วัดพระสิงห์


วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์

 

     เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อพระพุทธสิหิงส์ พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่ซึ่งเป็น ที่รู้จักกันและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ยิ่งในระยะหลังจะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เพราะ นอกจากจะเป็นพระที่ชาวเชียงใหม่ให้ความเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ยังเป็นพระประจำวันเกิด ของผู้ที่เกิดปีมะโรงหรือปีราศีงูใหญ่ด้วย  ดังนั้นผู้ที่เกิดราศีนี้ จะมากราบสักการะกันสัก ครั้งหนึ่งในชีวิต

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมือง เชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัด สำคัญวัดหนึ่งของเมือง  เป็นประดิษฐานพระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์  พระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันใน ชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง" ใครผ่านมาตามเส้นทางนี้ก็จะเห็นวิหารที่สวยงามของวัดมาแต่ ไกล เป็นมุมมองที่น่าสนใจและเป็นเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของถนนสายนี้ ทำให้ผู้พบเห็นเกิด ความรู้สึกที่ดีกับวิหารอันเก่าแก่ที่มีกำแพงสีขาวล้อมรอบ เพราะนอกจากจะเป็นวัดสำคัญ ของเมืองเชียงใหม่แล้ว ก็ยังเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นเมืองล้านนาได้เป็นอย่างดี

 

     ประวัติความเป็นมาของวัดพระสิงห์เริ่มต้นที่  พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย
โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ขั้นแรกให้สร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา เพื่อบรรจุ
พระอัฐิ ของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีกสองปีจึงสร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร
ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฎิสงฆ์เรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลี" ต่อมาบริเวณหน้าวัดมีตลาดเกิดขึ้นชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดลีเชียง" แล้วเรียกวัดว่า "วัดลีเชียง" และ "วัดลีเชียงพระ"  ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๔ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาถึงหน้าวัดลีเชียงก็ไม่ยอมเดินทางต่อ พระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียง ประชาชนทางเหนือนิยมเรียก"พระพุทธสิหิงค์" สั้นๆ ว่า "พระสิงห์" ดังนั้นจึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่า "วัดพระสิงห์"และเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้ากาวิละได้โปรดฯ ให้สร้างอุโบสถ และหอไตรขึ้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารทรงล้านนาขนาดใหญ่ ตรงกลางอาคารมีกู่ซึ่งแต่เดิมคงเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระประธาน

ยังมีตำนานบอกเล่าเกี่ยวกับพระสิงห์หรือพระพุทธสิหิงค์อันยาวนานไว้ด้วย ตำนานกล่าวไว้ว่า พระมหาเถรโพธิรังสีชาวหิริภุญไชย รจนาภาษาบาลีไว้ว่า เมื่อประมาณ  พ.ศ. ๗๐๐ พระเจ้าสีหฬะแห่งลังกาทวีป ได้โปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่งเรียกว่า  "พระพุทธสิหิงค์" แต่ในชินกาลมาลีปกรณ์เรียกว่า"สีหฬะปฏิมา" ตามนามกษัตริย์ผู้สร้าง


      พ.ศ. ๑๘๓๙ - กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช ได้แต่งทูตไปขอคัมภีร์พระไตรปิฎกจากลังกา  และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์อีกองค์หนึ่ง ศิลปะลังกา กลับมาด้วย ภายหลังมาประดิษฐาน อยู่ที่กรุงสุโขทัย เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ตีกรุงสุโขทัยได้ หลายสิบปี ต่อมาพญาไสลือไทยได้อัญเชิญมาไว้ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อพญาไสลือไทยสิ้นพระชนม์ จึง อัญเชิญมาที่กรุงศรีอยุธยา


      พ.ศ. ๑๙๒๗ - พระญาณดิศ เชื้อวงศ์พระร่วงได้กราบทูลพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาขออัญเชิญมา ไว้ที่เมืองกำแพงเพชร


     พ.ศ. ๑๙๓๔ - เจ้ามหาพรหม พระปิตุลาของเจ้าแสนเมืองมาได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเชียงราย  ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏ วัดที่ประดิษฐานพระพุทธสิงหิงค์อีกแห่งหนึ่ง ที่เมืองเชียงรายมีชื่อว่า  วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย และโปรดให้หล่อพระพุทธสิหิงค์จำลองขึ้น เมื่อเจ้า มหาพรหมถึงแก่พิราลัยแล้ว พระพุทธสิหิงค์จึงได้มาประดิษฐาน ณ วัดลีเชียงพระ ในนคร เชียงใหม่ เช่นเดิม


      พ.ศ. ๒๐๘๔ - พระไชยเชษฐากษัตริย์ล้านช้างเชื้อสายล้านนา ทรงนำพระพุทธสิหิงค์ และ พระพุทธรูปจากเชียงใหม่หลายองค์ไปไว้ที่ล้านช้าง(หลวงพระบาง) เมื่อทางเชียงใหม่ทวง ถามจึงทรงคืนพระพุทธสิหิงค์มาเพียงองค์เดียว


     พ.ศ. ๒๒๐๕ - สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกทัพมารบเชียงใหม่ และทรงอัญเชิญลง ไปไว้ที่อยุธยาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้อยู่นานถึง ๑๐๕ ปี


     พ.ศ. ๒๓๑๐ - กรุงศรีอยุธยาแตก ทัพทหารเชียงใหม่ที่มาในกองทัพพม่าอัญเชิญกลับนคร เชียงใหม่ทางเรือ และประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
                    

       ปัจจุบัน วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ระดับชาติ โดยกรมศิลปากร  และประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  16 มิถุนายน 2522  และในเทศกาลสงกานต์ของทุกปีจะมีการอัญเชิญพระสิงห์สิหิงค์ ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นประจำทุกปี ภายในวัดพระสิงห์มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่

      หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้นแต่งองค์ ทรงเครื่องสวยงาม ทำเป็นรูปเทพพนมยืน บ้างก็เหาะ ประดับอยู่โดยรอบ เป็นฝีมือช่างสมัย พระเมืองแก้วต่อมาในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐได้มีการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. 2467  ที่ฐานหอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัวภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น นางเงือกมี ปีก คชสีห์มีปีก และกิเลน

สิ่งที่น่าสนใจต่อมาคือ โบสถ์ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทั้งทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างแลเห็น หน้าต่างขนาดใหญ่ตีเป็นช่องแบบไม้ระแนง แต่ภายในเป็น หน้าต่างจริง มีลายปูนปั้น บริเวณซุ้มประตูทางเข้า หน้าบันมีลักษณะวงโค้งสองอันเหนือ ทางเข้าประกบกัน เรียกว่า คิ้วโก่ง เหนือคิ้วโก่งเป็นวงกลมสองวงคล้ายดวงตา ที่เสาและ ส่วนอื่นๆ มีปูนปั้นนูน มีรักปั้นปิดทอง ถือเป็นลักษณะอาคารและการตกแต่งเป็นแบบ ศิลปะล้านนาที่วิจิตรสวยงามโดยแท้


      อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ วิหารลายคำ เป็นวิหารทรงพื้นเมืองล้านนาขนาดเล็ก ภายใน ประดิษฐาน "พระพุทธสิหิงค์" ขนาดหน้าตักกว้าง 31 นิ้ว สูงจากขอบฐานถึงยอดพระเมาลี บัวตูม 51 นิ้ว บนผนังด้านหลังพระประธานมีรูปปราสาทแวดล้อมด้วยมังกรและหงส์ มี ความงดงามน่าชมยิ่ง มีเสาหลวง (เสากลม) เสาระเบียง (เสาสี่เหลี่ยม) ที่ผนังวิหารมีภาพ จิตรกรรมโดยรอบ ด้านเหนือเขียนเป็นเรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เป็นเรื่องสุวรรณหงส์ โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทองพบเพียงที่นี่แห่งเดียว อีกทั้งเป็นวิหารลายคำที่พบที่นี่ได้แห่งเดียว เท่านั้น และลักษณะเด่นของภาพจิตรกรรมที่พบในล้านนา ซึ่ง ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี  ประติมากร ชาวอิตาเลียน บิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ได้สรุปไว้ว่า  จิตรกรรม ในภาคเหนือนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวันเป็นภาพเหมือนชีวิตจริง ถ้ามองดูภาพที่งดงาม เรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไป อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ 100 ปีก่อน

      และนี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวของวัดพระสิงห์  วัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่ ที่หากใครได้ มีโอกาสมาเยือนเชียงใหม่แม้เพียงครั้งเดียว ก็ควรที่จะไปกราบสักการะกันสักครั้งหนึ่งใน ชีวิต

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=310

หมายเลขบันทึก: 241658เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะน้อง

ที่ได้นำเรื่องราวของวัดพระสิงห์  ทำให้รู้จักมากขึ้น วัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่

เมื่อก่อนเคยทำงานที่เชียงใหม่ 14 ปี

เมื่อมีงานก็ไปร่วมเป็นประจำ

ช่วงปีใหม่ปีนี้ก็ไปไหว้พระธาตุด้วยค่ะ

ขอบคุณมาก

1. MSU-KM :panatung~natadee

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 19:52

ขอบคุณนะค่ะ..ที่แวะเข้ามารับความรู้..

เคยเรียนที่มช. จบแล้วเป็นอาจารย์ที่มช. มีลูกสาว สามคนที่เชียงใหม่ ลูกสาวสองคนจบมช. อยู่เชียงใหม่เกือบ สามสิบปี ลูกสาวคนสุดท้องจบที่มทส. มหาวิทยาลัยนอกระบบแห่งแรกของประเทศค่ะ 

ดีใจที่หนูนำเรื่องดีๆของเชียงใหม่มากระตุ้นความทรงจำที่ดี และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่นวไปในตัว การนำเสนอระดับมืออาชีพ กระทัดรัด น่าสนใจรูปสวย พอเหมาะไม่เยิ้นเย้อ ดีค่ะ

มาไหว้พระ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ที่หน้าเวป  ขอพร และ รับพร เป็นสิริมงคลค่ะ..

 

 Moon smiles on Venus&Jupiter
http://www.imeem.com/people/lLRVfwt/music/bSld9xgM/charas_butterfly/

3. Lin Hui เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 20:19

ขอบคุณเจ้า Lin Hui เหล่าซือ..ปุ้ยชอบ..วัฒนธรรม..ประวัติศาสตร์เจ้า..แล้วจะสรรหามาให้อ่านอีกหนาเจ้า..โปรดติดตามตอนตอนไป..อิอิ .. ความรู้ดีดี ยังมีอีกเยอะ..

 

4. Moon smiles on Venus&Jupiter เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 20:45

จ้า..แล้วแวะมาบ่อยๆๆ นะ..ชีวิตมีสุข..ออิ

สวัสดีเจ้า....เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ได้ไปเที่ยว ถนนคนเดินมาครับ เพื่อนพาไปส่งที่หน้าวัดพระสิงห์ เดินไปทางประตูท่าแพ แล้ววกมาที่ อนุสาวรีย์สามเกลอ...อิอิ...หมดแรง

เลยเอารูปวัดพระสิงห์ยามค่ำคืนมาฝาก ป้าปุ้ย....ครับ

7. Panda เมื่อ ศ. 13 ก.พ. 2552 @ 09:54

ขอบคุณเจ้า..อิอิ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท