อัลไซเมอร์ โรคที่ใครๆไม่อยากเป็น..


แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่ได้มีการพัฒนายาเพื่อชะลอโรคให้ช้าลง

          คงเป็นที่รู้จักกันอย่างติดปากว่า เมื่อหลงลืมก็กลัวจะเป็นโรคอัลไซเมอร์จริงๆแล้ว ที่มาของชื่อโรค เริ่มต้นมาจากศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา ชาวเยอรมันที่ได้เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ.1906 ถึงลักษณะทางพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อสมองส่วนหน้าของผู้ป่วยหญิง วัย 55 ปี ที่เริ่มป่วยด้วยอาการหลงลืม ตามมาด้วยการสูญเสียการรับรู้เวลา สถานที่ มีหูแว่ว และเสียชีวิตใน 5 ปีต่อมา ผลการตรวจชิ้นเนื้อแสดงถึง แสดงถึงเนื้อสมองที่ฝ่ออย่างผิดปกติ ร่วมกับมี senile plaque ที่ปกติ จะพบในคนแก่ และพบที่แท่งโปรตีนจำนวนมากในสมอง ซึ่งการวินิจฉัยตามลักษณะพยาธิวิทยาที่ยังคงใช้ยึดถือเป็นบรรทัดฐานจนถึงปัจจุบันนี้ และได้เรียกโรคของสมองชนิดนี้ ตามผู้ค้นพบคนแรกว่า "โรคอัลไซเมอร์"
โรคอัลไซเมอร์ คือ โรคของสมองที่มีการเสื่อมลงเรื่อยๆเริ่มจากสมองส่วนทีเกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ ตามมาด้วยความคิดตลอดจนเหตุผล การตัดสินใจ การสื่อสาร และในที่สุดการเสื่อมลงเรื่อยๆนี้ จะมีผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างชัดเจน เมื่อถึงระยะนี้จะพบว่าผู้ป่วยดูมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป บางคนเคยเป็นครูที่เข้มงวดมาก กลับร่าเริง ใจดี มีอารมณ์ขัน แต่ส่วนใหญ่จะพบว่าหงุดหงิดง่ายขึ้น ขี้บ่น อารมณ์ร้อน ระแวงง่ายโดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆ บางคนมีหูแว่ว ไม่อยู่ในภาวะความเป็นจริง ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้การดูแลตัวเองอย่างง่ายๆ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว แปรงฟัน กินข้าว การพูดคุย บอกสิ่งที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอยู่ได้ประมาณ 6-8 ปี หลังจากมีอาการความจำเสื่อม


สาเหตุ การศึกษาในขณะนี้ แม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบร่วมหลายปัจจัย ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น อายุ พันธุกรรม โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเจ็บหรือมีสาเหตุกระทบกระเทือนต่อสมอง รวมถึงภาวะเครียดเรื้อรัง


การรักษา
แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่ได้มีการพัฒนายาเพื่อชะลอโรคให้ช้าลง รวมถึงการควบคุมอาการทางจิตหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งหวังให้ญาติสามารถดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น รวมถึงให้ผู้ป่วยมีชีวิตและการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพใกล้เคียงเดิมที่สุด โดยไม่ถูกลิดรอนในเรื่องของศักดิ์ศรี

---------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณ

ความรู้ทางการแพทย์สู่ประชาชน
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อหนังสือ "ความเสื่อม..หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ชะลอได้"

หมายเลขบันทึก: 243268เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์คะ

โรคนี้เป็นโรคที่กลัวมากๆ

ตอนนี้หลงลืมอะไรๆ ไปหลายอย่าง

ต้องพยายามสร้างสติก่อน

ไม่รู้ว่าจะแก้สถานการณ์ไหวหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท