สลุงเงิน...


สลุงเงิน...หัตถศิลป์เอกลักษณ์ล้านนา

สลุงเงิน...หัตถศิลป์เอกลักษณ์ล้านนา


  

   สลุง เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวล้านนา หมายถึง ภาชนะใส่น้ำ มีลักษณะคล้ายกับขัน รูปทรงกระบอก  ส่วนปากและก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน สลุง ทำมาจากโลหะเงินและมีการสลักลวดลายลงบนสลุง  ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำให้ สลุงเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา

  สล่า ในภาษาล้านนา แปลว่า ช่างฝีมือ  สล่าดิเรก สิทธิการ สล่าเครื่องเงินชั้นบรมครู แห่งถนนสายหัตถกรรม อย่างถนนวัวลาย เล่าว่า เชียงใหม่มีสล่าพื้นบ้านมานานกว่า 700 ปี นับตั้งแต่สมัยพญาเม็งราย สร้างเมืองเชียงใหม่ได้นำสล่าหลายแขนงมาจากเชียงแสนให้มาอยู่ในอาณาจักรล้านนา กระทั่งในปีพ.ศ. 2310 พระเจ้ากาวิละ ได้กอบกู้เมืองเชียงใหม่  มีนโยบาย ว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง โดยให้ราชสกุลต่าง ๆ เข้ามาตั้งรกรากในเมืองและกวาดต้อนผู้คนและสล่า ที่อยู่แถบลุ่มน้ำสาละวินหรือแม่น้ำคงให้เข้ามาอยู่ในบริเวณรอบกำแพงเมืองเชียงใหม่ สำหรับสล่าเครื่องเงินนั้น ได้เข้ามาอยู่ในบริเวณชุมชนวัดศรีสุพรรณและวัดหมื่นสาร โดยใช้ชื่อว่า บ้านวัวลาย ตามรัฐฉานที่จากมา
 

 

 

 

   จากสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้วิถีชีวิตของชาวล้านนาเปลี่ยนไป การนำสลุงมาใช้จึงไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเหมือนแต่ก่อน ไม่มีใครเอาสลุงมาใช้อาบน้ำและไม่มีใครนำสลุงไปใช้ตักน้ำใส่ตุ่ม อย่างไรก็ตามแทบทุกบ้านของชาวล้านนา นิยมมี สลุงเงิน เก็บไว้ในตู้และจะถูกนำออกมาใช้เมื่อมีงานประเพณีหรืองานพิธีกรรมที่มีความสำคัญ เช่น งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค  และงานที่เกี่ยวกับทางศาสนา

   การทำสลุง ต้องใช้สล่าถึง 2 แขนง ด้วยกัน คือสล่าขึ้นรูปและสล่าตอกลาย โดยสล่าขึ้นรูปต้องนำโลหะเงินบรรจุลงในเบ้าแล้วนำไปวางบนเตาเผาโดยใช้ความร้อนสูง เพื่อให้เงินหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อได้เงินที่หลอมแล้ว สล่าจะใช้ค้อนขนาดใหญ่ทุบหรือตี ให้ขึ้นเป็นรูปตามที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์ เมื่อได้สลุงที่ขึ้นรูปแล้ว ก็ส่งไปให้สล่า
ตอกลาย เพื่อสลักลวดลายลงบนสลุงทั้งด้านในและด้านนอก เป็นเอกลักษณ์การสลักลายของสลุงทางล้านนา โดยสล่าจะตอกลายจากด้านในให้นูนออกมาตามแบบที่ร่างไว้ จากนั้นสล่าต้องตอกลายกลับจากด้านนอกให้เกิดเป็นลวดลายที่ละเอียดและชัดเจนขึ้น สลุงที่ได้จะมีลวดลายเหมือนจริง ดูเป็นภาพ 3 มิติ ที่ดูมีพลังและมีชีวิต
 


   การสืบทอดมรดกและสืบสานการผลิตสลุงด้วยฝีมือช่างเงินล้านนา จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ มีจำนวนลดลงในปัจจุบัน  เมื่อขาดผู้สืบทอดมรดกและขาดผู้ที่มีใจรักในงานด้านนี้ อาชีพสล่าเครื่องเงินล้านนา ก็คงต้องสูญหายไปตามกาลเวลา สลุงเงิน  หัตถศิลป์เอกลักษณ์ล้านนา จะอยู่รอดให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นได้ชื่นชม ต่อไปหรือไม่ เป็นคำถามที่รอคำตอบ

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=322

หมายเลขบันทึก: 240164เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวยงาม ทรงคุณค่า ยากแก่การลอกเลียนแบบ ยากหาใดเสมอเหมือน

สวยมากๆครับภาพนี้

เข้ามาอ่านคำงาม ๆ มูนมัง(มรดก)ของภูมิปัญญาที่น่ายกย่องและสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป(ถ้าคนไทยหันมาอุอหนุนกันนะ)

我见过泰国人家用这个สลุงเงิน,可以用来盛饭,或者装水,呵呵~~

5. davidhoo

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 22:27

我见过泰国人家用这个สลุงเงิน,可以用来盛饭,或者装水,呵呵~~

------------------------------------------

对,装饭,花去寺庙 ทำบุญ 我常常用,呵呵!!

看来小柔是个很虔诚的佛教徒,一定经常去寺庙ทำบุญ ,呵呵,好孩子~~

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท