สุเมธ รักตะกนิษฐ์
นาย สุเมธ รักตะกนิษฐ์ เมธ รักตะกนิษฐ์

นวัตกรรมการเรียนการสอน


การเรียนการสอนยุคใหม่

 

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

                                                                                                  วิเวก   สุขสวัสดิ์

          การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ wiwake's model  ที่คิดค้นและนำมาใช้พัฒนาสมาชิกชมรมวิชาการข้าราชการครูอำเภอทับปุด    ให้สามารถคิดค้นนวัตกรรมและนำนวัตกรรมที่คิดค้นได้ไปพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น     แบ่งขั้นการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นใหญ่ ๆ คือ         ขั้นแรกเป็นการแสวงหาและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนซึ่งดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัย    เมื่อได้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพแล้วจึงนำนวัตกรรมนั้นไปแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย    การดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ได้กำหนดเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญ ดังนี้

          1. การศึกษาปัญหาการเรียนการสอน

          2. การกำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน

          3. การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

          4. การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

          5. การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน

          6. การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

          7. การเผยแพร่ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

 การศึกษาปัญหาการเรียนการสอน

          ขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมามาตรวจสอบ พิจารณาว่าเรื่องใดจุดใดที่ยังมีปัญหา จำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนา      ให้มีคุณภาพตามเป้าหมายหรือตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ โดยการวิเคราะห์ปัญหาที่พบว่าเกิดจากสาเหตุใด  ลักษณะอาการของปัญหาตามสาเหตุนั้นเป็นอย่างไร เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา/พัฒนา  ตามสาเหตุและอาการที่ผ่านการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญหรือความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแล้ว     การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนพิจารณาได้จากร่องรอย หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

          2. ผลการวัดและประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้

          3. การทำแบบฝึกหัดของผู้เรียน

          4. ผลการตรวจผลงานของผู้เรียน

          5. ผลจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน

          6. บันทึกผลการสอนหลังสอนในแผนการสอน

          7. ผลการวิจัยที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้น

          เมื่อได้ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนและพบปัญหาที่แท้จริงแล้ว ต้องศึกษาสาเหตุของปัญหานั้นว่าเกิดจากสาเหตุใด  ซึ่งอาจเกิดจากตัวครู  ผู้เรียน  ผู้บริหารโรงเรียน    สื่อหรือวิธีสอน ฯลฯ  แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญหรือความต้องการจำเป็นในการพัฒนา

 การกำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน

          ขั้นตอนนี้เป็นการคิดค้น แสวงหาและจัดทำนวัตกรรม เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนา

การเรียนการสอนให้มีคุณภาพ  โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

          1. พิจารณาเลือกปัญหา/ความต้องการพัฒนา ที่ได้จัดลำดับความสำคัญ/ความต้องการจำเป็นไว้แล้วในขั้นการศึกษาปัญหาการเรียนการสอน

        2. กำหนดนวัตกรรมที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาเหตุ หรืออาการของปัญหา

          3. สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

                   3.1 วิเคราะห์หลักสูตร

                   3.2 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง

                   3.3 จัดทำโครงสร้างของนวัตกรรมการเรียนการสอน

                   3.4 สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างและขั้นตอนที่กำหนด

                   3.5 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ

 การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน

          การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  การจัดทำเครื่องมือดังกล่าว ดำเนินการดังนี้

          1. ศึกษาวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น

          2. กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ประกอบการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน

          3. ศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือ

          4. ออกแบบและสร้างเครื่องมือ

          5. ตรวจสอบและผ่านการกลั่นกรองของผู้เชี่ยวชาญ

          6. ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ

          7. จัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง

 การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน

        เมื่อได้นวัตกรรมการเรียนการสอนฉบับร่างและเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนครบถ้วน เรียบร้อยแล้ว ก็นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้นไปศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ ดังนี้

        1. การศึกษาคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ดำเนินการดังนี้

                   1.1 กลั่นกรองเบื้องต้นโดยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระนั้นอ่านเพื่อตรวจสอบดูว่ามีข้อบกพร่องที่ใดบ้าง แล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

                   1.2 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 - 5 คน ประเมินเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม

การเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงขึ้น

                   1.3 วิเคราะห์ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่านวัตกรรมการเรียนการสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับใด และปรับปรุงข้อบกพร่องในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะมา

                   1.4 จัดทำเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พร้อมสำหรับนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพต่อไป

          2. การศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ดำเนินการดังนี้

                   2.1 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนด

                   2.2 นำผลการทดลองมาคำนวณหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใชสูตร E1/ E2

 การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน

          หลังจากได้ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน   ตามวิธีการและขั้นตอนที่เชื่อถือได้    และนวัตกรรมการเรียนการสอนนั้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดแล้ว     จึงนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่เป็นประชากร

กลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มเป้าหมาย ของการแก้ปัญหา/พัฒนา     เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง    ไม่ว่าจะนำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มใดในระดับเดียวกัน

 การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

        เป็นการนำผลการดำเนินงานสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอนมาเขียนเพื่อแสดงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ว่ามีมากน้อยเพียงใดการเขียนรายงานใช้แนวเดียวกับการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งแบ่งการเขียนออกเป็น  5  บท ดังนี้

          บทที่ 1  บทนำ      นำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้

                   - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                   - วัตถุประสงค์ของการทดลอง

                   - สมมุติฐานของการทดลอง

                   - ขอบเขตของการทดลอง

                   - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                  

หมายเลขบันทึก: 240336เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ ท่านสุเมษ

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ขอบคุณสาระที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาเป็นอย่างมากค่ะ จะรออ่านสาระจากท่านอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท