ใบงานวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552


แหล่งเรียนรู้ ประเภทแหล่งเรียนรู้ องค์กร/เทคโนฯ องค์ประกอบขององค์ด้านเทคโนฯ

งานที่ต้องจัดทำ

1.ค้นเอกสาร"แหล่งเรียนรู้"มี5ประเภท (ค้นจำนวน 5 แหล่ง) อ้างถึงแหล่งที่มาด้วย(งานเดี่ยว)

ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้(http://gotoknow.org/blog/tookul/124162)

1 แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน หมายถึง บุคคล คณะบุคคลหรือตัวแทนขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในชุมชนที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน ที่สามารถถ่ายทอดความรู แนวคิด หลักการ และวิธีการปฏิบัติ ให้แก่นักเรียนไดเช่น ตัวแทนด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ตัวแทนรัฐบาลหรือหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาองค์กรต่างๆ ผู้ชำนาญพิเศษหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น พระภิกษุสงฆ์หรือผู้นำศาสนาต่างๆ ผู้นำชุมชน คณะบุคคลจากสถาบันต่างๆ เป็นต้น

2 แหล่งเรียนรูประเภททรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรที่มนุษยสร้างขึ้น หมายถึง ทรัพยากรหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษยสร้างขึ้น เช่น ทรัพยากรป่าไม้ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรแร่ธาตุ ทรัพยากรสัตว์ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายชลประทาน ลำคลอง อุทยานแห่งชาติ ศูนย์อนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นต้น

3 แหล่งเรียนรูประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่นโบราณสถาน โบราณวัตถุ วัด พิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูป โบสถ์ วิหาร ศูนยราชการ โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด อนุสาวรีย์ ศาลหลักเมือง เรือนจำ สถานีตำรวจ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาวิชาการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

4 แหล่งเรียนรูประเภทสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี หมายถึง แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่เป็นนวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ห้องสมุดประชาชน เครื่องอิเลคทรอนิกส์ ต่างๆ ระบบเครื่องยนต์ต่างๆ เคมีภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ อินเทอรเน็ต เป็นต้น

5 แหล่งเรียนรูประเภทศิลปะ วัฒนธรรมและจารีตประเพณี หมายถึง แหล่งการเรียนรู้ทางสังคมที่แสดงถึงความเป็นอยู่ ความเชื่อ วิถีชีวิตที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต เช่นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมือง การแสดงพื้นบ้าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน กิจกรรมชุมชน พิธีทางศาสนา ประเพณีความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ ศิลปกรรม แกะสลัก เครื่องปั้นดินเผา ภาพวาด ภาพเขียน เป็นต้น

ก.แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่
 - ห้องสมุด  ศูนย์วัฒนธรรมศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ห้องรีไซเคิล , ธนาคารขยะ สวนพฤษศาสตร์ห้อง ICT ศูนย์แนะแนวห้องสมุดสาระการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษห้องปฏิบัติการภาษาไทยห้องปฏิบัติการสังคศึกษาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องจริยธรรมห้องฝึกงานอุตสาหกรรมห้องปฏิบัติการงานคหกรรมห้องปฏิบัติการพิมพ์ดีดห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ห้องปฏิบัติการดนตรีและศิลปะห้องปฏิบัติการพลานมัย
ข.แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในจังหวัดอุตรดิตถ์    จำแนกตามประเภทของแหล่งการเรียนรู้ มีดังนี้   
               1.ห้องสมุดประชาชน  ของการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์
               2.ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด
               2.อาคารพิพิธภัณฑ์ท่านพ่อพระยาพิชัยหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์                           
               3.สวนนกประมงอยู่ที่ตำบลวังแดง อำเภอตรอน   จังหวัดอุตรดิตถ์                      
               4.สวนสาธารณะเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนอุตรดิตถ์               
               5.วัดพระแทนศิลาอาสน์ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์                        
               6.เขื่อนสิริกิติ์  ตั้งอยู่อำเภอท่าเปลา จังหวัดอุตรดิตถ์                        
               7.อุทยานประวัติศาสตร์ มีจำนวน   1    แห่ง    
               8.อุทยานแห่งชาติ      มีจำนวน    1    แห่ง         

2.ระดมความคิด(งานกลุ่ม) จัดประเภทแหล่งเรียนรู้เว็บที่เกี่ยวข้อง

http://edu.swu.ac.th/ae/websnong/web01/learning_resoure.htm 

3.โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้

  • เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น http://learners.in.th/blog/gifteiei/83480

       องค์กรฯที่เป็นเอกเทศ  

1.ข้อดี

                1.1  การทำงาน สะดวกและรวดเร็ว คล่องตัวการในการบริหารจัดการ

                1.2  ทำให้สามารถบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพ

                1.3  ทำให้การทำงานในองค์กรเกิดคุณค่าทางการศึกษามากขึ้น

                1.4  สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง

                1.5   ถ้าไม่ยึดติดกับราชการ สามารถทำให้การทำงานได้รวดเร็ว

                2.ข้อจำกัด

2.1                 ขาดงบประมาณ

2.2                 งบประมาณมีจำนวนจำกัด

2.3                 ขาดบุคลากร   

2.4                 ขาดสถานที่ตั้ง

องค์ที่เป็นส่วนหนึ่ง   

 1. ข้อดี  

1.1  ไม่ต้องดำเนินการจัดหาสถานที่ตั้ง

1.2 เป็นการประหยัดงบประมาณการลงทุน

1.3  สำนักงานฯมีบุคลากรพร้อมในการทำงาน

1.4  มีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีพร้อมสำหรับการทำงาน

1.5  มีความปลอดภัย

 2 ข้อจำกัด

2.1                 ยึดติดกับระบบราชการมากเกินไป

2.2                 การดำเนินการจัดซื่อจัดจ้างต้องยึดกฎหมายเป็นหลัก

2.3                 การทำงานไม่คล่องตัว

2.4                 มีผู้บังคับบัญชา หลายคน      

2.5                 มีขั้นตอนทำงานหลายขั้นตอน

4. องค์ประกอบขององค์กรด้านเทคโนโลยีฯมีอะไรบ้าง(งานเดี่ยว)

ภายในองค์กรมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา และจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการใช้ไอทีหลายอย่าง แต่ละอย่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การพัฒนาต้องพัฒนาไปทั้ง "ห้าองค์ประกอบ" นี้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ข่าวสาร คน และระเบียบพิธีปฏิบัติ

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน การวางรากฐานการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ใช้ระบบการประมวลผลที่ทำให้ทำงานได้รวดเร็วแม่นยำ มีระบบการเชื่อมโยงสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางไปถึง และประสานการทำงานเป็นระบบได้ ฮาร์ดแวร์จึงรวมไปถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ

2.ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นสิ่งที่จะทำให้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ขององค์กรที่ได้จัดหามา มีประโยชน์และทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ การที่องค์กรลงทุนจัดหาอุปกรณ์การประมวลผลมาใช้ จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับซอฟต์แวร์ จึงจะทำให้เครื่องอุปกรณ์นั้นมีคุณค่าซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญเช่นกัน
3ข้อมูลข่าวสาร (Content) คือเนื้อหาสาระที่สำคัญ การดำเนินการขององค์กรเกี่ยวข้องกับการผลิต การประมวลผล การสรุปผล การทำรายงาน การดำเนินการสื่อสารระหว่างกัน การกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นกับเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น ในองค์กรต้องให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ทำอย่างไรจึงจะให้ข้อมูลข่าวสารเข้าไปโลดแล่นอยู่ในระบบและใช้งานได้อย่างเต็มที่
4.บุคลากร (Peopleware) การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรมหรือดำเนินการให้บุคลากรหันมาให้ความสำคัญ และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร ความสามารถของบุคลากรจึงเป็นฐานสำคัญในการใช้ไอทีเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวม
5.ระเบียบวิธีการปฏิบัติ (Procedure) บางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับวิถีการทำงานแนวใหม่ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ หรืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานบางอย่างขององค์กร บางองค์กรจึงมีการปรับเปลี่ยนขั้นรุนแรงถึงขั้นรือปรับระบบ (Re-en-gineering) เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการทำงานแนวใหม่ที่มีไอทีเข้ามาสนับสนุน
        พัฒนาการทั้ง "ห้าองค์ประกอบ" นี้ต้องไปด้วยกัน จะเลือกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ หากองค์ประกอบหนึ่งองค์ประกอบใดไม่ได้รับการพัฒนา ย่อมทำให้ระบบโดยรวมขององค์กรมีปัญหา เช่น มีการซื้อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลที่ทันสมัย มีซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้เป็นเลิศ แต่ ขาดการดำเนินการกับข้อมูลข่าวสารที่ดี หรือเกือบจะไม่มีข้อมูลข่าวสารใด การลงทุนนั้นก็ดูจะสูญเปล่า
        การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรจึงต้องพัฒนาจากฐาน โดยเน้นที่ "ห้าองค์ประกอบ" นี้เป็นสำคัญ เหมือนเช่นรองประธานาธิบดี อัลกอร์ ได้กล่าวเน้นว่า จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในกลยุทธ์การแข่งขันและสมาชิกทุกคนขององค์กรได้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยี (ไอที) ที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว

รายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

 

1. ฮาร์ดแวร์ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ( Hardware )

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ(Scanner)

 2. ซอฟต์แวร์ ( Software )

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สองซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อ ประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งานลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น  โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย

 

3. ข้อมูล ( Data )

ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ การเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องมีการตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

 

4. บุคลากร ( Staff )

บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญ ใน ความสำเร็จของระบบสารสนเทศบุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามต้องการ

 

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้ว ขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น การบันทึกข้อมูล การประมวลผล การปฏิบัติงานเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และ การทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

แหล่งที่มา

http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1087450326-mayreport.doc

 องค์ประกอบขององค์กรโดยทั่วไป   ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
    
         1.  วัตถุประสงค์ (objective) หรือจุดมุ่งหมายในการก่อตั้งองค์การ  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมหรือผลผลิตขององค์ก
                2.  โครงสร้าง (stracture) องค์กรจะต้องมีโครงสร้าง  โดยมีการจัดแบ่งหน่วยงานภายในตามหลักความชำนาญเฉพาะ  มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างภายในองค์กร
                3.  กระบวนการปฏิบัติงาน (process)  หมายถึง  แบบอย่างวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนคงที่แน่นอน  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงาน
                  4.  บุคคล (person) องค์กรจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งในลักษณะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกภายในองค์กร  ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  และยังต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกองค์กร  ซึ่งได้แก่  ผู้รับบริการและผู้ให้การสนับสนุน (
http://gotoknow.org/profile/lekbumlung) 

5. หลักการ ทฤษฎี แนวคิด การบริหารจัดการองค์กรเทคโนโลยีทางการศึกษา

        1. ทั่วไป
       

   การจัดองค์การ

การจัดองค์การ (Organizing)  มีหลายความหมายดังนี้

1)       การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคล  เพื่อให้แน่ใจว่าบุคลากรได้ใช้ความพยายามในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่  

2)       เป็นการนำหลักการจัดองค์การสำนักงานที่แสดงความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างบุคลากร    การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ให้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดผลผลิตจากการทำงานสูงสุด

3)       เป็นกระบวนการประสานงานระหว่างหน้าที่ต่าง ๆ บุคลากรและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ 

4)       เป็นการกำหนดว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องทำและควรทำอย่างไร การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ซึ่งต้องอาศัยแผนผังการจัดองค์การ (Organization chart) ซึ่งเป็นแผนผังที่แสดงความรับผิดชอบและอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่และกิจกรรมต่าง ๆ 

           หลักการจัดองค์กร
                   หน้าที่ด้านการจัดองค์การ
(Organizing) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าหน้าที่หลักๆ ของหลักการจัดการทั่วไป เป็นตัวกำหนดที่สำคัญว่าองค์การได้มีการใช้ทรัพยากรทางด้านบุคคลและที่ไม่ใช่บุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่การจัดองค์การก่อให้เกิดขึ้นได้แก่

1)      

หมายเลขบันทึก: 242716เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท