แจ่ง


แจ่งเป๋นภาษากำเมือง หมายถึง มุม นั่นเอง...

แจ่ง


     คำว่า "แจ่ง" ของทางเมืองเหนือ หมายถึง “มุม” ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่นั้น สี่แจ่งเวียง ซึ่ง แปลได้ว่า สี่มุมเมือง นั่นเอง สี่แจ่งเวียงของเชียงใหม่ล้วนแล้วแต่มีประวัติศาสตร์อันควรค่า แก่การศึกษาทั้งสิ้น เริ่มต้นที่
 
 แจ่งศรีภูมิ

ศรีภูมิ แต่เดิมเรียกว่า สะหลีภูม หมายถึงศรีของเมืองในอดีตใกล้มุม  กำแพงเมืองนี้มีต้น ไทร ซึ่งถือเป็นสิริมงคล เป็นที่มาของเดชานุภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองเชียงใหม่  มุมกำแพงเมืองนี้ จึงได้ชื่อว่าแจ่งศรีภูมิ สถานที่แห่งนี้ คือ จุดเริ่มต้นของการตั้งเมือง เชียงใหม่ในรัชสมัยพญามังราย พ.ศ.1839 ป้อมที่แจ่งศรีภูมินี้บูรณะใหม่ในสมัยพระเจ้า
กาวิละ ประมาณ พ.ศ.2344

      เนื่องจากตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตำนานสิบห้าราชวงศ์ได้บันทึกได้บันทึกชื่อแจ่ง นี้เป็นอักษรพื้นเมืองว่า ออกเสียงเป็น “สะ-หลี-พูม” ฉะนั้นในการจารึกประวัติความเป็นมา ของแจ่งนี้ จึงมีชื่อภาษาพื้นเมืองกำกับไว้ด้วย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า การ เขียนชื่อของแจ่งศรีภูมิมีลำดับการเปลี่ยนแปลงดังนี้

 พ.ศ.2008 ชื่อว่า สรีภูม

 พ.ศ.2270 ชื่อว่า สรีภุมม์

 และ พ.ศ.2355 ชื่อว่า สรีภูม์

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า พญามังรายเริ่มก่อกำแพงเมือง เชียงใหม่ที่มุมเมืองนี้ก่อน จึงนับว่าเป็นมุมเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ภายหลัง เชียงใหม่ตกเป็นของพม่า ระหว่างปี พ.ศ.2101-2317 รวมเป็นระยะเวลา 200 ปีกว่า และเป็น เมืองร้าง ต่อมาอีกกว่า 20 ปี กำแพงเมืองทรุดโทรมเป็นอันมาก ในสมัยพระเจ้ากาวิละ จึงมี การบูรณะกำแพงเมืองขึ้นใหม่ ส่วนซากกำแพงเมืองที่ยังคงเหลือ อยู่ในปัจจุบันตามมุม เมืองทุกด้านนั้น เป็นป้อมที่หน่วยศิลปากรที่ 4 อนุรักษ์ไว้เพื่อคงสภาพเดิมตามหลักฐาน ทางโบราณคดี มิได้เติมแต่งผิดไปจากลักษณะเดิมแต่อย่างใด

 

แจ่งต่อมาคือ แจ่งก๊ะต๊ำ

      
ก๊ะต๊ำ คือ เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ในอดีตบริเวณมุม กำแพงเมืองด้านในเป็นที่ลุ่มมีคลอง ส่งน้ำจากแจ่งหัวลินมาสิ้นสุดที่นี่ จึงมีสภาพเป็นหนองน้ำและมีปลาชุกชุม ชาวบ้าน ใช้ก๊ะต๊ำจับปลามุมกำแพงเมืองนี้จึงเรียกว่า แจ่งก๊ะต๊ำ การใช้ชื่อก๊ะต๊ำ เป็นการใช้ตาม ลักษณะการออกเสียงของชาวเมืองเชียงใหม่

       
คณะทำงานได้ถกปัญหาเกี่ยวกับความหมายของ “ก๊ะต๊ำ” กันอย่างจริงจังเป็นกรณีพิเศษ  เนื่องจาก “ก๊ะต๊ำ” ใช้งานได้หลายกรณี ใช้จับได้ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ บางท่านได้มี ความเห็นว่า แต่เดิมบริเวณมุมเมืองด้านนี้มีสภาพเป็นป่า อาจมีสัตว์ใหญ่ ชุกชุม ชาวเมืองจึง อาจใช้ “ก๊ะต๊ำ” ดักสัตว์ใหญ่และบางท่านให้ความเห็นว่า มุมเมืองนี้แต่เดิมมี หนองน้ำ กว้างใหญ่ อยู่ด้านในกำแพงเมืองและเป็นบริเวณที่ลุ่ม ชาวเมืองจึงนำเอา “ก๊ะต๊ำ” จำนวน มากมาดักปลากัน และข้อสันนิษฐาน ประการหลังจึงมีน้ำหนักมาก พอที่ให้เรียกชื่อมุม เมืองด้านนี้ตามชื่อของเครื่องมือดักปลา คณะกรรมการจึงเห็นว่า “ก๊ะต๊ำ” ในที่นี้ใช้จับปลา จึงให้มุมเมืองนี้ได้ชื่อ “ก๊ะต๊ำ”

แจ่งที่ 3 คือ แจ่งกู่เฮือง

     
ชาวเชียงใหม่เรียกว่า แจ่งกู่เฮือง แต่เขียนเป็นแจ่งกู่เรือง กู่เรือง หมายถึงที่บรรจุอัฐิของหมื่น เรือง ซึ่งเป็นผู้คุมขุนเครือ โอรสของพญามังรายไว้ในเรือนขังที่บ้านของหมื่นเรือง ระหว่าง  พ.ศ.1864-1868 ป้อมที่แจ่งนี้บูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ประมาณ พ.ศ.2344
ความเป็นมาของชื่อแจ่งนี้ เนื่องมาจากขุนเครือ โอรสของพญามังราย คิดกบถชิงราชสมบัติ จากพญาแสนภู พญาแสนภูไม่ต่อสู้ แต่หนีไปยังเมืองเชียงราย ซึ่งพระราชบิดาพญาไชย สงครามครองเมืองอยู่ พญาไชยสงครามให้ท้าวน้ำท่วมโอรสยกทัพมาปราบปราม และจับ ขุนเครือไปคุมขังไว้ที่มุมเมืองด้านนี้ เนื่องจากขุนเครือเป็นโอรสกษัตริย์ และเป็นอนุชาของ พญาไชยสงคราม การคุมขังจึงแตกต่างไปจากนักโทษโดยทั่วไป ในที่นี้จึงใช้คำว่า "เรือน ขัง" ซึ่งเป็นบริเวณบ้านของหมื่นเรืองนั่นเอง ภายหลังหมื่นเรืองผู้คุมพิเศษท่านนี้ได้เสียชีวิต  จึงอาจมีการสร้างกู่บรรจุอัฐิของท่านไว้บริเวณนี้ ทำให้ชาวบ้านเรียกบริเวณรี้เป็นแจ่งกู่เรือง ตามชื่อท่าน แต่อย่างไรก็ตาม กู่นั้นไม่ปรากฏร่องรอยพอที่จะเป็นหลักฐานตามข้อ สันนิษฐานได้ ข้อความในป้ายจึงละเว้นที่จะกล่าวเรื่องนี้

 

แจ่งที่ 4 คือ แจ่งหัวลิน

      หัวลิน หมายถึง จุดเริ่มต้นของการรับน้ำด้วยการผ่านรางน้ำ ในอดีตมุมกำแพงเมืองนี้เป็นที่ รับน้ำจากห้วยแก้ว เพื่อนำเข้ามาใช้ในเมือง จึงเรียกมุมกำแพงเมืองนี้ว่า แจ่งหัวลิน ป้อมที่ แจ่งนี้บูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ประมาณ พ.ศ.2344

      คำว่า "หัวลิน" นี้อาจารย์ถิ่น รัติกนก ได้อธิบายไว้ว่า คำว่า "ลิน" เป็นคำนาม หมายถึง ราง น้ำ คำว่า "หัว" ตามความที่ใช้ของคนภาคเหนือ หมายถึง แรก, เริ่ม ฉะนั้นความหมายของ  "หัวลิน" จึงเป็นจุเริ่มต้นของรางน้ำ นั่นเอง สำหรับลักษณะของระบบการส่งน้ำด้วนลินนี้

      ในอดีตรางน้ำน่าจะทำมาจากต้นไม้ผ่าครึ่งขุดเป็นร่อง สำหรับเป็นทางผ่านของน้ำจากบน ผาลาด ดอยสุเทพ ส่งต่อลงมาเป็นช่วง ๆ จุดสุดท้ายของรางน้ำมาสิ้นสุด ณ มุมเมืองนี้ จึง เป็นต้นทางของน้ำที่เข้าสู่ตัวเมือง โดยไหลผ่านเข้าไปตามอุโมงค์ ใต้ป้อมเพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ต่าง ๆ ของชาวเมือง
 
 
      และนี่คือ 4 แจ่ง 4 มุมเมืองของเชียงใหม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวของบรรพบุรุษของชาวล้านนา ได้อย่างลึกซึ้ง  4 มุมเมืองอันมีประวัติศาสตร์ที่มีประโยชน์มากมายในอดีตที่ผ่านมา

 

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=194 

หมายเลขบันทึก: 241076เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มาเยี่ยมยามครับ แจ๋ง คน มี บ่ ครับ นำอาหารมาฝากครับ

"....เชียงใหม่ตกเป็นของพม่า ระหว่างปี พ.ศ.2101-2317 รวมเป็นระยะเวลา 200 ปีกว่า และเป็น เมืองร้าง ต่อมาอีกกว่า 20 ปี...." นานมากเลยนะครับ 200 ปีนี่ กลมกลืน มองไม่ออกแล้ว คนไหนคนเมือง คนไหนพม่า  :)

 

อึ๊บ... น่าทานจังครับ อาจารย์หมอ   พันคำขอไป 1 กระทงครับ

1. JJ

เมื่อ อ. 10 ก.พ. 2552 @ 22:28

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ..นำอาหารมาฝากด้วย..อ่าๆๆๆ..หิวขึ้นมาทันทีเลย..อยากกินอยากกิน..ฮ่าๆๆๆ

2. พันคำ

เมื่อ อ. 10 ก.พ. 2552 @ 22:35

อ.พันคำ ก็ว่าไป..ฮ่าๆๆ..ใช่ ๆ ๆแยกไม่ออกเลยว่าไหนคนเมืองหรือคนพม่า..ฮ่าๆๆๆๆๆ

แย่งอาหารของปุ้ยไปกินด้วย...ชิชิ..

มาดูแจ่ง แต่มาต่อว่า น้องปุ้ยเอาผักกาดจอมาตอนดึก แง ๆๆๆๆๆๆหิวข้าวๆๆ ขออาหารอาจารย์หมอ JJ ไปกินบ้างนะครับ อิอิๆๆๆๆ

5. ขจิต ฝอยทอง

เมื่อ อ. 10 ก.พ. 2552 @ 23:04

ฮ่าๆๆๆ ก็ อาจารย์หมอ JJ เอาอาหารมาล่อก่อนหง่ะๆๆ ก็เลยเอาอาหารของปุ้ยไปให้คนอื่นมั้ง..ฮ่าๆๆ อ.ขจิต มาแย่งของปุ้ยอีกคนล่ะ..แง ๆๆๆๆๆๆๆๆ...โดนแย่งอาหาร..

ความเหมือนในความต่าง

"สระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว ผู้ชายออกลูก" เป็นสมญานามของเมืองศรีภูมิ หรืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน กล่าวว่ามีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ทั้งสี่มุมของเมือง "แจง" ในภาษาอีสานก็เลยไปพ้องกับภาษาเหนือ ส่วน "ศรีภูมิ"

นั้นเรียกเหมือนกันแต่ต่างกันที่อีสานเป็นนามของเมือง

แปลกจริง ๆ

7. พิมล มองจันทร์

เมื่อ พ. 11 ก.พ. 2552 @ 12:17

ขอบคุณนะค่ะ..ที่แวะมาเพิ่มความรู้ให้..แท้งกิ้วๆๆ..

พงศาวดารหัวเมืองลาว-อีสาน นั้นมีอยู่หลายฉบับหลายสำนวน แต่เฉพาะในสำนวน "พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)" หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกสตานันท์ ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็จ ทายาทเพี้ยพระนคร (คำ) เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดเดิม เขียนมอบมาถึงหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ข้าหลวงธรรมการ มณฑลอิสาน อุบลฯ พิมพ์ครั้งแรกในงานปลงศพนางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) มารดาของหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ณ เชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้กล่าวถึง สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ไว้ว่า ".........ครั้นต่อมา เจ้าองค์หล่อหน่อคำ ซึ่งเป็นบุตรจารแก้ว หลานเจ้าเมืองน่าน พาไพร่พลมาสืบหาบิดา ซึ่งรู้ข่าวว่าบิดามาเป็นเจ้าเมือง อยู่ริมสระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ครั้นมาถึงเขตต์เมืองทุ่ง ตั้งค่ายอยู่ระหว่างปากเสียวน้อย ซึ่งเรียกว่าวังหม่านจนบัดนี้นั้น เจ้าองค์หล่อจับได้เพี้ยบุตรตะพานบ้านโนนสูง กวนหมื่นหน้าบ้านเบน ซึ่งยกทัพออกมาต่อสู้กันนอกเมือง เมื่อได้ตัวแม่ทัพสองคนนี้แล้ว จึงซักไล่ไต่ถามหาสระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก แม่ทัพทั้งสองได้แจ้งความให้เจ้าองค์หล่อหน่อคำทราบตลอดแต่ต้นจนถึงปลาย เจ้าอค์หล่อหน่อค ำจึงได้ทราบว่าเป็นเมืองบิดาของตน แล้วปล่อยให้แม่ทัพสองคนเข้าไปบอกแก่ท้าวมืดน้องชายให้ทราบทุกประการโดยแน่นอนแล้ว ท้าวมืดรู้ว่าพี่ชายแห่งตน จึงได้แต่งให้แสนท้าวออกไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อหน่อคำให้เข้ามายังเมืองทุ่ง แล้วจัดการรับรองให้เป็นเกียรติยศอันดี แล้วท้าวมืดพร้อมกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ จัดการปลงศพจารแก้วผู้เป็นบิดาตามประเพณีผู้ครองบ้านเมืองมาแต่ก่อน เสร็จแล้วเจ้าองค์หล่อหน่อคำก็ลาท้าวมืดน้องชายกลับคืนไปเมืองน่านตามเดิม........." สรุปได้ว่า สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก เป็นลักษณะบ่งบอกทางภูมิศาสตร์ท้องถิ่นตามกลวิธีทางภาษาของชาวลาว-อีสานทำนองเดียวกันกับ ยางสามต้น อ้นสามขวย หลวยใส่ภูทอก ตอกใส่ภูเขียว... หรือ หินซาววา หมาเห่าเต่า ไก่เก้าหัว งัวเก้าหาง... เป็นต้น


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท