สรุปการบรรยายของท่าอธิการบดีรศ.ดร ศิโรจน์ ผลพันธิน โดยปาลจิตต์


วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ในองค์กร

การเรียนวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ในองค์กร    สัปดาห์ ที่3 วันเสาร์ที่ 31  มกราคม 2552  โดยท่านอธิการ รศ.ดร  ศิโรจน์  ผลพันธิน   จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   ด้านการจัดการความรู้ให้ฟังว่ามาจากประเทศอเมริกา ในศตวรรษที่ 21 มีการใช้ความรู้เป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามรถในการแข่งขันมากกว่าการใช้เงินทุนและแรงงานดังเช่นในอดีต   กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่อาจหยุดยั้งหรือหลีกพ้นได้แต่จะเป็นการเปลี่ยนแลงที่เคลื่อนไปข้างหน้าในลักษณะสังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้จริง เพื่อให้การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตัวเองและงานที่ทำในองค์กร

การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

องค์กรจะต้องเติบโต

-  Survival   การอยู่รอดขององค์กร

-  Survivability   ความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร

-ความเข็มแข้งขององค์กร

การพัฒนา 2ทาง  คือ

-การใช้คน

 -กรใช้ความรู้

 

การพัฒนาอย่างไรจึงจะให้คนกับความรู้มาอยู่ร่วมกันและต้องนำมาใช้ให้ได้ถึงจะเกิดประโยชน์

 

Ex. บริษัท 7-11 จำกัด ในการลดกระดาษใบเสร็จ 1 ซม. ซึ่งได้ผล

     - บริษัทTOYOTA จำกัด ทำการลดคนงานเพื่อลดต้นทุนซึ่งได้ผล

 

ความรู้(Knowledge)

การจัดการความรู้  คือ  การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร  มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงขางขันสูงสุด  โดยที่ความรู้มี  2  ประเภท  คือ

1.   ความรู้ที่อยู่ในตัวคน  (Tacit  Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น  ทักษะในการทำงาน  งานฝีมือ  หรือการคิดเชิงวิเคราะห์  บางครั้ง  จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2.   ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit  Knowledge)  เป็นความรู้ที่สารถรวบรวม  ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น  การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ทฤษฎี  คู่มือต่างๆ  และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 

Km ไม่ได้เป็น

-        tool

-        เทคโนโลยี

-        HR

แต่เป็นตัวที่จะมาจัดการกับความรู้และคนในการพัฒนาในลักษณะที่ตรงความต้องการที่จะใช้ขององค์กร ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเปลี่ยนจากผู้บริหารก่อน จึงจะเกิดการมองไปข้างหน้าเพื่อการเรียนรู้

การพัฒนาจะต้องดูที่คนก่อนที่จะดูที่สมองของคน

 

การพัฒนาความรู้อยู่ในเงื่อนไขสำคัญของสติปัญญาส่วนเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเป็นฐานข้อมูล

ในปัจจุบันสังคมสอนให้เด็กใช้สมองซีกซ้ายมากแต่ความจริงจะต้องพัฒนาไปทั้งสองด้านพร้อมกันจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

 

สรุป

    องค์การที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเท่านั้นที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร  และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ  จะต้องเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ  เหล่านี้อย่างเหมาะสม  โดยต้องมีการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในแนวคิดและปรัชญาของ  ทฤษฎีองค์การ พฤติกรรมองค์การและ เครื่องมือทางด้านการบริหารและการพัฒนาองค์การนั้นๆ ว่าเครื่องมือใดเหมาะสมกับองค์การของเราและสามารถนำมาใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้  เกิดประโยชน์สูงสุดอย่าง       แท้จริงต่อองค์การ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 241967เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุขสันต์ ในวัน แห่งความรัก

ได้ประจักษ์ ใจจริง ทุกสิ่งสรรพ์

panjitยล..คนศรัทธา ค่าอนันต์

มิตรสัมพันธ์ สังคม...ชื่นชมเทอญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท