเสนอไปบ้างแล้ว กิจกรรมต่อไปนี้จะเป็นกิจกรรมอีกทางเลือก หนึ่งที่ครูอาจเลือกนำไปใช้ซึ่งอาจใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนหรือหลังบทเรียนเพื่อ เป็นการประเมินความเข้าใจของนักเรียนได้

ต้องใช้อะไรบ้าง
1.ขวดพลาสติกพร้อมฝาเกลียวเปิด
2.ตะปูขนาดเล็ก หรือเข็มหมุด
3.กะละมัง (สำหรับรองน้ำ)
4.ตะเกียงแอลกอฮอล์
5.ไม้ขีดไฟ
6.คีม
7.น้ำ

 

ทำอย่างไร
1.เผาตะปูหรือเข็มหมุดด้วย ตะเกียงแอลกอฮอล์ แล้วแหย่ที่ ก้นขวดให้ทะลุเพื่อให้เป็นรูเล็ก หลาย ๆ รู
2.รินน้ำใส่กะละมัง 3 ใน 4 กะละมัง แล้วจุ่มก้นขวดในข้อ 1 ลงในน้ำ สังเกต บันทึกผล
3.รินน้ำลงในขวดให้เต็ม ยกขวดขึ้นเหนือน้ำ สังเกต บันทึกผล
4.ทำซ้ำข้อ 2 และ 3 แต่ปิดฝาขวดให้แน่น ยกขวดขึ้นเหนือน้ำ สังเกต
เปรียบเทียบกับข้อ 3 บันทึกผ
      - เกิดอะไรขึ้นเมื่อจุ่มก้นขวดลงในน้ำ เพราะเหตุใด
      - สิ่งที่เกิดขึ้นขณะยกขวดขึ้นจากน้ำเมื่อมีฝาขวดปิดและเมื่อไม่มี ฝาขวดปิดแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด
      - ถ้าขณะถือขวดที่ปิดฝาอยู่ แล้วค่อยๆคลายเกลียวฝาขวดจะเกิด อะไรขึ้นเพราะเหตุใด
      - ถ้าขณะยกขวดพลาสติกที่เปิดฝาขึ้นจากน้ำ แล้วรีบปิดฝา จะเกิด อะไรขึ้น เพราะเหตุใด
      - นักเรียนจะสรุปผลการทดลองนี้ได้ว่าอย่างไร
 

                         

สำหรับครู
ขณะที่ยกขวดที่ไม่ได้ปิดฝาขึ้น น้ำในขวดจะไหลออกมาทางรู แต่เมื่อ ยกขวดน้ำที่มีฝาปิดจะพบว่าน้ำไม่ไหลออกมา และถ้าค่อย ๆ คลายเกลียวขวดออก น้ำจะไหลออกจากรู ทั้งนี้เป็นเพราะอากาศที่อยู่รอบ ๆ ขวดจะกระทำต่อขวด เท่ากันหมดและมีความดันเท่ากัน ถ้าไม่ได้ปิดฝาขวด ความดันของอากาศเหนือ ปากขวดก็จะดันน้ำในขวดให้ออกมาทางรู เมื่อปิดฝาขวด ความดันของอากาศ ใต้ก้นขวดจะกระทำต่อก้นขวด และความดันของอากาศเหนือปากขวดจะกระทำ ต่อฝาขวดเท่านั้น จึงไม่สามารถดันน้ำในขวดให้ลงมาได้ น้ำจึงไม่ไหลออกจากรู

 


เอกสารอ้างอิง

Bosak, S.V. (1991). Science is ... Canada: Scholastic Canada.

Churchill, E.R. (1992). Amazing science experiments with everyday
    materials. New York, USA: Stering.
หมายเลขบันทึก: 248370เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ทำไม่ถึงชั่วโมงเก่งจริงๆ ไม่น่าเชื่อ

ไม่ได้โม้ใช่ไหมคะคุณน้อง

น่าสนใจมาก มีการทดลองอะไรดี ๆ อีกมั้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท