นวัตกรรมต่าง ๆ RSS email ebook ฯลฯ


นวัตกรรมต่าง ๆ RSS email ebook ฯลฯ

อาร์เอสเอส (RSS)

 คือหนึ่งในประเภทเว็บฟีด ซึ่งมีรูปแบบข้อมูลเอกซ์เอ็มแอล ซึ่งใช้สำหรับในการกระจายข้อมูลที่มีการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยจากเว็บไซต์ (web syndication) และบล็อก ซึ่งอาร์เอสเอสสามารถย่อมาจากหลายรูปแบบด้วยกันคือ :

  • Really Simple Syndication (RSS 2.0)
  • Rich Site Summary (RSS 0.91)
  • RDF Site Summary (RSS 0.9 และ 1.0)

การใช้งาน

โปรแกรมอ่านฟีดหรือรวบรวมฟีด (feed readers or aggregators) นั้นใช้สำหรับในการตรวจสอบ รวบรวมและดึงข้อมูลจากฟีดต่างๆที่กำหนด โดยปกติบริการประเภทนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ข้อมูลที่ได้อาจเป็นเพียงหัวข้อข่าว หรือรายละเอียดโดยย่อเท่านั้น ส่วนเนื้อหา หรือข้อความหลักของข่าว มักจะมีลิงก์เชื่อมโยงไปให้อีกทีหนึ่ง

อาร์เอสเอส ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มของคนที่ใช้บล็อก เพื่อแสดงหัวข้อหรือเรื่องราวล่าสุด รวมถึงข้อมูลมัลติมิเดียด้วย (ดู พอดคาสติ้ง บรอดแคทชิ่ง (broadcatching) และบล็อกเอ็มพีทรี (MP3 blogs)) ในกลางปี พ.ศ. 2543 การใช้งานอาร์เอสเอสก็แพร่หลายไปสู่สำนักข่าวต่างๆ ทั้ง รอยเตอร์ ซีเอ็นเอ็น และ บีบีซี

โปรแกรมรวมกลุ่มข่าวสารจะทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ทั้งยังแสดงผลข้อมูลล่าสุดให้อัตโนมัติ ในตอนนี้ถือเป็นเรื่องปกติจะพบอาร์เอสเอสในเว็บไซต์ทั่วไป บางเว็บไซต์ยังสามารถเลือกรูปแบบของการรับข่าวสาร ระหว่างอาร์เอสเอสหรือ Atom ได้อีกด้วย

การรับข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ ปกติจะใช้คำว่า "ลงทะเบียนรับข่าวสาร" (Subscribe) หรือ เป็นรูปภาพ และในหลายเบราว์เซอร์ยังให้อาร์เอสเอสเป็นคั่นหน้า (bookmark) ได้เช่นกัน

 

 

บล็อก (อังกฤษ: blog)

หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง

ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี

 

วิกิ หรือ วิกี้

คือลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพีเดีย

 

E-mail

 คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข้อความจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง มีระบบการกำหนดแอดเดรส เช่น บนอินเทอร์เน็ต มีแอดเดรสเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบชื่อโดเมน เช่น bu.ac.th หากผู้ใช้เป็นผู้หนึ่งที่อยู่บนโฮสต์ก็จะมีชื่อบัญชี (account) หรือยูสเซอร์เนมประกอบอยู่ด้วย เช่น [email protected] การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการส่งเหมือนจดหมายจริง โดยจะไปเก็บไว้ในเมล์บ็อกซ์ของผู้รับปลายทาง รอจนกว่าผู้รับปลายทางจะมาเปิดเมล์บ็อกซ์นำจดหมายไป

 

 

 

e-book

คือ
"หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป

รูปแบบของ e-book
รูปแบบสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง เช่น ซีดีรอม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษรทั้งลักษณะภาพดิจิตอล ภาพแอนิเมชั่น วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่น ๆ
รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์และการเข้าเล่มรูปแบบของหนังสือที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ลงไปจัดเก็บลงในเครื่อง palm ทำให้สามารถที่จะพกพาหนังสือหรือเอกสารจำนวนมากไปอ่าน ณ ที่ใดก็ได้ เพียงแต่นำเครื่อง palm ติดตัวไปเพียงเครื่องเดียว

รูปแบบไฟล์ของ e-book
HTML (Hyperte Markup Language) สามารถคัดลอกมาแก้ใขดัดแปลงได้
XML (Extensive Markup Language)?
PDF (Portable Document Format)ไม่สามารถคัดลอกข้อมูลได้ เพราะสร้างแบบการคัดลอกจากหนังสือจริง(แสกนมา) ต้องใช้โปรแกรมช่วยดาวโลด์ในการอ่าน (adobe)
PML (Peanut Markup Language)?

 

 

WebBoard

 

คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ สำหรับโปรแกรม D'Board ที่เปิดให้ใช้บริการนี้ จะเป็น WebBoard ในลักษณะเดียว (รูปแบบคล้าย) กับที่ใช้ใน pantip.com

 

e-Learning

คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

WBI

เป็น การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowladge Based On Line เป็นการจัดสภาวกาณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Lineโดยมีข้อกำหนด

 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI

 คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ลักษณะของการนำเสนอ อาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน และยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคน ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการในการผลิตอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน
คำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียก คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ Computer Assisted Instruction (CAI), Computer Aided Instruction (CAI), Computer Assisted Learning (CAL), Computer Aided Learning (CAL), Computer Based Instruction (CBI), Computer Based Training (CBT), Computer Administered Education (CAE) , Computer Aided Teaching (CAT) แต่คำที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบันได้แก่ Computer Assisted Instruction หรือ CAI

 

วีดิทัศน์ตามประสงค์

คือ ระบบการแพร่ภาพและเสียงวีดิทัศน์จากคลังข้อมูลวีดิทัศน์  (Video Server) สู่ผู้ชมที่อยู่ในเครือข่ายสื่อสารผ่านระบบจัดการข้อมูลวีดิทัศน์แบบทยอยส่งเรื่อยๆ หรือวีดิทัศน์แบบสายธาร (Streaming) โดยผู้ชมสามารถเลือกเนื้อหาวีดิทัศน์ได้ตามประสงค์โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

การจัดการศึกษาตามประสงค์ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการจึงจะได้ผลดีซึ่งก็คือ "คอมพิวเตอร์และวีดิทัศน์" จากความสามารถในการจัดเก็บและส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้จัดเก็บและส่งข้อมูลวีดิทัศน์ตามคำร้องขอได้

สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้นำเอาระบบวีดิทัศน์ตามประสงค์มาใช้ร่วมกับการศึกษาทางไกลปฏิสัมพันธ์และการให้บริการสื่อเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง โดยใช้ระบบการเก็บข้อมูล (Files Server) ที่มีสมรรถนะในการเก็บวีดิทัศน์และข้อมูลจำนวนมากผ่านเครือข่ายสารสนเทศ (Information Technology Network) เพื่อเป็นการหาความรู้ใหม่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเรียนมาก่อนและผู้ที่พลาดโอกาสการเข้าชั้นเรียนด้วยเหตุสุดวิสัย หรือผู้ที่ต้องการทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้วแต่ยังไม่เข้าใจดีพอโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรูู้้ได้ตลอดเวลาเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาความรู้ของตนเองโดยไม่พลาดการเรียนการสอนอีกทั้งยังช่วยในการประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

VDO Conference

คือ การประชุมกันโดยมองเห็นกันด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยไม่ต้องมาพบกันจริงๆ โดยการประชุมกันนั้นอาจเป็นรูปแบบ การประชุมกันของกลุ่มบุคคลในสถานที่ต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วย ทำให้ไม่ต้องเดินทาง ไม่เสียเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ หลายอย่าง เช่นค่าที่พัก ค่าสถานที่ ฯลฯ ในด้านการศึกษา คงหมายถึงการศึกษาผ่านระบบการสื่อสาร ทำให้ผู้เรียน ไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่สถานศึกษา ผู้สอนไม่ต้องตระเวณไปสอนในสถานที่ต่างๆ เพียงจัดเตรียม

สถานที่ในพื้นที่ที่ต้องการ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารและแสดงภาพ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ จะเรียนไปพร้อมๆ กัน เช่้น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง และสามารถสอบถามหรือโต้ตอบกันโดยใช้ระบบสื่อสารที่มี จะเห็นได้ว่าประหยัดและได้ประโยชน์อย่างยิ่งเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถได้อย่างกว้างขวาง

 

Podcast

 เป็นรูปแบบของกระบวนการที่เราสามารถบันทึกเสียง หรือการทำรายการวิทยุของตัวเอง หรือการนำไฟล์เสียงต่างๆ ขึ้นไปเก็บไว้บนเวบ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดมาฟังได้ ซึ่งปกติเราจะใช้วิธีดาวน์โหลดไฟล์คลิปต่างๆ แต่ในระบบ Podcast นี้ เราเพียงแต่เลือกคำสั่งแล้วค้นหาจาก Podcast ที่ทำงานร่วมกับ RSS Feed เราก็สามารถที่จะดาวน์โหลดไฟล์เสียงเหล่านั้นมาเก็บไว้ที่ iTunes แล้วก็สามารถนำไปฟังในเครื่อง iPod ได้

หมายเลขบันทึก: 242219เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท