สังคมความพอเพียง ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย


เปิดบ้านวิชาการ..สู่งานเศรษฐกิจพอเพียง

   

                                              20090310101343_104 
       

      หนังสือถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เล่มที่ ๑๑ เป็นของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเพชรบุรี ที่จัดทำโดย สรส.ด้วยความสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ซึ่งจะได้ถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างสังคมพอเพียงในโรงเรียน ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตนักเรียนประจำ เสมือนอยู่ในบ้านเดียวกันหลังใหญ่จำนวนกว่า ๕๐๐ ชีวิต ที่สามารถสร้างสานรวมร้อยจิตสำนึกจากระบวนการคิดวิเคราะห์หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลงสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม อย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่อง จากพื้นฐานต่อยอดขึ้นไปในเชิงคุณภาพ และกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการขยายผลขับเคลื่อนสู่โรงเรียนเครือข่ายอย่างยั่งยืน โดยมีพัฒนาการของโรงเรียนในการประยุกต์ใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้ :  

       *  ช่วงระยะแรก (ปี ๒๕๔๘) เป็นการสำรวจตนเองและทำความเข้าใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างทั่วถึง ทั้งคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง

 

       * ช่วงที่สอง (ปี ๒๕๔๙) โรงเรียนได้บูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การเรียนการสอน โดยกำหนดเป็นกิจกรรม " เปิดบ้านวิชาการ สู่งานเศรษฐกิจพอเพียง " ที่ผนวกมาพร้อมกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนหลากหลายประเภท เช่น โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์ โครงการจัดค่ายเยาวชนเรียนรู้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "เดินตามแนวคิดของพ่อ อยู่อย่างพอเพียง " เป็นต้น

 

      * ช่วงที่สาม ( ปี ๒๕๕๐) เป็นการปลูกฝังจิตสำนึก และฝึกฝนให้นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าต่อการนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นหลักคิดที่ใช้ได้ทุกเรื่อง ทั้งนี้ได้แบ่งกลุ่มงานของโรงเรียนที่มุ่งเน้นใน ๕ เรื่อง การบริหารจัดการ การเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดแหล่งเรียนรู้ และ ชีวิตหอพักนักเรียน....

 

         สำหรับ แนวทางการจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มงานทั้ง ๕ กลุ่มข้างต้น โรงเรียนได้แต่ตั้งคณะครูผู้รับผิดชอบ ซึ่งครอบคลุมการขับเคลื่อนหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๗ ด้าน คือ

 

           --ชุดส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้

 

           --ชุดส่งเสริมพฤติกรรมความรู้จักรับผิดชอบ

 

           --ชุดส่งเสริมการประหยัดและการออม

 

           --ชุดส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

           --ชุดสนับสนุนการเรียนรู้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการแสดง

 

           --ชุดประชาสัมพันธ์ จัดทำเวบไซด์

 

           -- ชุดเลขานุการ ติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมด

 

        ในช่วงที่สามนี้เอง ได้ปรากฏกิจกรรมและผลงานของนักเรียนในการประยุกต์ใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น จนมีผู้มาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักเรียนเป็นวิทยากรหลักของงาน ที่สะท้อนความเข้าใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้ง จนหน่วยราชการระดับจังหวัด ได้เข้ามาจัดทำข้อตกลงประสานมือร่วมกับโรงเรียน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่โรงเรียนต้นแบบอำเภอละ ๑ โรงเรียน โดยขอให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นพี่เลี้ยงในการจัดอบรมดูงาน และ แนะนำแนวทางลงสู่การปฏิบัติจริงที่เห็นผลเชิงประจักษ์..

 

    * ช่วงที่สี่ ( ปี ๒๕๕๑-เป็นต้นไป ) เป็นการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ที่มุ่งสู่การเตรียมพร้อมให้เด็กก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและเข้มแข็งต่อไปในในอนาคต ด้วยหลักแห่งความสมดุลใน ๔ มิติที่เชื่อมโยงกัน คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

โปรดอ่านรายละเอียดที่ :

http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=333

 

                           ----------------------------------------- 

 

หมายเลขบันทึก: 247461เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท