sunlady
นางสาว ซันเลดี้ ซันเลดี้

โครงการสร้างเสริมพลังปัญญาเพื่อสุขภาวะและความปลอดภัยให้แก่เด็กและครอบครัว


โครงการสร้างเสริมพลังปัญญาเพื่อสุขภาวะและความปลอดภัยให้แก่เด็กและครอบครัว

เทศบาลตำบลไทรย้อยได้รับงบประมาณจากโครงการและจะดำเนินงานตามโครงการโดยเบื้องต้นได้นัดประชุมคณะกรรมการและบุคคลที่เกี่ยวข้องในวันที่  20  กุมภาพันธ์  2552  ดังนั้น จึงไม่มีรูป และการดำเนินการ จึงขออนุญาตแนะนำโครงการแบบคร่าวๆๆๆ ก่อนนะค่ะ และต่อไปจะนำผลการดำเนินการมานำเสนออีกครั้งหนึ่งค่ะ

โครงการสร้างเสริมพลังปัญญาเพื่อสุขภาวะและความปลอดภัยให้แก่เด็กและครอบครัว

เทศบาลตำบลไทรย้อย  อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

  • 1. บริบทและความเป็นมา

ตำบลไทรย้อย เดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้แยกเป็นตำบลไทรย้อย ปัจจุบันตำบลไทรย้อยมีทั้งหมด 17 หมู่บ้าน มีประชากร 8,759 คน 2,775 หลังคาเรือน ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.บ้านน้อย ฯ ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง  ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.วังโพรง                   อ.เนินมะปราง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.บ้านมุง ต.วังยาง และ ต.วังโพรง   อ.เนินมะปราง  และทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.วังทับไทร กิ่งอ.สากเหล็ก อ.เนินมะปราง  และ   ต.หนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

ประชากรมีอาชีพหลักคือ ทำนา ค้าขาย รับจ้าง อาชีพเสริมคือ การเลี้ยงสัตว์  มีกลุ่มเกษตรผลิตข้าวหอมมะลิ กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และกลุ่มทอเสื่อกก

สถานที่สำคัญ  ได้แก่  ถ้ำผาหลวง ถ้ำคางค้าว อ่างเก็บน้ำพุกระโดน วัด/สำนักสงฆ์ 12 แห่ง สถานีอนามัย 2 แห่ง สถานีตำรวจภูธร 1 แห่ง และโรงเรียนประถม 6 แห่ง โรงเรียนมัธยม 1 แห่ง

สาเหตุที่มีความสนใจและเข้าร่วมโครงการเนื่องจากเห็นว่า  การพัฒนา "ปัญญา" ครอบครัวเด็กเป็นการพัฒนาของคนในครอบครัวของเด็ก ให้มีทางเลือกในชีวิตมากขึ้นสามารถป้องกันอุบัติเหตุแบบบูรณาการณ์ โดยให้ครอบครัวเด็กเป็นศูนย์กลางโครงการสร้างเสริมปัญญาเพื่อสุขภาวะเพื่อเด็กและครอบครัว จึงจัดให้มีการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากต้นแบบและกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้เต็มศักยภาพ  มีสุขภาวะและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ปลอดภัย มีความมั่นคงในชีวิตรวมทั้งมีศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ในการพัฒนาปัญญาของคนในครอบครัวเด็ก จำเป็นจะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมและการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในครอบครัว ให้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนได้อย่างเต็มที่  และให้สามารถเข้าถึงพร้อมกับมีอุปกรณ์และสื่อในการเรียนรู้ อันได้แก่ "ความรู้" เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาหรือพัฒนาครอบครัวของเด็ก ท้องถิ่นของตนเอง ให้มีส่วนร่วมแสวงหาและสร้างความรู้เพื่อนำไปพัฒนาครอบครัวเด็ก

ดังนั้นจึงได้มีแนวคิดที่จะส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการในครอบครัวเด็ก ได้มีการสนับสนุนให้มีการพัฒนา ซึ่งครอบครัวเด็กและบุคลากรของเทศบาลตำบลไทรย้อย และสถานีอนามัยบ้านหนองขมิ้น รวมถึงครูผู้ดูแลเด็กได้ดำเนินการจัดเองจากการสร้างเสริมปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ และความรู้ที่ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ยั่งยืนในครอบครัวเด็กและชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

  • 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อให้เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีการเจริญเติบโตและเรียนรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุล

2.2 เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์เด็กเล็กมีกิจกรรมการส่งเสริม การพัฒนาครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

2.3 เพื่อส่งเสริมให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ให้มีความปลอดภัยความสุขที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

2.4 เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ-อุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียนภายในและภายนอกศูนย์ฯ

2.5 เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของนักเรียนและบุคลากร

  • 3. เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ

3.1   ด้านปริมาณ

  • 1) คณะกรรมการศูนย์ 3 ศูนย์ 39 คน แกนนำหมู่บ้านปลอดภัย 40 คน

  • 2) ครูศูนย์ฯ 6 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • 3) ผู้ปกครองเด็กเล็ก 110 คน

  • 4) เด็กเล็ก 110 คน

3.2    ด้านคุณภาพ

  • 1) เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้มีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน และมีนิสัยรักการอ่าน

  • 2) บ้านเรือนเด็กในศูนย์มีการรักษาสุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมที่ดี และเด็กมีความปลอดภัยในครอบครัว

  • 3) พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตระหนักในความปลอดภัยของลูกหลานขณะเดินทางไป-กลับศูนย์เด็กเล็กกับบ้าน

  • 4) เกิดการประสานพลังปัญญาของผู้รับผิดชอบและภูมิปัญญาในชุมชน ที่จะร่วมกันพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนเอง

 4.  แผนการดำเนินงาน

จุดประสงค์ของกิจกรรม

 

ขั้นตอน/กิจกรรม

 

พื้นที่ดำเนินการ/ผู้รับผิดชอบ

ช่วงเวลา/ระยะเวลา
ของแต่ละขั้นตอน

งบประมาณ

  • 1. เพื่อทราบความต้องการแนวทางการจัดทำกิจกรรมความปลอดภัย ความสุขทั้งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในบ้านภายในชุมชน เพื่อเสนอแนะแนวคิด วิธีการ ช่วยกันดูแลเด็กเล็กให้ปลอดภัยและมีความสุข

  • 1. ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้แกนนำหมู่บ้าน 40 คน คณะกรรมการศูนย์ฯ 3 ศูนย์ฯ จำนวน 39 คน

  • 2. สรุปผลการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละโครงการแล้วนำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมโครงการฯ ดังกล่าวในครั้งต่อไป

เทศบาลตำบล           ไ ทรย้อย

 

 

 

 กุมภาพันธ์ 2552

 

 

 

 

27,400 บาท

  • 2. เพื่อหาตัวอย่างที่ดี และแนวทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในแต่ละโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • 1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • 2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนน่าอาศัย ต้นแบบ

  • 3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และนิสัยรักการอ่านของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • 4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการหนูน้อยปลอดภัยใส่หมวกกันน็อก

ณ เทศบาลตำบลไทรย้อย

 

ณ เทศบาลตำบลไทรย้อย

 

ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเทศบาลตำบลไทรย้อย

 

 

ณ เทศบาลตำบลไทรย้อย

     พฤษภาคม  2552

 

 

     มีนาคม  2552

 

 

    มีนาคม-กรกฎาคม2552

 

 

 

       เมษายน  2552

 

 

 

 

 

 

25,200บาท

 

 

17,400บาท

 

 

49,000 บาท

 

 

 

 

54,600บาท

 

 

3.    เพื่อติดตามนิเทศการทำงานและถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ

 

  • 1. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามกิจกรรมและถอดบทเรียนโครงการอบรมการปฐมพยาบาล

  • 2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามกิจกรรมและถอดบทเรียนโครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนน่าอาศัย ต้นแบบ

  • 3. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามกิจกรรมและถอดบทเรียนโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และนิสัยรักการอ่านของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • 4. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามกิจกรรมและถอดบทเรียนโครงการหนูน้อยปลอดภัยใส่หมวกกันน็อก

 

 

 

 

 

 

 

 

ณ เทศบาลตำบลไทรย้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 สิงหาคม 2552

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

26,400  บาท

 

5.   สถานที่ดำเนินการ

ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

6.   ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

เดือนตุลาคม 2551-กันยายน 2552

7.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • 1. เทศบาลและชุมชนตระหนักในความสำคัญของเด็ก การดูแลสุขภาวะของเด็กรวมทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้และติดตามนิสัยรักการเรียน รักการอ่านของเด็ก

  • 2. เกิดการประสานพลังปัญญาของบุคลากร ครู แกนนำชุมชน และภูมิปัญญาในการพัฒนาเด็กนักเรียน สิ่งแวดล้อม และชุมชน

 

คำสำคัญ (Tags): #thaiclc.org
หมายเลขบันทึก: 241693เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ sunlady  เป็นความโชคดีของ เทศบาลตำบลไทรย้อย ที่ได้คนดีมีคุณภาพ เขียนบันทึกได้ดีมากชื่นชมด้วยความจริงใจครับ เสียดายวันนั้นด้วยเวลาอันจำกัดเลยไม่ได้ ลปรร.เรื่องติดวิทยุ พิษณุโลกบ้านเกิดในการศึกษาเล่าเรียนให้ชีวิตอนาคตกับผม อยากรู้ความเจริญก้าวหน้าอะไรอะไรของพิษณุโลก  พบเจอบันทึกคนพิษณุโลกต้องอ่าน เขียนบ่อยๆนะครับ ขอให้โชคดี มีความสุขครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท