Case Management ทฤษฏีกับการปฏิบัติ


บทบาทหน้าที่ จัดการรายกรณี ดูแลคุณภาพและความคุ้มค่า

ช่องว่างระหว่างความคิดหรือทฤษฏีกับชีวิตจริงหรือการปฏิบัติ

อีกเรื่องหนึ่ง คือ การจัดการรายกรณี

ซึ่งผ่านการพิสูจน์มาพอสมควรว่าเป็นวิธีการที่ดี สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่จะส่งผลดีให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์

การจัดการรายกรณี เริ่มมายังไง

เริ่มๆมาจากการพยาบาลชุมชน ประมาณ 100 ปี ที่ผ่านมา ที่ต่างประเทศ เพราะมีปัญหาว่าพยาบาลกับนักสังคมสงเคราะห์ที่ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทำหน้าที่ประสานงานต่างๆให้ผู้ป่วย คือไปจัดการเรื่องต่างๆให้ว่างั้น

ต่อมาก็จัดการเรื่องผู้สูงอายุ ในอเมริกา นะ แล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จะมุ่งเน้นให้การบริการได้คุณภาพและคุ้มค่า

นำมาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยระยะฉุกเฉิน เร่งด่วน(Acute)ในช่วง ปี1980-2000 นี้เอง ก็ประมาณ 10-20 ปี ที่ผ่านมา ในต่างประเทศนะ

ผู้เขียนเคยรับทราบจากพยาบาลที่เค้าไปทำงานที่USA เล่าให้ฟัง บอกว่า Nurse Case Manager จะดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน ด้วยเหตุนี้ก็สามารถประเมินผลลัพธ์ ด้านคุณภาพและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

นี้บ้านเราก็ว่าวิธีแบบนี้น่าจะนำมาประยุกต์ใช้บ้าง ก็มีการส่งเสริมเรื่องนี้กัน ในกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูง แต่เรียกกันว่า Disease Manager เช่น กลุ่มโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อะไรประมาณนี้

แต่โครงสร้างตำแหน่งจะต่างกับต่างประเทศ เป็นพยาบาลของเราทำหน้าที่กันหลายอย่าง

ตามศักยภาพของพยาบาล ไม่มีโครงสร้างตำแหน่ง หรือขาดระบบรองรับ

ทางออก คือ

1.ตัวพยาบาล ควรทำความเข้าใจกับบทบาทหน้าที่ใหม่ ต้องพัฒนาศักยภาพด้ายภาวะผู้นำและพัฒนาองค์ความรู้ เพราะขึ้นชื่อว่าผู้จัดการรายกรณี เสมือนว่า ต้องรับบทหนัก

2.หน่วยงาน ควรที่จะพัฒนาโครงสร้างให้ชัดเจน มอบหมายภาระกิจให้ตรงกับความสามารถ

ก็นำว่าคุยกันดูว่า ฝันตรงนี้จะเป็นจริงได้ ต้องลดช่องว่าง

หมายเลขบันทึก: 248017เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • Hpv2009
  • เข้ามาอ่านเป็นคนแรก
  • เพราะเมืองนอกระบบชัดเจน โครงสร้างกับการปฏิบัติสอดคล้องกัน job description ชัดเจน
  • บริบทของไทยเราก็เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ แต่ละที่แต่ละสไตล์
  • แต่ก็น่าจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน หวังว่าในอนาคตจะดีขึ้น
  • อย่าง case Dz Manager ของสปสช. จะเน้นเรื่อง Cost
  • อย่างของ APN เราก็ใช้แนวคิดการจัดการรายกรณี APN care-case manager เพื่อ improve qualty of care ร่วมกับทีม
  • แต่APN เราต้องcreate set ระบบ สร้างงานและวัด outcome สร้างและพัฒนาแนวปฏิบัติ ไม่ได้ทำตาม guideline ที่มีผู้ทำไว้
  • พี่แขกสบายดีนะคะ

ขอบคุณ น้องเกดมาก

ประเด็นนี้ที่มาเข้ามา อยากให้หน่วยงานหรือพยาบาลที่ทำหน้าที่มาแลกเปลี่ยนกัน

น่าจะมีทางออกให้สำหรับพยาบาลนักพัฒนาทั้งหลาย

ได้มองเห็นทางออกที่สว่างขึ้น

ถ้าจะว่าไปแล้ว หน่วยงานภายนอกอย่าง สปสช ก็มีอิทธพลต่อการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่จะเริ่มด้วยเป้าหมาย เรื่อง ความคุ้มทุน ถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพียงแต่ว่า คนในวิชาชีพต้องสร้างเป้าหมายขึ้นมาเพิ่ม เรียกกันว่า เติมให้เต็ม

อย่างนี้ดีมั๊ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท