การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

การจัดการความรู้คือการการรวบรวมความรู้ที่อยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอย่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด  โดยที่ความรู้มี  2ประเภทคือ

  1.  ความรู้ที่ฝังอย่ในตัวคน  เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆเป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่นทักษะในการทำงาน  งานฝีมือ  หรือการคิดเชิงวิเคราะห์

2.  ความรู้ที่ชัดแจ้ง  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆเช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ทฤษฎีและคู่มือต่างๆ

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการความรู้อย่างน้อย  5  ประการ

1.  การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกล่มหรือองค์กร

2.  การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

3.  การปรับปรุง  ดัดแปลงหรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะกับการใช้งานของตน

4.  การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

5.  การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย

1.  สัมมาทิฐิ  ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว

2.  จัดทีมริเริ่มดำเนินการ

3.  การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริงและดำเนินการต่อเนื่อง

4.  การจัดการระบบการจัดการความรู้

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้

1. คน  ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

2.  เทคโนโลยี  เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา  จัดเก็บ  แลกเปลี่ยนรวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น

3.  กระบวนการความรู้  เป็นการบริหารจัดการ  เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและนวัตกรรม

กระบวนการจัดการคามรู้  เป้นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนการของความรู้  หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้เนภายในองค์กร  มีทั้งหมด  7  ขั้นตอน  คือ

1.  การบ่งชี้ความรู้    เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์  พันธกิจ  ยุทธศาสตร์  เป้าหมายคืออะไรและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเราจำเป็นต้องใช้อะไร  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง  อยู่ในรูปแบบใด  อยู่ที่ใคร

2.  การสร้างและแสวงหาความรู้  เช่นการสร้างความรู้ใหม่  แสวงหาความรูภายนอก รักษาความรู้เก่ากำจัดความรูที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3.  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน

5.  การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวกเช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

7.  การเรียนรู้ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน  เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้  การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

 

หมายเลขบันทึก: 243340เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นกระบวนการชัดเจนครับ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท