ฮีโมฟีเลีย..ชิวิตที่ถูกสาป


ด้วยความคิดที่ว่า “ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจังหวัดน่านต้องได้รับสิทธิในการรักษา และ ได้รับการดูแลรักษาเหมือนบุตรของตนเอง” จึงได้จัดตั้งเครือข่ายผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียสาขาจังหวัดน่าน ภายใต้มูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทยขึ้น

ด้วยความคิดที่ว่า ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจังหวัดน่านต้องได้รับสิทธิในการรักษา และ ได้รับการดูแลรักษาเหมือนบุตรของตนเอง    ดิฉันและครอบครัวจึงได้ดำเนินการสืบค้นหาผู้ป่วยนาน 1 เดือน  พบว่า มีผู้ป่วยเพียง 1 รายเท่านั้นที่ได้เข้าร่วมโครงการโรคค่าใช้จ่ายสูงของสปสช. เนื่องจากมีบิดารับราชการครู  นอกจากนั้นผู้ป่วยในจังหวัดน่านไม่เคยรับทราบโครงการนี้มาก่อน ที่ผ่านมาการรักษาที่ได้รับคือเมื่อเจ็บป่วยหรือมีอาการเลือดออกก็ต้องนอนรับ การรักษาด้วย cryoprecipitate ที่โรงพยาบาลน่าน นาน 14 สัปดาห์ ญาติ ผู้ปกครอง ต้องหยุดงานมาดูแล ขาดรายได้ประจำวัน ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความเจ็บปวดไม่สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติ ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่มีความพิการจากโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียปรากฏให้เห็นจำนวน 5 ราย  ผู้ป่วยคนหนึ่งเล่าว่าน้องชายเสียชีวิตไปแล้วจากหกล้มศีรษะกระแทกบันไดมีอาการเลือดไหลไม่หยุด  ผู้ป่วยบางรายมีเครือญาติเสียชีวิตด้วยอาการเลือดไหลไม่หยุดถึง 4 รายด้วยกัน ผู้ป่วยมีความคิดว่า  ชีวิตตนเองเหมือนถูกสาป  เพราะต้องระมัดระวังตลอดชีวิต ในขณะที่คนปกติทั่วไป ถ้ากระแทกก็มีเพียงรอยช้ำ หกล้มเลือดไหลไม่นานก็ตกสะเก็ด แต่พวกเขาไม่ได้เป็นเช่นนั้น เล่นกีฬาไม่ได้ เผลอกระแทกโต๊ะก็ไม่ได้ เพราะเมื่อไหร่ที่เลือดออก ไหลไม่หยุด รักษาไม่ทัน นั่นหมายถึงความพิการและอันตรายถึงกับชีวิต ผู้ป่วยจึงมีความคิดท้อแท้ อยากฆ่าตัวตายให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน

ด้วยสิ่งเหล่านี้จึงมีแนวคิดในการจัดตั้ง เครือข่ายผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียสาขาจังหวัดน่าน ภายใต้มูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทยขึ้น  เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวมกลุ่มผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียและครอบครัวในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงกับคนปกติ  ปราศจากความพิการและภาวะแทรกซ้อนได้  รวมทั้งผลักดันให้โรงพยาบาลน่านเป็นศูนย์รับรักษาส่งต่อโรคฮีโมฟีเลีย โดยมีศูนย์ประสานงานอยู่ที่โรงพยาบาลท่าวังผา 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #น่าน#ฮีโมฟีเลีย
หมายเลขบันทึก: 243705เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2009 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เป็นกำลังใจให้พี่น้อยหน่ากับบทบาทของคุณแม่ที่ดี และเป็นผู้จัดการรายกรณีที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือสังคมสำหรับผู้ป่วยฮีโมฟีเลียค่ะ

เช่นเดียวกันคะ อยากจะเป็นกำลังใจให้ สำหรับโครงการดีดีนะคะ

ยินดีกับผู้ป่วยชาวจังหวัดน่านด้วยครับ

ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจ..จะมุ่งมั่นทำต่อไปค่ะ

น่าเห็นใจมากค่ะ

คิดดี ทำดี น่าชื่นชมครับ

สำหรับโครงการที่ดี สมควรได้รับการยกย่อง

รู้สึกดีที่มีการสรรสร้างความดีเกิดขึ้นในสังคม

ดีใจครับที่เห็นการช่วยเหลือกันแบบนี้ ขอให้สำเร็จครับผม

เป็นกำลังใจครับ สู้ สู้

เคยได้ยินที่น่าน ฮีโมฟีเลียเข้มแข็งมากครับ น่ายกย่องจริงๆครับ

เอาใจช่วยค่ะสำหรับคนดีๆทำดี เพื่อคนอื่นๆ ขอยกย่องชมเชยนะคะ

ผมเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคนี้

อย่าไห้ รัฐบาลช่วยเหลื่อ

เเละดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ไห้มาก

อยากไห้มี โรงเรียนที่ผู้ป่วย

สามาเรียนได้ ผมเอง21ปีแล้ว

ยังอยู่แค่ ม 6 ครับ ต้องเดินเรียน

เวลาเเขน ขาบวมแต่ละที่ ถ้าฉีนเฟตเตอรืไม่ทัน

เป็นเยอะก็ต้องหยุดเรียน ชีวิตรของเด็กemo

ชั่งหน้าเบื่อ ตอนเด็กยาหายากมากครอบครัวก็จน

เจ็บมากเลยคัฟ อย่าจะฆ่าตัวตาย แต่ว่า พ่อ แม่ สู้

แล้ว เรา ละ จะแพ้ได้ไง สู้คัฟ

ขอเป็นกำลังใจไห้เด็ก EMO ทุนคนคัฟ^___^

เรียนคุณแมนวสันต์

ขอเป็นกำลังใจให้อยู่กับโรคนี้อย่างมีความสุขค่ะ สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ [email protected] และขอเชิญเป็นสมาชิกชมรมผู้ป่วยฯ แห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกันต่ะ

 คุณน้อยหน่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท