แนวทางการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2549


นายเกรียงไกร คะนองเดชชาติ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะ CKO การจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญการจัดการความรู้ตามแนวทางดังกล่าวโดยสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานและดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรและลูกค้าของกรมส่งเสริมการเกษตรต่อไป

     กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำแนวทางการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2549 โดยสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรม นำแนวคิด หลักการ การจัดการความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานที่ปฏิบัติ  พัฒนาคน  และพัฒนาองค์กร  ดังนี้

1.การจัดการความรู้ตามโครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน    แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

 (1)จังหวัดนำร่อง 18 จังหวัดได้แก่ 9 จังหวัดเดิมที่เคยจัดการความรู้ในปี2548ไปแล้ว กำแพงเพชร  น่าน  อ่างทอง  อุบลราชธานี  นครศรีธรรมราช  สตูล  นครพนม  นครนายกสมุทรสงคราม 9จังหวัดใหม่ที่จับคู่กับ 9 จังหวัดเดิม พิษณุโลก แพร่ พระนครศรีอยุธยา ศรีสะเกษ พัทลุง ตรัง มุกดาหาร ปราจีนบุรี และนครปฐม   มีขั้นตอนหลักคือ

1.การแต่งตั้งทีม KM    2. ชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคคลากรในองค์กร  3.จัดทำแผน KM มีรายละเอียด KV  KS  KA โดยมีการบ่งชี้ความรู้ใน  2 ลักษณะคือ  ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและระบบมาตรฐานอย่างน้อย 1 พืชต่อจังหวัด     และความรู้ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรอย่างน้อย 2 รายการต่อจังหวัด    นอกจากนี้ยังต้องมีการสร้าง  และแสวงหาความรู้    สำรวจผู้รู้ทั้งภายนอกและภายในองค์กร แล้วนำมาจัดทำเป็นทะเบียนผู้รู้ ทะเบียนแหล่งข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย    4.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือนโดยใช้เวที DM DW MM เป็นกลไกหลัก  คลังความรู้ มีการจดบันทึก ทีมงานถอดองค์ความรู้เพื่อเก็บเป็นเรื่องเล่า คลังความรู้ กำหนดให้มีผู้ที่ทำหน้าที่ประมวลคลังความรู้โดยตั้งเป้าหมายว่าจะมีเรื่องเล่า 2 เรื่องต่ออำเภอ  และคลังความรู้ 2 เรื่องต่อจังหวัด   5.ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้    6.ดำเนินการสรุปบทเรียนระดับจังหวัด   2 ครั้ง  คือ ช่วง 1-10 พฤษภาคม 2549 และ  21-30สิงหาคม 2549 7.สรุปและรายงานผลภายในเดือนกันยายน  2549

 (2)จังหวัดทั่วไป 58 จังหวัด ดำเนินการเช่นเดียวกับจังหวัดนำร่อง แต่ไม่ได้นำมาเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

2.การดำเนินการจัดการความรู้ตามภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานย่อย  ได้แก่ กอง/สำนัก  สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต   ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชึพการเกษตร  มีขั้นตอนหลักดังนี้

1.การแต่งตั้งทีม KM   2. ชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคคลากรในองค์กร  3.จัดทำแผน KM มีรายละเอียด KV  KS  KA  โดยมีการวิเคราะห์พันธกิจ ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบแล้วกำหนด KVร่วมกันให้สอดคล้อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือน  ก่อนดำเนินการจะต้องมีการประเมินสมรรถนะขององค์กร   ค้นหาคุณกิจเข้ามาแลกเปลี่ยน มอบหมายหน้าที่คุณอำนวย คุณลิขิต      คุณเอื้ออย่างชัดเจน ในเรื่องคลังความรู้ ให้มีการถอดองค์ความรู้ เพื่อให้ได้ best practiceโดยจัดระบบข้อมูลที่สามารถสืบค้นง่าย สะดวก    4.ดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้  5.มีการสรุปบทเรียน 2 ครั้งประมาณเดือนมิถุนายนและเดือนสิงหาคม 2549   6.สรุปผลการจัดการความรู้ภายในเดือนกันยายน  2549

              โดยนายเกรียงไกร คะนองเดชชาติ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะ CKO  การจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญการจัดการความรู้ตามแนวทางดังกล่าวโดยสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานและดำเนินการอย่างจริงจัง   เพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรและลูกค้าของกรมส่งเสริมการเกษตรต่อไป

รายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน  KM Website บน WWW.doae.go.th และ http://km.doae.go.th  

หมายเลขบันทึก: 24020เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2006 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีใจได้เห็น cko ลงมา ช่วยสานต่อด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท