KM การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา ศูนย์การแพทย์ มศว.


เรียนรู้ร่วมกัน ฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์ มศว.

เรื่องดีๆที่ร่วมสร้างสรรค์องค์กร

 การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา  ( medication error )

 

วิธีการดำเนินโครงการ

                การจัดการความรู้ทางการพยาบาลเรื่อง การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยาได้มีการระดมความคิดของบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลวิชาชีพในแต่ละหอผู้ป่วยมาร่วมเรียนรู้วิธีการจัดการความรู้เพื่อให้บุคลากรสามรถที่จะแสดงความคิดนำเสนอแนวทางเทคนิคในการปฏิบัติการบริหารยาของในแต่ละหอผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและสามารถนำความรู้ใหม่ที่ได้รับจากกระบวนการกลุ่มการจัดการความรู้ นำมาประยุกต์เพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติใหม่ และจัดทำคู่มือในการบริหารยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในเรื่องของการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดในการให้บริการดูแลผู้ป่วย

 

                การจัดทำโครงการมีการแบ่งกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่มการจัดการความรู้เรื่องการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยาออกเป็น 5 ขั้นตอน   ในแต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้แบ่งได้ดังนี้

-          สัปดาห์ที่ 1  ระยะเวลา  11.00 – 15.00 น.

การจัดการความรู้เบื้องต้น  เทคนิคและเครื่องมือในการจัดการความรู้

Work shop  เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ SST ( success story telling )

 

-          สัปดาห์ที่ 2  ระยะเวลา  11.00 – 15.00 น.

Work shop SST and Dialoqe  เรื่องการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยาในหอผู้ป่วย การตรวจสอบและรับคำสั่งยาและการคัดลอกคำสั่งยาลงใบสั่งยา

After action review กระบวนการกลุ่มประจำสัปดาห์

 

-          สัปดาห์ที่ 3  ระยะเวลา  11.00 – 15.00 น.

Work shop SST and Dialoqe เรื่องการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยาในหอผู้ป่วย การส่งใบสั่งยาไปห้องยาและการตรวจสอบความถูกต้องของยาที่ได้รับจากห้องยา

After action review กระบวนการกลุ่มประจำสัปดาห์

 

 

-           สัปดาห์ที่ 4  ระยะเวลา  11.00 – 15.00 น.

Work shop SST and Dialoqe เรื่องการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยาในหอผู้ป่วย การตรวจสอบคำสั่งการให้ยา การจัดเตรียมยาและการบริหารยาให้แก่ผู้ป่วย

After action review กระบวนการกลุ่มประจำสัปดาห์

 

-          สัปดาห์ที่  5 ระยะเวลา  11.00 – 15.00 น.

สรุปผลการจัดการความรู้และสร้างคู่มือแนวทางการปฏิบัติการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

After action review  การจัดการความรู้และการปรับปรุงกระบวนการในการเรียนรู้ของกลุ่ม

สร้างกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ CoP การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา เพื่อแลกเปลี่ยน   เรียนรู้

ผลลัพธ์ของการจัดโครงการ การจัดการความรู้เรื่อง การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

 

-          บุคลากรทางการพยาบาลแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเกิดการพัฒนาหน่วยงาน

-          เกิดกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ Cop การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

-          บุคลาการทางการพยาบาลมีความรู้เบื้องต้นในเรื่องการจัดการความรู้

-          เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในการเข้าร่วมกระบวนการกลุ่ม KM

-          เกิดองค์ความรู้ในเรื่องการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

-          การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

-          ความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ การบริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

                       ระดับดีมาก  ร้อยละ 87

                        ระดับดี        ร้อยละ 13

เรื่องราวดีๆแบบนี้อย่าลืมมาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาองค์กรนะครับ

หมายเลขบันทึก: 241169เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ศิษย์เก่า มศว ตามมาเชียร์ครับ
  • อยากเห็นบันทึกอย่างต่อเนื่องนะครับ
  • ขอบคุณครับ

ยินดีต้อนรับสำหรับนักค้นคว้าหาความรู้

คือว่า ผมจะมายินดีต้อนรับคุณวิเศษครับ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีจำเพื่อนคนสวยได้ปะ อ่านเเล้วใช้ได้เชียวละวันหลังจะเเวะมาอีกเด้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท