เมื่อวานมีปัญหาเกี่ยวกับ tube sugar clot เป็นจำนวนมาก ทำการทำงานของเคมีค่อยข้างมีปัญหา แต่ทางทีมงานในห้องเคมีมีการทำงานกันเป็นทีมอย่างดีมาก(ขอชมหน่วยตัวเองหน่อย) ในขณะที่เกิดปัญหาพี่ผอบเป็นคนบ่นแบบดังๆขึ้นมา หลังจากนั้นมีการระดมสมองการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทันที(ทนเสียงบ่นไม่ได้แล้ว)โดยพี่ปนัดดาเป็นหัวหน้าทีมในตอนนั้น และก็มีพี่วรรณี พี่ประจิม พี่ผอบ พี่นุชจิเรช(เข้าสมทบทันเหตุการณ์พอดี) และนายดำเองไม่ค่อยช่วยอะไรได้มากนัก ได้แต่นั่งฟังเพราะจุดที่นายดำทำงานคือจุดรับลงทะเบียนเป็นงานที่หนักและต้องใช้ความเร็ว แต่ก็ทนไม่ได้ตอนที่พี่นุชจิเรศ บอกว่า tube sugar ที่เบิกมาจากพัสดุไม่รู้ว่าพัสดุ stock ไว้นานหรือเปล่า ผมเลยถามว่าทำไมต้องเบิกจากพัสดุ ทาง OPD น่าจะเบิกจากคนเตรียมโดยตรงน่าจะดีกว่าและสามารถลดงานของพัสดุของเราด้วย (ระบบเป็นมา 20 ปีแล้ว)
วันก่อนได้ฟังคณบดี(อ.กิตติ)พูดถึงระบบงานในคณะแพทย์ ผมฟังแล้วยังจำได้ดีเลยครับ อ.กิตติพูดว่า "ระบบงานในคณะแพทย์เราอะไรที่คิดว่าเป็นปัญหาและสามารถลดขั้นตอนได้โดยไม่กระทบต่อเรื่องอื่น ก็น่าตัดทิ้งเสียหรือเปลี่ยนระบบใหม่เสียบ้าง ไม่ใช่ 20 ปีทำยังไงก็ทำอยู่อย่างนั้น "
และเรื่องวิธีแก้ปัญหา tube sugar clot ทาง OPD น่าจะเปลี่ยน tube sugar โดยซื้อ tube เหมือนโลหิตวิทยา ที่เพิ่งเปลี่ยนการเตรียมมาซื้อก็สามารถลดปัญหาในลักษณะเช่นเดียวกันได้ เพราะเท่าที่ทราบมีไม่กี่โรงพยาบาลที่ใช้ tube เตรียมเอง ขออ้างคำพูดของอ.กิตติอีกครั้ง "อาจารย์บอกว่าถ้าเปลี่ยนแปลงแล้วสิ่งที่เปลี่ยนมีราคาสูงกว่า แต่หน่วยงานคิดว่าคุ้มค่าทางคณะก็ยินดีจ่าย"
วันนั้นถ้าใครเข้าฟังในงาน 5 ส.นวัตกรรม/สร้างสรรค์ ก็จะทราบถึงวิสัยทัศน์ ของคณบดีของเราได้เป็นอย่างดีเลยครับ ผมเสียดายแทนคนที่ไม่ได้ฟัง โดยเฉพาะ หัวหน้าหน่วย และหัวหน้างาน
เราจะเปลี่ยนระบบอะไรได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายนั่นแหละค่ะ
ตอนนี้เป็นโอกาสอันดีที่พวกเราได้เปิดหูเปิดตา เรียนรู้งานของหน่วยอื่นๆไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาทำแต่งานของเราเหมือนสมัยก่อน ทำให้เราสามารถมองกระบวนการต่อเนื่องได้
เห็นด้วยค่ะที่ "นายดำ" บอกว่าเราน่าจะตัดงานพัสดุ ให้ทางห้องเจาะเลือดเบิก tube ได้โดยตรงจากห้องเตรียม แต่....ที่ต้องมีแต่ ก็คือ เราแน่ใจไหมว่าเราเข้าใจระบบทั้งหมด ทำไมจึงต้องมีขั้นตอนนี้ เราคงรู้ได้แน่หากมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เราคงจะได้คำตอบที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
แต่ที่แน่ๆคือเป็นความคิดเริ่มต้นที่ดีค่ะ น่าจะสานต่อ
อืมม์ ! ก็ค่อนข้างเห็นด้วยน๊ะค๊ะ ในหลาย ๆ เรื่องแต่ที่เห็นด้วยมากที่สุดก็คือการที่เราน่าจะได้ทดลองหรือประเมิน เปรียบเทียบการเตรียมหลอด NaF กับการซื้อ ราคาแตกต่างกันมากไหม? มีผลกระทบอย่างไรรึเปล่า เหมือนห้องโลหิต ว่าชนิด ยี่ห้อไหน ดีกว่า กับการเตรียม ว่า Hemolysis มากน้อย ราคาต่างกันเท่าไร และอื่น ๆ ขอบอกว่างานที่ห้องล้างกลางก็คือพี่ไปรวิน และพี่วรวรรณนั้นทำงานหนักมาก ๆ มีกันอยู่แค่ 2 คน แต่ต้องเตรียมหลอดเลือดทั้งหมด ทั้ง Clotted blood ล้าง ปิดจุก นับ เตรียมใส่ถุง Tube ล้างพิเศษ่รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ก็ต้องแช่กรด (ระวังเอาเอง) สำหรับการตรวจ SI & TIBC ติด Label ปิดจุกนับเตรียมใส่ถุง แล้ว Tube Sugar ก็ต้องติด Label ใส่น้ำยา ปิดจุก อบ นับ เตรียมใส่ถุง ไม่นับงานทำความสะอาด เก็บหลอดเลือดที่ ER ที่ห้อง Chem ทำความสะอาดพื้น ถูพื้น เก็บขยะ นี่ยังไม่รวมล้าง tip , Cup และขวดปัสสาวะ เราหลาย ๆคนเห็นใจจริง ๆ โดยเฉพาะถ้าคนใดคนหนึ่งลา งานข้างล่างทั้งร้อน ทั้งเยอะ แต่เราก็ยังเห็นพี่ 2 คนยิ้มสู้เสมอ และเราหลาย ๆ คนยังขอเสนอให้เพิ่มคน แต่มีบางคนบอกว่าการขอคนนั้นยาก (อันนี้ไม่ทราบจริงรึเปล่า หรือจะไม่อยากขอให้ก็ไม่รู้ เพราะเขาไม่ได้ทำ ไม่ได้เหนื่อย) อยากให้หลาย ๆคนเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างก็คงจะดี ค่าแรงก็ไม่ได้มากมายนัก ไม่อยากจะให้เหมือนบทเพลงทำงานทั้งวันได้ 1500 เดินไป เดินมา ได้ 5000
เห็นด้วยกับทั้งคุณโอ๋ ว่าก่อนเปลี่ยนเราคงต้องเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังของระบบที่มีอยู่ก่อน และการพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดคงจะดีที่สุด
ส่วนการเปลี่ยนจากการเตรียมเอง หรือ ซื้อสำเร็จ ก็เหมือนกับการเลือกวิธีทำการทดสอบ หากสามารถทำการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียโดยรอบด้าน โดยเฉพาะมีข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย อันนี้ ดีที่สุดแน่นอน
งานหนักมากจัง แต่ก็มีความสามัคคีถึงจะสำเร็จ ขอให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี