ราคะ โทสะ โมหะ:กับดักทางความคิด


กับดักทางความคิด / หลุมพรางของความฉลาด ผมได้กล่าวถึงและอ้างอิงแนวคิดของนักคิดหลาย ๆ ท่านมาแล้ว 2  ครั้ง ขอต่ออีกครั้งในบันทึกฉบับนี้ครับ

วันนี้ได้หยิบยกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ชื่อว่า "อกุศลมูล ๓"    เพื่ออธิบายเชื่อมโยงกับคำ "กับดักทางความคิด"  ไม่รู้ไปด้วยกันได้เปล่า...เชิญผู้อ่านร่วมวิพากษ์วิจารณ์ครับ...

อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง ต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อเกิดขึ้นจะแสดงออกมาเป็นความทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ

๑. ราคะ/โลภะ/ตัณหา  สองคำนี้ให้แทนกันได้เพราะต่างมีความหมายว่า ความกำหนัดยินดี ความติดข้อง ความพอใจในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส บุคคลใดที่หลงเข้าไปในโลกแห่งราคะนี้ จะปิดหูปิดตา ทำนองว่าความรักทำให้คนตาบอด  เลือกมองโลกเพียงบ้างด้าน  เลือกปฏิบัติเพียงบางเรื่องบางคน  ปิดความคิดและความเชื่ออื่นที่แตกต่าง... กลายเป็นกรงขังทางปัญญาในที่สุด

๒. โทสะ คือ ความโกรธ  ความเกลียด ไม่พอใจ  ไม่ชอบใจ  อยากทำร้าย-ทำลาย  ส่งผลให้ผู้ที่มีอารมณ์เช่นนี้ขาดความเมตตา  ความกรุณา  หรือการชื่นชมยินดี 

      ผู้ที่ไม่สามารถระงับโทสะได้ จะกลายเป็นคนทุจริตทั้งทางกาย  วาจา  และใจ  ไม่อาจยอมรับความคิดความเห็นที่แตกต่างได้  มองเห็นความผิดพลาดของคนอื่นมากกว่าที่แสวงหาความดีงาม...วนเวียนอยู่ในกับดักที่บีบคั้นตนเอง  ยิ่งดิ้นยิ่งรัด...

๓.โมหะ  คือ ความหลง  ความมัวเมา ไม่รู้จริง  เข้าใจผิด ยึดมั่นถือมั่น อาจหลงในรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส.. บุคคลเมื่อลุ่มหลงในเรื่องใด คนใด  หรือสิ่งใด  ย่อมมีการปฏิบัติโน้มเอียงไปในทิศทางนั้น ปฏิเสธเรื่องราว  คน หรือสรรพสิ่งที่ตรงข้าม และเมื่อปลอยความหลงให้ดิ่งลึกก็จะกลายเป็นผู้หมกมุ่นในที่สุด 

หลักสามประการนี้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  เพราะเมื่อบุคคลมีราคะในเรื่องใด  โมหะก็จะตามมา เมื่อมีสิ่งใดมากระทบกับโมหะนั้น  ก็จะบันดาลโทสะในที่สุด  บุคคลใดเปิดโอกาสให้อกุศลมูลนี้พอกพูนอยู่ในใจ ก็จะกลายเป็นบุคคลที่วนเวียนอยู่กับการคิดผิด  ทำผิด มองอะไรผิด ๆ ไม่อาจหลุดพ้นไปสู่อิสระภาพทางความคิดและปัญญาได้

แม๋!!!  พูดมายืดยาวเหมือนตนเองหลุดพ้นซะอย่างงั้น.. เอาเป็นว่ามนุษย์เดินดินทั้งหลายล้วนมีอกุศลเหล่านี้อยู่ในตัวตนทั้งนั้นแหละ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการขัดเกลา  บทบาท และสถานะทางสังคม  กล่าวคือ ผู้น้อยแม้มีมากก็อาจถูกให้อภัย  ผู้ใหญ่แม้มีน้อยก็อาจถูกประณาม  ผู้ไม่รู้แม้มีมากก็อาจถูกมองข้าม  แต่ผู้รู้ที่เปรื่องปราชญ์แม้มีน้อยก็อาจได้รับผลที่รุนแรง

สุดท้ายขอยืม คำพูดของหลวงพี่ชัยวุฒิ (BM.chaiwut)  มาปิดประเด็นครับ...

ความโลภ โลภะ หรือ ราคะ จัดเป็น ไฟเย็น มีโทษน้อย แต่ดับได้ยาก

ความโกรธ หรือ โทสะ จัดเป็น ไฟร้อน มีโทษมาก แต่ดับได้ง่าย

ความหลง หรือ โมหะ จัดเป็น ไฟมืด มีโทษมาก แต่เห็นได้ยาก 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง  :  กับดักทางความคิด

                           หลุมพรางของความฉลาด

หมายเลขบันทึก: 242950เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

1. นักบริหารสาธารณสุข

555...ขนาดนั้นเลยเหรอครับ...

พี่ขุน มิ้นว่า ยิ่งเขียนยิ่งเหมือนเรียน

พุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน

มากกว่าปรัชญาผู้บริหาร

อยากทางว่ามีแนวคิดด้านอื่นๆ อีกไหม

ที่ไม่ใช่แนวคิดทางพุทธศาสนา และของ Bono

มันน่าจะมีใครๆ บนโลกนี้ พูดรื่องกับดักความฉลาดอีกนะ

จะกรุณามาก หากหาได้

3. mintee

หมดใส้หมดพุงแล้วครับ...คุณ Mintee ต้องช่วยกันหาแล้วแระ...อิอิ

ไฟเย็น...ไฟร้อน...ไฟมืด - - จะไฟไหนก็ทำลายชีวิตคนได้มากพอกัน

จะดับง่ายดับยาก แต่ไฟก็ไหม้ไปแล้ว...ทำลายไปแล้ว

เฮ้อ - - มนุษย์

5. [SPI©Mië™]~natamaidee - - But narak..

เอาเป็นว่าอย่าให้มันไหม้มากไปกว่านี้ก็แล้วกันครับ...

"ความโลภ โลภะ หรือ ราคะ จัดเป็น ไฟเย็น มีโทษน้อย แต่ดับได้ยาก

ความโกรธ หรือ โทสะ จัดเป็น ไฟร้อน มีโทษมาก แต่ดับได้ง่าย

ความหลง หรือ โมหะ จัดเป็น ไฟมืด มีโทษมาก แต่เห็นได้ยาก "

ที่พูดมาถูกหมดเลยค่ะ ต้องพิจารณาที่ใจค่ะ ดับได้ที่ใจเรา

ไอ้บ้า วันทอง อยากดัง

เด็กวิศวะ อนุโมทนาด้วยค่ะ

กะลังอยากรุ้ความหมายของ โมหะ พอดี

363 วิธีระงับราคะ โทสะ โมหะ

ปัญหา ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิด ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อได้สัมผัสกับอารมณ์ต่าง ๆ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนมาลุงกยบุตร ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ในรูปที่เห็นแล้ว จักเป็นแค่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน จักเป็นแต่ได้ยิน ในอารมณ์ที่{รู้}จักเป็นแต่รู้ ในอารมณ์ที่รู้แจ้งจักเป็นแต่รู้แจ้ง เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ......”

สังคัยหสูตร ที่ ๒ สฬา. สํ. (๑๓๓) 
ตบ. ๑๘ : ๙๑ ตท. ๑๘ : ๗๙
ตอ. K.S. ๔ : ๔๓

คัดลอกมาจาก http://www.84000.org/true/363.html  *ใน {-} นั้นเข้าใจว่าพิมพ์ตกผมจึงใส่เพิ่มเองความจริงอาจไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ 

ความเข้าใจผมนะ 

ราคะ โทสะ โมหะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสิ่งแม้แต่กับ ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งดี  

ทรงสอนให้รับรู้*สิ่งต่างๆไว้แต่ ความจริงตามสภาพนั้น เท่านั้น

เมื่อจิตไม่นำเอามาผูกกับตนเอง จึงไม่มีความต้องการหรือความไม่ต้องการ ราคะกับโทสะ จึงไม่เกิดขึ้น  

เมื่อจิตไม่ไปยึดมั่นถือมั่น โมหะก็จะไม่เกิดขึ้น 

*รับรู้นี้รวมทั้งจากภายนอกและภายในตนเอง(คิดได้เอง)


กันย์สินี บริหารธนศักดิ์

อันคนเราทุกคนเกิดมาย่อมมีกรรมเป็นของๆ ตน...แต่ต้องรู้จักพิจารณา และ พยายามยับยั้งการกระทำให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดกรรมต่อไปในชาตินี้..ถ้าเรารู้การกระทำ และ ผลของกรรมนั้นแล้ว....อกุศลมูลทั้ง 3 เราต้องสามารถยับยั้งเพื่อไม่ให้เกิด...หรือไม่ต้องให้น้อยที่สุด...

โทสะ แก้ไขด้วย เมตตาครับ

วิธีดับโลภะ โทสะ โมหะ ข้าผู้น้อยขอตอบว่าดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท