สรุปโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ


ขุมความรู้

สรุปโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ KM

                                วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2552 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 30 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาทั้ง 6 พื้นที่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยากรที่บรรยายให้ความรู้คือ คุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร สรุปประเด็นที่ได้จากการอบรม ดังนี้

                ในการสัมมนาครั้งนี้เป็นการคนหาแก่นความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่าที่ประสบความสำเร็จในการทำงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละคนที่ได้ปฏิบัติมาจากนั้นนำมาหา Key Success แล้ววิเคราะห์ จัดกลุ่ม Key Success ของแต่ละคนเข้าด้วยกัน

                การดำเนินการ ดังนี้

                                - การกำหนดความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์กร

                                - เสาะหาความรู้ที่ต้องการ

                                - การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัด “ขุมความรู้”

                                - การจดบันทึก

                                - การนำความรู้ไปปรับใช้ในงาน (Body Ant)

                หลักของนักจัดการความรู้ (คุณอำนวย)

1.       นักขาย (ขายหัวปลา) ระดมความคิดจากระดับบนและระดับล่าง

2.       วิศวกร ออกแบบและสร้างกระบวนการ

3.       สถาปนิก สร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง.....(เชิงบวก)

4.       นักจัดเวที ผู้ดำเนินรายการ

5.       ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

6.       นัก IT เผยแพร่ความรู้ (จัดหางปลา)

7.       นักวิเคราะห์ (Before/After) งานได้ผล

8.       นักประเมินผล ARR/Apply

9.       นักพัฒนา ผลักดันให้เกิดเครือข่าย

10.   นัก HR (Reward)

 

บทบาทของนักจัดการความรู้ (คุณอำนวย)

                เติมพลัง ประสาน เชื่อมโยง ขาย

 

                                กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มอาจารย์ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละหน่วยงาน สรุปประเด็นได้ดังนี้

                แก่นที่ได้แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ

            1. วิธีการ

                                - ทบทวนตัวชี้วัด (แผน+งานประกัน ต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน)

                                - สร้างเครือข่าย

                                - ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

                                - การอบรมให้ความรู้

                                - การประสานงานโดยตรง ใช้ความสัมพันธ์

                                - การแข่งขัน เทคนิคการกระตุ้น

                                - การติดตามผล

                2. เครื่องมือ

                        - Flowchart

                                - แบบฟอร์มการประเมินติดตามผล

                                - โทรศัพท์ / อีเมล์

                                - ระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดี

                                - PCDA

                3.บุคลากร

                                - ทีมงานประกันคุณภาพการศึกษาที่มีความเข้มแข็ง อดทน

                                - ตระหนักและให้ความสำคัญ

                                - สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีส

                กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละหน่วยงาน

                                - การทำงานที่มีประสิทธิภาพ การเก็บข้อมูลมีความรับผิดชอบแต่ละตัวบ่งชี้ โดยรวบรวมลงในโปรแกรมบันทึกข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ ซึ่งการได้มาของข้อมูลนั้นจะต้องสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อการได้มาซึ่งข้อมูล

 

 

หมายเลขบันทึก: 244353เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท