18. เรื่องเล่าชาวหุ่นยนต์


งานเขียนที่ถอดประสบการณ์การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์ ในโรงเรียน

         หลังจากได้รับการอบรมหลักสูตรที่ 3 ของการออกแบบหุ่นยนต์(ที่ จ.ตราด ซึ่งจะนำมาเล่าในบันทึกต่อไป)  ในครั้งนี้ผู้จัด...โดยตัวแทนของ สพฐ. ได้นำกิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียนจากการที่ได้ส่งครูและบุคลากรเข้ารับการพัฒนา "ด้านการออกแบบพัฒนาหุ่นยนต์"  ว่าได้นำไปดำเนินการอย่างไรบ้าง...โดยให้จัดเขียนความเรียง 1 หน้ากระดาษ เป็นลักษณะของ "เรื่องเล่าเร้าพลัง" ซึ่งเมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ก็มีรายละเอียดดังนี้

 

การเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องง่าย...แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

โรงเรียนเชียงกลมวิทยา  สพท.เลย  เขต 1  

 

        จากที่โรงเรียนเชียงกลมวิทยา  สพท.เลย   เขต  1  ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน  26  โรงเรียน  ICT  และได้เข้าร่วมรับการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบหุ่นยนต์  ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาครูที่เข้าร่วมโครงการให้มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  การออกแบบหุ่นยนต์...
“หุ่นยนต์” เป็นเรื่องใหม่มากสำหรับครูของโรงเรียนเชียงกลมวิทยาที่เป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมครั้งนี้  สิ่งหนึ่งที่เป็นสร้างความกังวลใจในการเป็น “หนึ่ง” ในการเข้ารับการอบรมครั้งนี้  คือโรงเรียนที่เข้ารับโครงการ จะต้องส่งนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับต่างๆ ...นี่คือโจทย์ยากสำหรับโรงเรียนเชียงกลมวิทยา ที่ไม่เคยคุ้นเรื่องราวของโลกหุ่นยนต์สักนิดเดียว...แต่ด้วยความมุ่งมั่นและร่วมมือกันของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ  รวมทั้งการสนับสนุนจากผู้อำนวยการโรงเรียน นายบรรจง  ปัทมาลัย  เป็นอย่างดี  ก้าวแรกที่เริ่มต้น...การเรียนรู้โลกของหุ่นยนต์โรงเรียนเชียงกลมวิทยาได้เริ่มต้นขึ้น  โดยใช้ชื่อโครงการว่า “การอบรมพื้นฐานการออกแบบเทคโนโลยี”
        โครงการอบรมพื้นฐานการออกแบบเทคโนโลยี  เป็นโครงการที่ดำเนินงานในระหว่างวันที่ 19,20 และ 23 กุมภาพันธ์  2552  โดยมีกิจกรรม  ได้แก่  การเปิดโลกหุ่นยนต์  ความหมาย   ความเข้าใจและความเคลื่อนไหวในเรื่องเทคโนโลยีของหุ่นยนต์  การออกแบบเทคโนโลยี  การออกแบบโครงสร้างจากกระดาษ และการออกแบบหุ่นยนต์ทำมือ  โดยใช้วัสดุที่หาได้ภายในโรงเรียน
ผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้  ปรากฏว่านักเรียนได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของโลกหุ่นยนต์  มีพื้นฐานกระบวนการออกแบบเทคโนโลยี  สามารถการออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้นได้  และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ  สิ่งที่เป็นบทเรียนสำหรับพัฒนากิจกรรมการออกแบบหุ่นยนต์ในโรงเรียนเชียงกลมวิทยา  คือ  การขาดงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์  ครูขาดความเชี่ยวชาญในการนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน  ช่วงระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม นักเรียนอาศัยอยู่ห่างจากโรงเรียน  มีความสนใจแต่ขาดความกระตือรือร้น  เป็นต้น  แต่ด้วยความพยายามของผู้ดำเนินงาน ได้หาวิธีแก้ไขต่างเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ  เช่น  สร้างความเข้าใจกับบุคลากรในโรงเรียน ใช้วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  โดยให้นักเรียนลงมือทำและเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มเพื่อให้กลุ่มช่วยกันแก้ปัญหา  ใช้วิธีการทำงานเป็นทีม  และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นต้น
ข้อค้นพบจากการดำเนินงาน ครั้งนี้คือ  ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ครูสามารถหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการสร้างหุ่นยนต์ทดแทนวัสดุที่หาไม่ได้ในท้องถิ่น  เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ  และพบว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้เรื่องหุ่นยนต์ในระดับดีมาก และสามารถพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนการทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี...มาถึง ณ เวลานี้ เรื่องที่ว่ายาก...บางครั้งก็ไม่ยากอย่างที่คิด ถ้ามีการเริ่มต้นที่ดี...

          ...เป็นงานเขียนชิ้นเล็กๆ ที่อาจขาดความสมบูรณ์ในเนื้อหาและรายละเอียดไปบ้าง...แต่นี่คือ ก้าวเล็กๆ ที่เริ่มก้าวเดินแล้วของพวกเราชาวเชียงกลมวิทยา...

 

หมายเลขบันทึก: 247562เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณ lovegang0123
  • ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท