ถ้าปิดประตูก็จะไม่ติดไวรัสแน่นอน (130)


ถ้าถามว่าจะป้องกันตนเองอย่างไรให้รอดพ้นจากไวรัสอาจตอบได้ 2 วิธี คือ ไม่เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายใดแม้แต่อินเทอร์เน็ตหรือในองค์กร และไม่นำข้อมูลจากสื่อเก็บข้อมูลดิจิทอลภายนอกเข้าเครื่อง

 

มาถึงวันนี้คงต้องยอมรับกันแล้วว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์มากมายมิได้ปลอดภัยอย่างที่ควรจะเป็น แม้จะมีระบบป้องกันดีเพียงใดก็อาจพลาดกันได้ถ้าไม่ทราบถึงความสามารถของระบบที่ปกป้องตนเองอยู่ ถ้าถามว่าจะป้องกันตนเองอย่างไรให้รอดพ้นจากไวรัสอาจตอบได้ 2 วิธี คือ ไม่เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายใดแม้แต่อินเทอร์เน็ตหรือในองค์กร และไม่นำข้อมูลจากสื่อเก็บข้อมูลดิจิทอลภายนอกเข้าเครื่อง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ใช้วิธีที่สองคือติดโปรแกรมแช่แข็งข้อมูล (Deep Freeze) หรือกู้คืนข้อมูล (Goback) นิยมใช้กันมากในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษา เพราะสามารถกู้คืนข้อมูลทุกสิ้นวันโดยอัตโนมัติ ทำให้สิ่งที่จัดเก็บในแต่ละวันหายไปแม้แต่ไวรัสหรือข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ในห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษาไม่มีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูล หรือเก็บโปรแกรมที่นักศึกษาดาวน์โหลดมาทดสอบติดตั้ง ทำให้ไวรัสก็ไม่สามารถฝังตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน ถ้ามีการย้อนคืนข้อมูลที่สะอาดไปทับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อาจติดไวรัสเหล่านั้น
ทั้ง 2 วิธีที่แนะนำไปนั้นล้วนมีจุดบกพร่องดังคำกล่าวที่ว่า “ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง” ถ้าเลือกวิธีแรกก็เหมือนปิดประเทศไม่นำเข้าและไม่ส่งออก ซึ่งเชื่อได้ระดับหนึ่งว่าปลอดภัยจากการติดไวรัสจากภายนอก ส่วนวิธีที่สองสามารถนำข้อมูลเข้าเครื่องได้แต่จะหายไปหมดหลังสิ้นวันหรือหลังย้อนคืนข้อมูล ซึ่งไม่เหมาะกับนักคอมพิวเตอร์ที่นิยมการหาโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ตมาทดสอบ เพราะการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มก็จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน แม้โปรแกรมตรวจจับไวรัส (Antivirus Program) จะถูกพัฒนาเพียงใดก็ไม่สามารถตรวจจับไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่ถูกพัฒนาให้รอดพ้นการตรวจจับได้ ผู้ใช้ทั่วไปมักติดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ก่อนที่โปรแกรมตรวจจับจะถูกพัฒนาและหาซื้อโปรแกรมรุ่นใหม่มาใช้ได้ทันเวลา
ร้านรับพิมพ์งาน หรือร้านรับอัดภาพดิจิทอลมักรับสื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าไปตรวจไวรัสก่อนคัดลอกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ลงกระดาษให้กับลูกค้า ถ้าตรวจสอบแล้วไม่พบโปรแกรมต้องสงสัยก็อาจเป็นเพราะไม่มีไวรัสในสื่อของลูกค้า หรือไวรัสใหม่เกินกว่าโปรแกรมตรวจจับจะรู้จัก ลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการอาจโชคไม่ดีนำไวรัสกลับบ้าน และเผยแพร่ต่อให้กับเพื่อนผ่านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน การป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากไวรัสไม่ง่ายในทางปฏิบัติสำหรับผู้ใช้ที่ขาดความเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยของข้อมูล จึงยังมีไวรัสระบาดอย่างต่อเนื่องในอินเทอร์เน็ต ถ้าท่านเปิดประตูสู่โลกดิจิทอลที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะมาพร้อมกันนั้น

คำสำคัญ (Tags): #antivirus#intruder#trojan#virus
หมายเลขบันทึก: 240433เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2009 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับคุณบุรินทร์ รุจจนพันธุ์

ระวังยากจริงๆครับพี่ ไม่มีความรู้เรื่องป้องกันและแก้ไขเลย

ได้แต่ระแวดระวัง ถ้าเจอเมื่อไหร่ก็ทนเอาถ้ามันไม่รบกวนมาก

หนักเข้าเมื่อไหร่คงต้อง Format ล่ะมั้งครับ :)

สวัสดีครับ..ผมมีความรู้ด้านนี้น้อย ถ้าเราทำงานที่เครื่องใดเครื่องหนึ่งบันทึกข้อมูลใส่อุปกรณ์ภายนอก เช่นแฮนดี้ไคร์ หรืออย่างอื่น แล้วนำไปเสียบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ที่ทำงานหรือที่ใดก็ตาม โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นบันทึกอะไรไว้ไม่ได้เลย เช่นนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสหรือไม่ครับ..สรุปแล้วเครื่องที่ได้รับอมูลภายนอกมาเสียบนั้น โดยที่บันทึกข้อมูลจากที่มาเสียบนั้นไม่ได้ จะติดไวรัสหรือไม่ ตรงกับวิธีที่สองหรือเปล่า อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ช่วยขยายความหน่อย หรือท่านใดจะมีความเห็นเชิญนะครับ..ขอขอบคุณในความรู้ สวัสดี

กรณี 1) ถ้าเครื่องที่บ้านติด deepfreeze หรือ goback ช่วยไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงเครื่องได้

ถึงแม้บันทึกไว้ได้ก็จะหายไปตามเงื่อนไข ถ้าเป็นแบบนั้นโดยปกติจะไม่ติดไวรัสอย่างถาวร

แต่อาจติดไวรัสชั่วคราว ขณะที่เสียบ handydrive เมื่อถึง rollback ไวรัสก็จะหายไป

แต่จะไม่ติดไวรัสเช่นกัน ถ้า antivirus work อยู่ครับ

กรณี 2) ถ้า handydrive มี writeprotect เครื่องคอมฯ ที่ติดไวรัสจะส่งไวรัส

เข้า handydrive ไม่ได้ เพราะเป็นการป้องกันทาง hardware

ดังนั้นเวลาผมนำ memory ไปร้านถ่ายรูปจะติด writeprotect ไว้เสมอครับ

เพราะเคยไปแล้วได้ของแถมกลับบ้าน

ก็หวังว่าผมจะร่วมแลกเปลี่ยนได้ตรงประเด็นกับที่คุณปรีชานำเสนอ

อยากให้แนะนำโปรแกรมที่สามารกำจัดไวรัสที่ใช้ปราบเจ้าตัวไวรัส ได้เจ๋งที่สุด ควรจะใช้ตัวไหนดีคะ

1) วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ไม่ชักศึกเข้าบ้าน

แต่ถ้าชักเข้ามาแล้วก็อาจใช้เครื่องมือช่วย แต่อย่าหวังพึ่งมากครับ อาจเสียใจได้

http://anti-virus-software-review.toptenreviews.com/

1 Bitdefender.com

2 Kaspersky.com

3 Webroot.com

4 NOD32th.com

5 Paretologic.com

6 Grisoft.com (AVG)

7 Vipreantivirus.com

8 F-Secure.com

9 Trendmicro.com

10 Mcafee.com

11 Symantec.com (Norton)

15 Avast.com (ร่มแดง)

2) การตรวจสอบและและแก้ไขในเบื้องต้นได้

ผมเขียนไว้ที่ http://www.thaiall.com/security/indexo.html

ก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ทั้งชีวิตครับ

เพราะไวรัสมีมาใหม่เสมอ เพราะ os ก็ปรับใหม่เสมอเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท