พบความอ้วน(ไขมัน)เป็นตัวดูดวิตามิน


...

หน่วยงานสุขภาพของรัฐบาลสหรัฐฯ ทำการสุ่มสำรวจวัยรุ่นอเมริกันอายุ 12-19 ปี 3,000 ราย (โดยใช้จุดตัดที่ 20 นาโกกรัมต่อมิลลิลิตร หรือ ng/mL)

ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นที่นั่นขาดวิตามิน D มากถึง 11% ซึ่งจริงๆ แล้ววัยรุ่นเป็นวัยที่ออกแรง-ออกกำลังมาก ไม่น่าจะขาดเลย

...

เมื่อทำการวิเคราะห์เจาะลึกดูพบว่ากลุ่มเสี่ยงสำคัญได้แก่

(1). วัยรุ่ผิวดำ(อาฟริกันอเมริกัน)ขาดวิตามิน D มากถึง 50% กลไกที่เป็นไปได้คือ เม็ดสีที่ผิวหนังปิดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต (UVB) ทำให้การสังเคราะห์วิตามิน D ลดลง

(2). วัยรุ่นอ้วน > ขาดวิตามิน D มากเป็น 2 เท่าของวัยรุ่นที่ไม่อ้วน กลไกที่เป็นไปได้คือ วิตามิน A, D, E, K ละลายในไขมัน เมื่อมีเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น... ไขมันจะ "ดูด" วิตามินไปเก็บไว้ ทำให้ระดับวิตามิน D ต่ำลง

...

เดิมเราเชื่อว่า วิตามิน D ทำหน้าที่ช่วยการดูดซึมแคลเซียม รักษาระดับแคลเซียมในเลือดไม่ให้ต่ำลง ช่วยการทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ

ทว่า... ทุกวันนี้เราพบว่า วิตามิน D ทำหน้าที่ช่วยให้ระบบภูมิต้านานโรคทำงานได้ดีขึ้น เช่น ช่วยป้องกันโรคหวัด ไข้หวัด ฯลฯ

...

การศึกษาหลายรายงานพบว่า การขาดวิตามิน D เพิ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในเด็ก โรคหัวใจ และมะเร็งอีกหลายชนิด

อาหารที่มีวิตามิน D สูงได้แก่ ปลาทะเล ผลิตภัณฑ์นม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์นมที่เติมวิตามิน D (ต้องกินพร้อมอาหารที่มีไขมันจึงจะดูดซึมได้ ถ้ากินพร้อมอาหารไม่มีไขมันเลย ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ไม่ได้) อาหารทะเล ไข่แดง ตับ (ไม่แนะนำให้กินตับหรือน้ำมันตับปลา เนื่องจากอาจได้รับพิษจากวิตามิน A มากเกินได้ในระยะยาว) วิตามินรวม

...

การได้รับแสงแดดอ่อนช่วงเช้าหรือเย็น (ก่อน 9.00 นาฬิกา และหลัง 16.00 นาฬิกา นาน 10-15 นาทีอย่างน้อยทุกวันเว้นวันมีส่วนช่วยให้ผิวหนังสังเคราะห์วิตามิน D ได้ดีขึ้น

ถ้ามีผิวสีเข้มมาก... ควรได้รับแสงแดดอ่อนนานขึ้นสักหน่อยจึงจะดี

...

คนที่อ้วน อ้วนลงพุงมีเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น เจ้าไขมันนี้จะทำการ "ดูด" วิตามิน D ไปเก็บไว้ ทำให้ระดับวิตามิน D ต่ำลง

การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันการขาดวิตามิน D จาก "เจ้าตัวดูด" ในระยะยาว

...

 

 > [ FreeFoto ]

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                       

  • Thank Reuters > Low vitamin D may be a bigger problem than thought>[ Click ] > March 5, 2009. / Source > J Pediatrics.
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 6 มีนาคม 2552.
หมายเลขบันทึก: 246693เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2009 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท