แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล


การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อวางแผนการพัฒนา ดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว                                           ช่วงชั้นที่ 4 (ม.5)                                                      ภาคเรียนที่ 1

ชื่อกิจกรรม           ปฐมนิเทศ                                                            

หน่วยการเรียนรู้ที่  2           เรื่อง     การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล                                       เวลา 1 ชั่วโมง  
มาตรฐานที่ 1  รู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่  4  มีความสามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข    

สาระสำคัญ          

                การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นระบบที่เฝ้าระวังนักเรียนให้สามารถดำรงตน อยู่ใน

สังคมได้อย่างเป็นสุข การคัดกรองนักเรียนจากเครื่องมือที่มีความเชื่อถือได้ เช่น ระเบียบสะสม

แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน  SDQ ของกรมสุขภาพจิต เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความดูแล  กลุ่มปัญหา กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องพัฒนา  เพื่อการดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพสูงสุดของนักเรียน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง มีแนวทางในการแก้ไข พัฒนาตนเองได้โดยตนเอง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.    นักเรียนกรอกแบบระเบียนสะสม

2.    นักเรียนบอกจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเองได้

3.       ครูทราบข้อมูลส่วนตัว และคัดกรองนักเรียนเพื่อวางแนวทางการเฝ้าระวัง

ดูแลช่วยเหลือนักเรียน

สาระการเรียนรู้

                SDQ  เป็นแบบประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของพฤติกรรมสามารถแบ่งกลุ่มพฤติกรรมเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป็นปัญหา และกลุ่มปกติ ทำให้ครูสามารถมองพฤติกรรมได้ชัดเจน และรวดเร็วเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

กระบวนการจัดกิจกรรม

              ขั้นนำ     

1.       ครูเล่าถึงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ประโยชน์/กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน)  

                ขั้นดำเนินกิจกรรม

2.       ครูอธิบายลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลประกอบด้วยลักษณะที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน

       การทราบลักษณะดังกล่าวจะทำให้นักเรียนและครูทราบแนวทางในการแก้ไข และ

       พัฒนาต่อไป และอธิบายวิธีการใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน SDQ

3.       แจก แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน SDQ ให้นักเรียนทำ

4.       ครูบอกวิธีการตรวจ SDQ  เฉลย และให้นักเรียนสรุปผลการประเมินตนเอง

5.       ครูสัมภาษณ์นักเรียน โดยเริ่มที่นักเรียนในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง และ/หรือกลุ่มที่เป็นปัญหา เพื่อทำการรู้จักสร้างความคุ้นเคย และเพื่อการวางแผนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ขั้นสรุป

6.       ครูให้นักเรียนสรุปลักษณะที่เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อนของตนเองลงในระเบียนสะสม

                    พร้อมทั้งปรับปรุง แก้ไขข้อมูลส่วนตัวให้เป็นปัจจุบัน

7.   สรุปความจำเป็นในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาตนเองสำหรับนักเรียนที่อยู่ใน

                    กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่เป็นปัญหา และนัดหมายให้คำปรึกษา เพื่อวางแผนการ         

                    แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

การประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ตรวจ

 

-แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน SDQ

-ระเบียนสะสม

1.เกณฑ์คะแนน SDQ

2.นักเรียนทุกคนทราบจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง

 

นวัตกรรม/สื่อการเรียนรู้  

1.       แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน SDQ

2.       ระเบียนสะสม

บันทึกผลหลังเรียน

                1.   นักเรียนทำแบบประเมินอย่างตั้งใจ เมือทราบผลการประเมินรู้สึกตื้นเต้น        และขอรับคำปรึกษา  ครูนัดให้คำปรึกษาโดยเฉพาะนักเรียนที่รู้สึกกังวลใจจะได้รับการนัดให้คำปรึกษาก่อนทำให้ครูได้รู้จักนักเรียนเป็นพิเศษ

                2.   เวลาในการสัมภาษณ์นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และเป็นปัญหามีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน เพราะนักเรียนแต่ละคนต้องการคำปรึกษา

                3.  ควรกำหนดตารางการนัดหมายนักเรียนเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 244916เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท