อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ


การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย

คำว่า"นิเทศ" มีผู้คนจำนวนไม่น้อยยังสับสนความหมายและการนำไปใช้

เพราะมีคำว่า"เทศน์" เป็นคำพ้องเสียง คนจึงเหมาเป็นคำเดียวกัน และนำไปใช้ผิดๆถูกๆ

ก็น่าปวดหัวอยู่หรอก ถ้าเป็นชาวต่างชาติมาเรียนภาษาไทย ยิ่งปวดเศียรเวียนเกล้า

เพราะ มีทั้ง "นิเทศ"  " เทศน์" " ศึกษานิเทศก์" " ผู้นิเทศ " แถมด้วย"อาจารย์นิเทศก์" อีกคำ

ดังนั้น   จึงต้องใช้ทั้งหลักการเขียนและหลักจำให้แม่น จะได้ใช้ถูกต้อง ผู้เขียนใช้หลักจำง่ายๆ

คือ นิเทศ เป็นคำกริยา  ถ้าเป็นคำนามใช้คำว่าเทศก์ และถ้ามีคำว่าผู้อยู่แล้วไม่ต้องใส่  ก์(ก

การันต์)  ส่วนคำว่า เทศน์  ใช้ในความหมายว่า เทศนา  เช่น  พระเทศน์  เป็นต้น

มีคำกล่าวว่า" ที่ใดมีการเรียนการสอน..ที่นั่นมีการนิเทศ"

และ"นิเทศ..เพื่อการไม่นิเทศ"

หมายถึงอย่างไร    และนิเทศอย่างไร...จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

ก่อนอื่นขอแลกเปลี่ยนปรัชญา หรือคำขวัญของการนิเทศดังกล่าวข้างต้น

ที่กล่าวว่า  ที่ใดมีการเรียนการสอนที่นั่นมีการนิเทศ"

ตอบง่ายๆ เข้าใจกันง่าย ๆ  ไม่มีใครเก่งไปทุกเรื่อง  ภาษิตทางถิ่นเหนือกล่าวว่า

"ปี้ฮู้สอง  น้องฮู้หนึ่ง"(พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง) ความหมายคือ 

พี่ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรค

มามาก ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่าน้อง

ดังนั้น  ครูแต่ละท่านเรายอมรับว่าท่านเก่ง แต่เชื่อว่าคงไม่เก่งไปทุกเรื่อง

การนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์

จะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

การนิเทศจึงต้องคู่กับการเรียนการสอนและ การเรียนรู้เสมอ

อีกประการหนึ่งที่กล่าวว่า "นิเทศ  เพื่อการไม่นิเทศ"  ความหมายคือ...

ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ

เกิดกระบวนการได้เองแล้ว...ก็ไม่ต้องนิเทศอีกต่อไป  นั่นเอง

แต่..การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ

เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

บางที่มีคนบ่นว่า    คนเก่งทางวิชาการไม่ค่อยน่ารัก เพราะไม่ค่อยยอมใคร ไม่ค่อยเชื่ออะไร

ง่ายๆ  ดังนั้น  ค่อนข้างยากหากจะนิเทศคนระดับเดียวกัน ให้เขายอมรับและนำไปสู่ปฏิบัติ

การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล.. คือการไม่นิเทศ(โดยตรง)

ให้นึกถึงวาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลที่กล่าวว่า

"ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้  แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน"

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพราะใจเขาอยากเรียน  ย่อมมีความหมายกว่า การสอน

การทำให้ดู  เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง  เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย

ถ้าผู้เขียนอยากสอนศิษย์  ให้เป็นคนตรงต่อเวลา

ผู้เขียนไม่ตำหนิ ติเตียนที่ศิษย์มาสาย  แต่  จะมาตรงเวลาให้เห็น  และจะทำสม่ำเสมอ

ไม่น่าเชื่อว่า  ศิษย์ที่มาเรียนด้วย...เขาได้เปลี่ยนเป็นคนตรงเวลา เป็นส่วนใหญ่(น่าปลื้มใจ)

และถ้าเขามาสาย  เขาก็รู้อยู่แก่ใจว่ามาสาย  เป็นต้น

การนิเทศโดยเห็นคุณค่า  เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน  ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด

ยกย่องให้เกียรติ  และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ  นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย

ประการสำคัญ...การนิเทศที่ดี  ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

การปฏิรูปการเรียนรู้  เน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอน

การนิเทศ  ก็ต้องเน้นผู้รับการนิเทศมีความสำคัญ เช่นกัน

คงหมดยุคแล้วกระมัง  ที่นิเทศด้วยการจับผิด  ด้วยการทดสอบความรู้ ด้วยการใช้อำนาจเหนือ

กว่าด้วยคำพูดเสียดสี   ด้วยมีข้อมูลอะไรๆที่ค่อนข้างลบอยู่ในกำมือ

และด้วยการขจัดไปให้ไกลๆ  เยี่ยงคนนอกสายตา 

เพราะนอกจาก  ผู้นิเทศจะไม่ได้ใจผู้รับนิเทศแล้ว

อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชัง  ก็ถูกสร้างทั่วไป  ใช่ไหมคะคุณครู !!!!!

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 240102เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (377)

สำหรับการนิเทศนั้น ตัวของข้าพเจ้าคิดว่ามีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้เกิดความคิดไหม่ๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน มาเสนอเพื่อไห้เกิดความคิดที่กว้างขวางขึ้นมาไหม่ ขอบคุณอาจารย์ที่นำความรู้ไหม่ๆมาให้ศิษย์

นางสาวภัสธิญา สุคำภีร์

นิเทศการศึกษา sec 01

สวัสดีค่ะ อาจารย์

จากการที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว

หนูได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมายและมีประโยชน์ต่อตัวหนูมากเลยค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

นางสาวนิตยา ทุนเกิด รหัส 48121519 หมู่เรียนกพ48.ค5.2 sec.01

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วค่ะทำให้หนูได้รับความรู้เกี่ยวกับการนิเทศมากยิ่งขึ้น และบทความนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวหนูมาก

หนูขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่หนู

ขอบคุณค่ะ

ตอบ  ภัสธิญา  ทิพวรรณ เอราวัณ รัตนกร นิตยาและบุษรา ศิษย์รัก

ขอบใจและดีใจที่ศิษย์แวะมาเยี่ยมครูที่ Blog นี้

สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ให้ศิษย์เก็บเกี่ยวและนำไป

เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพครูนะคะ  ขอให้ศิษย์โชคดีค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดเห็นของอาจารย์ค่ะ..ชอบตอนที่บอกว่า

"การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ

เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

บางที่มีคนบ่นว่า คนเก่งทางวิชาการไม่ค่อยน่ารัก เพราะไม่ค่อยยอมใคร ไม่ค่อยเชื่ออะไร ง่ายๆ ดังนั้น ค่อนข้างยากหากจะนิเทศคนระดับเดียวกัน ให้เขายอมรับและนำไปสู่ปฏิบัติ" มันเป็นอย่างนี้จริงๆๆ อ่านบทความนี้แล้วเข้าใจการนิเนศขึ้นมาอีกเยอะเลยค่ะ

(ชอบคุณมากนะคะสำหรับบทความดีๆๆแบบนี้)

นางสาว สุตาภทร ทองศรี รหัส 49121318 หมู่เรียน กฐ 49 ค5.1 sce.02

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย

ขอบคุณความรู้ที่อาจาย์มอบให้และเปิดโอกาสที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนทั้งในห้องและใน Bolg ของอาจารย์

 

ตอบ กาญจนา อรทัย นันทวัน กาละแมร์และสุตาภัทร ศิษย์รัก

ปิดครอสแล้วแต่ยังไม่ปิดความผูกพัน ครู-ศิษย์

ยังเข้ามาแวะคุยกันที่ Blog Gotoknow  ที่นี่

ทำให้ความคิดถึงกันเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายวิชาการ

ดีใจที่ศิษย์ร่วมแสดงความคิดเห็นขอให้ศิษย์ทุกคน โชคดี..

อ้อ...สุขสันต์วันแห่งความรัก  นะจ๊ะ

นางสาว สุตาภทร ทองศรี รหัส 49121318 หมู่เรียน กฐ 49 ค5.1 sce.02

วันนี้เป็นวันแห่งความรักดิฉันขอมอบดอกไม้นี้

แด่อาจาย์ ที่รักและห่วยใยศิษย์อยู่เสมอ

ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ ผู้แสนใจดีและเป็นที่รักของลูกศิษย์ทุกๆคน          จากบทความของอาจารย์ที่ได้กล่าวถึงการนิเทศ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศ รู้ว่าการนิเทศนั้นมีความสำคัญยิ่ง ถ้าหากจะทำการนิเทศให้สมบูรณ์ได้นั้นจะต้องไม่ทำการนิเทศโดยตรงและที่สำคัญก็คือการนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญควรจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย ขอขอบคุณบทความดีๆที่อาจารย์นำมาให้ความรู้แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป

ความรู้สึกจากใจถึงอาจารย์

            ดิฉันมีความรู้สึกว่าโชคดีที่ได้เรียนกับอาจารย์ ได้เรียนรู้การเป็นผู้นิเทศที่ดีมีแนวทางในการปฏิบัติตัว เพลง กิจกรรมที่สนุกสนาน ปีนี้เป็นเทอมสุดท้ายก่อนไปฝึกสอนก็จะขอนำเพลงและกิจกรรมต่าง ๆในชั้นเรียนที่อาจารย์ได้ให้ความรู้กับศิษย์ไว้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนนะคะ ขอขอบพระคุณอย่างสูง มา ณ ที่นี้ค่ะ

น.ส.จิรนันท์ อินขาน รหัส 48121507 sec..02

ตอบ จิรนันท์ ศิษย์รัก

ดีใจที่แวะมาเยี่ยม  และบอกความรู้สึกความในใจที่ได้เรียน

วิชาการนิเทศการศึกษา  และเจตคติที่มีต่อครู

การเรียนรู้ที่ได้ผลดี ต้องเรียนด้วยใจ

ศรัทธาต้องมาก่อน  จากนั้นวิริยะ สติ  สมาธิและปัญญา

จะตามมา  ขอให้นำเอาความรู้ทักษะและประสบการณ์นำไปใช้

จะเกิดคุณค่ายิ่ง  ครูจะภูมิใจมากถ้าษย์เป็นครูที่ดีในอนาคต

อังคณา อากาศรักษา รหัส 48121549

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ ที่เคารพรัก

ก่อนอื่นหนูต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะที่เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์ช้า หนูเข้าหลายรอบแล้วแต่หาไม่เจอก็เลยไปถามเพื่อนที่เข้าได้ จากที่หนูได้อ่านบทความของอาจายร์ทำให้หนูมีความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาอีกอย่างหนึ่งจากที่ผ่านมาหนูคิดว่าการนิเทศคือการประเมินหรือจับผิดแต่ที่หนูได้เรียนกับอาจารย์มาแล้วไม่ใชอย่างที่หนูคิด แต่การนิเทศกลับเป็นการที่สร้างมนุษย์สัมพันะให้กันตัวเราเองทำให้รู้จักคนอื่นอีกมากมายและผู้นิเทศไม่ควรทำตัวเป็นใหญ่จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้นิเทศที่ดี

ความรู้สึกถึงอาจารย์ หนูดีมากที่ได้เรียนกับอาจารย์และจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ตอบ  ศิรินันท์ศิษย์รัก

ดีใจที่มีโอกาสได้ไปประเทศจีน ขอให้เดินทางปลอดภัย

เป็นประสบการณ์ตรงที่จะได้ใช้ภาษาจีนที่เรียนมา

และได้เรียนรู้วัฒนธรรม  เก็บเกี่ยวอะไรๆดีๆมาเล่าให้ครูฟังด้วย

สำหรับข้อสอบของครู  ไม่ปรากฏว่าออกในหนังสือเล่มใด

แต่..คนที่มีความเข้าใจสามารถทำข้อสอบได้โดยไม่ยาก

บริหารเวลาให้ดีนะคะ   คนเก่งจะทำเสร็จตอนหมดชั่วโมงพอดี

และเชื่อมั่นว่า  ศิษย์ทุก ๆคนน่าจะโชคดี(เพราะครูลุ้นอยู่นะคะ)

นางสาวนันทวัน ทิศสัก รหัส 49161912 กป 49 ค5.2

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริที่เคารพ

จะสอบวิชาของอาจารย์แล้ว

หนูจะตั้งใจทำอย่างเต็มที่นะค่ะ

เป็นกำลังใจให้ด้วยนะค่ะ

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยรักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

นายอนุพงศ์ วงศ์หล้า รหัส 48161253 จ48ค5.1 section 02

ผมรู้สึกยินดีมากที่ได้มาเรียนในรายวิชาที่ อาจารย์สอน

เพราะเรียนรู้ได้อย่างสนุก และเข้าใจเนื้อหา อยากจะเรียนกับอาจารย์อีกครับ

นาย ทรงวุฒิ อิ่นแก้ว

วันนี้เรียนกับอาจารย์วันแรกครับ ประทับใจมากครับ ทำให้ผมมีกำลังใจในการเรียนการสอนมากครับ ขอบคุณครับ

ตอบทรงวุฒินะครับ

โลกมันกลมและก็หมุนเร็ว

อดทนอีกนิดเดียวก็เรียนจบนะครับ

ครูเอาใจช่วยเสมอ  ขอให้สำเร็จทุกด้านที่หวัง

นางสาวพัชรี มณียัง รหัส 49161838 อส.ท49ค5.1

แวะมาเก็บข้อมูลดีๆนะค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะค่ะ

แวะเข้ามาหาความรู้ครับ

ได้รู้ข้อมูลมากมาย สาระดี ๆ

ที่อาจารย์จัดทำขึ้น

เป็นประโยนช์ต่อการเรียนรู้มากจริง ๆ ครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

   -   เป็นสุดยอดของเคล็ดวิชาการนิเทศเลยครับ

  -    การนิเทศที่ผ่านมา   ไม่เห็นเหมือนที่อาจารย์เขียนไว้เลยครับ

เอกรินทร์ เป็งลือ

สวัดดีครับ อาจารย์ ผมอ่านบทความแล้ว ชอบวาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่วะ ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้  แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน แต่กระผมต้องพร้อมที่จะรับความรู้จากอาจารย์และเพื่อนๆ ในห้องเรียนให้มากๆ ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้งค่ะ

แต่รู้สึกว่าวิชานี้งานเยอะนะคะ

แต่ก็สนุกดีจะได้มีความรู้เยอะๆคะ

ผมขอขอบพระคุณอาจารย์จากใจจริงครับที่ให้กำลังใจและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผมและศิษย์ทุกคนครับ

ตอบ พัชรี มณียัง เอกพงษ์ ไฮคำ smallman natadee

เอกรินทร์  เป็งลือ  ภัทรกร  แก้วมา และทรงวุฒิ อิ่นแก้ว  นะคะ

ขอบคุณค่ะ ขอบคุณหล้ายหลาย.....ที่แวะมาเยี่ยม

อยากให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเยอะๆ  เพราะที่นี่ คือ

Gotoknow  ขอบคุณที่ชมครู กำลังใจจากศิษย์ช่วยให้ครูหาย

เหนื่อยได้ค่ะ และขอให้มีกำลังใจ สู้ สู้ นะคะ

แวะมาชมหน่อย ครับ สวยดีนะ บล็อคของอาจารย์ ไว้วันหลังผมจะมาเยี่ยมใหม่นะครับ

เกษร ศรีมาลัยรักษ์

ดีใจจังเลยที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกในวิชาการนิเทศ ตื่นเต้นจังเลยค่ะ

หนูชอบเทคนิคการสอนของอาจารย์มากเลยค่ะ หนูจะเอาไปเป็นแบบอย่างอาจารย์ไม่ว่านะค่ะ รักและเคารพอาจารย์เสมอค่ะ

สวัสดีคับอาจารย์ ก่อนอื่นผมต้องขอรายงานตัวก่อนครับ

ผม นายปรีชา หลวงเขียว รหัส 50121430 โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษครับ

ในภาคเรียนนี้เรียนกับอาจารย์ 2 วิชาครับ (การศึกษาและมีส่วนร่วม section 5 และการนิเทศการศึกษา section 1)

วันนี้เลิกเรียนกลับอาจารย์วิชาการนิเทศการศึกษาก็กลับมาอ่านบทความเกี่ยวกับการนิเทศของอาจารย์เลยครับ

ผมยอมรับว่าก่อนนเรียนผมไม่รู้เลย ว่านิเทศคืออะไร เกี่ยวกับการศึกษาอย่างไร ทำไมจะต้องมี แต่พอเรียน และ ก็เข้ามาอ่านบทความ

จึงรู้ว่า สำคัญครับ มากๆด้วยกับวิชาชีพครู

แต่ที่อาจารย์เขียนผมว่าจริงนะครับ

เพราะครูแต่ละท่านก็ต้องหมั่นใจในความเก่ง เชี่ยวชาญ จึงไม่ค่อยยอมรับฟัง หรือ ชอบใจเท่าใดถ้ามีคนอื่นมาสอน

(ไม่เฉพาะครูครับนักเรียนก็ยังมีครับ เพราะที่ผมสอนพิเศษอยู่เด็กโตๆมักจะไม่ค่อยยอมรับฟังที่ผมและเพื่อนๆพูด อาจจะเป็นเพราะคงคิดว่าผมและเพื่อนๆยังเรียนไม่จบมั้งครับ)

ผมอ่านบทความของอาจารย์ผมเลยได้แนวทางไปทำกิจกรรมกับลูกศิษย์ของผมแล้วครับ

ขอบคุณอาจารย์ครับ

บทความอาจารย์มีประโยชน์มากครับ

ปรีชา ครับ

เยี่ยมมากๆศิษย์เป็นคนแรกสำหรับเทอมนี้ที่เข้ามาร่วมแจม

นิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นคุณสมบัติของบุคคลแห่งการเรียนรู้

การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ บัณฑิตครุควรฝึกฝนให้เกิดทักษะ

หวังว่าเทอมนี้ศิษย์จะเรียนรู้อย่างมีความสุขและโชคดี นะคะ

ปิยะพงษ์ พงษ์พิกุล 49171025

ดีมากเลยคับจากบทความดังกล่าว ทำให้รู้จักและเข้าใจในการนิเทศเป็นอย่างมาก

และทำให้เห็นความสำคัญและจำเป็นของการที่จะไปเป็นครูที่แท้จริง จำเป็นต้อง

ได้รับการนิเทศทุกๆคน ก็อย่างที่อาจารย์ได้บอกไว้ว่าผู้ที่จบไปทุกคนนั้นอาจไม่ได้สอนวิชา

ที่ตนเองได้เรียนมาบาง ดังนั้นการนิเทศจึงต้องมีความจำเป็นมากในการเรียนรู้ของครูผู้สอน

โดยไม่มีใครเก่งทุกวิชา ทุกอย่างหรอก แต่อยู่ที่ว่าผู้นั้นสนใจใฝ่เรียนรู้หรือเปล่านี้ผมว่าจริงนะคับ

คนเก่งไม่พอต้องใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ เก่ง

สวัสดีคะ

เป็นบทความที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เกี่ยวกับการนิเทศ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นไม่มีวันสิ้นสุด แต่จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อเราไม่ไข้วคว้ามัน ดังนั้นการนิเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ครูผู้สอนจำเป็นที่จะเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง หนูคิดว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่แบกรับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ เป็นผู้เสียสละ โดยไม่หวังผลตอบแทน ขอบคุณคะสำหรับบทความ

ปิยะพงษ์ วารุณี และ จารุวรรณ ศิษย์รัก

ครูดีใจที่ศิษย์สามารถสืบค้นและแวะเข้ามาอ่าน

ครูมั่นใจในความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของศิษย์

ยังมีบทความมากมายที่ควรศึกษา

หวังว่าศิษย์คงสนุกกับการเรียนรู้ Gotoknow...กันเถิด

เยี่ยมมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้ในเรื่องการนิเทศค่ะ เป็นบทความที่ทำให้หนูได้มีมุมมองใหม่ๆไปจากเดิมเกี่ยวกับนิเทศ มีความรู้เพิ่มเติมมากมายที่หนูไม่เคยรู้ และหนูจะจดจำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนของหนูในอนาคต โดยจะยึดวาทะที่ว่า               

                เครื่องจักร…อาจสามารถทำงานแทนคนธรรมดา 50 คนได้…แต่…..

               ไม่มีเครื่องจักรใด ที่จะทำงานแทนคนที่ไม่ธรรมดาเพียงคนเดียวได้….

                  ( Tehyi Hsieh – นักการศึกษา นักเขียน และนักการทูต ชาวจีน )

    นั่นหมายถึง ถ้าวันข้างหน้าหนูได้เป็นครู หนูจะยอมรับฟังความเห็น ข้อแนะนำ จากผู้นิเทศ เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่มี เพราะหนูจะถือว่า ผู้นิเทศเป็นคนที่ไม่ธรรมดาสำหรับหนู หนูได้เรียนรู้จากอาจารย์แล้วว่างานนิเทศยากยิ่งกว่าการสอน และวันหนึ่งถ้าหนูมีโอกาสได้เป็นผู้นิเทศ หนูจะถือว่าผู้รับนิเทศเป็นคนไม่ธรรมดาสำหรับหนูเช่นกัน เพราะถือว่าเขาเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่ยังเปิดใจที่จะรับฟังการนิเทศจากเรา โดยที่เขาจะนำไปปฏิบัติหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และวิธีการของผู้นิเทศที่จะเชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ให้เขาเชื่อและศรัทธาในเรื่องที่เรานิเทศไป เพราะเครื่องจักรทำงานแทนคนไม่ธรรมดาเพียงคนเดียวไม่ได้ ทั้งครูและผู้นิเทศต่างถือว่าเป็นบุคคลไม่ธรรมดา ถ้าร่วมมือ ยอมรับ และรับฟัง ผลดีทั้งหมดย่อมเกิดกับ "นักเรียน"

  จากบทความของอาจารย์ทำให้หนูทราบวันนี้ว่า "มนุษยสัมพันธ์สำคัญยิ่งในการทำงานร่วมกัน"

                                       คชาภรณ์ ผักหวาน รหัส 49161404 หมู่เรียน ท.49ค5.1

เบญจมาศและคชาภรณ์ ศิษย์รัก

ครูภูมิใจที่ศิษย์มีคุณสมบัติใฝ่รู้ใฝ่เรียน  และกล้าลอง

และแล้วศิษย์รักก็พบว่าครูพูดจริง นำจริง ใช่มั้ย

พยายามต่อไปเถิด รางวัลมีไว้ให้สำหรับคนกล้า เท่านั้น

ข้อคิดของคชาภรณ์คมคำ และควรนำไปกล่าวอ้าง

ก็..ศิษย์ของใครกันเล่า ? เก่งเหมือนครู อิ อิ

 

นางสาวอรุโณทัย คล่องแคล่ว

สวัสดีค่ะอาจารย์ เป็นครั้งเเรกที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์และเป็นครั้งเเรกอีกเช่นกันที่หนูได้เรียนกับอาจารย์ ทำให้หนูรู้ว่าการสอนที่สนุกเเละไม่น่าเบื่อส่งผลต่อตัวผู้เรียนมากเเค่ไหน หนูจะดูอาจารย์เป็นเเบบอย่างในการสอนค่ะ หนูเห็นด้วยนะคะที่อาจารย์บอกว่าการนิเทศยากกว่าการสอน เพราะผู้นิเทศจะต้องสามารถสร้างเเรงศรัทธาและความน่าเชื่อถือ การทำงานกับผู้ที่มีความรู้ และการที่จะเปลี่ยนเเปลงผู้ที่มีประสบการณ์นั้นยากมากเเค่ไหน ดังนั้นผู้นิเทศจึงถือว่าเป็นผู้ที่เก่งและมีความสามารถขั้นเทพเลยค่ะ ถ้าหากหนูเป็นครูในอนาคตหนูขอเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วเพื่อรับสิ่งใหม่ๆได้เสมอ เเละนำมาปรับใช้ในการสอนของหนูค่ะ

ขอบคุณอาจารย์สำหรับบทความดีๆนะคะ

นางสาวอรุโณทัย คล่องแคล่ว รหัส 49161436 เอกวิชาภาษาไทย

นางสาวธัญลักษณ์ พงษ์นรินทร์ 49171114 อ.49 ค5.2

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉันชื่อ นางสาว ธัญลักษณ์ พงษ์นรินทร์ ก่อนอื่นดิฉันต้องขอโทษอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ตอบบลีอกช้าไปหน่อย ดิฉันได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรก และได้มีโอกาสได้อ่านบทความที่อาจารย์ได้ให้คำนิยามไว้ เป็นครั้งแรกเช่นกัน

ในความคิดของข้าพเจ้า

การนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการในการแนะนำช่วยเหลือ  ครู   ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนิเทศนั้นอยู่บนหลักการของประชาธิปไตย  ได้แก่    การเคารพซึ่งกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ซึ่งการนิเทศเป็นผลดีแก่ ครูผู้สอนเป็นสำคัญอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวในข้างต้น เพราะถ้าไม่มีการนิเทศ ก็ไม่มีการปรับปรุง และการพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ครูผู้สอนก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าตนเองมีข้อผิดพลาดประการใดบ้าง จึงต้องอาศัยผู้นิเทศในการสังเกตการเรียนการสอน เพื่อหาปัญหา จุดด๊อย และแนวทางแก้ปัญหา เป็นต้น

 

การนิเทศการศึกษาจัดขึ้นเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น   ในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้จะสำเร็จได้ผลดีนั้น    ย่อมขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของศึกษานิเทศก์ผู้ทำงานร่วมกับครู  รวมถึงเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ  ที่ศึกษานิเทศก์นำมาใช้ในการนิเทศการศึกษา โดยให้ครูมีโอกาสค้นคว้างานที่จะต้องทำด้วยตนเอง  เพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้น เมื่อได้เรียนรู้และมีการพัฒนาแล้ว ซึ่งควรจะได้รู้จักปรับปรุงงานด้านการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น      การนิเทศการศึกษาไม่ใช่เน้นการปรับปรุงตัวครู     โดยครูยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ในการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 

 

สุดท้ายนี้ดิฉัน ขอขอบคุณอาจาย์สำหรับบทความดีๆเกี่ยวกับการนิเทศ ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริผู้เลอโฉม

เป็นครั้งที่ 3 แล้วนะคะที่หนูมีโอกาสได้มาเรียนกับอาจารย์อีก ดีใจมากเลยค่ะ

หนูชอบเรียนกับอาจารย์ท่สุด อาจารย์ใจดีค่ะและมีกลอน คติมาฝากนักเรียนทุกชั่วโมงเลย

และวันนี้หนูก็ได้อ่านบทความของอาจารย์ โห...อาจารย์อนงค์ศิริเป็นผู้รอบรู้จริงๆค่ะ ....มีข้อความหนึ่งนะคะที่โดนใจหนูมากค่ะ...

"การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ"

หนูเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ถ้าผู้นิเทศที่ยึดอารมณ์ตนเองเป็นใหญ่ ใครบางละคะที่จะชอบ

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะสำหรับบทความที่เพิ่มความรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

ปล.. วันศุกร์หนูได้หัวข้อเรื่อง"การนิเทศโดยเขตพื้นที่" ค่ะ อาจารย์คะ หาข้อมูลไม่เจอเลยค่ะ

เรียนคุณ อนงค์ศิริ

ท่าน ศึกษานิเทศก์ยุคใหม่ ดีใจที่ท่าน การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย

คงหมดยุคการนิเทศแบบที่ เดินวนเวียน เขียนสมุด ดูดเป๊บซี่ ฉีรดส้วม กินต้มไก่ แล้วก็ไปจากเรา

นิเทศครู ดูเป็นเรื่องยาก เพราะว่า ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน" เราต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับครู

นางสาวจิราพรรณ สายสืย

สวัสดีค่ะอ. หนูจิราพรรณ สายสืบ

เอกภาษาจีน Chinese

เรียนวิชานิเทศกาณศึกษา วันศุกร์เย็นนะค่ะ

บทความที่อาจาร์ยให้หนูมาอ่าน ดีมากเลยค่ะ

หนูชอบมากเลยกับที่อ.เขียนไว่ว่าการนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ

เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

ผู้รู้ส่วนมากมักจะมี...ประมาณว่าตัวเก่งอยู่แล้ว

เวลาสอนคงยากประการสำคัญ...การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

การปฏิรูปการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอน

การนิเทศ ก็ต้องเน้นผู้รับการนิเทศมีความสำคัญ เช่นกัน

ประโยควาทะศิลป์ค่ะวาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลที่กล่าวว่า

"ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน"

ชอบมากค่ะ....

แต่พออ่านบทความต่อหนูก็พอรู้แล้วว่าการเป็นผู้นิเทศควรทำอย่างไร

สุดท้ายนี้

บทความนี้ช่วยให้หนูเข้าใจการนิเทศมากขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ ที่เคารพ

ดิฉันชื่อ นางสาว ธัญปัถย์ เป็งป้อ รหัส 50221106 นักศึกษาภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้เข้ามาอ่านบทความ ที่ให้ความรู้รอบตัวมากมายขนาดนี้

ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเวปไซด์ที่ให้น่าอ่านแบบนี้ (ต่อไปคงได้เข้ามาดูบ่อยๆค่ะ)

จากบทความที่ได้อ่านดิฉันชอบคำที่ว่า

"ถ้าผู้เขียนอยากสอนศิษย์ ให้เป็นคนตรงต่อเวลา

ผู้เขียนไม่ตำหนิ ติเตียนที่ศิษย์มาสาย แต่ จะมาตรงเวลาให้เห็น และจะทำสม่ำเสมอ

ไม่น่าเชื่อว่า ศิษย์ที่มาเรียนด้วย...เขาได้เปลี่ยนเป็นคนตรงเวลา เป็นส่วนใหญ่(น่าปลื้มใจ)

และถ้าเขามาสาย เขาก็รู้อยู่แก่ใจว่ามาสาย เป็นต้น"

ใช่แล้วค่ะ ถ้าเราทำตัวเราก่อนเขาก็จะให้การเคารพนับถือและปฏิบัติตามค่ะ

อ่านแล้วสามารถนำไปใช้ได้ค่ะ

และบทความนี้ทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่านิเทศมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดีที่มีประโยชน์ค่ะ

ว่าที่ ร.ต.บวร จันทร์ธีระโรจน์

ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆ ครับ...บวรครับ.....

ผมไม่สงสัยเลยว่าอาจารย์เป็นนักนิเทศมืออาชีพจริงๆ....

คนปกติโดยทั่วไปย่อมไม่อยากให้ใครมาบังคับย่อมเป็นเรื่องธรรมดา..ใครๆก็อยากทำตามใจของตนเอง..

แต่การที่จะสอนคนหรือแนะนำคนให้ได้ดีและเขาเต็มใจทำนั้น...การทำตัวให้เป็นตัวอย่างเป็นการดีที่สุด...

เพราะคนเราย่อมมีความรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่ภายในใจอยู่แล้ว...คนที่ทำไม่ถูกต้องหรือทำอะไรผิดๆก็ย่อมมีความละอายแก่ใจเป็นธรรมดาอยู่ที่ว่าเขาจะแสดงออกมาอย่างไร นั่นเอง อาจรู้สึกผิดแล้วทำตาม หรือเฉยๆแต่ในความเฉยๆของเขาเหล่านั้นก็คงมีความละอายต่อตนเองอยู่บ้าง....อาจารย์นำบทความนี้มาใช้และได้ผลจริงๆ ครับ...บทความนี้ไม่ใช่เป็นแค่ตัวหนังสือแค่นั้นแต่อาจารย์นำมาแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน...ถ้าได้เรียนกับอาจารย์แล้วก็จะรู้เองใช่มะครับ.....

ตอบศิษย์รัตนา อรุโณทัย ธัญลักษณ์ ดวงแข จิราพรรณ ธัญปัถย์และ บวร

ดีใจที่ศิษย์ลองทำดู ทำตามคำแนะนำ และก็ย่อมประจักษ์ด้วยตนเอง

ในสิ่งที่พบ ที่เห็น มีอะไรมากมายในโลกนี้ที่เราควรเรียนรู้

เพียงแต่ว่าเราบริหารเวลาเป็นหรือไม่ ศิษย์จัดอยู่ในกลุ่มหัวไวใจสู้

ยังมีหลายคนรอดูทีท่า  หวังว่าศิษย์ที่รักคงมีความสุขกับการเรียนรู้นะคะ

ตอบท่านผอ.พรชัย

ดีใจที่ท่านแวะมาเยี่ยมและร่วมแจม

เพราะรักศึกษานิเทศก์ แม้จะจากวงการนิเทศมาแล้วยังทำการนิเทศ

ให้มีคุณค่า ภูมิใจที่ได้สอนวิชานิเทศการศึกษา ศึกษษนืเทศก์ตัวจริง

น่าจะได้แก่ ผ้บริหารที่สนใจงานวิชาการและพาทีมของท่านทำงานอย่างเป็นสุข 

นางสาวนุชจิรา ยานะ รหัส 49161917 หมู่เรียน กป 49.ค5.2 เรียนวิชา นิเทศการศึกษา วันพฤหัสบดี เวลา

15.00 - 17.00 น. ค่ะ

หนูชอบข้อความตรงนี้จังเลยค่ะ

การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล.. คือการไม่นิเทศ(โดยตรง)

ให้นึกถึงวาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลที่กล่าวว่า

"ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน"

หนูก็เป็นคนหนึ่งค่ะที่พร้อมจะเรียนรู้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน หนูชอบทดลองทำด้วยตัวหนูเองก่อนถ้าถึงที่สุดแล้วยังทำไม่ได้หรือไม่ประสบผลสำเร็จหนูจึงพร้อมที่จะรับสิ่งต่าง ๆ ที่บุคคล คนนั้นสอน พร้อมที่จะเรียนรู้กับบุคคลนั้น หนูยอมรับค่ะว่าเรียนกับอาจารย์แล้วทำให้ทัศนะคติหนูเปลี่ยนไป นิเทศไม่ใช่เรื่องที่ง่ายและในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำความเข้าใจ อาจารย์บอกว่าเข้ามาแล้วอย่าลืมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศด้วย แต่หนูขอไม่แสดงความคิดเห็นนะคะอาจารย์ เพราะว่าหนูพึ่งเริ่มเรียนและถ้าหนูเรียนมากขึ้นเข้าใจมากกว่ากว่านี้ หนูสัญญาค่ะว่าจะกลับมาแสดงความคิดเห็นในบทความนี้

นางสาว หล้าดี สัมพันธ์สินก่อ

Dearest, my beloved teacher.

Have to say sorry for being late to comment your post.

I love your message. It is wonderful! I am so touched by what you had written on your block.

You are very good at writing and encouraging students to go for thier dreams. Keep shining for the world and keep smiling.

Anyway, I am agree with you that action is important than words and love, kind, sincerity are required for all people that you are working with. We all need to learn from each others and to lean on one another. No matter how good or how brave we are, we still need to learn from other men.

Thank you so much for sharing and being sweet wonder teacher for me and my friends.

May God bless thee and keep smiling.

Hug and love, Ladee

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

ก่อนอื่นก็ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะที่เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์ช้าไปคงไม่เป็นไรนะคะอาจารย์

นี่ก็เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่หนูได้กลับมาเรียนกับอาจารย์หนูก็รู้สึกดีใจที่ได้เจอกับอาจารย์อีกครั้งเพราะอาจารย์เป็น

คนที่สอนสนุกเรียนแล้วไม่เครียด

และจากที่หนูได้เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์อาจารย์เขียนได้ดีมากเลยนะคะ และจากการอ่านบทความ

ของอาจารย์ก็ทำให้หนูได้ความรู้หลายอย่างจากบทความของอาจารย์ และหนูก็ชอบข้อความที่ว่า การทำให้ดู

ย่อมดีกว่าคำอธิบาย เพราะการทำให้ดูนั้นย่อมจะเกิดความเข้าใจได้มากกว่าการอธิบายด้วยคำพูดเปล่าๆ

ขอบคุณนะคะอาจารย์ที่ได้เขียนบทความดีๆให้ได้อ่านแล้วหนูจะคอยติดตามบทความของอาจารย์อีกนะคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์องค์ศิริ วิชาลัย

ข้าพเจ้านางสาวสายฝน ทองหลอม รหัส 49161456 หมู่เรียน ท49.ค5.1

จากที่ได้อ่านบทความเชิงวิชาการ เรื่อง นิเทศอย่างไรจึงได้ใจผู้ร่วมวิชาชีพ

มีความคิดเห็นว่า เป็นบทความที่ดี ให้ความรู้แก่ข้าพเจ้ามาก

ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจตรงข้อความที่ว่า

"การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ"

เพราะผู้นิเทศต้องมีความเมตา กรุณาและจริงใจต่อผู้รับการนิเทศด้วย

ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเองเป็นผู้นิเทศ ย่อมต้องเหนือกว่าผู้รับการนิเทศ

ต้องกระทำการทุกอย่างตามที่ตนเองต้องการ และข้าพเจ้าคิดว่าการนิเทศการศึกษา

สามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้จริงแต่ต้องขึ้นอยู่กับผู้นิเทศต้องมีจรรยาบรรณและไม่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ

ให้ความเมตตาผู้รับการนิเทศด้วยความจริงใจ

น.ส.สุภาพร จันต๊ะวิลัย

อาจารย์ค่ะหนูเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ 2 แล้วค่ะ

อาจารย์สอนแล้วเข้าใจ และเป็นอาจารย์ที่เข้าใจนักศึกษามาก

หนูชอบมากเลยค่ะที่อาจารย์กล่าวว่าในการนิเทศ

"การที่นิเทศด้วยการจับผิด ด้วยการทดสอบความรู้ ด้วยการใช้อำนาจเหนือ

กว่าด้วยคำพูดเสียดสีด้วยมีข้อมูลอะไรๆที่ค่อนข้างลบอยู่ในกำมือ

และด้วยการขจัดไปให้ไกลๆ เยี่ยงคนนอกสายตา

เพราะนอกจาก ผู้นิเทศจะไม่ได้ใจผู้รับนิเทศแล้ว

อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชัง ก็ถูกสร้างทั่วไป"

หนูเห็นด้วยนะค่ะเพราะหนูก็เป็นคนที่ไม่ชอบคนที่ชอบพูดเสียดสีในสิ่งที่เราทำพลาดไป

มันเหมือนว่าตอกย้ำว่าเราผิดอยู่ตลอดเวลาค่ะ จึงทำให้มีความรู้สึกไปในทางลบกับบุคคลนั้นเลยค่ะ

แต่ตรงกันข้ามถ้าเราได้รับข้อตักเตือนให้แก้ไขหรือให้กำลังใจก็จะทำให้บุคคลนั้นเป็นที่รักใคร่ตลอดไปค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่อาจารย์นำมาฝากอยู่เสมอ และหนูจะจดจำความรู้ที่อาจารย์ให้เป็นแนวทางต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์องค์ศิริ

หนูชื่อ นางสาวอารีรัตน์ ไชยกุล รหัส 49161437 โปรแกรมวิชาภาษาไทยค่ะ

หนูมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ 2 แล้ว และวันนี้หนูก็ได้เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์ หนูมีความคิดเห็นว่าเป็นบทความที่ให้ความรู้แก่ผู้อ่านจริง ๆ และช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้จริง หนูจึงชอบตรงข้อความที่ว่า " ที่ใดมีการเรียนการสอน..ที่นั่นมีการนิเทศ" เพราะการนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้รับการนิเทศ ดังเช่นการเรียนการสอน จึงต้องได้รับคำแนะนำจากคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการดี ๆ ให้แก่กัน ดังนั้นการนิเทศจึงต้องคู่กับการเรียนการสอนค่ะ และอีกอย่างคนที่เป็นผู้นิเทศต้องมีความเมตตาและไม่คอยจับผิดผู้รับการนิเทศเพราะจะทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างกันและจะทำให้การนิเทศนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์ศิริ

ก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะหนูชื่อ น.ส.ขนิษฐา สักดี รหัส 49161403 หมู่เรียน ท49.ค5.1 ( เอกภาษาไทย ) นี่เป็นครั้งแรกที่หนูได้มาเรียนกับอาจารย์และได้เข้ามาอ่านบทความที่มีสาระแบบนี้และหลังจากที่ได้อ่านบทความข้างบนนี้แล้วทำให้หนูได้รับความรู้เป็นอย่างมากที่เกี่ยวกับการนิเทศในหัวข้อที่อาจารย์ถามว่า " นิเทศการศึกษาช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้จริงหรือ " จากที่อ่านบทความข้างบนนี้แล้วสามารถเห็นได้ชัดเจนเลยว่า...การนิเทศนั้นสามารถที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้จริงคะอาจารย์...

ดังเช่นในข้อความที่กล่าวไว้ในบทความที่ว่า...ที่ใดมีการเรียนการสอนที่นั่นมีการนิเทศ (ไม่มีใครเก่งไปทุกเรื่อง )ดังที่ภาษิตทางถิ่นเหนือกล่าวว่า "ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง"(พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง) ความหมายคือ พี่ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรคมามาก ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่าน้อง

ดังนั้น ครูแต่ละท่านเรายอมรับว่าท่านเก่ง แต่เชื่อว่าคงไม่เก่งไปทุกเรื่องการนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์จะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวางการนิเทศจึงต้องคู่กับการเรียนการสอนและการเรียนรู้เสมอ

ฉะนั้นจึงเห็นได้ชัดเจนเลยว่าในหัวข้อที่อาจารย์ได้ถามมานั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและในบทความที่อาจารย์ให้อ่านนั้นได้ให้ความรู้และสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริงได้นะคะอาจารย์

นางสาว จริยา คำตา

50221061 กฐ.50.ค5.01

ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์

กราบเรียน อาจารย์ อนงค์ศิริ

รายวิชานิเทศการศึกษาเป็นรายวิชาครูเลือก สาเหตุที่ดิฉันสนใจเลือกรายวิชานี้ก็เพราะว่าดิฉันอยากจะทราบว่าอะไรคือนิเทศการศึกษาแล้วเราจะใช้ประโยชน์จากรายวิชานี้มาประยุกต์กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อย่างไร ก่อนที่ดิฉันจะตัดสินใจลงทะเบียนในรายวิชานี้ดิฉันได้ศึกษาถึงความหมายของรายวิชานี้มาก่อนเพื่อดูเนื้อหาว่าเราจะสามารถนำมาประยุกต์ได้หรือไม่ เมื่อดูถึงความหมายแล้วดิฉันคิดว่ารายวิชานี้จะเป็นประโยชน์ต่อดิฉันเป็นอย่างมากเพราะนอกจากการเรียนในรายวิชาการสอนว่าสอนอย่างไร วางตัวอย่างไรแล้ว รายวิชานี้ให้มากกว่าแค่วิธีสอน แต่ให้ vision วิสัยทัศน์เกี่ยวกับอาชีพครูที่มากกว่าแค่เป็นครูสอนในห้องเรียนเดิมๆ สอนในรูปแบบเดิมๆ การนิเทศเป็นสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยตลอดเวลา นั้นหมายความว่าดิฉันจะได้แนวคิดเกี่ยวกับอาชีพครูใหม่ๆจากรายวิชานี้ อย่างน้อยในชั่วโมงแรกที่ได้เรียนรายวิชานี้ ตอกยำ้ว่าครูต้องเป็นบุคคลที่ รู้ อยู่เสมอ ตื่นตัวและเปิดรับกับสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สวัสดีตอนสายๆนะค่ะอาจารย์ ก่อนอื่นหนูขอรายงานตัวก่อนนะค่ะ

ชื่อ นางสาว อารีพร วงค์ชัย

49171046 คอมพิวเตอร์ศึกษา section 01 นะคะ

จากที่หนูได้อ่านบทความข้างต้นของอาจารย์ได้รับความรู้เรื่องของการนิเทศก์ว่ามีความหมายอย่างไรและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ ทั้งนี้เรื่องของการนิเทศคือการ ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ จนเกิดกระบวนการได้เอง นอกจากนี้ได้รับความรู้เรื่องของการนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพหรือเพื่อนร่วมงาน จากที่หนูได้อ่านแล้วพบว่า การที่จะได้ใจเพื่อนร่วมงานนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องนิเทศใคร แต่เราความทำเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานหรือนำเอาแบบอย่างของเพื่อนร่วมงานมาปฏิบัติ ไม่ควรยึดเอาตัวเองเป็นใหญ่ ทำเท่านี้ก็จะมารถที่จะได้ใจเพื่อนร่วมงานได้

สุดท้ายนี้หนูก็อยากบอกอาจารย์ว่าจากการเรียนการสอนของอาจารย์ที่ผ่านมาอาจารย์สอนได้สนุกดีค่ะเน้นในเรื่องของกิจกรรมที่ให้ความรู้แกนักศึกษาได้เป็นอย่างมากค่ะ และสามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตได้ค่ะ

(สวัสดค่ะอาจารย์)

นายอุรุชา กันทะวงค์

สัสดีครับ อาจารย์อนงค์ศิริ ผมนายอุรุชา กันทะวงค์ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ โปรแกรมการประถมศึกษา 50 รหัส 50221140 ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ ผมสอนหนังสือที่โรงเรียนวัดทุ่งยาว ต.ศรีบัวบาน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ครับวันนี้ผมได้มีโอกาสเข้ามาอ่านใน blog นี้ ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น กับคำว่าการนิเทศ ภาษาพูดเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน การใช้ต่างกัน

ต่างกรรม ต่างวาระ ดังนั้นจากบทความของอาจารย์ที่เขียนไว้ blog คนที่เป็นครูในปัจจุบันจึงจะต้องเรียนรู้ และพัฒนาตนเองเพื่อให้เป้นบุคคลที่เป้นต้นแบบของการเรียนรู้ ซึ่งจะสามารถปรับ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้เกืดความเจริญก้าวหน้าต่อไป ผมเชื่อนะว่า นักศึกษาที่ลงเรียนวิชานี้จะได้ประโยชนืและความรู้ในการจะไปเตรียมความพร้อมที่ก้าวเข้าอาชีพครูต่อไปในอนาคต สำหรับผม ซึ่งเป็นครูอยู่แล้วก็จะนำความรู้มาพัฒนางาน เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวอีกเช่นกัน และคงจะได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนกับท่านอาจารย์อีกนะครับ สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงศิรินี้ก็เป็นครั้งแรกน่ะค่ะที่หนูได้เจออาจารย์ ตอนที่ยังไม่ได้เข้าชั้นเรียนหนูเข้าใจว่า ต้องน่าเบื่อแน่เลยเพราะนิเทศก็ต้งน่ังฟังแต่ตรงกันข้ามเมื่อมาเจออาจารย์เพระาอาจารย์ทำให้หนูอยากเรียนอยากศึกษาวิชานิเทศมากหนูเชื่อว่าอาจารย์ไม่เหมือนใครวิธีการสอนของอาจารย์น่าเชื่อถือ น้ำเสียงที่อบอุ่นและรอยยิ้มที่จริงใจทำให้เด็กผู้หญิงคนหนึ่งมีกำลังใจเรียนมากยิ่งขึ้นค่ะและหนูก็ชื่นชอบบทความตอนหนึ่งที่ว่า "ถ้าผู้เขียนอยากสอนศิษย์ ให้เป็นคนตรงต่อเวลา

ผู้เขียนไม่ตำหนิ ติเตียนที่ศิษย์มาสาย แต่ จะมาตรงเวลาให้เห็น และจะทำสม่ำเสมอ

ไม่น่าเชื่อว่า ศิษย์ที่มาเรียนด้วย...เขาได้เปลี่ยนเป็นคนตรงเวลา เป็นส่วนใหญ่(น่าปลื้มใจ)

และถ้าเขามาสาย เขาก็รู้อยู่แก่ใจว่ามาสาย" ค่ะ ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนหนูเชื่ออย่างนี้จริง และหนูจะนำวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ของอาจารย์มาเป็นตัวอย่างในอนาคตถ้าหนูได้เป็นคุณครูดั่งที่หวังไว้

สุดท้ายนี้หนูก็ต้องขอบคุณอาจารย์จริงที่ทำให้หนูเจอ "ไอดอล"แบบอย่างที่ดีสักที ขอบคุณมากๆค่ะ คงไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์นะคะ หุหุ

นางสาว นฤมล จี้สละ ๔๙๑๖๑๔๑๒ ท๔๙.ค๕.๑

เป็นข้อความที่ให้ความรู้ดีมากครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

หนูชื่อ พิมพันธ์ บุญญาสิทธิ์คะ อยู่เอกไทย หนูเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ ๒ แล้วคะ

แต่อาจารย์คงจะจำไม่ได้ เรียนกับอาจารย์สนุกคะเหมือนได้ผ่อนคลายจากการเรียนวิชาที่เครียดๆมา

ดีใจมากคะที่ได้เรียนกับอาจารย์อีก

หนูอ่านบทความของอาจารย์แล้วได้ความรู้หลายอย่างเกี่ยวกับการนิเทศซึ่งหนูไม่เคยรู้มาก่อน

เช่น นิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ ตอนแรกหนูอ่านก็ไม่เข้าใจแต่เมื่อได้อ่านต่อแล้วก็เข้าใจคะ

และหนูก็ชอบสุภาษิตที่อาจารย์ยกมามากคะ

"ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง"(พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง) ความหมายคือ

พี่ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรคมามาก

ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่าน้อง

นางสาว ฉัตรรัตน์ ฉัตรวรารัตน์

สวัสดดีค่ะอาจาร์ยอนงค์ศิริที่เคารพ หนูชื่อ นางสาว ฉัตรรัตน์ ฉัตรวรารัตน์ รหัส 50121343 จ50ค.5.1 section 02 ตอนเย็นวันศุกร์ค่ะ บทความที่มีข้างต้นเป็นบทความที่ดีมากๆเลยนะคะเเพราะไม่เพียงแต่ให้ความรู้แล้ว ยังให้ข้อคิดให้สุภาพษิตหลายอย่างอีกด้วย เป็นตัวอย่างที่ได้มาจากความเป็นจริงจากบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่าง นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลที่กล่าวว่า"ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน" ในความคิดของหนูอ่ะนะคะเป็นคำพูดที่ดูดีและไม่เย่อหยิ่งแต่เพียงแค่จะรับรู้กับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นแต่เพียงไม่ต้องการให้มาพูดบอกกล่าวกันตรงๆแต่จะรับรู้ได้สิ่งที่เกิดขึ้น และอีกสุภาษิตนึงที่ว่าปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง"(พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง) ความหมายคือ พี่ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรคมามาก ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่าน้อง ถึงแม้ว่าพี่จะเกิดมาก่อนเพียงแค่ปีเดียวก็ตามเขาก็อาจจพเจออะไรหลายๆอย่างที่ต่างไปจากเราจากการที่เราจะไม่ยอมรับเขาเพียงเพราะแค่เขาเกิดมาอายุมากกว่าเราปีเดียวแต่นำเอา1ปีที่เขาเกิดก่อนหรือช่วงเวลาที่เขาได้เจอก่อนมาแบ่งปันกับเราก็อาจจะทำให้เราได้รับรู้อะไรที่มากขึ้นหรือกว้างข฿นอีกนิดหน่อยก็ยังดีกว่าจะปิดตัวเอง บทความนี้เป็นบทความที่ดีนะคะทำให้คนที่อ่านนั้นมีโลกที่กว้างขึ้นอีก ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ สวัสดีค่ะ

นางสาวทิพย์วัลย์ กันทะวงค์ รหัส50221109 หมู่เรียนกป50.ค5.01

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ ที่เคารพ

ดิฉันชื่อ นางสาวทิพย์วัลย์ กันทะวงค์ รหัส 50221109 กป5.ค5.01 นักศึกษาภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านของอาจารย์เป็นบทความที่ให้ความรู้มากเลยค่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันได้เจอมากับตัวเองค่ะ คือตอนนี้ดิฉันเป็นคุณครูสอนเด็กอนุบาล ซึ่งทางโรงเรียนได้ผ่านการนิเทศมาแล้วหลายครั้งแต่ดิฉันพึ่งเจอครั้งแรกในชีวิต จริงอยู่ที่อาจารย์พูดว่า" ที่ใดมีการเรียนการสอน..ที่นั่นมีการนิเทศ" ตอนนั้นทางโรงเรียนได้เชิญ ศึกษานิเทศก์ มาตรวจเยื่ยมที่โรงเรียน เพื่อมาแนะนำการประเมินจาก สมศ.รอบที่ 2 ที่ทางโรงเรียนของดิฉันจะได้เจอในอีกไม่กี่วันนี้ ซึ่งดิฉันรู้สึกเฉยๆเพราะไม่เคยเจอศึกษานิเทศก์มาก่อนซึ่งยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามาเนื่องจากจุดประสงค์ใด เพราะดิฉันพึ่งทำงานใหม่ จึงไม่ได้มีการเตรียมการแต่อย่างใดกับเด็กๆในห้องเรียน รู้แต่ว่าจะมีศึกษานิเทศก์ มาเยี่ยมโรงเรียน แล้วผอ.ให้ช่วยกันทำความสะอาดห้อง พอผู้ศึกษานิเทศก์มาถึงก็มาตรวจทุกห้องจนมาถึงห้องของดิฉัน เด็กก็พากันสวัสดีแต่กิริยาบางอย่างก็อาจจะไม่พึ่งประสงค์ต่อศึกษานิเทศก์ เขาก็ถามเอาเอกสารต่างๆซึ่งทำให้ดิฉันงงมากว่าเอกสารที่ศึกษานิเทศก์ ถามหามันคืออะไร แล้วต้องมาจากไหน ดิฉันจึงหน้าที่ไม่ค่อยเต็มที่ และอาจจะไม่ค่อยพึงประสงค์ต่อเขายิ่งนัก พอถึงเวลาที่ต้องมาพูดคุยกันที่ห้องประชุมเขาก็พูดๆๆๆๆๆพูดว่ากล่าวต่างๆนาๆซึ่งทำให้ดิฉันรับไม่ค่อยได้กับสิ่งที่เขาพูด บางครั้งมันอาจเกินจริงไปหน่อยมันทำให้เราเสียความรู้สึกอย่างมาก เขาทำไมไม่พูดรักษาน้ำใจเหมือนที่อาจารย์ได้พูดเลย เขาพูดแต่ละคำนี้ไม่ได้มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเลย การนิเทศก์ในครั้งนั้นทำให้ดิฉันฝังใจมาโดยตลอด ซึ่งอยากจะรู้เหมือนกันว่า การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ..........จะมีจริงไหมหรือว่าจะเป็นอย่างที่ดิฉันเคยได้เจอ แล้วอีกครั้งก็คงจะเป็นการประเมินโรงเรียนจาก สมศ.ครั้งที่ 2 ดิฉันก็ยังไม่รู้เลยว่า ผู้นิเทศก์ที่ดียังจะมีอยู่อีกไหม?

เรียนคุณครูที่เคารพ...

"นิเทศอย่างไรจึงได้ใจผู้ร่วมงาน" จากความหมายและวิธีการแนะนำแนวทางในการจดจำของครู ที่ว่า นิเทศ เป็นคำกริยา ถ้าเป็นคำนามใช้คำว่าเทศก์ และถ้ามีคำว่าผู้อยู่แล้วไม่ต้องใส่ ก์(ก การันต์) ส่วนคำว่า เทศน์ ใช้ในความหมายว่า เทศนา เช่น พระเทศน์

และจากที่ได้เรียนมา ที่บอกว่า นิเทศ คือ ประสานงาน กระตุ้นหรือนำไปสู่ความงอกงาม ช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้รับบริการนิเทศ มีความรู้ความเข้าใจ และมีความชัดเจนในการทำงาน สำหรับ การนิเทศการศึกษา คือ การทำงานร่วมกันของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ในการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้บรรลุผล ผู้เรียนมีความรู้ ความสุข โดยใช้กิจกรรม วิธีการ และสื่อประกอบหลากหลาย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น คือ ความหมายของการนิเทศ เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้ความหมายของการนิเทศแล้วว่า ที่แท้จริงนั้นการนิเทศเป็นกระบวนการ ที่เน้นไปในตัวของครูผู้สอน และผลทั้งหมดจะส่งออกมาจากเด็กนักเรียนหรือลูกศิษย์ แต่กว่าที่ผลทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้นั้น ผมคิดว่ามีเหตุหรือปัจจัยที่เป็นจุดหรือบ่อเกิดนั้นอยู่ที่กระบวนการในการประสานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับครูผู้สอน แม้ผู้นิเทศจะมีสามารถแค่ไหน แต่หากครูมีอคติหรือมีความเห็นที่ไม่ตรงกันแล้วการนิเทศนั้นก้ถือว่าเปล่าประโยชน์ และแน่นอนไม่ต้องถามถึงผล เพราะว่าครูยังไม่เห็นด้วยกับผู้นิเทศ แล้วการเรียนการสอนที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีปัญหาแล้วจะไม่มีทางแก้ เพราะว่าปัญหาทุกปัญหามีทางออกเสมอ ปัญหาที่เกิดนี้ก็เหมือนกัน ทางแก้ที่ง่ายที่สุด คือความอดทน และเพียรพยายามของผู้นิเทศ หากผมเป็นผู้นิเทศที่พบกับสภาพปัญหาเช่นนี้ หนทางแรกเลยก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ครูคนนั้นเข้าใจวิธีการและยอมรับพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการสอนที่แปลกใหม่ โดยที่ผมไม่สอนเขาแต่จะให้เขาได้คิดและลงมือทำเองเพื่อทุกอย่างที่เกิดนั้นเกิดกับตัวเขาเอง นี่เป็นหนทางหรือวิธีการอันแรกที่ผมคิดว่า 90 % ในการประสบความสำเร็จการนิเทศ

หนทางหรือวิธีการอีกอย่างคือ ทำตัวให้เป็นเืพื่อนที่จริงใจ รับฟังสภาพปัญหา และความทุกข์ร้อนของครูคนนั้น เพื่อให้ครูได้ปลดปล่อย และรู้สึกผ่อนคลายในการพูดคุยกับเรา แล้วค่อยหาโอกาสในการสอบถามวิธีการเรียนการสอน สภาพนักเรียน และสิ่งต่างๆ ที่ต้องการให้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เมื่อมีข้อมูลก็ค่อยจัดให้มีการแสดงตัวอย่างโดยทำให้ดู เพื่อให้ครูเล็งเห็นถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา นั่นก็คือจำนวนนักเรียนที่มีคุณภาพนั่นเอง

วิธีการนิเทศที่จะทำให้ได้ใจผู้ร่วมงานนั้นมีมากมายแล้วแต่ผู้นิเทศจะเลือกทำ เพราะนั่นคือ ผู้นิเทศมืออาชีพ...

นายรพีภัทร กมลสิทธิ์สิริกุล รหัสนักศึกษา 50121431 section 03

นางสาว ทิพย์กนก งานขยัน

สวัสดีคะอาจารย์

หนู นางสาวทิพย์กนก งานขยัน รหัส 49121830 จว.49.ค5.1 sec..03

จากการอ่านบทความข้างต้นแล้วหนูได้มีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา จากการที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้เลย จึงให้รู้ความหมายของการนิเทศตามความเข้าใจของดิฉันว่า การนิเทศ คือ การชี้แจง แสดงหรือจำแนกและคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำและการปรับปรุง ความหมายของการนิเทศ เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้ความหมายของการนิเทศแล้วว่า ที่แท้จริงนั้นการนิเทศเป็นกระบวนการ ที่เน้นไปในตัวของครูผู้สอน และผลทั้งหมดจะส่งออกมาจากเด็กนักเรียนหรือลูกศิษย์ แต่กว่าที่ผลทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้นั้น ผมคิดว่ามีเหตุหรือปัจจัยที่เป็นจุดหรือบ่อเกิดนั้นอยู่ที่กระบวนการในการประสานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับครูผู้สอน แม้ผู้นิเทศจะมีสามารถแค่ไหน แต่หากครูมีอคติหรือมีความเห็นที่ไม่ตรงกันแล้วการนิเทศนั้นก้ถือว่าเปล่าประโยชน์ และแน่นอนไม่ต้องถามถึงผล เพราะว่าครูยังไม่เห็นด้วยกับผู้นิเทศ แล้วการเรียนการสอนที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีปัญหาแล้วจะไม่มีทางแก้ เพราะว่าปัญหาทุกปัญหามีทางออกเสมอ ปัญหาที่เกิดนี้ก็เหมือนกัน ทางแก้ที่ง่ายที่สุด คือความอดทน และเพียรพยายามของผู้นิเทศ หากผมเป็นผู้นิเทศที่พบกับสภาพปัญหาเช่นนี้ หนทางแรกเลยก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ครูคนนั้นเข้าใจวิธีการและยอมรับพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการสอนที่แปลกใหม่ โดยที่ผมไม่สอนเขาแต่จะให้เขาได้คิดและลงมือทำเองเพื่อทุกอย่างที่เกิดนั้นเกิดกับตัวเขาเอง นี่เป็นหนทางหรือวิธีการอันแรกที่ผมคิดว่า 90 % ในการประสบความสำเร็จการนิเทศ หนทางหรือวิธีการอีกอย่างคือ ทำตัวให้เป็นเืพื่อนที่จริงใจ รับฟังสภาพปัญหา และความทุกข์ร้อนของครูคนนั้น เพื่อให้ครูได้ปลดปล่อย และรู้สึกผ่อนคลายในการพูดคุยกับเรา แล้วค่อยหาโอกาสในการสอบถามวิธีการเรียนการสอน สภาพนักเรียน และสิ่งต่างๆ ที่ต้องการให้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เมื่อมีข้อมูลก็ค่อยจัดให้มีการแสดงตัวอย่างโดยทำให้ดู เพื่อให้ครูเล็งเห็นถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา นั่นก็คือจำนวนนักเรียนที่มีคุณภาพ

จากความรู้ทั้งหมดทำให้ดิฉันมีความรู้มากขึ้นค่ะ หนูจะเข้ามาอ่านบทความดีๆ ใหม่นะค่ะ ขอให้อาจารย์สร้างผลงานดีๆอย่างนี้ต่อไปนะคะ

ขอบคุณคะ

นางสาวเสาวนีย์ กอพัฒนาพนา

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ หนูชื่อนางสาวเสาวนีย์ กอพัฒนาพนา รหัส 49121820 จว49ค5.1 sec. 03

หนูได้อ่านบทความแล้วรู้สึกว่าการนิเทศนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่ออย่างที่หลายๆคนคิด เมื่อได้เรียนกับอาจารย์แล้วทำให้เข้าใจว่าการนิเทศนั้นสำคัญมากสำหรับการนำไปใช้ในการสอนของหนูในอนาคต เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้ความหมายของการนิเทศแล้วว่า ที่แท้จริงนั้นการนิเทศเป็นกระบวนการ ที่เน้นไปในตัวของครูผู้สอน และผลทั้งหมดจะส่งออกมาจากเด็กนักเรียนหรือลูกศิษย์

จากการที่หนูได้อ่านบทความนี้ ได้มีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา จากการที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้เลย จึงให้ความหมายของการนิเทศตามความเข้าใจของหนูว่า การนิเทศ คือ การชี้แจงและคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำและการปรับปรุง

การนิเทศเป็นกระบวนการที่ไม่มีความสิ้นสุด เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้นิเทศการศึกษาต้องไม่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ

หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วหนูรู้สึกประทับใจมากค่ะที่บอกว่าการนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

ซึ่งบทความน่าสนใจมากค่ะ

เป็นบทความที่ผมอ่านแล้วคิดว่าไม่จำเป็นต้องได้เรียนรายวิชานี้ค่อยมาศึกษานะคับซึ่งที่จิงแล้วหากเรามีโอกาสได้เข้ามารับความรู้จากผู้มีประสบการณ์เท่านี้ผมว่าผมได้รับความรูโดยที่ผมไม่จำเป็นต้องเรียนในรายวิชา การนิเทศการศึกษา ซึ่งเป็นการดีที่ว่าเมื่อหลังเรียนจบในรายวิชานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการการดงรงชีวิตต่อไป......นายจักรพงษ์ วงษ์โสมะ 49121805 จว49 ค51

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ หนูชื่อ นางสาวสิริพร สิริดำรงกุล รหัส 49121819 จว49ค5.1 sec03

หนูได้อ่านบทความแล้วหนูขอบคุณอาจารย์มากๆที่ได้อธิบายการนิเทศการศึกษา พร้อมกับยกตัวอย่างการที่เทศการศึกษาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และจากการที่ได้อ่านบทความทำให้หนูรู้ว่าการที่เราจะเป็นนิเทศก์ศึกษาได้เราต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจในหลายๆเรื่องมากมาย และจะต้องเป็นคนที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะว่าการนิเทศการศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งหนูคิดว่าการจะเป็นนิเทศก์ศึกษาเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห้นของผู้อื่นและเป็นไปได้ยากที่งานจะประสบความสำเร็จในการทำงาน และจาการเรียนจิตวิทยาทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการที่จะไปเป็นศึกษานิเทศก์ได้เพราะว่า จิตวิทยาจะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เชื่อมั่นว่าบุคคลแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป

และจากบทความนี้สามารถนำไปประยุกต์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในอนาคตในการประกอบอาชีพได้

หนูรู้สึกประทับใจในวิธีการสอนของอาจารย์มากเลยค่ะ สนุกมีสาระค่ะ ขอบคุณค่ะ

ชื่อ นางสาวธันยพร ทวีชัย รหัส 49121811 (จว49ค5.1)

จากบทความที่ได้อ่านมานี้ทำให้เห็นมุมมองของการนิเทศการศึกษาที่ก้วาออกไปจากในบทเรียน ถือเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ใหม่ๆ โดยผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่เคยไปหาความหมายจากหนังสือ ซึ่งเป็นความหมายที่ก้วางมาก เข้าใจยาก แต่เมื่อได้อ่านบทความนี้ทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในด้านการนิเทศการศึกษาของหนูแคบลง และรู้ศึกว่าการนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาสำหรับผู้ที่เรียนสายครู ซึ่งสามารถนำไปเสริมความเข้าใจประกอบการเรียน และทำให้เห็นประโยชน์ของการนิเทศการศึกษาซึ่งตนเองจะต้องพบในอนาคตข้างหน้า อันใกล้นี้

การนิเทศเป็นกระบวนการที่ไม่สิ้นสุด คำจำกัดความนี้เป็นหัวใจสำคัญของผู้นิเทศและครูผู้สอนเพื่อมุ่งประโยชน์ให้แก่นักเรียนโดยตรง

อนาคตข้างหน้า ถ้ามีโอกาสจะเป็นครูและทำหน้าที่ผู้นิเทศที่เต็มความสามารถ สัญญาค่ะ

นางสาววราภรณ์ แสงมูล

สวัสดีค่ะอาจราย์หนูชื่อ นางสาววราภรณ์ แสงมูล รหัส 49121841 จว 49 ค 5.1

จากการที่ได้เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์ในเรื่องของการนิเทศ ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนิเทศเพิ่มมากขึ้น

ทั้งที่แต่ก่อนอาจไม่เคยทราบหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนิเทศ ทำให้ทราบว่าการนิเทศนั้นต้องป็นความร่วมมือของทั้ง สองฝ่ายที่จะช่วยกันให้การเรียนการสอนพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับนักเรียนและได้เรียนรู้อีกว่าไม่ว่าครูจะอยู่ในระดับใดก้ตามย่อมสามารถช่วยเหลือกันในการนิเทศได้เพราะคนเรามีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันฉะนั้นจะเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

นางสาวนริศรา อินต๊ะนำ

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ข้าพเจ้านางสาวนริศรา อินต๊ะนำ รหัส 50221146 หมู่เรียน กป50.ค5.01

จากการที่ได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมอาชีพ ทำให้เข้าใจถึงหัวใจของการนิเทศได้ดียิ่งขึ้น

"การนิเทศที่สำคัญคือ การทำให้ดู นิเทศโดยให้เห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน

และการนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ "

ข้าพเจ้าเชื่อว่าความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต

ขอบคุญสำหรับบทความดีๆนะคะ

เสาวลักษณ์ อุปนันท์

......สวัสดีค่ะอาจารย์

หนู นางสาวเสาวลักษณ์ อุปนันท์

รหัส 49161432

ขอโทษทีนะคะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นช้าไป......เป็นความผิดพฃาดที่เกิดจากตัวหนุเองค่ะ

การนิเทศให้ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่อาจารย์กล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ควรรู้...และเป็นสิ่งที่ควรยึดถืออาจารย์อธิบายๆได้อย่างน่าสนใน

และได้ความรุ้เกี่ยวกับการนิเทศต่างๆ

อาจารย์เขียนบทความที่เป็นประโยชน์มากค่ะ และหนูคิดว่าจะนำไปประยุกต์กับวิชาที่รียนอยูค่ะ

เรียนอาจารย์อนงค์ศิริ

และสวัสดีครับ ผมได้อ่านบมความของอาจารย์แล้วรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก ได้ทราบถึงคำว่านิเทศอย่างแจ่มแจ้งและเข้าใจมาก และดีใจมากที่ได้เรียนวิชานิเทศกับอาจารย์นับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก เพราะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีมีเชี่วญชาญเป็นพิเศษ เมื่ออ่านจบแล้วรู้สึกประทับใจในบทความอยู่หลายตอนเช่นตอนที่กล่าวว่า "แต่..การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ"

ตอนนี้รู้สึกประทับใจเป็นอย่งมาก เพราะทำให้เราได้เป็นคนที่เป็นน้ำครึ่งแก้ว ยอมรับฟังความเห็นจากผู้อื่นและพร้อมที่รับความรู้ใหม่ๆ

และมีข้อความบางตอนที่ประทับมากกว่า คือ ผู้เขียนไม่ตำหนิ ติเตียนที่ศิษย์มาสาย แต่ จะมาตรงเวลาให้เห็น และจะทำสม่ำเสมอ

ไม่น่าเชื่อว่า ศิษย์ที่มาเรียนด้วย...เขาได้เปลี่ยนเป็นคนตรงเวลา เป็นส่วนใหญ่(น่าปลื้มใจ) และถ้าเขามาสาย เขาก็รู้อยู่แก่ใจว่ามาสาย เป็นต้น จากการที่ผมได้เรียนกับอาจารย์เพียงแต่ 2 สัปดาห์ อาจารย์เป็นคนที่ตรงเวลามาก จะมานั่งรอสอนก่อนเวลาเสมอ ซึ่งเป็นความประทับใจของผมมาก และสุดท้านนี้ผมอยากจะบอกว่า การนิเทศเป็นกระบวนที่กระทำไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ ครับ เช่นเดียวกับ การศึกษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่งเองครับ ( It is never too late to mend ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น)

น.ส นิลุบล จันทร์ขอด

...............สวัสดีค่ะอาจรย์ หนูชื่อ น.ส. นิลุบล จันทรืขอด รหัส 49161414 หมู่เรียน ท49 ค5.1

...........จากบทความที่หนูได้อ่านของอาจารย์หนูไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อนเลยหนูพึ่งรู้ว่าการนิเทศไม่ใช่เป็นเรื่องงานแต่เป็นการร่วม

มือร่วมใจของคนหลายๆฝ่ายเข้าด้วยกันจึงจะเกิดผลสำเร็จ

..........และทำให้หนูได้รู้และเข้าใจการนิเทคมากขึ้นว่ามันหมายความว่าอะไร อาจารย์เขียนบทความนี้มีประโยชน์มากค่ะหนุจะนำมาประยุกใช้ในการเรียนการสอนต่อไปค่ะ

นางสาว ธนานุช ภมรมนัส รหัส 49161647

จากบทความ "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ก่อนอื่นหนูต้องขอบคุณอาจารย์นะคะที่ทำให้หนูเข้าใจคำว่า นิเทศ ซึ่ง หนูอาจจะได้ยินมาคุ้นๆหูแต่ไม่รู้ว่าความหมายที่แท้จริงมันคืออะไร และการนิเทศมีความสำคัญอย่างไร ผู้นิเทศและผู้ที่ได้รับการนิเทศก็ต้องให้เกิยรติซึ่งกัน ไม่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ พูดง่ายๆก็คือ เห็นผู้อื่นสำคัญเท่าเทียมกับเราใช่ไหมละคะ งานทุกอย่างก็จะออกมาดี ประสบความสำเร็จ จากประโยคที่ว่า "ครูแต่ละท่านเรายอมรับว่าท่านเก่ง แต่เชื่อว่าคงไม่เก่งไปทุกเรื่อง" หนูเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งคะอาจารย์เพราะบางที อาจารย์เก่งจริงแต่ไม่มีเทคนิคการสอนที่ดี ก็ทำให้เราไม่เข้าใจ แบบว่าเข้าใจยากอะคะ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆนะคะที่นำความรู้เหล่านี้มาเพิ่มเติมให้หนูเข้าใจง่ายมากขึ้นและมีความรู้มากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในอนาคตต่อไปคะ

น.ส.นารีรัตน์ กูลเม็ง

สวัสดีคะอาจารย์ ดิฉันชื่อ น.ส.นารีรัตน์ กูลเม็ง โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ 49161648 อ49ค5.1 section 02

จากบทความที่ได้อ่านทำให้ดิฉันได้ทราบว่าการนิเทศไม่ใช่การสอนแต่การนิเทศเป็นการชี้แนะ แนะนำ และการช่วยเหลือครู ในด้านต่าง ๆ ตามความถนัดของผู้นิเทศแต่ละคน ผุ้นิเทศที่ดีนั้นไม่ควรคิดว่าตนเป็นคนที่เก่งที่สุด เพราะว่าในความเป็นจริงแล้ว แต่ละคนจะเก่งกันคนละด้าน เราคิดว่าเราเก่งในเรือ่งนี้แล้วแต่อาจจะมีคนที่เก่งกว่าเราอีกมาก เพราะฉะนั้นจึงควรนำความรู้แต่ละด้านของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวครูเองหรือผู้นิเทศ และยังส่งผลถึงผู้เรียนด้วยเมื่อครูมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้วย และผู้นิเทศน์ยังต้องมีเทคนิคและวิธีการในการนิเทศที่ดีเพราะว่าผู้รับการนิเทศบางคนก็อาจจะเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญท่านอาจจะไม้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือไม่ยอมรับทฤษฎีใหม่ ๆ เพราะท่านผู้นั้นถือว่าตัวเองเป็นคนที่เก่งที่ ดังนั้นผู้นิเทศจะต้องใช้วิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไม่ใช่การสอน และผู้นิเทศต้องไม่ใช้คำพูดที่ส่อเสียดตอ้งใช้คำพูดที่เป็นมิตรจึงจะทำให้การนิเทศสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

และสุดท้ายนี้ดิฉันอยากบอกอาจารย์ว่าบทความของอาจารย์มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้มาก ๆ คะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนูนางสาวนิภาพร วัตนากร รหัส 49171115 หมู่เรียน อ49ค5.2 section 02มารายงายตัวค่ะ

ขอโทษด้วยนะค่ะที่มาคอมเม้นช้า มาสายก็ยังดีกว่าไม่มาไช่ไหมค่ะ หนูหวังว่าว่าอาจายร์คงจะให้อภัยไห้หนูนะค่ะ

สำหรับบทความเรื่องการนิเทศอย่างไรจึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ในควมคิดของหนูนะค่ะหนูคิดว่าเนื้อหาในบทความของอาจารย์มีประโยชน์ต่อหนูมากเลยค่ะ เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่าการนิเทศคืออะไร มีวิธีการอย่างไร คือหลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้วก็ทำให้หนูได้เข้าความหมายว่าการนิเทศคือการแนะนำ ปรึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งแต่ละบุคคลมีไม่เหมือนกัน ซึ่งการเป็นผู้นิเทศที่ดีได้ต้องเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นไม่เอาควมคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ และวิธีการนิเทศที่ดีเราจะต้องไม่ชี้ที่ข้อบกพร่องของผู้อื่นโดยตรงแต่เราจะต้องเป็นตัวอย่างให้เขาดู

ขอบคุณอาจารย์สำหรับบทความที่มีเนื้อหาดีๆอย่างนี้นะค่ะ

หวังว่าคงจะได้อ่านบทความดีๆจากอาจารย์อีกนะค่ะ......สวัสดีค่ะ

น.ส.พรรณิภา เด่นทองแท่ง

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

ก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ หนูชื่อ นางสาวพรรณิภา เด่นทองแท่ง รหัสนักศึกษา 49161651 ก็ต้องขอโทษนะค่ะอาจารย์ที่หนูเข้ามาช้า หนูยอมรับนะค่ะว่า เข้ายากนิดหนึ่ง แต่หนูคิดว่า ผิดที่หนูเองค่ะ หนูจะปรับปรุงตัวเองค่ะ หนูดีใจนะค่ะ ที่ได้มาเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ 2 (เคยเรียนกับอาจารย์ก็คือ วิชา ทักษะและเทคนิคการสอน หนูดีใจมากค่ะที่ได้ A วิชานั้นด้วย แต่ที่หนูดีใจที่สุดนะค่ะก็คือ การเป็นอาจารย์ที่ดีของอาจารย์นะค่ะ หนูประทับใจในตัวอาจารย์ การเรียนการสอนของอาจารย์ที่ดึงดูดผู้เรียนได้มาก และอื่นอีกมาก จนหนูบรรยายไม่ไหวค่ะ )และหนูยังประทับใจบทความที่อาจารย์เขียนว่า "ถ้าผู้เขียนอยากสอนศิษย์ ให้เป็นคนตรงต่อเวลา ผู้เขียนไม่ตำหนิ ติเตียนที่ศิษย์มาสาย แต่ จะมาตรงเวลาให้เห็น และจะทำสม่ำเสมอ" หนูว่าอาจารย์เป็นคนตรงต่อเวลาจริงๆนะค่ะ หนูเป็นคนหนึ่งที่เคยมาสาย อาจารย์ก็ไม่เคยว่าอะไรหนูเลย หนูก็เคยแปลกใจเหมือนกันนะค่ะ ว่าทำไมอาจารย์ไม่ดุหรือว่าอะไรหนูเลย ตั้งแต่นั้นมา หนูเลยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พยายามมาเช้าและตรงเวลาที่สุด เท่าที่จะทำได้ค่ะ หากในอนาคตหนูได้เป็นครูจริงๆหนูสัญญาว่า จะเอาแบบอย่างของอาจารย์ไปใช้ในการสอนนักเรียนค่ะ

จากการที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์ หนูเห็นด้วยนะค่ะ ที่บอกว่า "การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย "

ในความคิดของหนู หนูคิดว่า ในการดำเนินชีวิตของคนเราก็เหมือนกันค่ะ ถ้าอยากให้ใครทำอะไร ให้เราพอใจ เราควรที่จะทำให้เค้าดูเป็นตัวอย่างก่อน แล้วจึงจะให้เค้าทำ

และในการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน หนูคิดว่า ถ้าอาจารย์ให้การบ้านนักเรียนไป และถ้าไม่อธิบายวิธีทำและไม่ยกตัวอย่างให้แก่นักเรียน หนูเชื่อว่า นักเรียนต้องทำไม่ได้หรืออาจทำได้ไม่ถูกต้อง จำเป็นที่ครูจะต้องอธิบายวิธีทำและยกตัวอย่างให้กับนักเรียนทุกครั้ง นักเรียนจึงจะทำได้ถูกต้องค่ะ

ในการนิเทศก็เหมือนกันค่ะ หนูคิดว่า ผู้นิเทศไม่ควรที่จะตำหนิ ดุด่าว่า ผู้รับการนิเทศโดยตรง เมื่อผู้รับการนิเทศไม่สามารถทำได้ตามที่ผู้นิเทศต้องการ แต่ผู้นิเทศควรทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน เพื่อที่ผู้รับการนิเทศจะสามารถทำได้ตามที่ผู้นิเทศต้องการและถ้าหากผู้นิเทศไม่ดุด่าอย่างรุนแรง หนูคิดว่า เป็นไปได้ที่ผู้รับการนิเทศจะประทับใจในตัวผู้นิเทศค่ะ

หนูขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่ให้ความรู้กับนักศึกษาทุกๆคนอีกแล้ว บอกตามตรงนะค่ะ ไม่มีเลยค่ะ ที่อยู่ใกล้อาจารย์แล้วไม่ได้ความรู้ ขอบคูณจริงนะคะ และหนูต้องขอโทษด้วยนะค่ะ หากหนูตอบไม่ตรงคำถามหรือเขียนไม่ได้ใจความ ขอโทษจริงๆค่ะอาจารย์ค่ะหนูอยากเขียนมากกว่านี้นะค่ะ ไว้โอกาศหน้าเดี๋ยวหนูเข้ามาใหม่นะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ คนเก่ง หนูชื่อนางสาววงศ์วิไล ปวงแก้ว รหัส 50121403 เรียน วันพฤหัสบดี 15.00-17.00 ค่ะ

หนูเพิ่งเคยเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรกเลยทำให้ไม่ค่อยรู้จักอาจารย์เท่าคนที่เคยเรียนมาแต่ได้ยินจากเพื่อนที่เคยเรียนกับอาจารย์บอกว่าอาจารย์เป็นคนเก่ง สอนดี ไม่หวงความรู้ทำให้หนูดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์เข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะกับบทความที่ว่า นิเทศอย่างไร ...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ หนูชอบในส่วนที่อาจารย์เขียนว่า การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบายเหมือนที่อาจารย์เข้าห้องสอนตรงเวลาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษา ครูถ้าอยากให้นักเรียนมาตรงเวลาครูก็ควรมาตรงเวลา เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียนและอีกอย่างหนูเรียนสาขาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว อาจารย์ในภาคจะสอนเสมอว่าคนอังกฤษจะเป็นคนตรงเวลาเสมอ ถ้าสายเขาจะถือว่าเป็นการเสียมารยาทเป็นอย่างมาก ในการเรียนการสอนก็เหมือนกันต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดถ้าเราไม่มีการนิเทศการเรียนการสอนของเราอาจไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนเท่าที่ควร ดังนั้นการนิเทศจึงต้องควบคู่ไปกับการเรียนการสอนค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ ที่นำเกร็ดความรู้ดีๆมาให้นักศึกษาได้อ่าน สิ่งเหล่านี้ทำให้ว่าที่ครูในอนาคตจะได้ทำตัวถูกหากได้รับการนิเทศ หนูไม่กลัวการนิเทศต่อไปแล้วค่ะ เพราะมีเคล็ดลับดีๆจากอาจารย์เยอะแยะไปหมดเลย

น.ส.อริสรา สิริวรรณสถิต

Hello, my lovely teacher !

หนูคนที่รัก และคิดถึงอาจารย์ที่สุดไงคะ ทายซิว่าใครเอ่ย? อิ อิ

ค่ะหนู อริสรา สิริวรรณสถิตค่ะ อาจารย์คะ หนูดีใจมากเลยค่ะ ที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้หนูตั้งใจลงเรียนกับอาจารย์เลยนะคะ พอหนูรู้ว่าอาจารย์สอนวิชานี้หนูรีบถอนวิชาอื่นมาเรียนกับอาจารย์ค่ะ หนูพูดจริงๆนะคะว่าอาจารย์เป็นผู้นิเทศที่ดีของนักศึกษา

อย่างที่อาจารย์เขียนไงค่ะว่าการทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย หนูเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ เพราะจากประสบการณ์ที่หนูได้รับคือ เมื่อก่อนหนูมาเข้าห้องเรียนวิชาอาจรย์สายตลอด บางครั้งคิดไม่อยากเข้าไปเรียนเพราะสายมากแล้วกลัวอาจารย์ดุ แต่พอเข้าเข้าไปเรียนอาจารย์กลับนิ่งเฉยไม่ว่าอะไรเลย อาจารย์รู้ไหมคะว่า การที่อาจารย์ไม่ว่าอะไรหนู มันทำให้หนูรู้สึกผิดจนหนูพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตอนนี้หนูก็ทำได้แล้วนะคะ และหนูจะพยายามมาเข้าห้องเรียนก่อนอาจารย์ทุกวันเลยค่ะ ขอชมอาจารย์จากใจเลยนะคะอาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษาทุกคน เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา มีเทคนิคในการสอน หนูจำเป็นต้องเก็บความรู้จากอาจรย์อย่างมาก อาจารย์ช่วยสอนหนูเยอะๆนะคะ เพื่อจะได้เป็นครูที่ดีเหมือนอาจารย์ค่ะ

สุดท้ายหนูขอบคุณอาจารย์มากนะคะสำหรับทุกๆอย่าง

รักและแสดงเคารพอย่างยิ่ง

อริสรา

สวัสดีครับ อ.อนงศิริ ผมนายจีรศักดิ์ โตวิทยานันท์ 49161104 เรียนวันศุกร์บ่าย 3 โมงครับ ผมได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วผมรู้สึกเข้าใจในคำว่านิเทศมากยิ่งขึ้นเลยครับ ผมว่ามีประโยชน์มากเลยครับ สามารถที่จะนำข้อคิดบางอย่างไปปรับกับอาชีพครูในอนาคตได้เลย ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่บอกว่า การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี เพราะเมื่อเราปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดูแล้ว ศิษย์ได้เห็นได้ดูอยู่เป็นประจำ อย่างน้อยเค้าก็น่าที่จะระลึกและตระหนักถึงสิ่งที่เราได้ทำลงไปว่าขนาดครูยังทำได้แล้วทำไมศิษย์จะทำไม่ได้ เปรียบเสมือนเป็นการกระตุ้นตัวเองให้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเอง ครับ สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่มีบทความดีๆอย่างนี้ให้เราได้อ่านกันครับ ผมอาจจะเขียนสั้นไปหน่อยแต่อาจารย์คงจะไม่ว่าอะไรผมนะครับ สวัสดีครับ

จริญญา โนจา รหัส 50221006 หมู่เรียน กฐ50.ค5.01

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

จากการที่อ่านข้อความของอาจารย์แล้วทำให้เข้าใจเรื่องของการนิเทศก์มากขึ้น จากก่อนหน้านี้กลัวการนิเทศก์มากเพราะเหมือนมีใครมาคอยจับผิดและจะทำให้ไม่มีความสุขในการทำงานต้องเตรียมเอกสารที่ไม่ตรงตามมาตรฐานทางการศึกษาและเข้าใจผู้ที่เข้ามานิเทศก์เป็นคนที่พูดมากและพูดโดยไม่มีหลักการ หรือขาดจิตวิทยาในการพูด แต่ในปัจจุบันมีความเข้าใจในเรื่องการนิเทศก์ในด้านบวกและเห็นว่าการนิเทศก์หรือคนที่เป็นนิเทศก์ไม่ใช่ครูเจ้าระเบียบอีกต่อไปแต่เห็นเป็นเพื่อน เป็นคนคอยให้คำปรึกษาในเรื่องที่ไม่รู้

มองโลกในแง่ดี เปิดโลกให้กว้างไกลแล้วชีวิตการทำงานจะมีความสุข

สวัสดีครับ อ. อนงค์ศิริ วิชาลัย

กระผม นายศุุภฃัย ปานเกษม 50221143 กป50.ค5.01 ได้เรียนกับอาจารย์ครั้งแรกในเทอมนี้ แต่ได้เรียนกับอาจารย์ตั้ง 2 วิชา ดีจังเลย เพราะการสอนของอาจารย์ดีมาก เหมือนกับศึกษานิเทศก์มาเองอย่างไร อย่างนั้น

ผมได้อ่านบทความอาจารย์เรียบร้อยแล้ว การนิเทศ มีหลายให้คำนิยามแตกต่างกันไป แต่ในที่นี้ผมขอนิยามจากบทความโดยสรุปไว้ว่า การนิเทศคือ"การแนะนำ พัฒนาทักษะที่ส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ" ตามความเข้าใจของผม แต่การนิเทศที่ัจะได้ใจผู้ร่วมงานนั้นก็อยู่กับเทคนิคของแต่ละคน และความศรัทธาในผู้นิเทศแต่ละคน

ส่วนการนิเทศรูปแบบเดิมนั้น สมัยนี้อาจมีอยู่น้อยหรือแทบจะไม่มีเลย แต่เปลี่ยนการนิเทศโดยทางอ้อมแทน ซึ่งได้ผลมากกว่าการนิเทศโดยตรง เพราะทั้งผู้รับการนิเทศกับผู้นิเทศจะไม่ได้กระทบกระทั้งกัน ....

นางสาวจารุณี พิชญากรวงค์ รหัส 50221117 หมู่เรียน กป.50.ค.5.01

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

จากการที่ได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมงาน ทำให้ได้เข้าใจการนิเทศมากขึ้น

การนิเทศที่สำคัญคือ การทำให้ดูเป็นตัวอย่างการนิเทศที่ดีไม่ควรยึดคัวเองเป็นสำคัญ

การนิเทศเป็นกระบวนการที่ไม่มีความสิ้นสุดเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สุดท้ายขอขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ดิฉันชื่อ นางสาวมยุรา ไชคำ รหัส 50221118

หมู่เรียน กป50.ค5.01 ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ ยินดีมากเลยค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์ตั้ง 2 วิชาในเทอมเดียวกัน หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วนะคะรู้สึกว่ามีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการเป็นผู้นิเทศและได้ใจสำหรับคุณครูหรือผู้ถูกนิเทศมากค่ะ หนูมีความคิดเห็นว่าถ้าหากผู้นิเทศมีแต่คำติเตียนหรือคำด่าทอ เสียดสีหรือแม้กระทั่งพูดในทางที่มีผลทางด้านลบก็จะทำให้ผู้ที่ถูกนิเทศหมดกำลังใจและก็กลัวกับการนิเทศในครั้งต่อ ๆ ไปหรือแม้กระทั่งไม่อยากจะทำงานนั้น ๆ ต่อไปอีกเลยค่ะ อย่างตัวหนูเองเคยเป็นครูอยู่ในโรงรียนเอกชนแห่งหนึ่งเคยโดนศึกษานิเทศจากเขตพื้นที่การศึกษาพูดต่อหน้าโดยที่ใช้ถ้อยคำไม่น่าฟังมาก ๆ เลยค่ะ จากบทความของอาจารย์ที่ว่าการนิเทศที่จะได้ใจของผู้ถูกนิเทศนั้นต้องทำให้เป็นตัวอย่าง ช่วยกันคิดช่วยกันทำช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ หรือเป็นการที่ผู้นิเทศมาให้ข้อเสนอแนะที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขน่าจะดีกว่าการที่มาติเตียน ตำนิทำให้หมดกำลังใจค่ะ

นางสาวพัฒทริกา คำมาสาร

ในมุมมองของข้าพเจ้า การนิเทศเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ปรับปรุงการสอน

เพื่อให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แต่ในบางครั้ง ผู้้นิเทศไม่เข้าใจปัญหาภายในพื้นที่

ไม่เข้าใจความแตกต่าง ความเป็นอยู่ภายในพื้นที่

การที่ผู้นิเทศเข้ามาเพื่อบอก หรือเสนอแนะ แนะนำแนวทางพัฒนา แก้ไข ปัญหาต่างๆในการสอนของครู ก็เป็นเเรื่องที่ดี

แต่ในขณะเดียวกัน บางเรื่องก็อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งเหตุผลอาจมาจากตัวครูผู้สอนเอง

หรือจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นผู้ปกครอง ชุมชน ที่เราไม่สามารถสั่งให้เป็นไปได้ดังใจ

นางสาวดาวรินทร์ ชัยลังกา

เืมื่อครูได้รับคำแนะนำจากผู้นิเทศแล้ว

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอน

คือตัวครูผู้สอนเอง และต้องอาศํัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย

เช่น นักเรียน ผู้ปกรอง เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ

จึงจะทำให้การเรียนการสอนเกิดการพัฒนาอย่างดียิ่งขึื้้น

เนื่องจากคนเราแต่ละคน

ต่างก็มีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป

ไม่มีใครเก่งทุกเรื่องในคนๆเดียว

ถ้าทุกคนมองและทำไปพร้อมๆกัน

ปัญหาทุกๆอย่างมันก็ย่อมจะแก้ง่ายกว่าการท่จะให้

คนๆเดียวมอง และแก้ปัญหาโดยคนเพียงคนเดียวเช่นกัน

นางสาว วราภรณ์ ปันอิ่น

สวัสดีค่ะ...อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนูชื่อ นางสาว วราภรณ์ ปันอิ่น รหัส 49161423 หมู่เรียน ท49.ค5.1 ดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ 3 ถือว่าเป็นของขวัญส่งท้ายก่อนออกไปฝึกสอนเลยก็ว่าได้ ยอมรับเลยค่ะว่าอยากเรียนกับอาจารย์มาก เพราะอาจารย์เป็นคนที่ให้โอกาสศิษย์และการสอนของอาจารย์ไม่ได้สอนเนื้อหาในตำราเพียงอย่างเดียวแต่อาจารย์ยังปลูกฝังเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปด้วย ทำให้ได้รับทั้งความรู้และข้อคิดแนวทางในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

บทความของอาจารย์เกี่ยวกับการนิเทศทำให้หนูได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้น รวมถึงมุมมองต่างๆเกี่ยวกับการนิเทศที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปร่วมด้วย ให้แนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ดี อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น หรือการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยการมีความรักและศรัทธา เชื่อใจและไว้ใจ ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมแนะนำ ยอมรับความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อเราทั้งในด้านการเรียน การงานอาชีพ ความเป็นอยู่ ชีวิตและจิตใจ ให้เกิดแต่สิ่งดีงามและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ที่สำคัญบทความนี้ช่วยให้หนูลบความคิดเดิมๆของหนูว่า อาจารย์นิเทศเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับหนูเพราะหนูกลัวว่าจะโดนตำหนิ หรือคอยจ้องจะจับผิด ถ้าเราทำอะไรผิดพลาดเพียงเล็กน้อย และจะทำให้เราเกิดความท้อ ไม่มีกำลังใจที่จะสอนต่อไป ซึ่งบทความนี้ก็ทำให้หนูได้เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศและผู้นิเทศมากขึ้น ด้วยการเปิดใจให้กว้าง มองโลกในแง่ดี และไม่ตัดสินอะไรไปก่อนโดยที่เรายังไม่เจอกับตัวเอง เพราะอาจารย์นิเทศนี่แหละที่จะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำกับเราเมื่อเราเกิดปัญหาในการสอน การเรียนนิเทศครั้งนี้ทำให้หนูลดความกลัวต่อการที่จะเจอกับการนิเทศและผู้นิเทศ ทำให้มีกำลังใจในการที่จะออกไปฝึกสอนมากขึ้น ว่าจะต้องทำให้ดีที่สุด ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่มอบความรู้ให้กับหนู ขอบคุณค่ะ

จริญา สุธรรมแจ่ม รหัส 49121432

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ

หนูนางสาวจริญา สุธรรมแจ่ม เอกการศึกษาพิเศษ เรียนกับอาจารย์วันพุท วิชาการนิเทศการศึกษา หนูได้เข้ามาทักทายและอ่านบทความของอาจารย์เป็นครั้งที่สองแล้ว และคาดว่าคงจะมีต่อๆ ไปเรื่อย เพราะความรู้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ยิ่งได้เข้ามาอ่านเข้ามาศึกษาก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการในด้านความคิด สมอง สติปัญญา และบทความนี้ก็เป็นที่น่าสนใจ น่าศึกษามาก เพราะว่าทำให้หนูเข้าคำว่า การนิเทศมากขึ้น รวบทั้งทำให้การเรียนวิชาการนิเทศการศึกษาง่ายขึ้นไปอีก

จะติดตามผลงานและอ่านบทความของอาจารย์ต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ กระผมเป็นนักศึกษาภาคพิเศษ(เสาร์-อาทิตย์)ที่เรียนกับท่านอาจารย์ในวันเสาร์ในรายวิชา นิเทศการศึกษา จากบทความด้านบน หลังจากได้อ่านแล้วคิดวิเคราะห์จึงทำให้กระผมเข้าใจในคำคมที่ว่า การคุยกับผู้รู้นั้นดีกว่าการอ่านตำรา 10 ปีเป็นอย่างไร กระผมชื่นชอบในแนวคิดของท่านอาจารย์และหวังว่าจะนำแนวที่ได้รับไปปรับใช้ในกระบวนการทำงานที่ตนเองได้รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบคุณครับ...............

สวัสดีครับอาจารย์ ก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำตัวเองก่อนนะครับ ส.อ.ณัฐวิทย์ พัดภู่ รหัส 50221147 หมู่เรียน กป50.ค5.01 ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ กระผมได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วนะครับ ผมคิดว่าการนิเทศที่ได้ใจเพื่อนร่วมงานมีประโยชน์มากเลยครับสำหรับผู้นิเทศและผู้ถูกนิเทศ ถ้าผู้นิเทศกระทำได้ดังที่อาจารย์แนะนำในบทความก็จะเป็นการดีสำหรับการศึกษาที่จะได้พัฒนาบุคลากรไปในทางที่ดีขึ้น

นางสาวกฤติมา วงษ์น้อย

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำต้วก่อนะคะ ดิฉันชื่อ นางสาวกฤติมา วงษ์น้อย รหัส 50221101 หมู่เรียน กป50.ค5.01 ภาคพิเศษเสาร์-อาทิตย์ ดิฉันได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วนะคะรู้สึกว่ามีประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะไปนิเทศบุคคลอื่น การที่เราจะไปนิเทศผู้อื่นเราต้องมีความรู้ที่หนักแน่นและสามารถที่จะทำเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ที่ได้รับการนิเทศดู ก็จะเป็นการที่ผู้นิเทศได้รับการยอมรับและมีการพัฒนาในด้านที่ดีในการศึกษา

สวัสดีค่ะ อาจารอนงค์ศิริ ที่เคารพ

ดิฉันนางสาวนาถนภา เลาหมี่ 50121428 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ section 03. ก่อนอื่นหนูต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งนะค่ะที่เปิดโอกาสให้พวกหนูได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากวันแรกที่ได้เจออาจารย์ หนูก็คิดว่าอาจายร์ต้องดุแน่ ๆ เลย แต่หลังจากได้เริ่มเรียนในคาบแรกแล้ว ก็รู้แล้วว่าอาจารย์เป็นคนมีอัธยาศัยดีค่ะ และเป็นคนตรงต่อเวลาเป็นอย่างมาก ซึ่งตรงกับคำพุดที่อาจารย์เคยพูดไว้ในคาบก่อนเลยค่ะว่า การที่เราจะต้องกานให้ศิษย์นั้นมาเรียนให้ตรงเวลานั้น เราผู้สอนต้องเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างให้ก่อน ซึ่งคำพูดคำนี้ทำให้หนูรู้สึกมีกำลังใจเพราะ คำๆนี้จะสอนให้หนูเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่องานของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคตค่ะ เพราะ หนูเรียนครู จบมาหนูก็ต้องไปเป็นครู ซึ่งหากหนูไม่ฝึกตั้งแต่ตอนนี้แล้วหนูจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนของหนูได้หรือเปล่า เมื่อหนูนึกถึงตรงจุดนี้ ทำให้หนูมีความรู้สึกอยากฝึกให้ตนเองเป็นคนตรงต่อเวลามากยิ่งขึ้นกว่าเดิมค่ะ และ หนูได้อ่านบทความที่อาจารย์เขียนไว้แล้วนะค่ะ ใช่แล้วค่ะ หนูคิดว่าไม่มีใครอยากจะให้คนอื่นมาตำหนิหรือสั่งสิ่งต่าง ๆ นา ๆ หรอกค่ะ ซึ่งการนิเทศก็เหมือนกันค่ะ การที่จะเอาชนะเพื่อนร่วมนิเทศได้นั้น เราก็ต้องเป็นคนเอาใจเขามาใส่ใจเราค่ะและไม่ควรยึดตนเองเป็นหลักค่ะเพราะมันเป็นการเห็นแต่ตัวมาก จากคำที่ว่า พี่รู้สอง แต่น้องรู้หนึ่งก็ถูกนะค่ะ เพราะผู้ที่มีอายุมากกว่าเรานั้นย่อมมีประสบการณ์มากกว่าผู้น้อย เพราะฉะนั้น ผู้น้อยก็ควรฟังผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์มากกว่า และในทางกลับกัน ผู้มีประสบการณ์ก็ควรให้ผู้น้อยออกความเห็นด้วย ถ้าทำแบบนี้แล้ว งานหรือภารกิจต่าง ๆ ก็จะบรรลุไปด้วยดีค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดิฉันนางสาวสรินยา ตั๋นเขียว ภาคพิเศษ เสาร์อาทิตย์ รหัส 50221127 กป50.ค5.01 เมื่อได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วรู้สึกชอบมากเพราะมีเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายและจากบทความทำให้เรารู้จักแนวคิดการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้นกว่าเดิมทำให้เข้าใจเรื่องการนิเทศน์การศึกษามากขึ้น

สวัสดีครับอาจารย์ ผมมาเรียนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7/11/52 ก็เลยพยายามตามงานจากเพื่อนเพราะผมมีธุระเกี่ยวกับการเงินจำเป็นต้องขาดเรียนไป สำหรับบทความข้างต้นนั้นรู้สึกได้ว่าอาจารย์อยากให้ลูกศิษย์เจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและคุณธรรมที่ดีผมได้เรียนรู้หลายๆอย่างแต่ที่ชอบมากคือ พื่รู้สอง น้องรู้หนึ้ง เพราะมันตรงกับชีวิตจริงมากครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์หนุชื่อ นางเบญจมาศ จันตัน ภาคพิเศษ เสาร์ อาทิตย์ รหัส 50221113 หมู่เรียน กป50.ค5.01 หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วทำให้เข้าใจความหมายของการนิเทศน์การศึกษามากขึ้นและข้อเสนอแนะรวมไปถึงสำนวนต่างๆ ของอาจารย์ทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของอาจารย์ว่าอยากให้ลูกศิษย์ดำรงอยู่ในระเบียบกฏเกณฑ์ที่ถูกต้องนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง

นางสาว พิชชาญานันท์ รักประหยัด

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาว พิชชาญานันท์ รักประหยัด รหัส 50221128 นักศึกษาภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่ได้รับมาจากอาจารย์

เนื้อหาของบทความมีประโยชน์มาก ในการดำเนินชีวิต ทั้งในปัจจุบันและอนาคตค่ะ

มีคำพูดบางคำในบทความที่ดิฉันอ่านดูแล้วโดนใจมาก

เคยคิด แต่เอามาเรียบเรียงเป็นคำพูดไม่ได้

นับถือความสามารถของอาจารย์มากค่ะ

ดิฉันจะนำเอาไปใช้ในต่อไปนี้ค่ะ

เกียรติศักดิ์ สิทธิมูล

สวัสดีครับ ผมชื่อเกียรติศักดิ์ สิทธิมูล รหัส49121860 จว49ค5.1

จากที่ได่อ่าน ทำให้รู้ถึงวิธีการนิเทศที่จะทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความประทับใจ ได้เข้าใจถึงความหมายของคำว่านิเทศก์ ซึ่งความรู้ที่ได้จากการอ่านบทความนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นความรู้ในการเรียนในรายวิชานี้ได้เป็นอย่างดีด้วย

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ หนูชื่อนางสาวอภิญญา ผัดวงค์ รหัสนักศึกษา 49161434 เอกวิชาภาษาไทย เรียนในวันศุกร์บ่าย 3 โมงนะค่ะ จากการที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์ หนูรู้สึกเข้าใจในความหมายของคำว่านิเทศมากขึ้นเลยค่ะ หนูคิดว่าในบทความมีประโยชน์และข้อคิดอยู่มากมาย ทำให้เราสามารถที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตของเราได้ และในบทความนี้มีประโยคอีกหลายๆประโยคที่หนูเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ สุดท้ายนี้หนูจะนำสิ่งที่เรียนรู้และได้จากการอ่านบทความมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของหนูให้ได้มากที่สุดนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ ดิฉัยชื่อนางสาวกาญจนา หมู่ตา รหัสนักศึกษา 49161439 สาขาวิชาภาษาไทย ค่ะ ดิฉันได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วดิฉันรู้สึกเข้าใจในความหมายของคำว่านิเทศมากขึ้นเลยค่ะ ในบทความมีสำนวนที่ดีหลาย ๆ สำนวนเลยค่ะ ทำให้ได้ข้อคิดที่ดีเลยค่ะ ดิฉัยต้องขอขอบพรคุณอาจารย์นะค่ะที่ได้คิดบทความดีๆมาให้เราได้อ่านกันนะค่ะ และดิฉันก็จะนำข้อคิดต่างๆที่ได้จากบทความมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของดิฉันค่ะ ขอบคุณค่ะ

ดิฉัน น.ส ยุพาพร พรมทา 50121454 อ50.ค5.1 หนูยังไม่เคยเรียนกับอาจารย์เลยค่ะ หนูรู้สึกดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์ เทอมนี้หนูได้เรียนกับอาจารย์ 2 วิชา ค่ะ การนิเทศที่จะทำให้ได้ใจเพื่อนร่วมงาน การนิเทศต้องมีคู่กับการเรียนการสอนอยู่เสมอ ซึ่งอาจารย์จะทำให้เห้นเสมอ เช่น อาจารย์จะเข้าตรงเวลาเสมอ การนิเทศที่จะทำให้ได้ใจเพื่อนร่วมงาน ไม่ควรต่อว่าแต่ควรใช่ว่าจาที่ทะนุทะนอมนำใจกัน การเปิดใจให้กว้าง มองโลกในแง่ดี และไม่ตัดสินอะไรก่อนโดยที่ยังไม่ไตร่ถามความจริง ตอนที่ยังไม่ได้เรียนหนูคิดว่าการนิเทศคือการตรวจสอบคุรภาพถ้าใครมีความรู้ไม่ถึงก็จะโดน ดุด่า อาจารย์ทำให้หนูใจชื่นขึ้นมา หนูคิดว่า เพราะอาจารย์นิเทศนี่แหละที่จะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำกับเราเมื่อเราเกิดปัญหาในการสอน การเรียนนิเทศครั้งนี้ทำให้หนูลดความกลัวต่อการที่จะเจอกับการนิเทศและผู้นิเทศ ทำให้มีกำลังใจในการที่จะออกไปฝึกสอนมากขึ้น หนูหวังว่าอาจารย์จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับพวกหนูทั้งหลายที่จะออกไปเจอสถานกาลจริง และเป็นกำลังใจให้พวกหนูนะค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ อนงค์ศิริ ผมชื่อนาย พรชัย ร่มวาปี รหัสนักศึกษา 50121432 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ผมรู้สึกดีใจมากครับที่ได้เรียนกับอาจารย์ รพีภัทรก็บอกผมว่าเรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไรเยอะเลย ผมก็รู้แล้วว่าอาจารย์สอนด้วยใจของอาจารย์ สอนด้วยจิตวัญญาณความเป็นครูจริง ๆ ไม่เหมือนอาจารย์บางท่านที่สอนแค่ว่าให้ผ่าน ๆ ไป นักศึกษาดูออกครับว่าอาจารย์ท่านใดสอนด้วยใจจริง ๆ หรือว่าสอนแค่ให้ผ่านไปเท่านั้น มีบางวิชาที่เพื่อน ๆ เกือบทั้งห้องบอกกับผมว่าเรียนมาแล้วไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มมาเลย ที่ได้ก็คือความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว หรือได้ความรู้น้อยมาก อาจารย์มาสอนก็ไม่ตรงเวลา นี่ก็คืออีก 1 เรื่องในมหาลัยของเราที่ผมอยากเล่าให้อาจารย์ฟังครับ อยากให้อาจารย์บางท่านสอนด้วยใจของอาจารย์ เหมือนกับอาจารย์อนงค์ศิริและอาจารย์ท่านอื่นๆ

จากการเรียนกับอาจารย์ก็ได้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้นจากเมื่อก่อนที่ไม่เคยรู้เลย และจากการอ่านบทความที่อาจารย์เอาลงไว้ ที่ว่านิเทศอย่างไรให้ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพก็เห็นด้วยครับว่าการนิเทศให้ได้ใจเพื่อนร่วมงาน ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติ ไม่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ เพราะเพื่อนร่วมงานทุกท่านก็มีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันไป ไม่มีใครเก่งกว่าใครเพราะแต่ละคนก็เก่งแต่ละด้านต่างกันตามที่ได้เรียนมา เพราะฉะนั้นเราควรยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน อย่ายึดตัวเองเป็นสำคัญ และที่สำคัญอีกอย่างถ้าเราทำอะไรด้วยใจของเราจริง ไม่ว่าจะเป็นการนิเทศหรือแม้แต่งานอื่น ๆก็ตาม ถ้าเราทำด้วยใจจริง ๆ เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมวิชาชีพก็จะให้ใจกับเราเช่นกัน ใจสื่อถึงใจครับ

ด้วยความเคารพ

นาย พรชัย ร่มวาปี

ข้าพเจ้านางดวงนภา เตปา รหัส 50221108 หมู่เรียน กป50ค501

ขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะที่เข้าดูช้าขอแสดงความคิดเห็นว่า

การนิเทศการศึกษา คือ การรับข้อมูลปัญหาของผู้เข้าร่วมนิเทศแล้วนำมาช่วยกันเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา

ปรับปรุง ร่วมกัน เพราะทั้งผู้เข้าร่วมการนิเทศและผู้นิเทศ ต่างก็มีความรู้แตกต่างกัน จึงเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

น.ส เบญจวรรณ ชาญเดชศิริ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ข้าพเจ้านาวสาวเบญจวรรณ ชาญเดชศิริ รหัส 50221114 หมู่เรียน กป50ค501

นิเทศการศึกษา คือ การรับข้อมูลและการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน

และขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เพิ่มเต็มอีกค่ะ

อารยา กิตติยะวรางกูร

สวัสดีค่ะ ข้าพเจ้า นางสาวอารยา กิตติยะวรางกูร นศ. ภาคพิเศษ ค่ะ จากบทความทีได้อ่านทำให้เข้าใจความหมายของคำว่านิเทศมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รู้ว่าการนิเทศไม่ใช่แค่การไม่นิเทศ และยิ่งถ้าเรานิเทศกับผู้ที่มีความรู้ก็ยิ่งต้องใช้ความจริงใจให้เขาเห็นว่าเราไม่ได้มาเพราะเรามีความรู้มากกว่าเขา แต่คนเราทุกคนย่อมที่จะมีความผิดพลาดได้เสมอ ดังนั้นผู้นิเทศจึงมาเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไปมากกว่า

นางทัศนีย์ พุทธโยธา หมู่เรียน กป50 ค5.01sec.01

สวัสดีค่ะอาจารย์ ต้องขอโทษที่เข้ามารับความรู้จากอาจารย์ช้านะคะ

หลังจากท่ได้อ่านบทความนี้แล้วดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เนื่องจากการที่จะนิเทศให้ประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรมีความแตกต่างกัน เพราะการทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาก ๆ มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าและช่วยให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บางองค์กรมักเกิดการต่อต้านความคิดใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากองค์กร ทำให้ผู้นิเทศจะประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยากขึ้น จากบทความนี้ทำให้ดิฉันได้รู้ถึงการเป็นผู้นิเทศและเป็นมากขึ้น ทำให้เรารู้ว่าเวลาการทำงานเราควรจะทำอย่างไรเพื่อที่จะได้เพื่อนร่วมงานที่ดี และทำให้เราได้เป็นผู้นิเทศที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีกับคนอื่นๆด้วยเหมือนกับข้อความตอนหนึ่งที่ว่า"การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล.. คือการไม่นิเทศ(โดยตรง)"

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ สำหรับบทความดี ๆ ที่เป็นแนวทางในการสร้างเสริมประสบการณ์มากยิ่งขึ้นและขอบคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้ดิฉันได้แสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ค่ะ ขอขอบคุณค่ะ

นาย เรืองเดช สมบรณ์พูลเพิ่ม

50221141 กป50ค5.01

สวัสดีครับอาจารย์ รายงานตัวอีกรอบนะครับ ที่ผมได้อ่าน การนิเทศ นั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก ในทุกๆด้าน สมมติว่า การศึกษาถ้าไม่มีการนิเทศ การศึกษา จะพัฒนาได้หรือเปล่า หรือว่าจะไม่พัฒนาเลย

ผมก็เลยคิดไปในหลายๆ ด้าน เพราะความอยากรู้นะครับ

นาย โยธิน วุฒิกรกำเนิด

นาย โยธิน วุฒิกรกำเนิด 50221139 กป.50.ค5.01

สวัสดีครับ อาจารย์ ตามที่ผมได้อ่านการนิเทศ ของอาจารย์นั้นเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์มากๆ ทำไห้มีความรู้เพิ่มขึ้น รู้ถึงการนิเทศหลายๆด้าน ทำไห้ผมได้รู้ถึงเทคนิควิธีการต่างๆ ในการที่จะนำเอาไปไช้ในการเรียนการสอนเพราะว่าเป็นพื้นฐานของความเป็นครู

นางสาวมนทกานต์ อุ่นแก้ว

นางสาวมนทกานต์ อุ่นแก้ว 49121948 หมู่เรียน ชว49ค5.1 วันพฤหัสบดี 15.00-17.00

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ หลังจากที่ดิฉันได้เข้ามาศึกษา เรื่อง นิเทศอย่างไร จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพทำให้ดิฉันได้เข้าถึง การนิเทศมากขึ้นว่าการนิเทศที่แท้จริงนั้นคืออะไร การนิเทศ คือการให้ความช่วยเหลือแนะนำ หรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ที่ใดมีการเรียนการสอนก็ต้องมีการนิเทศ ตามความเข้าใจของดิฉัน

เกี่ยวกับการนิเทศเพื่อการไม่นิเทศ ก็คือ เมื่อผู้ที่รับการนิเทศเกิดความรู้และประสบการณ์ที่ดีแล้ว โรงเรียนมีพัฒนาการที่ดี ได้ผลที่ดีแล้วเราก็ไม่ต้องไปนิเทศอีก หรือนิเทศเรื่องอื่นต่อไป

สำหรับการนิเทศอย่างไร จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นั้น ฉันคิดว่า การที่เราไปนิเทศก็เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการนิเทศมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตามที่เราต้องการ แต่การที่จะไปทำให้ผู้รับการนิเทศเป็นอย่างที่เราต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะทุกคนมีความสามารถไม่เท่ากัน ไม่มีใครเก่งไปชะทุกเรื่อง แต่บางคนก็พร้อมที่จะเรียนรู้แต่ไม่ยากให้คนอื่นสอน ผู้นิเทศจะต้องรู้จักหาวิธีการที่จะทำให้ผู้รับการนิเทศ ดึงความสามารถที่มีอยู่ออกมาโดยที่ไม่เป็นการบังคับ พยายามให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ต้องนิเทศให้เห็นว่าเรายอมรับความสามารถของผู้นิเทศจะทำให้เขาเห็นคุณค่า ของตัวเองมากขึ้น มีอยู่ประโยคหนึ่งที่ดิฉันสนใจมากคือ ตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย เมื่อต้องการให้ผู้อื่นทำสิ่งใดเราก็ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างว่าเราก็ทำได้ การที่เราจะได้ใจผู้อื่นนั้น

เราจะต้องทำให้เขาเห็น และการที่จะให้เขาเกิดความรู้ต้องเกิดจากใจที่อยากจะเรียนรู้จริงๆ การที่เราทำอะไรก็ตามหากเกิดจากใจที่อยากทำทำและมุ่งมั่นตั้งใจผลที่ได้ย่อมดีเสมอ

จาการศึกษาบทความในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับดิฉันทำให้ดิฉันได้รับความรู้ที่มากขึ้น และอาจารย์ก็เป็นแบบอย่างที่ดีให้ดิฉันเห็นจริง ดิฉันเคยเรียนกับอาจารย์มาครั้งหนึ่งแล้วและครั้งนี้ดิฉันคงได้รับประสบการณ์อีกหลายอย่างเป็นแน่

สวัสดีคะ

ก่อนอื่น หนูต้องเรียนครูว่า... รู้สึกดีใจ และ โชคดีมากที่ได้เรียน การนิเทศการศึกษากับ ครูอนงค์ศิริ วิชาลัย ทั้งๆที่เกือบลงทะเบียนเรียนไม่ได้ แต่...โชคก็ยังเข้าข้างคะ(เย้!ฉันเรียนได้แล้ว) จากการศึกษาบทความที่ครูได้เขียนข้างต้นนั้น ทำให้หนูทราบถึง นิยามความหมายของการนิเทศพอสมควรคะ อีกทั้งยังอยากจะเรียนรู้การนิเทศการศึกษาเพิ่มมากขึ้น และขอนำความรู้ที่ได้จากครู ไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมดังคำที่ว่า "การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย" หนูชอบมากๆคะ และหวังว่าจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการนิเทศอีกมากมายคะ

คุณครูช่วยชี้แนะศิษย์ด้วยคะ

เริ่มหนาวแล้วครูดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูขอรายงานตัวก่อนนะค่ะ หนูชื่อนางสาวอมรรัตน์ วังสารค่ะ รหัส 50121427 วัน พฤหัสบดี 15.00-17.00 น หนูตัวอ้วนๆนั่งหน้าห้องตลอดอะค่ะ หลังจากที่หนูได้อ่าน นิเทศอย่างไรถึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพแล้ว หนูคิดว่าอาจารย์พูดถูกต้องเลย เพราะว่าไม่มีใครที่เก่งไปหมดทุกด้านหรอกค่ะ ต้องหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ดังนั้นการนิเทศก์จึงเป็นสิ่งที่คอย ทำให้ครูอาจารย์ที่เก่งแล้วอยู่แล้วได้รับการแนะนำ และเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่างๆเพิ่มมากขึ้น และต้องยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นด้วยชื่นชมในความสามารถของผู้อื่นอีกทั้งยังสอนให้หนูได้รู้ว่า การที่เราเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นนั้น มันย่อมดีกว่าคำสอนมากมายเลยค่ะ เพราะว่าเมื่อสั่งสอนหรื่อพูดไปก็มากความ เมื่อเขาไม่สนใจหรือผู้สอนยังทำไม่ได้เลยแล้วยังไปสอนผู้อื่นจะทำให้นักเรียนหรือผู้นิเทศมองท่านในทางลบเสียอีก สู้ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีให้เห็นแล้ว เขาก็จะรู้เองว่าสิ่งไหนควรไม่ควร สบายใจทั้งผู้นิเทศน์และผู้รับการนิเทศค่ะ ก็เหมือนที่อาจารย์ ทั้งสอนพวกหนูด้วยเเละยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพวกหนูอีกด้วยโดยอาจารย์ไม่บอกหรือสั่งให้ทำแต่นักเรียนทุกคนดูแบบอย่างจากอาจารย์โดยที่ไม่เข้าเรียนสาย และรักอาจารย์กันทุกคนอีกทั้งยังตามมาเรียนกับอาจารย์อีกต่างหาก

หนูหวังว่าหลังจากที่หนูเรียนวิชานิเทศท์เพื่อการศึกษาแล้วหนูคงได้รับความรู้จากอาจารย์มากมายคะ ยินดีและดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์ ขอบคุณค่ะ

วิไลวรรณ พจนารถธำรง

สวัสดีค่ะอาจารย์

หลังจากที่ได้อ่านบทความข้างบนแล้วดิฉัน

เห็นด้วยกับบทความการนิเทศนี้นะคะคนราทุกคนทำอะไรออกมาก็หวังแต่จะให้คนชมไม่ต้องการคำติเตือนเพราะว่าเมื่อไหร่ที่ถูกตินั้นถือว่ามันเป็นความผิดที่หน้าอับอายเป็นอย่างมากเพราะคิดว่าตนนั้นทำออกมาได้ดีที่สุดแล้วเหมือนกับเรา ดังนั้นถ้าหากเรามีการนิเทศในลักษณะที่เป็นการให้กำลังใจกันจะทำให้ผู้ถูกนิเทศมีกำลังใจมากกว่า

ดังนั้นจะทำอะไรก็ควรจะอยู่ในลักษณะที่พอเหมาะค่ะ แล้วอ่านบทความนี้แล้วมีความรู้เพิ่มขึ้นมากค่ะ

ขอบคุณมากนะคะที่เอาบทความนี้มาให้อ่าน

นางสาวมณีรัตน์ พงศ์ไพรวัน

สวัสดีค่ะดิฉันนางสาวมณีรัตน์ พงศ์ไพรวัน รหัส 49171124 อ.49ค5.2 ดิฉันดีใจมากที่ได้เรียนกับอจารย์และได้พบกับอาจารย์อีกครั้งจากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ดิฉันติดใจบทความของอาจารย์ตอนหนึ่งที่อาจารย์ กล่าวว่า การทำให้ดูเป็นการนิเทศที่ดี ก็เหมือนกับที่อาจารย์ทำให้ดูคืออจารย์มาสอนตรงเวลาและสมำเสมอสอนแบบไม่เครียดและให้คำปรึกษาอยูตลอดเวลาหากว่าตอนที่เราไปนิเทศหรือทำอะไรสักอย่างการทำเป็นตัวอย่างก่อนจะเป็นสิ่งที่ดีมากและทำอะไรไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญควรให้โอกาสผู้อื่นบ้างเหมือนกับที่อาจารย์ได้เขียนไว้ว่าผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำไม่สามารถทำเองได้หมดต้องยอมรับความคิดเห็นของผูอื่นและให้เกียรติซึ่งกันและกันและให้โอกาสเพื่อนร่วมงาน

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉัน น.ส.สุดา วงศ์โสตถิไกร รหัส 50121402 หมู่เรียน อ50.ค5.1

คาบแรกที่ได้เห็นอาจารย์ดิฉันคิดว่าอาจารย์ต้องเป็นคนที่ดุและเจ้าระเบียบ แต่เพียงแค่อาจารย์ยิ้มและทักทายนศ.ก็ทำให้ความคิดแรกนั้นหายไปในพริบตาและยิ่งอาจารย์แนะนำตัวและพูดคุยกับนศ.ในห้องก็ทำให้ดิฉันเบาใจขึ้นเยอะเลยเพราะอย่างน้อยดิฉันก็ได้เรียนกับอาจารย์ที่สอนแล้วสนุก และมีสื่อต่างๆที่ทำให้ดิฉันอยากเป็นครูมากกว่าเดิมอีกด้วย

พอได้อ่านบทความเกี่ยวกับการนิเทศ ก็ทำให้รู้ว่าครูไม่ได้สอนเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีหน้าที่ในการนิเทศ และในการนิเทศนั้นก็ต้องนิเทศกันเป็นกลุ่มเป็นคณะ ฉะนั้นเราก็ต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม และคารปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้ใจผู้ร่วมงาน

สุดท้ายดิฉันอยากให้อาจารย์คอยแนะนำและให้ประสบการณ์ที่ดีต่อการจะไปฝึกสอนในอนาคตนะคะ ขอบคุณค่ะ

..........................สวัสดีค่ะ........................

สุริวรรณ สมัครพงศ์พันธ์

สวัสดีค่ะอาจารย์ บีเองนะคะกว่าจะเข้าบทความนี้ได้ ยากพอดูหนูได้อ่านบทความของอาจารย์เกี่ยวกับการนิเทศน์อย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพแล้วนะคะ ทำให้ทราบว่าการนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ นั่นคือสิ่งที่ได้ใจที่สุด การนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์จะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง การนิเทศจึงต้องคู่กับการเรียนการสอนและ การเรียนรู้เสมอ อีกประการหนึ่งที่กล่าวว่า "นิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ" ความหมายคือ...ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติเกิดกระบวนการได้เองแล้ว...ก็ไม่ต้องนิเทศอีกต่อไป นั่นเอง แต่..การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆเพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ สำหรับการนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัดยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย

ประการสำคัญ...การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญการปฏิรูปการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอนการนิเทศ ก็ต้องเน้นผู้รับการนิเทศมีความสำคัญ เช่นกันคงหมดยุคแล้ว ที่นิเทศด้วยการจับผิด ด้วยการทดสอบความรู้ ด้วยการใช้อำนาจเหนือกว่าด้วยคำพูดเสียดสี ด้วยมีข้อมูลอะไรๆที่ค่อนข้างลบอยู่ในกำมือ และด้วยการขจัดไปให้ไกลๆ เยี่ยงคนนอกสายตา เพราะนอกจาก ผู้นิเทศจะไม่ได้ใจผู้รับนิเทศแล้วยังจะถูกเกลียดชังจากเพื่อนร่วมงานได้ซึ่งก็จะทำให้ไม่มีความสุขในการทำงานหนูจะจดจำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและใช้กับการศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในอนาคตค่ะอาจารย์หนูดีใจนะคะที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกช่วงนี้หนูไม่ได้ไปออกกำลังกายที่สวนออกกำลังกายหน้าหมู่บ้านเลยแต่น้องชายบอกว่าเห็นอาจารย์อยู่บ่อยๆอาจารย์คงไปทุกวันรักษาสุขภาพอย่างนี้มิน่าล่ะคะอาจารย์ถึงได้สดใสสดชื่นอยู่ทุกวันและยังสวยไม่ส่างด้วยค่ะถ้าอาจารย์มีอะไรจะให้บีช่วยก็บอกได้นะคะเพราะถ้าแวะไปหาหรือทักทายที่บ้านก็กลัวจะรบกวนอาจารย์นะค่ะ หนูก็ขอเข้ามาคุยกับอาจารย์แค่นี้นะคะ

กราบเรียน อาจารย์อนงศิริ วิชาลัย ที่เคารพยิ่ง

ดิฉัน น.ส.รวีวรรณ มณีวรรณ รหัส 50121452 หมู่เรียน อ 50.ค5.1 sec.03ขอเห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะว่า ครูผู้ถูกนิเทศแต่ละคนย่อมเป็นครูที่ไม่ได้มีความสามารถเก่งกาจและประพฤติได้ถูกต้องเสมอไปหรอกค่ะ และการนี้จึงจำเป็นต้องพึ่งพาครูนิเทศที่มีทั้งคุณวุฒิ ประสบการณ์ที่ดีและมากกว่า มาช่วยเหลือและให้คำแนะนำให้แก่ครูผู้ถูกนิเทศให้เป็นครูที่สมบูรณ์มากขึ้นอีก แต่การสอนคนนั้นย่อมต้องใช้ศิลปะเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีเจตคติที่ดีต่อกัน ดิฉันคิดว่าข้อนี้สำคัญมากๆ เพราะคนไทยทั้งสมัยก่อนหรือสมัยนี้ยังคงคิดว่าคนอื่นนั้นอยากเอาเปรียบตนเองและไม่ยอมเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ศิลปะที่อาจารย์ว่ามานี้ เป็นศิลปะที่มีองค์ประกอบครบถ้วนจริงๆค่ะ และสิ่งที่ดิฉันชอบมากที่สุดคือ การเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ถูกนิเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้คำพูด แต่ผู้ที่ดูเป็นตัวอย่างนั้นสามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าค่ะ

รวีวรรณ มณีวรรณ

เรียนอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

ดิฉันนางสาว พิชารี อรัญวานิชกุล รหัส 50121429 หมู่เรียน อ 50.ค5.1 sec.03 ดิฉันเห็นด้วยกับบทความนี้ของอาจารย์อย่างยิ่งว่าการนิเทศที่ดีนั้นควรใช้จิตวิญญาณของความเป็นครูและการเอาใจเขามาใส่ใจเราเพื่อได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพและเมื่อดิฉันมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ดิฉันได้รับความรู้ในชั้นเรียนเป็นอย่างมากเพราะก่อนที่ดิฉันจะได้เรียนกับอาจารย์ดิฉันยังไม่มีความรู้เรื่องการนิเทศคืออะไรยิ่งไปกว่านั้นดิฉันรู้สึกดีใจมากค่ะที่มีบทความดีๆของอาจารย์ลงบนเว็บเพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจดิฉันเองก็ได้รับความรู้จากบทความนี้และจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปในอนาคตค่ะ

พิชารี อรัญวานิชกุล

นางสาวสุวิชญา บวรบุญญานนท์

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย หนูชื่อ สุวิชญา บวรบุญญานนท์ หนูดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์ หนูได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรกแต่หนูรู้สึกว่าหนูชอบอาจารย์มาก เพราะอาจารย์เป็นคนที่ใจดี แต่งกายเรียบร้อย พูดจาอ่อนหวาน มีเทคนิคในการสอนที่ดี

และขอบคุณอาจารย์มากนะคะที่มีบทความดีๆมาให้หนูได้อ่านเมื่อหนูอ่านแล้วทำให้หนูได้เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากยิ่งขึ้น

และบทความนี้มีปะโยชน์ผู้ทีที่ต้องการจะเรียนรู้ในเรื่องการนิเทศ เพราะการนิเทศมีความสำคัญต่อการศึกษา ตัวผู้นิเทศ และผูรับการนิเทศมาก และหนูชอบมากกับคำกล่าวที่ว่า"การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย"

ประโยคนี้หนูเห็นได้ชัดเจนว่า ครูเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษาทุกคน โดยที่ครูไม่จำเป็นต้องดุ ด่า ให้นักศึกษาเจ็บใจ ดังนั้นหนูจึงรู้ว่าครูเป็นผู้นิเทศที่ดีของหนูค่ะ

รักและเคารพ

สุวิชญา

สวัสดีครับ อาจารย์อนงค์ศิริครับ ผมชื่อวสันต์ ขอดเตชะ 50111572 เอกศิลปศึกษาครับ ผมได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วผมเข้าใจของผมเอง ไม่รุ้ว่าจะถูกหรือเปล่านะครับว่า การนิเทศคือการทำให้ดูเป็นตัวอย่างเห็นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดทำให้ไม่ลำบากใจทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ และผู้นิเทศเองก็เป็นผู้ที่รับรู้ถึงทะกษะ เทคนิควิธีการของครูหลายๆคนมาทั้งที่ดีและไม่ดีจึงนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาถ่ายทาดสู่ครูคนอื่นๆ เป็การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันโดยมีผู้นิเทศเป้นตัวเชื่อม และผมได้เห้นตัวอย่างที่อาจารย์ทำแล้วครับคือการเข้าห้องเรียนของอาจารย์ทำให้ผมไม่กล้ามาสายเลย แต่เอกศิลปะก็ชอบมาสายอยู่ดีเพราะต฿กศิลปะอยู่ไกลจากคณะครุศาสตร์มากครับ อิอิ

สวัสดีครับ.........+

นางสาววารุณี ป่าเกรียงไกร

สวัสดีค่ะ อาจารย์

หนูชื่อ นางสาววารุณี ป่าเกรียงไกร รหัส 49121918 ชว.49.ค5.1Sec..01 จากที่หนูได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ก็ทำให้หนูได้รับความรู้ ความสำคัญของการนิเทศ และได้รู้ว่าถ้าหากจะทำการนิเทศให้สมบูรณ์ได้นั้นจะต้องไม่ทำการนิเทศโดยตรง และที่สำคัญก็คือการนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญควรจะรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย และการทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบายการนิเทศเป็นกระบวนการที่ไม่มีความสิ้นสุด เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีการปรับปรุงให้มีประสิทฺภาพขึ้นโดยผู้นิแทศการศึกษาต้องไม่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ เหมือนที่เขาพูดกันไว้ว่าตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน และจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้นำไปใช้ในการปฏิบัติตัวเองค่ะมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา จากการที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้เลย จึงให้ความหมายของการนิเทศตามความเข้าใจของหนูว่า การนิเทศ คือ การชี้แจงและคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำและการปรับปรุง

หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วหนูรู้สึกประทับใจมากค่ะที่บอกว่าการนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

รักและเคารพ

วารุณี

นางสาวสุภาภรณ์ มหาวัน

ถึงอาจารย์อนงค์ศิริที่เคารพรัก

หนูชื่อนางสาวสุภาภรณ์ มหาวัน รหัส 49121923 หมู่เรียน ชวว.49ค5.1 ค่ะ

จากที่หนูได้อ่านบทความ "นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ปรการแรกที่หนูอ่านแล้วสะดุดและเป็นความรู้ใหม่ คือ การใช้คำว่านิเทศ เพราะหนูเขียนผิดๆ ถูกๆ มาตลอด ไม่รู้จะใช้อย่างไร เพราะมันมีการใช้ที่หลากหลายมาก รู้สึกปวดหัวเวียนเศียรอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้จริงๆ คราวนี้หนูจะพยายามนำไปใช้ให้ถูกต้อง ไม่ผิดเหมือนคราวก่อนๆค่ะ

จากที่หนูได้อ่านบทความหนูสามารถอธิบายตามความเข้าใจของหนูได้ว่า

"ที่ใดมีการเรียนการสอน...ที่นั่นมีการนิเทศ" คือ ในการจัดการเรียนการสอน ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการนิเทศ เพื่อปรับปรุง ช่วยเหลือ แนะนำครูผู้สอนตลอดเวลา

"นิเทศ...เพื่อการไม่นิเทศ" คือ การนิเทศผลเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ สมบูรณ์ แล้วไม่ต้องดำเนินการนิเทศอีก

ส่วนการนิเทศอย่างไร...ให้ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ หนูมีความคิดเห็นว่า การนิเทศเป็นงานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่มีความรู้ และมีประสบการณ์สูง การที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ และให้ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพนั้น คือ การไม่นิเทศ (โดยตรง) ซึ่งก็มีหลายวิธีการเช่น การทำให้ดูเป็นแบบอย่าง แนะให้ทราบในสิ่งที่จำเป็นแทนการบังคับ เห็นคุณค่า และความสามารถของผู้ร่วมงาน โดยการปล่อยให้แสดงความสามารถของตนเองออกมา แล้วอาจเติมเต็มในสิ่งที่ขาดไป อาจเป็นแนวทางที่ดีกว่าการตำหนิติเตียนที่อาจทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นได้ และหลักการที่ดีที่สุดของการนิเทศที่ดี คือ ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นหลัก ควรรับฟังและร่วมมือกันแก้ปัญหา เพียงแค่นี้ผู้นิเทศและผู้รับนิเทศก็สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขแล้วค่ะ

บทความนี้มีประโยชน์มาก ทำให้หนูมีความเข้าใจในการนิเทศมากยิ่งขึ้น หนูเคยเรียนกับอาจารย์แล้วหนูเกิดความประทับใจ คราวนี้ก็เช่นกัน ขอบพระคุณสำหรับความรู้และบทความดีๆ ที่อาจารย์มอบให้ค่ะ

ดิฉัน น.ส. วารุณี วุฒิคุณ รหัส 49161424 หมู่เรียน ท49.ค5.1

หนูพยายามเข้ามาตั้งแต่วันแรกที่ อาจารย์ได้บอกแล้วคะ แต่ว่าหนูไม่สามารถเข้ามาได้คะ หนูต้องกราบประทานโทษอาจารย์ด้วยนะคะ ที่ปล่อยให้เวลามันล่วงเลยมาถึงป่านนี้ สำหรับ การนิเทศน์การศึกษานั้น ดิฉันคิดว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องศึกษาและต้องทำความเข้าใจ การนิเทศนั้นถือว่าสำคัญมากเพราะ การนิเทศนั้นเป็นเหมือนตัวประสานงานและเป็นการนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่ง ในงานนิเทศนนั้นก็จะเป็นการช่วยเหลือและการชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยแก้ไขในสิ่งต่างๆให้ถูกต้องขึ้น

ดังนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่เราต้องมีการนิเทศการเรียนการสอนเพราะว่า จะทำให้การเรียนการสอนนั้นสมบูรณ์แบบมีมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้ก้าวหน้าและพัฒนาการสอนให้ดี ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ไปตามความเหมาะสม ในการทำสื่งใดสิ่งหนึ่งนั้นไม่มีใครที่จะถูกต้องเสมอไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความชี้แนะ และการชี้นำ ในสิ่งที่บกพร่อง หรือยังไม่ดีเพื่อให้ได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้นไป

นายญาณวุฒิ สุทู รหัส 50121436 เอกภาษาอังกฤษ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมชื่อ ญาณวุฒิครับ จากที่ผมได้อ่านบทความที่ว่า นิเทศอย่างไรจะได้ใจเพื่อนร่วมงานแล้วทำให้ผมเข้าใจ

อย่างถ่องแท้เลยครับ ว่าการนิเทศคืออะไร และจะนิเทศอ่ยางไรถึงจะได้ใจเพื่อนร่วมงาน คือผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่

ไม่อยากให้ใครมาสอนตน แต่อยากให้มาสาธิต มาทำเป็นตัวอย่างให้มากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้สูง

แต่การทำให้เป็นตัวอย่างนั้นทำให้เขาเข้าใจได้เร็วกว่าการอธิบาย และเป็นการให้เกียรติต่อ หากว่าเขามีความสามารถ

ในด้านใดก็ให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้นๆถ้าทำแบบนี้จะทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกเป็นเกียรติ และการทำงานก็จะ

ราบรื่นและประสบความสำเร็จ ผมจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้กับเพื่อนร่วมงานในอนาคตแน่นอน

ขอบคุณครับ

วีรพงษ์ คำผง รหัส 49161846 หมู่เรียน อส.ท49.ค5.1

สวัสดีครับอาจารย์

ผมได้เข้ามาศึกษาบทความของอาจารย์ เรื่อง นิเทศอย่างไร จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพทำให้ผมได้รู้เกี่ยวกับความหมายของ

การนิเทศมากขึ้นว่า การนิเทศที่แท้จริงนั้นคือ การให้ความช่วยเหลือแนะนำ หรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

กี่ยวกับการนิเทศเพื่อการไม่นิเทศ ก็คือ เมื่อผู้ที่รับการนิเทศเกิดความรู้และประสบการณ์ที่ดีแล้ว โรงเรียนมีพัฒนาการที่ดี ได้ผลที่ดีแล้วเราก็ไม่ต้องไปนิเทศอีก หรือนิเทศเรื่องอื่นต่อไป

สำหรับการนิเทศอย่างไร จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นั้น ผมคิดว่า ผู้นิเทศจะต้องรู้จักหาวิธีการที่จะทำให้ผู้รับการนิเทศเกิดความยอมรับความสามารถของผู้นิเทศ พยายามให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ผู้นิเทศกับผู้รับนิเทศ ให้มาก ให้เกียรติกันและกัน ยอมรับความคิดเห็น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน.

นางสาว จุฑารัตน์ เวียงทอง

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉัน นส.จุฑารัตน์ เวียงทอง รหัสนักศึกษา 50111553 หมู่เรียนศิลปศึกษา sec.03

ดิฉันพยายามเข้าบล็อกนี้หลายครั้งแล้วแต่จดเมลมาผิดค่ะเพิ่งเข้าได้วันนี้ค่ะ

หลังจากที่ดิฉันได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นว่าเป็นบทความที่ดีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

การนิเทศไม่ใช่การสั่งการสอนแต่เป็นการแนะแนวแนะนำให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น คนทุกคนไม่ใชจะเก่งไปซะทุกเรื่องแต่ละคนก็มีความสามารถแตกต่างกันไปและผู้ที่จะนิเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ก็ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จริงถึงจะนิเทศคนอื่นได้ ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้รับการนิเทศด้วย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในการทำงาน ( ต่างคนที่แตกต่างหากมาร่วมงานร่วมมือกันก็จะเกิดผลดีและมีความหลากหลายในงานนั้น)

ดิฉันเคยเรียนกับอาจารย์มาสองครั้งแล้วอาจารย์ใจดีและสอนได้เข้าใจและใกล้ชิดกับนักศึกษามากเป็นกันเองรู้สึกยินดีมากที่ได้มาเรียนกับอาจารย์อีกครั้งนี้.

ขอบคุณค่ะ

จันทร์ธิกาญ ก้อนแก้ว

เรียน อาจารย์อนงค์ศิริที่เคารพ

ดิฉันชื่อ น.ส.จันทร์ธิกาญ ก้อนแก้ว รหัส 49121904 หมู่ ชวว.49.ค5.1

จากการอ่านบทความ เรื่อง นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ดิฉันคิดว่า การนิเทศการศึกษามีความสำคัญกับการศึกษาไม่ว่าจะในอดีตและปัจจุบันนี้ก็ตามเพราะการนิเทศครูผู้สอนจะส่งผลไปยังนักเรียนได้โดยตรง จะเห็นได้จากเมื่อครูผู้สอนได้รับการนิเทศและมีการปรับปรุงพัฒนาด้านการเรียนการสอนแล้ว วิธีการหรือเทคนิคที่นำไปใช้กับนักเรียนก็จะทำให้นักเรียนมีผลการเรียนหรือพฤติกรรมด้านต่างๆ ดีขึ้น

และจากคำกล่าวที่ว่า " ที่ใดมีการเรียนการสอน..ที่นั่นมีการนิเทศ" ดิฉันคิดว่าคำกล่าวนี้หมายถึง ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ดังนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงและมีแนะนำครูผู้สอนให้มีการพัฒนาเทคนิค วิธีการสอน รวมทั้งการใช้สื่อ เพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยให้ครูผู้สอนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ "นิเทศ..เพื่อการไม่นิเทศ" คือ นิเทศเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้แล้วจึง อาจมีการนิเทศในด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาด้านที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จต่อไป เพราะคนเราทุกคนก็ไม่ได้เก่งในทุกๆ เรื่องเสมอไป

ดังนั้นการนิเทศกับการศึกษาจึงต้องเป็นของคู่กันโดยการนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประ สบการณ์จะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

ส่งผลไปยังผู้เรียนได้โดยตรง และการที่การนิเทศครูผู้สอนจะประสบความสำเร็จนั้นผู้นิเทศจะต้องไม่ใช้อำนาจ ให้เกียรติผู้รับการนิเทศ ยอมรับความคิดเห็นและร่วมมือกันพัฒนาการเรียนการสอน เพียงเท่านี้การนิเทศการศึกษาก็จะประสบความสำเร็จและผู้นิเทศก็จะได้ใจจากผู้รับการนิเทศด้วย

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพค่ะ

ดิฉันชื่อนางสาพรศรี สันติชัยชาญ รหัสนักศึกษา 50121417 สาขาภาษาอังกฤษค่ะ

หนูคิดว่าการนิเทศนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเรียนการสอน เพราะ การนิเทศ คือ การแนะแนว การให้คำปรึกษา การกระตุ้นเพื่อให้เกิดความสำเร็จ และจากที่หนุได้อ่านบทความ เรื่อง นิเทศอย่างไรจึงจะได้ใจเพื่อนร่วมงานนั้นทำให้หนูเข้าใจถึงวิธีที่ดีหรือเทคนิคในการที่เราจะนิเทศให้คนอื่น โดยการนิเทศนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องสอนแต่เราปฏิบัติให้เขาเห็นดีกว่เมื่อเขาเห็นแล้วเขาจะเข้าใจและทำตามเองค่ะ การกระทำย่อมดีกว่าการอธิบายหรือการพูดค่ะ

สุดท้ายช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวแล้วดูแลสุขภาพด้วนนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นางสาวมธุลินทร์ อินต๊ะสอน

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูชื่อนางสาวมะลินทร์ อินต๊ะสอน ท49.ค5.1

จากการที่เรียนวิชาการนิเทศการศึกษาจึงได้รุ้ว่าการนิเทศเป็นการแนะนำ ชี้แนะ การช่วยเหลือ

และการนิเทสอย่างไรจึงจะได้ใจเพื่อนร่วมงานหนูคิดว่า การนิเทศนั้นจะต้องเป็นการแนะนำ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกัน

ให้แนวทางและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นในการนำมาพัฒนาการเรียนการสอนในแต่ละครั้งโดยที่ไม่เป็นการนิเทศแบบต่อว่า

แต่ให้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมากกว่า

หนุดีใจค่ะที่ได้มาเรียนกับอาจารย์อนงค์ศิริ อีกครั้งเพราะเรียนแล้วสบายใจ ไม่รู้สึกว่าเครียด อาจารย์เป็นกันเองกกับนักศึกษาค่ะ

หน้าหนาวแล้ว อาจารย์รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

เรียนอาจารย์ที่เคารพค่ะ

หนูชื่อ นางสาวสุดาดาว ทับบำรุง รหัสนักศึกษา 50121421 เอกภาษาอังกฤษ อ50 ค.5.1

สำหรับหนูการนิเทศก็สำคัญเพราะจะทำให้นักเรียนมีทักษะ มีการพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อมีการนิเทศเสมือนเป็นการชี้แนวทางในการเรียนหรือการปฎิบัติงานให้ก้าวหน้าขึ้นและการที่หนูได้อ่านบทความนิเทศอย่างไรจึงจะได้ใจเพื่อนร่วมงานเราควรพร้อมที่จะรับการเรียนรู้มากกว่าให้คนอื่นมาสอน เห็นความสามารถที่เพื่อนร่วมงานถนัดมากที่สุด เพราะจะทำให้มีความร่วมมือวึ่งสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดหรือประสบก่รณ์ที่มีอยู่มาใช้กับเพื่อนร่วมงานให้เกิดประโยชน์และรูคุณค่าสูงสุดได้ต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน

กราบเรียนอาจายร์ที่เคารพ

กระผมนายนรากร ไชยทัศน์ รหัส 49121812 จิตวิทยาการศึกษาเเละการเเนะเเนว จว 49 ค5.1

จากบทความที่ได้อ่านของอาจารย์มาทั้งหมดนิ่ครับเป็นบทความที่เกี่ยวกับการมองการนิเทศเป็นเครื่องมือที่ใช่กับคนพูดถึงประโยชน์ของการนิเทศว่าผู้ที่จะได้ทำการนิเทศต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะนิเทศเป็นอย่างดีเเละต้องเก่งในทักษะตามหลักการนิเทศจึงจะประสบผลสำเร็จในการนิเทศเรื่องเรื่องหนึ่ง เเละอาศัยประสบการณ์ของผู้อื่นด้วย

เเต่คนเราไม่ได้เก่งมาตั้งเเต่เกิดเกิดมาไม่มีใครทำอะไรได้โดยไม่มีการฝึกฝนเเละการฝึกฝนบ่อยๆนั้นจะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ครั้งเเรกร้อยทั้งร้อยเเน่นอนว่าไม่มีใครทำสิ่งไดเเล้วได้ร้อยเปอร์เซนต์เเน่ครับต้องให้โอกาศสำหรับนักนิเทศใหม่ทุกท่านได้ฝึกประสบการการนิเทศให้มากรับรองเก่งเหมือนเจ้าของบทความนี้ครับ

นางสาวนุชจิรา ยานะ รหัส 49161917 หมู่เรียน กป 49.ค5.2 เรียนวิชา นิเทศการศึกษา วันพฤหัสบดี เวลา

15.00 - 17.00 น. ค่ะ

ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะค่ะ

นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

"นิเทศ" เป็นการแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งความหมายนี้มีความสอดคล้อง ตามความหมายใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (หน้า 588) ได้ให้ความหมายดังนี้ (คำกริยา) ชี้แจง , แสดง , จำแนก

การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล.. คือการไม่นิเทศ(โดยตรง) ให้นึกถึงวาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ที่กล่าวว่า "ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน" การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพราะใจเขาอยากเรียน ย่อมมีความหมายกว่า การสอน การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย ซึ่งข้อความข้างต้นนี้ มีความสอดคล้องกับความหมาย และ มีความสอดคล้องกับ ทฤษฏีจิตวิทยาการเรียนรู้ ของ Albert Bandura ได้กล่าวว่า พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นได้โดยการสังเกตจากตัวแบบ อาจเป็นคนจริงๆ หรือ สัญลักษณ์ก็ได้ (หนังสือ , วิทยุ ฯลฯ)

การนิเทศนั้นอาจจะใช้ให้เกิดผลได้หลายวิธี ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเสมอ แต่จะเลือกใช้วิธีการนิเทศที่เกิดประโยชน์และมีความเหมาะสมกับผู้รับการนิเทศ ในด้าน คุณวุฒิ วัยวุฒิ และ สภาพแวดล้อม มากกว่าการที่จะใช้วิธีการนิเทศเพียงวิธีการเดียว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการนิเทศ

*** ดังนั้น "การนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ควรเลือกใช้วิธีการนิเทศที่มีความเหมาะสมกับผู้รับการนิเทศ มีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของผู้รับการนิเทศ ผู้นิเทศควรให้ความสำคัญกับผู้รับการนิเทศ เห็นคุณค่าของผู้รับการนิเทศ การยอมรับในด้านต่างๆของผู้รับการนิเทศ เช่น ความสามารถ ฯลฯ และ ผู้นิเทศควรยึดผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญ

*******(แอบมีแนวจิตวิทยามานิดหนึ่งนะค่ะ)*********

_____....ขอบคุณค่ะ....______

นาย ทวีชัย โสภาสถาวรกุล 49121406

สวัสดีครับอาจารย์จากการอ่านบทความแล้วรู้สึกว่าการจัดการนิเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานด้านการศึกษาครับ เพราะการที่ถูกนิเทศเป็นการชี้ช่องโหว่ของราหรือสิ่งที่เราทำได้ไม่ค่อยดี นำมาปรับปรุงแก้ไขตามที่ถูกแนะมา การนิเทศไม่ใช่การจับผิด แต่เป็นการเตือนให้รู้ตัว ส่วนของผู้นิเทศการจะนิเทศให้ดีหรือการมีแพ่อนร่วมงานนั้น ก็ต้องนิเทศแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ตามที่อาจารย์เขียนบทความ ไม่ยึดตนเป็นใหญ่ครับ เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างมากครับกับการนิเทศแบบที่รับฟังความคิดเห็นคนอื่นทำให้มีเพื่อนและไม่เกิดการขัดแย้งกันครับ ทวีชัย โสภาสถวรกุล 49121406

สุภาวดี ประสมทรัพย์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูชื่อ น.ส.สุภาวดี ประสมทรัพย์ sec 03

หลังจากที่ได้อ่านข้อความแล้ว ตอนแรกหนูเข้าใจความหมายของการนิเทศอีกอย่างหนึ่ง แต่พออ่านบทความของอาจารย์แล้วทำให้เข้าใจมากขึ้น การจะนิเทศให้ดีหรือการมีแพ่อนร่วมงานนั้น ก็ต้องนิเทศแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ยึดตนเป็นใหญ่ เราต้องรับฟังความคิดเห็นคนอื่นจึงจะทำให้มีเพื่อนและไม่เกิดการขัดแย้งกัน ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วการทำงานต่างๆก็จะทำให้เราพบแต่ความสำเร็จ ทำแล้วมีความสุขทั้งสองฝ่ายค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่นำบทความดีๆ มาให้ได้อ่าน เพราะว่าทำให้มีประโยชน์ต่อหนูอย่างมากเลยและหนูจะนำวิธีการที่ถูกต้องนี้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของหนูค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูชื่อ น.ส.สมฤดี ลาดูแฮ Sec 03

ก่อนที่หนูจะมาเรียนวิชาการนิเทศการศึกษานี้ หนูยังไม่เข้าใจเลยว่า การนิเทศคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องมีการนิเทศแต่พอหนูได้มาเรียนกับอาจารย์ และหลังจากที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์ จึงทำให้หนูเข้าใจว่า การนิเทศนั้นเป็นอย่างไร และทำให้รู้ถึงวิธีการนิเทศที่ดี และนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมงาน การที่เราไปนิเทศก็เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการนิเทศมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ แต่การที่จะไปทำให้ผู้รับการนิเทศเป็นอย่างที่เราต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะทุกคนมีความสามารถไม่เท่ากัน ไม่มีใครเก่งไปหมดทุกเรื่อง แต่บางคนก็พร้อมที่จะเรียนรู้แต่ไม่ยากให้คนอื่นสอน

หนูขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ ที่นำสิ่งดีๆและความรู้ใหม่มาให้หนูได้เรียนรู้

ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ หนู ชื่อ วิลาสินี เชิดธรรม sec01

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ ทำให้หนูได้เข้าใจการนิเทศมากขึ้นค่ะ

สวัสดีครับ ผมชื่อ นายเด่นชัย แวงวรรณ sec01

หลังจากที่ได้อ่านบทความแล้ว ทำให้ผมได้รู้ว่าการที่จะเป็นนักนิเทศที่ดีนั้น ต้องเข้าใจคนอื่นให้มาก เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่มาให้ความรู้

น.ส.นงนุช แซ่เท้า 50111551 ศิลปศึกษา sec.03

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ ดิฉันชื่อ น.ส.นงนุช แซ่เท้า 50111551 sec.03 ศิลปศึกษา

จากการที่ได้อ่านบทความ การนิเทศเป็นการช่วยเหลือแนะนำเพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานและการนิเทศที่ดีนั้นเราควรจะยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเอาใจเขามาใส่ใจเราเพื่อให้การนิเทศบรรลุผลสำเร็จ

และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนนิเทศนั้นไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่นำบทความดีๆมาให้พวกเราขอบคุณค่ะ

ศิริพร พันธุ์พิทักษ์

สวัสดีค่ะ

หนูเรียนวิชานิทศการศึกษากับอาจารย์วันพุธ เวลา12.00-14.00น คะมีเพื่อนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเหมือนหนูอีก 3 คนคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนู น.ส.ดุษฎี เย็นใจ รหัส 49161409 หมู่เรียน ท49.ค5.1นะคะกว่าจะเข้าบทความนี้ได้ หายากมากเหมือนกันนะคะหนูได้อ่านบทความของอาจารย์เกี่ยวกับการนิเทศน์อย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพแล้วนะคะ ทำให้ทราบว่าการนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ และเข้าใจคำว่านิเทศมากขึ้น และประการที่สำคัญคือการนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญการปฏิรูปการเรียนรู้ คือเน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอนการนิเทศ ก็ต้องเน้นผู้รับการนิเทศมีความสำคัญ เช่นกันคงหมดยุคแล้ว ที่นิเทศด้วยการจับผิด ด้วยการทดสอบความรู้ ด้วยการใช้อำนาจเหนือกว่าด้วยคำพูดเสียดสี ด้วยมีข้อมูลอะไรๆที่ค่อนข้างลบอยู่ในกำมือ และด้วยการขจัดไปให้ไกลๆ เยี่ยงคนนอกสายตา เพราะนอกจาก ผู้นิเทศจะไม่ได้ใจผู้รับนิเทศแล้วยังจะถูกเกลียดชังจากเพื่อนร่วมงานได้ซึ่งก็จะทำให้ไม่มีความสุขในการทำงานหนูจะจดจำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและใช้กับการศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในอนาคตค่ะอาจารย์หนูดีใจนะคะที่ได้เรียนกับอาจารย์อีก

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนู น.ส. ลัดดาวัลย์ สันติชัยชาญ 49171130 อ49ค5.2 หนูรู้สึกดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้งหนึ่งเพราะอาจารย์สอนสนุกไม่ทำให้เครียด มีเทคนิคในการสอนที่ดี สอนเพลงด้วยหนูชอบมากค่ะ และในรายวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนิเทศหนูสนใจมากเพราะสำคัญกับหนูด้วยค่ะ และได้เรียนกับอาจารย์อีกด้วยหนูดีใจมากเลยค่ะ จากบทความที่ได้อ่านคือ การนิเทศอย่างไร....จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ จากการอ่านบทความนี้แล้วจึงมีความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศที่ดี ประการสำคัญ...การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย จากบทความนี้ถ้าใครได้อ่านก็ได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการนิเทศที่ดี อาจารย์ค่ะถ้ามีบทความดีๆอีกให้หนูได้มาอ่านอีกนะค่ะ หนูชอบค่ะเพราะจะได้มีความรู้เยอะๆค่ะ

นางสาวศิริพร ชัยวงค์

กราบเรียนอาจารย์อนงค์ศิริที่เคารพ

หนูชื่อนางสาวศิริพร ชัยวงค์ รหัส 49121920 หมู่เรียน ชวว.49.ค5.1 เรียนวิชานิเทศการศึกษา sec วันพฤหัสบดีเวลา 15.00-17.00

จากที่หนูได่อ่านบทความของอาจารย์ด้านบนนี้หนู่ได้รับความรู้เพิ่มเติมและเข้าใจมากขึ้นว่า การนิทศเป็นการช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา การนิเทศการศึกษานั้นเป็นการให้ความช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ที่พึงประสงค์ นอกจากนี้การนิเทศยังรับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ จากเพื่อนร่วมงานเพราะเราควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการไปจี้หรือสั่งผู้อื่น ควรให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานและผู้รับการนิเทศ ยอมรับความคิดเห็นและไม่ควรจำผิดเพื่อให้ได้ใจและความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานและผู้รับการนิเทศเอง ดังคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า.

.การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ

เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้และทัศนคติใหม่ ๆ จากบทความที่น่าสนใจของอาจารย์ค่ะ

นางสาวจุรีภรณ์ อุตหล้า

กราบเรียนอาจราย์อนงค์สิริที่รักและเคารพค่ะ

หนูชื่อนางสาวจุรีภรณ์ อุตหล้า นักศึกษาชั้นปี4 เอกภาษาอังกฤษ รหัสนักศึกษา 49161663 เรียนวิชานิเทศการศึกษา วันพุธ 12.00-14.00น. หนูต้องเรียนอาจารย์ก่อนว่าหนูเพิ่งย้ายคณะมาเรียนคณะครุศาสตร์เมื่อตอนอยู่ปี3 ตอนแรกหนูเรียนคณะมนุษยศาสต์และสังคมศาสตร์ หนูอยากเป็นคุณครูค่ะ หนูมีจิตใจที่แนวแน่และรักในความเป็นครู หนูดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์ ตอนที่หนูเรียนอยู่มัธยม หนูได้ช่วยงานอาจารย์ตอนที่ศึกษานิเทศเข้าตรวจโรงเรียน คณะครูยุ่งหมดเลยค่ะ เหมือนที่อาจารย์บอกจริงๆๆซึ่งในตอนนั้นหนูคิดว่าการมานิเทศคือการมาตรวจเพื่อหาข้อเสียของโรงเรียน ซึ่งหนูคิดผิด เพราะการนิเทศคือการบอก แนะนำ และการให้คำชี้แจง ซึ่งผู้นิเทศไม่ได้มีอำนาจใดในการออกคำสั่ง แต่มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาให้คำชี้แนะช่วยเหลือครูให้มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ดีขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับนักเรียน และผู้นิเทศที่ดีต้องไม่คิดว่าตัวเองเก่ง ต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ ใช้วาจาที่สุภาพไพเราะไม่เสียดสีผู้ที่ได้รับการนิเทศ หนูต้องขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ช่วยชี้แนะว่า

"การนิเทศไม่ใช่การจับผิด" เหมือนที่หนูคิดอีกต่อไป

(ปัจจุบันหนูทำงานเป็นพนักงานต้อนรับ หรือรีเซพชั่นอยู่ที่ขันโตก ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ถ้าอาจรย์ว่างก็ขอเรียนเชิญนะคะ)

นอนหลับฝันดีค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์อนงค์สิริ

ผม นายเทอดพงษ์ ประเสริฐ 49121062 กป49ค5.1 เรียนวิชานิเทศการศึกษา sec 03

ขอบพระคุณอาจารย์ สำหรับการเขียนบทความดีๆหลายๆบทความให้ด้อ่านกัน ทำให้ผมรู้และเข้าใจอะไรๆมากขึ้น

จากบทความข้างต้นเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผมคิดว่าการที่เรารู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่คิดว่าตัวเองเก่งที่สุดในโลก และพร้อมจะเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่นๆ เปิดใจยอมรับคำวิจารณ์และรู้จักนำมาปรับปรุงไขในงานของตน ผมว่านั่นแหละคือคนเก่งจริง เพราะคนเก่งจะไม่หยุดนิ่ง และคิดถึงความก้าวหน้ามากกว่ากลัวเสียหน้า แต่ผมเห็นด้วยนะครับว่าเรื่องศักดิ์ศรีของผู้ที่รู้มาก่อนย่อมมี แต่ถ้ามีวาทะศิลป์เข้าช่อยอะไรๆก้อคงง่ายขึ้น การสร้างเพื่อนร่วมวิชาชีพก้อคงไม่ยากเลย เพราะการนิเทศไม่ใช่การจับผิดแต่คือการจับให้ถูกที่และพิจารณาตรึกตรองว่าควรจะพัฒนาตรงไหนถึงจะดี คิดถึงแต่ผลได้มากกว่าผลเสีย เท่านั้นเอง

สวัสดีครับ อาจารย์อนงค์สิริ ผม ยงยุทธ ปูเขียว รหัส 51171535 หมู่เรียน พล51.ค5.1

วิชานิทศการศึกษากับอาจารย์วันพุธ เวลา12.00-14.00น

มีเพื่อนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 4 คน

สอนเพลงด้วยหนูชอบมากครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ หนู ขวัญข้าว จินาอิ รหัส51171599 หมู่เรียน พล 51 .ค 5.2

วิชานิทศการศึกษากับอาจารย์วันพุธ เวลา12.00-14.00น ความบกพร่องทางการได้ยิน 4 คนค่ะ

สอนเรียนเพลงสนุกดี

สิทธิชัย เศรษฐสินธ์

ผม สิทธิชัย เศรษฐสินธ์ ครับ 49161117 พล49 ค5.1 เรียน บ่ายสามโมงวันศุกร์ครับ

จากบทความข้างต้นทำให้ผมรู้จักคำว่านิเทศ และแนวทางการนิเทศที่ผมจะสามารถปรับมาใช้ได้ครับ

อาจารย์สอนม่วนดีครับ

สวัสดีครับผม นายศรายุ ไชยยิถะ 49161115 พล49 ค5.1 เรียนวันศุกร์ 15.00-17.00 น.ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์ สำหรับการเขียนบทความดีๆหลายๆบทความให้ด้อ่านกัน ทำให้ผมรู้และเข้าใจอะไรๆมากขึ้น ครับ

นางสาวปรัศนีย์ เตียมใจ

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ

หนู นางสาวปรัศนีย์ เตียมใจ รหัส 49121862 จว.49.ค5.1 ค่ะ เรียนกับอาจารย์วันพุธตอนเที่ยง

หนูเรียนกับอาจารย์แล้วไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดไว้เลยค่ะ อาจารย์สอนได้สนุกแล้วก็มีมุกฮาฮาเยอะเลยค่ะทั้งได้ความรู้และก็สนุกด้วยค่ะ หนูชอบกลอนแล้วก็คำคมมากเลยนะคะสามารถนำไปใช้ได้จริง

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ

นางสาวปนัสยา แก่นพล รหัส49121814 จว49.ค5.1 เรียนวิชานิเทศการศึกษาวันพุธตอนเที่ยงค่ะ

การนิเทศที่อาจารย์ได้เขียนขึ้นมามีประโยชน์มากเลยค่ะ การเป็นอย่างอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนจริงๆ

การนิเทศที่ดีเป็นการทำให้งานนั้นออกมาสำเร็จไปด้วยดี มีการให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้น

หนูไม่กลัวหรอกค่ะที่จะมีครูนิเทศไปหาที่โรงเรียนตอนฝึกสอน เพราะหนูอยากให้อาจารย์เขาไปมากว่า เพราะเขาจะได้ช่วยหนูชี้แนะแนวทางและนำประสบการณ์ของเขามาถ่ายทอดให้หนู หนูจะเสียใจใกว่าค่ะถ้าไม่ใครไปนิเทศตอนหนูฝึกสอน

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนูเรียนกับครูวันศุกร์ 3โมง-5โมงเย็นค่ะ หนูดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจราย์อีก บทความที่ให้อ่านนั้นน่าสนใจดีค่ะ ทำให้มีความรู้เรื่องการนิเทศมากขึ้นจากที่ไม่รู้เรื่องในบางเรื่องก็มีความรู้มากขึ้นค่ะ ถือว่าได้ความรู้ก่อนที่จะไปฝึกงานจริงๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

กราบสวัสดีอาจารย์อนงค์ศิริที่เคารพค่ะ

หนู นางสาว วิภาวรรณ ภูสวัสดิ์ รหัส 49161942 หมู่เรียน กป 49.ค5.2 ค่ะ หนูเรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับครูวันพฤหัสบดี เวลา 15.00-17.00 น.ค่ะ

หนูอาจเข้ามาช้าหน่อยนะคะ ลองเข้าหลายทีแล้วแต่เข้ายากมาก วันนี้อาจารย์บอกหมดเวลาแล้วนะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ ได้เข้ามาอ่านบทความนิเทศ เรื่องนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ของอาจารย์แล้วรู้สึกว่าได้ความรู่หลายๆอย่างเลยทีเดียว หนูกล้าบอกได้เลยว่าตอนนี้หนูก็อยู่ปี 4 แล้วแต่ก็ยังสับสนกับคำว่า "นิเทศ" " เทศน์" " ศึกษานิเทศก์" " ผู้นิเทศ " และ"อาจารย์นิเทศก์ เขียนทีไรผิดทุกที แต่ตอนนี้หนูมั่นใจว่าหนูต้องเขียนถูกแน่ๆ

และอาจารย์ยังได้ให้ความรู้ แนวคิดดีๆอีกมากมายเกี่ยวกับวิธีการนิเทศ ทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ และในการเรียนการสอนอาจารย์ยังได้ให้ความรู้ ความสนุกสนาน และสอดแทรกข้อคิดหลายๆอย่างอีกด้วย หนูดีใจค่ะที่ได้เรียนกับอาจาย์

วลัยลักษณ์ แลงสิงห์

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย หนูนางสาววลัยลักษณ์ แลงสิงห์ รหัส 49161940 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เอกการประถมศึกษา เรียนนิเทศการศึกษา วันพฤหัสบดี เวลา 15-17 น. หนูรู้สึกดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกนะคะ เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เรียนกับอาจารย์เพราะรู้สึกว่าเรียนกับอาจารย์แล้วทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน มีเกมใหม่ๆมาให้เล่นทุกอาทิตย์เลย รู้สึกว่าเรียนกับอาจารย์แล้วไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดคะ หนูก็ขอขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ข้างต้นที่มีให้อ่าน ในเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ พอหนูอ่านแล้วทำให้หนูรู้ว่า

การนิทศเป็นการช่วยเหลือ แนะนำ และการให้คำปรึกษา ซึ่งผู้นิเทศไม่ได้มีอำนาจใดในการออกคำสั่ง แต่มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้คำชี้แนะช่วยเหลือ และประการสำคัญของผู้นิเทศที่ดีคือ ต้องไม่คิดว่าตัวเองเก่ง ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย

ว่างๆหนูเข้ามาอ่านใหม่นะคะ ขอบคุณคะ

อารียา แก้วแจ่มจันทร์

สวัสดีค่ะ...อ.อนงค์ศิริ...หนูได้อ่าน"นิเทศอย่างไร...ได้เพื่อนร่วมวิชาชีพ" หนูได้รู้ความหมาย ของการนิเทศ ซึ่งที่ผ่านมารู้จักแต่ผู้มานิเทศและศึกษานิเทศก์ที่มาตรวจโรงเรียน และได้มาเรียนวิชานิเทศ รู้สึกเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ...หนูดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์ ๆ ไม่หวงวิชาความรู้...ทำให้หนูเข้าใจและอยากเรียนวิชานิเทศค่ะ...ขอบพระคุณค่ะ...บทความดี ๆ ของอาจารย์ทำให้หนูมีความรู้มากขึ้น

นางสาวอารียา แก้วแจ่มจันทร์ รหัส 50121406 อ50.ค5.1

นางสาววลัยพร หงษ์จันดา

หนูมารายงานตัวแล้ว

ช้าไปมาก เพราะมัวแต่ทำอะไรก็ไม่รู้

และก็ไม่รู้จะทันรึป่าวนะคะ สำหรับคะแนนในส่วนนี้

หนูว่ากว่าหนูจะเป็นคนนิเทศได้คงต้องปรับตัวอีกมากเลยนะคะ

หนูมีอีกหลายส่วนเลยคะที่ไม่ดี ไม่เหมาะที่จะไปแนะนำใคร

หนูต้องปรับและเปลี่ยนตั้งแต่ตอนนี้ คงต้องเปิดใจให้กว้างมากกว่านี้นะคะ

ยังงัยหนูคงต้องเริ่มและเปลี่ยนความคิดที่ไม่ดีแล้วละคะ

คงต้องศึกษาเอาจาก ครู นี่แหละนะคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

**ภาษาไม่เป็นทางการจะเป็นอะไรไหม่คะ

นายสุพินันท์ กันทะวงค์ 50221144

การนิเทศถือเป็นความสำคัญที่สุดของการศึกษาเนื่องการนิเทศเปรียบเหมือนกระจกที่ส่องให้ผู้สอนได้เห็นว่าตนเองขาดส่วนใดในการเรียนการสอนบ้างก็เหมือนที่อาจารย์พูดไว้ว่า "ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง" ก็เหมือน หนึ่งคนหัวหาย สองคนเพื่อนได้ สามคนเดินทางกลับสบาย แต่ถ้าหากผู้รับการนิเทศไม่เปิดใจรับการนิเทศนั้นก็สูญเปล่าครับ

นายสุพินันท์ กันทะวงค์ 50221144 การประถมศึกษาครับ เข้ามาช้าครับแต่ก็ได้อ่านบทความถือว่าดีมากครับไม่ได้เข้ามาอ่านเพื่อให้ได้คะแนนจากวิชาอาจารย์แต่เข้ามาอ่านเพราะอยากได้รับความรู้ที่ตนเองยังไม่รู้

ทิพวรรณ กาญจนาปกรณ์ 50221110 (ภาคพิเศษ)

สวัสดีค่ะ หนูนางสาวทิพวรรณ กาญจนาปกรณ์ 50221110

จากที่หนูได้อ่านบทความการนิเทศทำให้รู้ว่า

การที่เราจะไปนิเทศใครนั้น เราต้องเป็น

คนที่น่าเชื่อถือ เป็นตัวอย่างที่ดี

ให้เกียรติเขา และให้ความสำคัญ

กับเขา ค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

น.ส วิณนรา อิทธิสิริศักดิ์

หนูชื่อนางสาววิณนรา อิทธิสิริศักดิ์รหัส 49121919 ชวว.49.ค5.1

เรียนวิชานิเทศการศึกษา sec วันพฤหัสบดีเวลา 15.00-17.00

จากการที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์หนู่ได้รับเรียนรู้ได้รับความรู้เพิ่มเติมและความเข้าใจมากขึ้น การนิทศเป็นการช่วยเหลือ แนะนำ เพื่อให้ผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจมีความชัดเจนในการทำงานซึงจะนำไปถึงความงอกงามและผู้ที่เรียนมีความพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ที่พึงประสงค์ นอกจากนี้การนิเทศยังรับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ จากเพื่อนร่วมงานเพราะเราควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการไปจี้หรือสั่งผู้อื่น ควรให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานและผู้รับการนิเทศ ยอมรับความคิดเห็นและไม่ควรจำผิดเพื่อให้ได้ใจและความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานและผู้รับการนิเทศ จากคำกล่าว่าการนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆเพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

หนูขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ใหม่ ๆกับหนู จากบทความของอาจารย์ข้างค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์อนงค์ศิริ....

ผมนายนันทวุฒิ โถดอก รหัส 49121832 หมู่เรียน จว9.ค5.1 ได้เข้ามาอ่านบทความที่อาจารย์เขียน ผมได้เรียนรู้และยังได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ผมได้ความรู้ใหม่ว่าการนิเทศเป็นการช่วยเหลือ การแนะนำ และการนิเทศโดยการเห็นคุณค่าและเห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่อาจารย์บอกครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมานะครับ

สวัสดีครับ

ผม นายทิวากร ใจแก้ว รหัส 49161809 หมู่เรียน อส.ท49.ค5.1

ผมเรียนวิชานิเทศการศึกษากับอาจารย์ อนงค์ศิริ วันพุธ เวลา12.00-14.00น ครับ (สนุกดีครับ)

จากข้อความข้างต้น การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ การที่เรารู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนและว่างตนให้เป็นกลาง ไม่คิดว่าตัวเองเก่ง และไม่คิดว่าตนเองด้อย ควรพร้อมจะเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่นๆที่ร่วมงานด้วย ควรเปิดใจยอมความคิดเห็นของผู้อื่นและรู้จักนำมาปรับปรุงไขในงานของตนและตนเองด้วย นั่นแหละคือคนเก่งจริง และกล้าแสดงออก เพราะคนเก่งจะไม่หยุดนิ่ง การสร้างเพื่อนร่วมวิชาชีพก็คงไม่ยากนัก เพราะการนิเทศไม่ใช่การจับผิดแต่คือการจับให้ถูกที่และพิจารณาตรึกตรองว่าควรจะพัฒนาตรงไหนถึงจะดี คิดถึงแต่ผลได้มากกว่าผลเสีย ครับ

ขอบคุณครับ

รัตนาภรณ์ พร้อมรักษา

สวัสดีค่ะ...อาจารย์

หนูชื่อ น.ส รัตนาภรณ์ พร้อมรักษา รหัส 49161935 หมู่เรียน กป.49.ค5.02 เอกการประถมศึกษา เรียนนิเทศการศึกษา

วันพฤหัสบดี เวลา 15-17 น. อาจารย์ค่ะหนูกะจะไม่เข้าแล้ว เพราะเคยเข้าแล้วแต่ไม่ได้เขียนข้อความอะไร ก็เลยกะจะไม่เข้า แต่

อะไรโดนใจไม่รู้ กลับอยากเข้าซะงัน อาจารย์ค่ะขอบคุณสำหรับโอกาส และสิ่งดีๆที่มีให้กับศิษย์เสมอๆนะค่ะ

ขอบคุณจากใจจริงค่ะ ขอบคุณค่ะ

......รักษาสุขภาพให้ดีนะค่ะ...... แล้วเจอกันในคาบวันพรุ่งนี้ค่ะ........สวัสดีค่ะ..........

จริญา สุธรรมแจ่ม รหัส 49121432

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูชื่อนางสาวจริญา สุธรรมแจ่ม รหัสนักศึกษา 49121432 โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ

วันนี้อาจารย์เช็คชื่อแล้วบอกคนที่เข้ามาเม้นแสดงความคิดเห็นแต่อาจารย์ลืมบอกชื่อของหนูไม่รู้ว่าอาจารย์จะตรวจชื่อหนูแล้วหรือยัง

หนูก็เลยเข้ามาอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อความแน่ใจในการเข้ามา อาจารย์คงไม่ว่ากันนะคะ ว่าแต่วันนี้อาจารย์ลืมสอนเพลงกับให้ทำกิจกรรมเพราะทุกๆ คาบเรียนที่อาจารย์เข้าสอน อาจารย์จะให้ทำกิจกรรมทุกครั้งแต่วันนี้อาจารย์ลืม หนูก็เลยอดออกลีลา 555

น.ส.สิริลักษณ์ โประทา 50111552 ศิลปศึกษา sec.03

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ จากที่หนูได้อ่านบทความนิเทศแล้วทำให้เรารู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นควรที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยเพื่อความประสบผลสำเร็จ

ขอบคุณค่ะ

สิริลักษณ์ โประทา รหัส 50111552

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคราพ

หนูชื่อ นางสาว สิริลักษณ์ โประทา รหัส 50111552 ศิลปะศึกษา sec.03

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ จากที่หนูได้อ่านบทความนิเทศแล้วทำให้เรารู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นควรที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยเพื่อความประสบผลสำเร็จ หนูไม่รู้ว่าจะตอบอะไรแล้วค่ะสั้นๆๆแต่ได้ใจความน่าค่ะ กว่าหนูจะเข้าได้เล่นเอาแทบตายน่าค่ะ เพลงที่อาจารย์สอนทุกคาบสนุกมากค่ะ งิงิ

      สวัสดีครับ อาจารย์ อนงค์ศิริ ที่เคารพ

    ผมชื่อ นายอนุวัฒน์ แข้โส รหัส 50111577 ศิลปศึกษา sec.03

จากที่ผม ได้อ่านบทความ ที่ว่า นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผมจึงคิดได้และมีความรู้เพิ่มขึ้นว่าการที่เราจะสอนคนที่มีความรู้นั้นเราควรเปลี่ยนเป็นการนิเทศดีกว่าเพราะคนที่มีความรู้นั้นคงจะไม่ยอมรับฟังแน่ จึงต้องใช้เทคนิคของการนิเทศเข้ามาใช้ และที่ผมชอบในบทความของอาจารย์คือเราต้องไม่ยึดเราเป็นสำคัญให้มองผู้อื่นสำคัญและให้เกียรติเขาแล้วเราจะได้สิ่งดีๆกลับมาเอง ต้องขอขอบคุณอาจารย์ครับที่มีบทความดีๆมาให้ได้อ่าน ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ อนงค์ศิริ

ผมนายพงษ์พันธ์ ประวัง ด.น.46 ค.41 รหัส 46121419 คาบเรียนวันศุกร์ 15.00-17.00

ก่อนอื่น ผมคงคิดว่า ผมคงเป็นคนท้ายสุดที่อาจจะปิดบทความนี้(เอ๊ะ...หรือไม่ใช่)คือมัวแต่หา Blog ของอาจารย์อยู่

หาแล้ว หาเล่า เข้าไม่ได้บ้าง หัวปั่นอยู่หลายวันทีเดียวครับ ก่อนอื่นผมต้องออกตัวก่อนว่า Sec นี้คงจะมีผมที่เป็น

เอกดนตรีคนเดียว(ฮื้อ...ว้าเหว่จัง) และจนได้เข้าเรียนกับอาจารย์ก็รู้สึกว่า อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทำมากมาย

จนผมได้มีเพื่อนใหม่ขึ้นมามากมายหลายคน(ตอนนี้ไม่เหงาแล้วครับ)ได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ที่ผมคิดว่าเราต้องเข้ากับเพื่อน

ไม่ได้แน่เลย(แค่คิดนะครับ)แต่พอเรียนวิชานี้เข้า ผมรู้สึกว่ามันเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้เลย(ลองดูสักตั้ง ถ้าไม่ได้ก็คงหน้าแตก)

โดยการหน้าด้าน หน้าทน ถามชื่อเพื่อนบ้าง มีโอกาศก็ลองทักทายเพื่อนบ้าง (จนวันนี้ก็มาเป็นของผม) ได้เพื่อนเอกภาษาไทย

มากมายครับ จนวันนี้ทำให้ผมปรับสภาพตนเองได้อย่างลงตัว เรียนอย่างมีความสุข และจนได้มาอ่าน บทความของอาจารย์อีก

ยิ่งทำให้มีข้อคิดหลายๆอย่างในทางที่ดี เพิ่มมากขึ้นอีก และได้เข้าใจขึ้นอีกว่า ไม่มีการนิเทศคนเราคงจะไม่ประสพความสำเร็จ(จนถึง

ขีดสุด)และผมคิดว่าบทความดีๆนี้ผู้ที่เป็น สายครูต้องได้ใช้อย่างแน่นอน(ก่อนอื่นต้องขอคัดลอกก่อนนะครับ)และสำหรับตัวผม

คงต้องได้ใช้อย่างแน่นอน สักวันบทความนี้คงมีบทบาทและสำคัญกับชีวิตผมขอบคุณครับ

นายศักดฺสยาม แหวนเพ็ชร์ รหัส 49161817

นายศักดิ์สยาม แหวนเพ็ชร์ รหัส 49161817 หมู่เรียน อส.ท49.ค5.1 ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้งหนึ่งเพราะอาจารย์สอนสนุกไม่ทำให้เครียด มีเทคนิคในการสอนที่ดี สอนเพลงด้วยหนูชอบมากค่ะ และในรายวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนิเทศหนูสนใจมากเพราะสำคัญกับหนูด้วยค่ะ และได้เรียนกับอาจารย์อีกด้วยหนูดีใจมากเลยค่ะ จากบทความที่ได้อ่านคือ การนิเทศอย่างไร....จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ จากการอ่านบทความนี้แล้วจึงมีความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศที่ดี ประการสำคัญ...การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย จากบทความนี้ถ้าใครได้อ่านก็ได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการนิเทศที่ดี อาจารย์ค่ะถ้ามีบทความดีๆอีกให้หนูได้มาอ่านอีกนะค่ะ หนูชอบค่ะเพราะจะได้มีความรู้เยอะๆค่ะ

นางสาวศศิวิมล ลิยาน

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์สิริ

หนู นางสาวศศิวิมล ลิยาน 50221124 กป50.ค5.01

หนูอยากจะบอกอาจรย์ว่าที่หนูตอบอาจารย์ช้า ไม่ใช่เพราะหนูไม่สนใจคำสั่งอาจารย์หรือไม่สนใจวิชาของอาจารย์แต่เป็นเพราะตัวหนูฟังคำสั่งมาผิดๆหนูเข้าใจว่าต้องพิมพ์บทความอาจารย์ออกมาแล้วค่อยแสดงความคิดเห็น ทำให้หนูตอบอาจารย์ช้าไป ขอโทษและขอรับผิดจริงๆค่ะ หนูอยากจะบอกว่าหนูชอบคำพูดของอาจารย์มาก และการกระทำของอาจารย์มากค่ะหนูเคยอ่านบทความนี้ครั้งหนึ่งแล้วแต่ไม่ได้อ่านละเอียดขนาดนี้หนูอยากจะบอกตัวเองว่าหนูอ่านช้าไปหรือเปล่า ถ้าหนูอ่านเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว นั่นก็คือตอนเปิดภาคเรียนหนูก็คงแก้ปัญหาของหนูที่ทำงานได้แล้ว แต่ไม่เป็นไรค่ะ แม้หนูจะอ่านเจอวันนี้แต่บทความนี้ก็ยังเป็นครูของหนูได้ค่ะ อาจารย์เป็นครูที่สอนคนเก่งมาก แม้หนูจะเจออาจารย์ตอนปี 3 หนูก็หวังว่าอาจารย์คงอยูสอนหนูจนจบปี 5 นะคะ และอีกอย่างที่หนูอยากจะขอโทษ นั่นก็คือหนูมักมาสายนิดหน่อย ในเมื่ออาจารย์มาเพื่อสอนพวกเราตรงเวลา หนูปรับปรุงตัวตอนนี้ยังไม่สายใช่ไหมค่ะ ความรู้สึกจากใจจริงค่ะ

... หัวใจสีม่วง ...

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

หนู น.ส.จิรัชญา ฟูเดช เอกการศึกษาปฐมวัย เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น. อ่ะค่ะ

ไม่รู้ว่ามาเยี่ยมบล๊อคอาจารย์ช้ารึเปล่าต้องขอโทษด้วยนะคะที่เรียนจนจะหมดเทอมแล้วเพิ่งจะได้เข้ามา ^^"

จากที่อ่านบล๊อคข้างบนมานี่หนูคิดว่ามันเป็นประโยชน์แล้วให้ความรู้มากๆ เลย ต้องขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ จากอาจารย์นะคะ

และก็อยากจะขอบคุณอาจารย์ที่พูดให้กำลังใจหลายๆ อย่างในการพรีเซ้นงานกลุ่มในวันที่ 7 ที่ผ่านมา

หนูกับเพื่อนๆ คิดว่ามันแย่มากแต่อาจารย์กลับบอกว่ามันเวรี่กู๊ดทำให้หนูดีใจมากค่ะ

และหนูก็ชอบอาจารย์ที่อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาตลอดเวลา ใจดีด้วย หนูจะพยายามตั้งใจเรียนวิชานี้นะคะ

สุดท้ายนี้หนูก็ขอบคุณอาจารย์นะคะที่ให้ความรู้และความรู้สึกดีดีมาตลอด >w<

นางสาวแพรวนภา ศรีเมือง

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

หนูนางสาวแพรวนภา ศรีเมือง เอกคณิตศาสตร์ เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น. ค่ะ

หนูรู้นะค่ะว่าหนูเข้ามาเยี่ยมบล๊อคของอาจารย์ช้ากว่าเพื่อน หนูพยายามหลายครั้งมากที่จะเข้าบล๊อคของอาจารย์หนูขอโทดนะค่ะที่มาช้านิดหน่อย

จากบทความของอาจารย์ทำให้หนูมีความรู้ในเรื่องของการนิเทศมากขึ้น ทำให้หนูได้รู้จักนำไปใช้กับชีวิตของหนูในอนาคต บทความของอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ค่อยสั่งสอน แนะนำทุกชั่วโมงที่อาจารย์สอน หนูดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์หนูชอบอาจารย์ที่อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาตลอดเวลา

สุดท้ายนี้หนูขอขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่ให้คำแนะนำ และสิ่งที่ดี หนูจะทำสิ่่งที่อาจารย์สอนไปใช้ในชัวิตของหนูในอนาคต

นางสาวพัชรินทร์ ปานาที

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

หนูนางสาวพัชรินทร์ ปานาที เอกคณิตศาสตร์ เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น. ค่ะ

เข้ามาเยี่ยมบล๊อคของอาจารย์ช้าไปหน่อยหนูขอโทดนะค่ะ

จากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ทำให้หนูมีความรู้ในเรื่องของการนิเทศมากขึ้น บทความของอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ค่อยสั่งสอน แนะนำทุกชั่วโมงที่อาจารย์สอน หนูดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์หนูชอบอาจารย์ที่อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาตลอดเวลา

สุดท้ายนี้หนูขอขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่ให้คำแนะนำ

สวัสดีค่ะ

หนู...เรียนเอกการศึกษาปฐมวัย เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น

เข้ามาอ่านนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ แล้วนะคะ

อ่านแล้วก็ได้ประโยชน์จากบทความนี้เป็นอย่างมากค่ะ

*วันนี้ไม่ได้เรียนของอาจารย์ก็รู้สึกเสียดายค่ะเพราะตั้งใจมาเรียนแต่ไม่มีใครมาซักคน*

นางสาววรรณิศา ปันต๊ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

หนู นางสาววรรณิศา ปันต๊ะ เอกการศึกษาปฐมวัย เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น. ค่ะ

หนูเพิ่งได้มีโอกาสได้เข้ามาดูบล็อกของอาจารย์เป็นครั้งแรกค่ะ เพราะเคยเข้ามาแล้วหาไม่เจอก็เลยท้อค่ะ

แต่ตอนนี้เจอแล้วค่ะได้อ่านบทความเกี่ยวกับการนิเทศแล้วก็มีเนื้อหาที่ดี ทำให้เข้าใจการนิเทศมากขึ้นค่ะ

นาย พงศ์พันธ์ ใจก๋อง

จากบทความข้างต้นเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผมคิดว่าการที่เรารู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่คิดว่าตัวเองเก่งที่สุดในโลก และพร้อมจะเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่นๆ เปิดใจยอมรับคำวิจารณ์และรู้จักนำมาปรับปรุงไขในงานของตน ผมว่านั่นแหละคือคนเก่งจริง เพราะคนเก่งจะไม่หยุดนิ่ง และคิดถึงความก้าวหน้ามากกว่ากลัวเสียหน้า แต่ผมเห็นด้วยนะครับว่าเรื่องศักดิ์ศรีของผู้ที่รู้มาก่อนย่อมมี แต่ถ้ามีวาทะศิลป์เข้าช่อยอะไรๆก้อคงง่ายขึ้น การสร้างเพื่อนร่วมวิชาชีพก้อคงไม่ยากเลย เพราะการนิเทศไม่ใช่การจับผิดแต่คือการจับให้ถูกที่และพิจารณาตรึกตรองว่า ควรจะพัฒนาตรงไหนถึงจะดี คิดถึงแต่ผลได้มากกว่าผลเสีย

นาย ศักดิ์สยาม แหวนเพ็ชร์

เอกอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพุธ 12.00-14.00 น. เข้ามาอ่านนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ จากบทความของอาจารย์ทำให้ผมมีความรู้ในเรื่องของการนิเทศมากขึ้น ทำให้ผมได้รู้จักนำไปใช้กับชีวิตของผมในอนาคต บทความของอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ค่อยสั่งสอน แนะนำทุกชั่วโมงที่อาจารย์สอน ผมดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์ผมชอบอาจารย์ที่อาจารย์เป็นกันเองกับ นักศึกษาตลอดเวลา

นายพงศ์พันธ์ ใจก๋อง รหัส 49161836

สวัสดีครับ..^_^ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ผมชื่อ นายพงศ์พันธ์ ใจก๋อง รหัส 49161836 เอกอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาครับ ผมได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วผมเข้าใจของผมเอง ไม่รู้ว่าจะถูกหรือเปล่านะครับว่า การนิเทศคือการทำให้ดูเป็นตัวอย่างเห็นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดทำให้ไม่ลำบาก ใจทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ และผู้นิเทศเองก็เป็นผู้ที่รับรู้ถึงทักษะ เทคนิควิธีการของครูหลายๆคนมาทั้งที่ดีและไม่ดีจึงนำเอาประสบการณ์เหล่านี้ มาถ่ายทาดสู่ครูคนอื่นๆ เป็การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันโดยมีผู้นิเทศเป็นตัวเชื่อม และผมได้เห็นตัวอย่างที่อาจารย์ทำแล้วครับคือการเข้าห้องเรียนของอาจารย์ทำ ให้ผมไม่กล้ามาสายเลย ^_^

สวัสดีครับ อาจารย์ อนงค์ศิริ

ผมชื่อนายนิธิพล อุโมง รหัส49161139 หมู่เรียน พล49 ค5.1 เรียนวันศุกร์ 15.00-18.00 น.

ก่อนอื่นนะครับผมต้องขอโทษด้วยที่เข้ามาตอนจะปิดภาคเรียน เพราะผมลืมว่าอาจารย์สั่งงานอะไร ก็พึ่งนึกได้ละครับเลยเข้ามาคอมเม้น งั้นก็เข้าเรื่องเลยนะครับ

หลังจากที่ผมอ่านบทความของอาจารย์เรื่องนิเทศอย่างไรจึงจะได้ผู้ร่วมงาน ผมก็ได้รู้เรื่องต่างๆมากมายที่มีประโยชน์กับคุณครูในปัจจุบันครับ ในเรื่องการนิเทศแบบไม่นิเทศ(โดยตรง)จะได้ใจผู้ร่วมงานโดยการไม่ต้องนิเทศผู้อื่น แต่ตัวเราต้องทำตัวให้ดีให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับผู้ร่วมงาน และให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ จะทำให้เกิดผลดีกับเพื่อนร่วมงานครับ สุดท้ายขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆที่มีในบทความของอาจารย์และขอโทษอีกทีนะครับที่เข้ามาช้า

นาย วุฒิพันธ์ เทพวงสา

สวัสดีครับ อ.อนงค์ศิริ ผมนายวุฒิพันธ์ เทพวงสา 49121662 เรียนวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 ผมว่ามีประโยชน์มากเลยครับ สามารถที่จะนำข้อคิดบางอย่างไปปรับกับอาชีพครูในอนาคตได้เลย ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่บอกว่า การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี เพราะเมื่อเราปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดูแล้ว ศิษย์ได้เห็นได้ดูอยู่เป็นประจำ อย่างน้อยเค้าก็น่าที่จะระลึกและตระหนักถึงสิ่งที่เราได้ทำลงไปว่าขนาดครูยังทำได้แล้วทำไมศิษย์จะทำไม่ได้ เปรียบเสมือนเป็นการกระตุ้นตัวเองให้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเอง

นายพงศ์พันธ์ ใจก๋อง รหัส 49161836 หมู่เรียน อส.ท49.ค5.1

นายพงศ์พันธ์ ใจก๋อง รหัส 49161836 หมู่เรียน อส.ท49.ค5.1 ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย อีกครั้งหนึ่งเพราะอาจารย์สอนสนุกไม่ทำให้เครียด มีเทคนิคในการสอนที่ดีและในรายวิชานี้เป็นวิชาการนิเทศการศึกษา ผมสนใจมากเพราะสำคัญกับผมมาก สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและได้เรียนกับอาจารย์อีกด้วยผมจึงดีใจมากเลยครับ จากบทความที่ได้อ่านคือ การนิเทศอย่างไร....จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ จากการอ่านบทความนี้แล้วจึงมีความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศที่ดี ประการสำคัญ...การนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้นๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย จากบทความนี้ถ้าใครได้อ่านก็ได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการนิเทศที่ดี อาจารย์ครับถ้ามีบทความดีๆอีกให้ผมได้มาอ่านอีกนะครับ ผมชอบครับเพราะจะได้มีความรู้เยอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับ ^-^

นายพงศ์พันธ์ ใจก๋อง รหัส 49161836 หมู่เรียน อส.ท49.ค5.1

สวัสดีครับอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ^-^ ก่อนหน้านี้ผมกลัวการนิเทศก์มากครับ เพราะเหมือนมีใครมาคอยจับผิดและจะทำให้ไม่มีความสุขในการทำงาน ต้องเตรียมเอกสารที่ไม่ตรงตามมาตรฐานทางการศึกษาและเข้าใจผู้ที่เข้ามานิเทศก์เป็นคนที่พูดมากและพูดโดยไม่มีหลักการหรือขาดจิตวิทยาในการพูด แต่พอได้อ่านบทความของอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย จึงมีความเข้าใจในเรื่องการนิเทศก์ในด้านบวกและเห็นว่าการนิเทศก์หรือคนที่เป็นนิเทศก์ไม่ใช่ครูเจ้าระเบียบอีกต่อไป แต่เห็นเป็นเพื่อนหรือเป็นคนที่คอยให้คำปรึกษาในเรื่องที่ไม่รู้มากกว่าครับ...

สวัสดีค่ะ.....อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนู...เรียนเอกการศึกษาปฐมวัย เรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น เข้ามาดูช้านะคะแต่มีประโยชน์จริงๆค่ะ ยิ่งเราจะไปเป็นครูต่อไปในอนาคต แล้วเราก็ไม่รู้ว่าต่อไปเราจะต้องไปเป็นผู้นิเทศหรือผู้ถูกนิเทศ ความรู้นี้ก็จะสามารถนำไปใช้ได้ทั้งปัจจุบันกับการเรียนในรายวิชานี้และกับการป็นครูต่อไปในอนาคต ...... และจะหาเวลาไปเยี่ยมบล๊อคอื่นๆนะคะ... เรียนกับอาจารย์มา 2 วิชาแล้วอาจารย์ก็ยังน่ารักกับศิษย์เหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยนะคะ....สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ.......อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

เรียนวิชานิเทศการศึกษา เวลา12.00-14.00น. กลุ่มแบ่งเล่นกิจกรรมสนุกมากดี อ่านเพลงกิจกรรม จาก ขวัญข้าว จินาอิ

รหัส5117159

สวัสดีอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัยครับ

ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยนะครับที่เรียนจนจะหมดเทอมแล้วพึ่งจะได้เข้ามาเยี่ยมบล๊อคของอาจารย์ ผมเรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ในวันพฤหัสบดี 15.00-17.00 น อ่านบทความแล้วได้ประโยชน์มากเลยครับ การนิเทศที่ดีนั้นผมคิดว่าเราควรจะยกย่องให้เกียรติผู้อื่นและเห็นความสำคัญในตัวเขาและให้เขาเป็นตัวแบบหรือแบบอย่างในเรื่องนั้นๆ เพียงแค่นี้เราก็จะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพแน่นอนครับ จากการอ่านบทความนี้ผมคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานต่อไปในอนาคตอันข้างหน้าแน่นอนครับ

สวัสดีคร้าฟฟฟฟ

โอ้วววว! คุณพี่ ศน.อนงค์ศิริ ของน้องๆ สปจ.พะเยา... จำได้แว้วววววว...

ไม่เจอกันนานมากกกก... สบายดีนะครับ คุณพี่...

สวัสดี อีกครั้งครับ

ขอเชิญคุณพี่ ให้เกียรติเยี่ยมชมและให้คอมเม้นท์บล็อคผมด้วยครับ... http://gotoknow.org/blog/cai-animation/288964

สวัสดีคะ.....อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

      หนูู น.ส. พรรณิภา  ดีวงค์ รหัส 51181814 (ภาคปกติ) หนูเรียนการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00 น. ได้เข้ามาเยื่อมบล๊อคของอาจารย์ บทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพของอาจารย์เป็นบทความที่มีประโยชน์และน่าสนใจมากเลยคะ ทำให้หนูได้เข้าใจการนิเทศมากขึ้น สามารถที่จะเขียนและแยกแยะความหมายได้ถูกต้อง จากความรู้ที่ได้จากการอ่านบทความของอาจารย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตของชีวิตของหนูได้คะ

 

รัตนา คำประสิทธิ์

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ

        หนูรัตนา คำประสิทธิ์ รหัส 51123002 (ภาคปกติ) sec 01 วันศุกร์เช้า ความคิดเห็นต่อการนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมงาน....นิเทศมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีวิธีการเรียกและการใช้ที่แตกต่างกัน การที่เราจะให้ผู้ที่รับนิเทศรักและให้ความร่วมมือกับเรานั้นเราต้องให้ใจเขาก่อนที่เราจะขอใจจากเขา เราสามารถนำบทความนี้ไปใช้เป็นข้อคิดเตือนสติเราในอนาคตและปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

อารีรัตน์ อินต๊ะวัน

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

           หนู นางสาว อารีรัตน์ อินต๊ะวัน 51181830(ภาคปกติ) หนูเรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ค่ะ หนูเรียนวันศุกร์ เวลา 08.00-12.00น. หนูได้อ่านบทความในบล็อกของอาจารย์ทำให้หนูได้รู้เรื่องการนิเทศมากขึ้น บทความของอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต หนูดีใจมากที่เรียนกับอาจารย์  อาจารย์สอนสนุกมากค่ะ

นพพงศ์ ประยงค์ศักดิ์

สวัสดีครับ  อ.อนงค์ศิริ

กระผม นาย นพพงศ์ ประยงค์ศักดิ์ 51181770 เรียนกับอาจารย์ วันศุกร์ตอนเช้าคับ

การที่ผมได้อ่านบทความของอาจารย์ ทำให้รู้เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการนิเทศ และผมก็จะนำสิ่งอาจารย์ได้มอบให้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน   เรียนกับอาจารย์และวมีความสุขครับ

สวัสดีครับ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

ผม นาย ธนาคาร ดวงแก้วครับ 51181767 ผมเรียนวิชาการศึกษานิเทศการศึกษากับอาจารย์ ในวันศุกร์ 08.00-12.00 น ผมได้มาอ่านบทความของอาจารย์แล้วนะครับ...

ในความคิดของผม...คนทุกคนที่เกิดมานั้นมีความรู้ที่ต่างกัน เช่น คนนี่เก่งเรื่องนั้น

คนนั้นเก่งเรื่องนี้ และมาแบ่งปันความรู้ แนะนำ ประสบการณ์ ของตนมีให้กับผู้อื่น

เหมือนกับการนิเทศ ที่พัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพ นะครับ

มีครูที่ดีและเก่ง นักเรียนนั้นก็เป็นอย่างครูของเขา

คูณครูสอน...ม๋วนแต้ๆๆ  ไว้เจอกันใหม่นะครับ สวัสดีครับ

 

สวัสดีครับ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

ผมนายทินกร กันธิยะ รหัส 51181885 เอกคณิตศาสตร์ ภาคปกติ ผมเรียนวิชาการนิเทศการศึกษากับอาจารย์ วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00 น.หลังจากที่ผมได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้เพื่อนร่วมอาชีพ จึงทำให้คิดว่า คนแต่ละคนมีความคิด และความสามารถที่แตกต่างกัน แล้วแต่การที่ได้เรียนรู้ การปฏิบัติจริง และจากประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้นในการที่จะนิเทศหรือการที่จะสอนใคร เราควรคิดคำนึงให้ดีเสียก่อน ว่าเราสมควรสอนแบบไหน ควรคิดถึงเหตุและผลของการทำการสอนให้ดีก่อน  

รุ่งทิวา หลักแน่น

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ  วิชาลัย 

         หนู น.ส.รุ่งทิวา   หลักแน่น นักศึกษาภาคปกติ รหัส 51171719 เอกคอมฯศึกษา ที่เรียนวิชาการนิเทศกับอาจารย์ เมื่อตอนเช้าวันนี้ค่ะ(วันศุกร์) ก่อนอื่นขอแอบบอกอาจารย์ก่อนเลยค่ะว่าเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เยี่ยมมากเลยค่ะ แรกๆที่อาจารย์ให้ร้องเพลงยังอายๆที่จะร้องเลยค่ะเพราะไม่ค่อยได้มีโอกาสทำแบบนี้เลย แต่เรียนไปซักพัก....ชักรู้สึกHappy ค่ะอาจารย์ อีกอย่างอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ หนูจะนำทั้งเทคนิคการสอนที่ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อ และกิจกรรมที่น่ารักไปแอบใช้ตอนเป็นครูนะคะ

        ขอเข้าเรื่องถึงบทความนิเทศอย่างไร..จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ มีความคิดเห็นเดียวกับบทความค่ะที่ว่าครูทุกคนก็มักเชื่อมั่นในตนเองแล้วว่าตนเก่ง .. ยากนักที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ผู้อื่นมาบอก ทางเดียวที่จะทำให้ครูเปลี่ยนแปลงการสอนไปในทางที่ดีขึ้นก็คือการนิเทศ และผู้ที่นิเทศก็ควรนิเทศด้วยใจที่เปรียบเสมือนเพื่อน ใช่การสั่งการเหมือนเจ้านาย   จึงจะทำให้ผู้รับการนิเทศปรับเปลี่ยนแนวคิด  วิธีการสอนให้ดียิ่งขึ้นอย่างHappy เหมือนที่หนูHappyที่จะเรียนการนิเทศค่ะ...

  ......ขอบคุณอาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาวัย สำหรับบทความดีดีค่ะ.....

จิราณัฐ เผ่าต๊ะใจ

สวัสดีค่ะดิฉัน น.ส.จิราณัฐ เผ่าต๊ะใจ 51181455 (ภาคปกติ) สาขาชีววิทยา

           จากบทความข้างต้น ทำให้ดิฉันได้ข้อคิด มุมมองที่หลายหลากเกี่ยวกับการนิเทศและความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนคำว่า นิเทศ ที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ทัศนคติที่มีต่อการเรียนในรายวิชานี้ของดิฉันไปในทางบวกมากขึ้นและได้ข้อคิด มุมมอง ทัศนคติ ใหม่ๆ ที่จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนาความคิด ปัญญา และกระบวนการเรียนรู้ไปในทางที่เหมาะสมและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุบคลอื่นได้เป็นอย่างดี

นางสาวพิชวา แดงจิระ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

    หนู นางสาวพิชวา แดงจิระ ค่ะ รหัส 51181468 สาขาชีววิทยา ภาคปกติ เรียนกับอาจารย์วันศุกร์ 08.00-12.00 น.

    หลังจากที่ได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นี้แล้วได้เข้าใจความหมายที่ถูกต้องของคำว่า นิเทศ และได้เรียนรู้หลักการนิเทศที่ถูกต้องอีกด้วยค่ะ

    หนูคิดว่าหลักการนิเทศที่อาจารย์เขียนในบทความนี้มีประสิทธิภาพมากค๋ะ ถ้านำไปปฏิบัติได้จะก่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างมากโดยเฉพาะหลักการที่ว่า

การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล.. คือการไม่นิเทศ(โดยตรง)

หนูคิดว่านี่คือ เทคนิคที่ดีที่สุดในการนิเทศค่ะ เพราะว่าการนิเทศโดยตรงนั้นมักจะถูกมองจากผู้ถูกนิเทศว่าเป็นการจับผิดและประจานข้อบกพร่องของตนเอง ทำให้ผู้ถูกนิเทศรู้สึกหดหู่ใจมากกว่าที่จะรู้สึกมีแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเอง การนิเทศโดยตรงนั้นจึงก่อให้เกิดประสิทธิผลน้อยมาก การไม่นิเทศโดยตรงจึงน่าจะเป็นวิธีที่ได้ผลกว่าเพราะลดความตึงเครียดและความรู้สึกหดหู่ใจของผู้ถูกนิเทศไปได้อย่างมาก แล้วการพัฒนาปรับปรุงตนเองก็จะประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย ค่ะ

        ขอบคุณค่ะ

 

นางสาวบริมาส เทพทิพย์

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

      หนู นางสาวบริมาส เทพทิพย์  รหัส 51181858 สาขาคณิตศาสตร์ (ภาควิชาปกติ) เรียนกับอาจารย์วันศุกร์ 08.00-12.00 น.

     จากบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

     หนูเห็นด้วยกับคำที่อาจารย์กล่าวว่า

     "การนิเทศที่ดี  ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ" 

     เพราะหนูคิดว่าการนิเทศควรให้ความสำคัญกับครูเป็นหลัก และผู้นิเทศจะต้องเป็นคนที่คอยช่วยเหลือครู ทำให้ครูเกิดการพัฒนาความสามารถของตนเอง เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ครูเกิดการพัฒนา คอยให้คำชี้แนะ เพื่อให้ครูนำข้อเสียไปปรับปรุงแก้ไขจนทำให้เกิดความสำเร็จและทำให้นักเรียนมีประสิทธิภาพตามจุดประสงค์ ดังนั้น การนิเทศที่ดี ผูนิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ ค่ะ     

นางสาวมณฑกานต์ อุปนันท์

สวัสดีค่ะ รองศาสตราจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย

     หนู นางสาวมณฑกานต์  อุปนันท์ รหัส 51271025 การประถมศึกษา (เสาร์-อาทิตย์) เรียนทั้ง 2 วันค่ะ เวลา 12.00-14.00 น.

        จากบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

        ทำให้รู้ถึงความหมายและการสะกดที่ถูกต้องของคำว่านิเทศแต่ละคำ ได้ความรู้และเทคนิคในการนิเทศว่าทำอย่างไรจึงจะได้ผลดีกับการนิเทศค่ะ

        การนิเทศคือการไม่นิเทศ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีนะค่ะ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะอยากเรียน..ย่อมมีค่ากว่าการสอน จริงอย่างที่กล่าวไว้ค่ะ และการทำให้ดู..เป็นการนิเทศที่ดี เพราะการทำให้เป็นตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย..เห็นด้วยค่ะ

     การที่จะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพสักคน..นั้น..เราต้องให้เกรียติยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องเขาในเรื่องที่เขาเก่งและถนัดให้เขาเป็นแบบอย่างในสิ่งที่เขาเก่ง

     ที่สำคัญการนิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ ต้องเน้นและให้ความสำคัญกับผู้รับการนิเทศค่ะ จะทำให้ครูไทยของเราเก่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกค่ะ

     ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ นะค่ะ

นายดุรงค์ฤทธิ์ ห้าวหาญ 51271045 กป51.ค5.01

สวัสดีครับ อาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย

และแล้วโชคชะตาฟ้าลิขิตก็ให้ศิษย์กับอาจารย์ได้มาพบกันอีก หลังจากที่ได้ร่ำเรียนกับอาจารย์เมื่อครั้งอยู่ปี 1 ตอนนี้ก็ล่วงเลยมาแล้ว 3 ปี รู้สึกดีใจที่จะได้เรียนกับอาจารย์อีก ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ตอนนี้ได้เป็น "รองศาสตราจาร์" เรียบร้อยแล้ว....เย้...ดีใจด้วยครับ ต่อไปนี้ก็ต้องเรียก รศ.อนงค์ศิริ แล้วสิ อิอิ...(สุดยอดเลยครับ) ปลื้มใจมากครับที่ราชภัฏเชียงใหม่มีอาจารย์เก่งๆแบบนี้

ครับ...จากบทความ "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมอาชีพ" การนิเทศที่ให้ผลได้ดีที่สุดคือ "การไม่นิเทศ(โดยตรง)"  โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติเขา ไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ ยอมรับในความเก่งของเพื่อน และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องที่เขาถนัด จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมอาชีพครับ

 

นางสาวศรุตยา เสาร์หิน

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

   ดิฉัน นางสาวศรุตยา  เสาร์หิน 51271032 กป51. ค5.01 ดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้งหนึ่งค่ะ จากบทความ "นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" สรุปได้ดังนี้ค่ะ การนิเทศควรให้ความสำคัญกับครูเป็นหลัก ทำให้ครูเกิดการพัฒนาความสามารถของตนเอง นอกจากนี้การนิเทศยังรับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ จากเพื่อนร่วมงานเพราะเราควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการไปสั่งผู้อื่น ควรให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานและผู้รับการนิเทศ ดังนั้น "การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ" ค่ะ    

จีราภรณ์ ปินตาปวง

สวัสดีค่ะ รองศาสตราจารย์  อนงค์ศิริ  วิชาลัย 

    นางสาวจีราภรณ์  ปินตาปวง  51271007  กป51.ค5.01  (ภาคพิเศษ  ส-อา)

    ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีด้วยนะค่ะ  ที่ได้รับตำแหน่ง อาจารย์เก่งจังเลย  หนูดีใจนะค่ะที่ได้มาเรียนกับอาจารย์อีก

    จากบทความ  ได้รู้ความหมายของคำว่า " นิเทศ " และการเขียนที่ถูกต้อง  ต่อไปจะใช้ให้ถูกค่ะ  

    การนิเทศอย่างไรจึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ  คือการไม่นิเทศ(โดยตรง)  การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  เป็นการนิเทศที่ดีกว่าคำอธิบาย หรือบอกให้ทำ เพราะบ้างคร้ังเราอธิบายไป อาจจะไม่เข้า และไม่ทำตาม ไม่เห็นภาพเท่ากับการทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน  

     การนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับความเก่ง  ความสามารถของเขาที่มี ยกย่องในความถนัดของเขา รับฟังความคิดเห็น  คำแนะนำ ที่เขาบอก แล้วนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

       การนิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญควรจะยึดผู้ถูกนิเทศเป็นหลังสำคัญกว่า

 

 

พีระ ประกิตกิตติกุล

ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีและร่วมแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับตำแหน่ง

"รองศาสตราจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย"

      กระผม นายพีระ  ประกิตกิตติกุล  51271048  กป51.ค5.01  (ภาคพิเศษ  ส-อา)รายงานตัวครับ

จากบทความเรื่อง"นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ทำให้กระผมได้รู้และเข้าใจถึงความของคำว่า  เทศน์ที่มาจากคำว่าเทศนา ,  นิเทศ , อาจารย์นิเทศก์  รวมทั้งการนิเทศที่ดีและนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันและใช้ในการประกอบอาชีพครูในอนาคต   ขอบคุณครับ........

ตอบ ศิษย์รักและแฟนคลับทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

อ่านทุกถ้อยกระทงความ ดีใจที่แวะมาเยี่ยมกัน

ตอนนี้แก้ปัญหาไม่ได้ เจ้าของBlog เข้าระบบของตนเองไม่ได้

เหมือนเข้าบ้านไม่ได้ประมาณนั้น ผู้ดูแลเว็บก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

ใครพอมีประสบการณ์แนะนำด้วยเทอญ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างยิ่ง

ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีและร่วมแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับตำแหน่ง

"รองศาสตราจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย"

   ดิฉันนางสาว  สุวรรณดี ชาญวิริยะ รหัสนักศึกษา  51271035 กป51.ค5.01  (ภาคพิเศษ  ส-อา)รายงานตัวค่ะ

จากบทความเรื่อง"นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่านิเทศก์ คือการที่จะนิเทศก์ได้ผลที่ดีต้องมีเพื่อนร่วมงานด้วยค่ะจึงจะสำเร็จผลไปด้วยดีและจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะไปเป็นครูในอนาคตค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ พี่ รศ.อนงค์ศิริ
  • ดีใจมากที่ได้อ่านเรื่องนี้
  • ขอบคุณพี่ อยากให้พี่น้องศน.ได้อ่านด้วยค่ะ
  • พี่สบายดีนะคะ
นางสาวอรพรรณ จักษุวินัย

ก่อนอื่นขอกราบสวัสดีอาจารย์นะค่ะ  ดิฉันนางสาวอรพรรณ จักษุวินัย รหัศนักศึกษา51271038  กป51.ค5.01  (ภาคพิเศษ  ส-อา)รายงานตัวค่ะ

บทความแต่ละบทความที่อาจารย์นำมาลงในบล๊อคเป็นความรู้ที่หนูยังไม่เคยรู้มาก่อน ขอบพระคุณนะค่ะที่เสนอแนะความรู้ดีๆแบบนี้ให้พวกเราชาวราชภัชเชียงใหม่ทุกคน

บทความที่หนูอ่านทำให้ทราบได้ว่า ทุกคนอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ ต้องมีเพื่อนมีกลุ่มมีสังคม ตามที่อาจารย์กล่าวไว้จริงๆค่ะ เจอกันในเฟสบุ๊คนะค่ะ และจะแวะทักทายบ่อยๆทั้งทางgotoknow และ facebookค่ะ สวัสดีค่ะ

นางสาวพัชรินทร์ หินหงษ์

กราบสวัสดีอาจารย์และขอร่วมแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่ด้วยนะคะ

ดิฉัน นางสาวพัชรินทร์ หินหงษ์ รหัส51271021 กป51.ค5.01 (ภาคพิเศษเสาร์ - อาทิตย์) นะคะ

จากบทความที่ได้อ่านทำให้หนูทราบความหมายและการเขียนคำว่า นิเทศ แต่ละแบบได้ถูกต้องจากที่ไม่เคยรู้มาก่อน

บทความที่อ่านทำให้ทราบว่าคนเราอยู่ตัวคนเดียวในโลกไม่ได้ ต้องมีกลุ่มมีก้อน มีสังคมถึงจะทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย

การนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์

จะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

การนิเทศจึงต้องคู่กับการเรียนการสอนและ การเรียนรู้เสมอ

 

 

นางสาววนิดา ใจคำปัน

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ ดิฉันนางสาววนิดา  ใจคำปัน รหัส 51181478 ชว51.ค5.1(ภาคปกติ)ค่ะ

จากบทความที่ว่า นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ  ทำให้รู้ถึงความหมายที่แท้จริงของการนิเทศ และการเขียนที่ถูกต้องรวมถึงปรัชญาการนิเทศด้วย

นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมงาน  คือการไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและการเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงาน การทำให้ดูเป็นตัวอย่างเป็นการนิเทศที่ดีกว่าคำอธิบายหรือบอกให้ทำ

ประการสำคัญการนิเทศที่ดี  ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญควรยึดผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญจึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

กราบขอโทษอาจารญ์ที่ตอบช้าเพราะเข้ามาแล้วหาไม่เจอต้องโทรถามเพื่อนอีกทีอาจารย์คงไม่ว่านะคะ  ขอบคุณค่ะ

อุดมศักดิ์ โปธิมอย

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่ง

"รองศาสตราจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย"

ผม นายอุดมศักดิ์   โปธิมอย  รหัส 51271054  กป51.ค5.01 (ภาคพิเศษเสาร์ - อาทิตย์)

จากบทความข้างต้น เรื่อง "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ"  ที่ได้อ่านมานั้นก่อให้เกิดองค์ความรู้ ในด้านต่างๆไม่ว่าการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในอนาคตหากเรารู้จักนำไปใช้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเราและคนรอบข้าง ถึงแม้คนเราจะมีความรู้ท่วมหัวแต่ไม่รู้จักนำไปใช้หรือถ่ายทอดหั้ยกับผู้อื่นเท่ากับเราไม่รู้อะไรเลย

 

 

นางสาวไฉไล มานะพัฒนมงคล

กราบสวัสดีอาจารย์และขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่นะค่ะ

ค่ะ ดิฉันนางสาวไฉไล  มานะพัฒนมงคล  รหัส 51271039  กป51.ค5.01 (ภาคเสาร์-อาทิตย์)

จากบทความข้างต้น นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นั้น  ทำให้รู้ถึงความหมายและการเขียนคำว่า  " นิเทศ"  แต่ละคำที่ถูกต้อง จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ที่ผ่านมาก็คงใช้ผิดๆ ถูกๆ แต่ตอนนี้ดิฉันรู้แล้วค่ะ

บทความทีอ่านทำให้รู้ถึง การนิเทศที่ดี...ต้องไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

 

นางสาว พร้อมวาสนา

สวัสดีค่ะรองศาสตราจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย ขอแสดงควายินดีกับตำแหน่งใหม่ด้วยนะคะ หนูดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้ง เรียนกับอาจารย์มีสาระและเสียงเพลงมากมายทำให้หนูไม่ท้อในการเรียนเพราะเทอมนี้หนูมีเรียน 5 วิชา ไม่มีเวลากินข้าวเลย แต่พอได้ร้องเพลงก็ทำให้หนูยิ้มได้ค่ะ จากบทความ ได้หลักการจำการเขียนคำว่านิเทศว่า นิเทศ เป็นคำกริยา  ถ้าเป็นคำนามใช้คำว่าเทศก์ และถ้ามีคำว่าผู้อยู่แล้วไม่ต้องใส่  ก์(ก การันต์)  ส่วนคำว่า เทศน์  ใช้ในความหมายว่า เทศนา ได้รู้หลักประการสำคัญ.ว่า.การนิเทศที่ดี  ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญหนูจะนำเรื่องการนิเทศไปใช้ประโชยน์ ในชีวิตประจำวันและการเป็นครูในอนาคตให้มากที่สุดค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์อนงค์ศิริ

ดิฉัน นางสาวสมฤทัย  ธนะสาร  รหัสนักศึกษา 51181706  หมู่เรียนฟสด.51ค5.1 ภาคปกติคะ  จากที่ได้อ่านข้อความของอาจารย์แล้วมีความรู้สึกว่าการที่จะเป็นผู้นิเทศได้นั้นไม่ได้เก่งแต่เนื้อหาเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเก่งทั้งเรื่องการโน้มน้าวใจและการบริการด้วยใจรักอืก คนที่จะเป็นผู้นิเทศได้ต้องเป็นบุคคลที่อ่อนโยนและในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่แน่วแน่ด้วยคะ และการอ่านในครั้งนี้ก็สามารถนำความรู้ใหม่ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ด้วยคะ ขอบคุณคะ

นางสาวสุรีย์รัตน์ คะกูลนา หมู่เรียน ฟสด51คบ51 รหัส51181708 sec01(ภาคปกติ)

คำว่านิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพือนร่วมวิชาชีพ

หนูคิดว่านิเทศการเเลกเปลื่ยนความรู้เเละประสบการณ์  คำเเนะนำ จากเพือนร่วมวิชาชีพที่มีประสบการณ์มาก เหมือนกับภาษิตท้องถิ่นเหนือที่ว่า

"ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง" คือพี่ผู้ผ่านโลก  ผ่านชีวิต ผ่านการงานปัญหาอุปสรรคมามาก ย่อมมีความรู้ประสบการณ์มากกว่าน้อง

ก็เหมือนอาจารย์เเนะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้ศิษย์ได้เรียนรู้ต่อไปได้ในชีวิตเมื่อเจอกับปัญหาต่างๆๆ

นายเกียรติบดินทร์ ดูใจ

สวัสดีครับ อาจารย์ อนงค์ศิริ

ผม นายเกียรติบดินทร์ ดูใจ  รหัสประจำตัวนักศึกษา 51181831 

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คบ. 5 ปี (ภาคปกติ)

....

จากที่ได้อ่านบทความ "นิเทศอย่างไร... จึงได้ใจเพื่อนร่วมอาชีพ"

ผมชอบข้อความที่ว่า "การทำให้ดู  เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง  เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย" เป็นที่สุด 

เพราะในปัจจุบันการเรียนการสอนหวังพึ่งแต่ตำราไม่ได้

ต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญ รวมไปถึงความขยันเพียรพยายาม จึงจะประสบผลสำเร็จ และรู้จักปรับปรุงแก้ไขความบกพร่่องของตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถอยู่้เสมอๆ ครับ...

นางสาวพรพรรณ หวังก่อนใคร

กราบสวัสดีอาจารย์และขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่นะค่ะ

จากที่ได้อ่านบทความ "นิเทศอย่างไร... จึงได้ใจเพื่อนร่วมอาชีพ"

ค่ะ ดิฉันนางสาวพรพรรณ หวังก่อนใคร รหัส 51271018 กป.51.ค5.01 (ภาคเสาร์-อาทิตย์)

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านทำให้ดิฉันเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ และการนิเทศทุกครั้งควรมีการวางแผนกำหนด

การล่วงหน้าเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

น.ส.โสภิตตา ช่างเหล็ก รหัส 51181876 ค.51.ค5.2

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์สิริ  ที่เคารพ

หนูชื่อ   นางสาวโสภิตตา  ช่างเหล็ก  รหัส 51181876  ค51.ค5.2

จากบทความข้างต้นนี้ทำให้หนูได้รู้ว่า การนิเทศการศึกษามีความสำคัญกับครูมาก  การนิเทศเป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเราไม่ยึดตนเองเป็นหลัก  และอีกอย่างหนึ่งก็คือการนิเทศที่ดี  คือการทำให้ดู  เพราะการเห็นตัวอย่างเป็นสิ่งที่ดีกว่าการอธิบาย     

ดีใจที่ศิษย์รักและเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผอ.ลำดวน ได้แวะมาเยี่ยม

อ่านทุกความเห็น และภูมิใจที่ศิษย์ใช้ Gotoknow เป็นแหล่งเรียนรู้

ให้ศึกษาให้มากนะคะ แล้วศิษย์จะโชคดี

นางสาวธิดารัตน์ คุณธนะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ หนูชื่อ นางสาวธิดารัตน์ คุณธนะ รหัส 51181408 หมู่เรียน คม51ค5.1 นักศึกษาภาคปกติ จากที่หนูอ่านบทความเรื่องนิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้หนูเข้าใจในความหมายที่ว่า นิเทศเพื่อการไม่นิเทศที่อาจารย์สอนในห้องเรียนว่าคือ การให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และเจตคติและทำให้รู้ว่าการนิเทศเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับครูมาก และการนิเทศที่ดี คือการทำให้ดู เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย

สวัสดีครับอาจารย์ผมชื่อสมโภชน์ อินทสิทธิ์ 51271051 กป.51ค.501 ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของอาจารย์ด้วยคนนะครับ                                          ผมจะขอสรุปสั้นๆดังนี้คือหัวข้อนิเทศอย่างไรจึงจะได้ใจผู้ร่วมวิชาชีพ ผมคิดว่าการนิเทสแบบเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกันคือวิธีนี้สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่องและผมเชื่อว่าวิธีนี้ได้ใจผู้ร่วมวิชาชีพอย่างแน่นอน                                                                          หัวข้อนิเทศเพื่อการไม่นิเทศ ก็คือการทำเป็นแบบอย่างโดยให้ผู้รับการนิเทศเห็นและเกิดการละอายเมื่อตนเองทำไม่ถูกต้องและเลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องแทนครับ                                   

สวัสดีค่ะ่อาจารย์

ดิฉันชื่อ นางสาวอรนิล ปินตา

รหัสนักศึกษา 51181828 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ภาคปกติ)

จากที่ได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า "นิเทศคืออะไร" และการนิเทศนี้ใช่ว่าใช้เพียงแต่ปากไม่ แต่กับยังใช้การกระทำหรือการปฏิบััติ คอยช่วยเป็นตัวอย่างได้อีกด้วย

สวัสดีค่ะ รองศาสตราจารย์  อนงค์ศิริ  วิชาลัย 

ดิฉัน นางสาว จตุพร ธรรมใจ  รหัสประจำตัวนักศึกษา 51181853

ค51. ค5.2 (ภาคปกติ)

จากบทความ " นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ "

ทำให้ดิฉันได้รู้ว่า การนิเทศให้เกิดความรู้นั่นทำได้ไม่ยากหากว่าเรามีความตั้งใจ เพียรพยายาม  และหมั่นขวนขวายหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และการนิเทศที่ดี เกิดการทำให้ดู เพราะการกระทำสำคัญกว่าคำพูด และไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญค่ะ ^^ 

นางสาวสุดารัตน์ โปธิตา

สวัสดีค่ะ รองศาสตราจารย์  อนงค์ศิริ  วิชาลัย 

ดิฉัน  นางสาวสุดารัตน์  โปธิตา  รหัสนักศึกษา 51181873  ค51.ค5.2 (ภาคปกติ)

จากบทความ "นิเทศอย่างไร จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" นั้น

ทำให้ดิฉันได้เข้าใจคำว่า นิเทศ มากขึ้นและสามารถนำไปใช้ในแต่ละแบบได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังทำให้รู้ว่าการที่เราจะทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้มากๆ ไม่ยึดแค่ตนเองเป็นหลัก

ทั้งนี้ตัวเราเองจะต้องเป็นผู้นิเทศที่ดีให้แก่ผู้อื่น และเป็นผู้รับการนิเทศที่ดีด้วยค่ะ^^

 

สวัสดีครับ อาจารย์ 

กระผม นายกรวิชณ์ จองคำ รหัสนักศึกษา 50121235 เอกดนตรีศึกษา sec 01(ภาคปกติ) เรียนกับอาจารย์วันศุกร์ 08.00-12.00 น. จากบทความที่อาจารย์ได้บรรยายนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของคำว่านิเทศ เเละหักล้างความคิดเดิมๆเปลี่ยนเป็นมุมมองใหม่ๆ ให้เกิดการสร้างสรรค์ ทั้งเเก่ตัวผู้นิเทศเเละผู้ได้รับการนิเทศ เป็นการสอนให้รู้จักปฏิบัติตน การเข้าใจอย่างถูกต้องตามหลักของปรัชญา เคารพซึ่งผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนิเทศอย่างสูงสุด ผมดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้ง รักอาจารย์ครับ (..0...0..)    

นายจักริน สิงห์กันทา

สวัสดีครับอาจารย์

ผม นายจักริน สิงห์กันทา รหัสนักศึกษา 51271041 หมู่เรียน กป.51 ค5.01

หลังจากที่ได้อ่านบทความ "นิเทศอย่างไร...จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ"

        คนเราทุกคนนั้น ย่อมมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่แตกต่างกันเพราะแต่ละคนมีการเรียนรู้ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ดังนั้น จึงต้องมีการนิเทศ เพื่อแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ เพื่อให้เกิดความรู้ทักษะใหม่ ๆ และการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ

น.สเบญจวรรณ ทะตั๋น

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ข้าพเจ้านาวสาวเบญจวรรณ ทะตั๋น รหัส 51181859 หมู่เรียน ค51.ค5.2 [ภาคปกติ] sec 01

บทความของอาจารย์เกี่ยวกับการนิเทศทำให้หนูได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้น รวมถึงมุมมองต่างๆเกี่ยวกับการนิเทศที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปร่วมด้วย ให้แนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ดี อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น หรือการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยการมีความรักและศรัทธา เชื่อใจและไว้ใจ ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมแนะนำ ยอมรับความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อเราทั้งในด้านการเรียน การงานอาชีพ ความเป็นอยู่ ชีวิตและจิตใจ ให้เกิดแต่สิ่งดีงามและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

 

ที่สำคัญบทความนี้ช่วยให้หนูลบความคิดเดิมๆของหนูว่า อาจารย์นิเทศเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับหนูเพราะหนูกลัวว่าจะโดนตำหนิ หรือคอยจ้องจะจับผิด ถ้าเราทำอะไรผิดพลาดเพียงเล็กน้อย และจะทำให้เราเกิดความท้อ ไม่มีกำลังใจที่จะสอนต่อไป ซึ่งบทความนี้ก็ทำให้หนูได้เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศและผู้นิเทศมากขึ้น ด้วยการเปิดใจให้กว้าง มองโลกในแง่ดี และไม่ตัดสินอะไรไปก่อนโดยที่เรายังไม่เจอกับตัวเอง เพราะอาจารย์นิเทศนี่แหละที่จะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำกับเราเมื่อเราเกิดปัญหาในการสอน การเรียนนิเทศครั้งนี้ทำให้หนูลดความกลัวต่อการที่จะเจอกับการนิเทศและผู้นิเทศ ทำให้มีกำลังใจในการที่จะออกไปฝึกสอนมากขึ้น ว่าจะต้องทำให้ดีที่สุด ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่มอบความรู้ให้กับหนู ขอบคุณค่ะ

 

นายเสกสรรค์ สิธิวัน

เรียน ท่านอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

       กระผม นายเสกสรรค์ สิธิวัน รหัสนักศึกษา 51181649 หมู่เรียน ส51.ค5.2 ( ภาคปกติ)  จากที่กระผมได้อ่านบทความของท่านอาจารย์ข้างต้นแล้วทำให้กระผมได้ทราบความหมายของคำว่า นิเทศ ตลอดจนหลักการนำไปใช้ ได้ทราบปรัชญาของการนิเทศที่ซึ่งอาจารย์ได้กล่าวสอนไว้ในชั้นเรียนที่ว่า ที่ใดมีการเรียนการสอน ที่นั่นมีการนิเทศ และ นิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ ซึ่งความหมายของปรัชญาทั้งสองนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้แล้วและได้ไขข้อสงสัยของกระผมด้วย

        ในส่วนของ การนิเทศอย่างไรถึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ซึ่งตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ คือการไม่นิเทศโดยตรง โดยการกระทำให้เป็นตัวอย่างให้เขาเห็น การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน สร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีให้เพื่อนร่วมงาน เคารพท่านอาวุโส และการนิเทศเช่นนี้ถือว่าจึงจะได้ใจ

 

นายวุฒิพงษ์ วรรณารักษ์

เรียน รองศาสตราจารย์ อนงศิริ  วิชาลัย ที่เคารพ

         กระผม นายวุฒิพงษ์  วรณณารักษ์    รหัส 50111126  หมู่เรียน กป50.ค5.2

นักศึกษาภาคปกติ

  จากที่กระผมได้อ่านบทความเรื่องการนิเทศ เมื่อก่อนในความคิดผมคิดว่าการนิเทศนั้นเป็นการติดตามประเมินผล การปฏบิัติงานที่มีความตึงเครียด ผู้ถูกนิเทศต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี แต่เมื่อผมได้อ่านบทความของอาจารย์ที่อ่านจารย์ได้บอกว่า การนิเทศที่ดีคือการไม่นิเทศ(โดยตรง)ผู้นิเทศต้องเป็นผู้ที่ปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ ทำให้ดู ไม่ใช่การมาจับผิด จึงทำให้กระผมคิดว่าการนิเทศแบบนี้เป็นการนิเทศที่จะทำให้เกิดผลดีกับตัวของผู้ถูกนิเทศและการพัฒนาการปฏิบัติงานไปในทางที่ดี เพราะผู้นิเทศต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เข้าใจ และพร้อมที่จะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเพื่อนร่วมวิชาชีพ

สวัสดีค่ะ รองศาสตราจารย์ อนงค์สิริ วิชาลัย ที่เคารพ

            หนูชื่อ นางสาว วราภรณ์  ฟองคำ รหัส 51181416 หมู่เรียน คม51ค5.1 นักศึกษาภาคปกติ จากที่หนูได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ จึงทำให้เข้าใจความหมายและประโยชน์ของการนิเทศมากขึ้น เพราะ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูทุกคน ล้วนแล้วต้องพบเจอกับการนิเทศ เพื่อได้รับการให้คำแนะนำ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และการช่วยเหลือจากผู้ที่มีประสบการณ์กว่าเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานหรือเทคนิกใหม่ที่ดีขึ้น  การนิเทศต้องเห็นคุณค่าของคนอื่น ถ้าหากเรามีข้อมูลด้านลบของผู้ถูกนิเทศ หรือถือทิฐิ ก็จะทำให้ไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกนิเทศ ซึ่งจะทำให้เราขาดสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นต่อไป ดังนั้นเราต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี เห็นผู้ถูกนิเทศเป็นสำคัญ

สิริวิมล ไชยรังษี

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ  หนูชื่อ นางสาวสิริวิมล ไชยรังษี รหัส 51181422 หมู่เรียน คม51 ค5.1 นักศึกษาภาคปกติ  จากที่หนูได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ แล้วหนูได้รู้คำศัพท์  คำว่า นิเทศ ที่เป็นทำกริยากับคำนามเขียนต่างกันและความหมายก็ต่างกัน หนูได้รู้คำตอบของคำถามที่ว่า..นิเทศเพื่อการไม่นิเทศ  คืออะไร  จากความรู้ที่หนูได้รับจากอาจารย์หนูจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดหนูจะเป็นคุณครูและผู้นิเทศพร้อมๆกัน  ขอบคุณค่ะ....

สวัสดีทุกท่านที่แวะเข้ามาแสดงความคิดเห็น

ได้อ่านทุกถ้อยกระทงความแล้ว ดีใจที่คนร่นใหม่รู้จัก WWW.gotoknow.org

เพิ่มขึ้น จะได้ใช้แหล่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เจ้าของBlog ยังเข้าบ้านตนเองไม่ได้เลยต้องมาตอบขอบคุณไว้ ณ ตรงนี้

 

วิรัชยาภรณ์ ทิพยศ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ข้าพเจ้าวิรัชยาภรณ์  ทิพยศ รหัส 51181870 หมู่เรียน ค51.ค5.2 [ภาคปกติ] sec 01

จากที่ได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ก็ทำให้หนูได้รับความรู้ ความสำคัญของการนิเทศ และได้รู้ว่าถ้าหากจะทำการนิเทศให้สมบูรณ์ได้นั้นจะต้องไม่ทำการนิเทศโดยตรงและที่สำคัญก็คือการนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญควรจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย และการทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย เหมือนที่เขาพูดกันไว้ว่าตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน และจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้นำไปใช้ในการปฏิบัติตัวเองค่ะ ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะสำหรับบทความนี้

 

ตรีทิพ กิตตะศาสตร์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย
ขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ หนูชื่อ นางสาว ตรีทิพ  กิตตะศาสตร์ รหัส 51181608 หมู่เรียน ส51.ค5.2(ภาคปกติ)Section 01  เรียน กับอาจารย์ วันศุกร์ 8.00-10.00 น. ค่ะ จากการที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ในหัวข้อที่ว่า "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ในความคิดของหนู อาจารย์เขียนได้เข้าใจง่ายดีค่ะ แต่ไม่รู้ว่าหนูจะเข้าใจถูกหรือเปล่า แต่หนูชอบคำเหนือที่ว่า ‘ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง’ ซึ่งบุคลากรแต่ละคนมีความสามารถไม่เท่ากัน หรือ มีความสามารถแตกต่างกันตามความถนัดของตน ดังนั้น จึงต้องมีการแชร์ประสบการณ์ต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่น ซึ่งอาจไม่ใช่สอนโดยตรง แต่เป็นช่วยเหลือหรือแนะนำให้เกิดการเรียนรู้ไปในตัว หากเป็นการสอนโดยตรงนั้นบางคนมักถือตัวไม่ชอบให้ใครสอนอาจจะเกิดปัญหา จึงต้องใช้วิธีการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแทน ซึ่งจะทำให้เขาไว้ใจเรา เชื่อใจเรามากกว่าที่จะไปสั่งให้เขาทำ และอีกอย่างคือ การนิเทศบุคคลใดก็ตาม เีราต้องคำนึงถึงว่าควรใช้วิธีการแบบไหนเขาถึงจะได้ใจเราไป เราไม่ควรที่จะเอาอุดมคติส่วนตัวมานิเทศ ควรเอาผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญ....ประโยชน์จะเกิดต่อสังคมมากกว่าที่เราคิด ค่ะ...

ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมชื่อ นาย ธนพัทธ  คำอุดม รหัส 51181639 หมู่เรียน ส51.ค5.2(ภาคปกติ) Section 01  เรียน กับอาจารย์ วันศุกร์ 8.00-10.00 น.

จากการที่ได้อ่านบท ในหัวข้อที่ว่า "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ในความคิดของผม คือ การนิเทศ คือ การเสริมสร้าง ความรู้ ต่อยอดความคิด และเสริมสร้างแรงผลัก ในด้านที่ผู้ถูกนิเทศ ไม่ถนัดหรือมีข้อด้อยหรือเรื่องต้องการรู้ ให้ได้ปรับปรุงแก้ไข ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ตามสถานะ ซึ่งเนื้อหาความหมายที่อาจารย์ได้รวบรวมไว้ในบทความดังกล่าว ทำให้ผมได้ทราบถึงความหมายและลักษณะ วิธีการบางอย่างในการเลือกใช้การนิเทศ และการพัฒนาผู้อื่น บทความได้ให้ความเข้าใจกับตัวผมมากขึ้น และบทความเป็นประโยชน์มากๆ เลยครับ

ชื่อขสกุล นางสาวปิยะทิพย์ แสงกระจ่างกล้า รหัสนักศึกษา 51171710 หมู่เรียน คพ51.ค5.1 ภาคเรียนปกติ set.01 วันศุกร์ 8.00 - 12.00 น.

จากบทความดังกล่าว ตามความคิดเห็นของดิฉัน ดิฉันคิดว่า การนิเทศ เป็นหนทางแห่งการถ่ายทอดความรู้โดยที่ใช้คำชี้แนะ หรือแนะนำเป็นแนวทางให้คนที่ได้รับการนิเทศ นำไปต่อยอดโดยยึดเอาแนวจากผู้นิเทศที่ได้แนะนำมา ดังนั้นการเราจะนิเทศผู้ที่ได้รับการนิเทศซึ่งเป็นผู้ที่จะต่อยอดความรู้ต่อไปให้เขาได้เข้าใจในแนวทางดีกว่าไปบอกให้เขาทำตาม เพราะจะเกิดไม่พอใจและขัดใจต่อกัน เพราะต่างคนต่างเชื่อมั่นในความรู้ที่ตนมีอยู่ ดังนั้นดิฉันจึงเห็นด้วยกับบทความดังกล่าวและเห็นเป็นแนวทางเดียวกันด้วย คือ การที่จะนิเทศให้ได้ผลนั้นต้องนิเทศให้ใจเขามาก่อนเพื่อที่เขาจะได้ต่อยอดด้วยความสามรถและความรู้ที่เขามีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ และทำด้วยความเต็มใจ อย่างมีความสูขค่ะ

น.ส.สุดารัตน์ แก้วสิริ

สวัสดีค่ะ รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ดิฉัน นางสาวสุดารัตน์  แก้วสิริ  รหัสประจำตัวนักศึกษา 51181824 

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คบ. 5 ปี (ภาคปกติ)

หลังจากที่ดิฉันได้อ่านบทความ "นิเทศอย่างไร... จึงได้ใจเพื่อนร่วมอาชีพ" ดิฉันคิดว่าการนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพในทุกๆด้าน การนิเทศ คือ การให้ข้อแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ร่วมงาน ทั้งผู้ร่วมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่าๆกัน โดยที่ผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้มากกว่ามักจะเป็นคนนิเทศ แต่ในขณะเดียวกันถ้าผู้นิเทศไม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีหรือมีอคติแก่เพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้ระบบการทำงานไม่ประสบผลสำเร็จ และอาจจะไม่ก้าวหน้าได้ การนิเทศแก่ผู้ร่วมงานที่ดีนั้น ผู้นิเทศควรเป็นแบบอย่างที่ดีและควรที่จะให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมอาชีพในทางที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน ที่สำคัญไม่ควรเอาตนเองเป็นที่ตั้ง ควรใส่ใจถึงความต้องการความเหมาะสมกับเพื่อนร่วมอาชีพด้วย เพื่อให้การนิเทศประสบความสำเร็จ หน่วยงานเจริญก้าวหน้า ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ข้าพเจ้านางสาว ปารนีย์ ปัญญา รหัส 50121202 หมู่เรียน ดน50.ค5.1 (ปกติ) Sec.01

จากการศึกษาข้อความของอาจารย์อนงค์ศิริ ขอแสดงความคิดเห็นว่า คำว่า "นิเทศ" นั้นมีหลากหลายความหมาย ส่วนการนิเทศนั้น มีความหมายว่าการให้คำแนะนำ การช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ต่างๆ และนำความรู้เหล่านั้นไปปรับปรุงแก้ไขในวิชาชีพของตัวเองให้เกิดผลสำเร็จ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ดิฉันของแนะนำตัว...นางสาวอุรารัตน์ ปาละปิน รหัสนักศึกษา 51181880 หมู่เรียน ค51.ค5.2(ภาคปกติ) Section 01

จากบทความที่ที่ได้กล่าวมา ในความคิดเห็นของดิฉันเกี่ยวกับ นิเทศอย่างไร...จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ เป็นบทความที่แสดงถึงบุคคลที่มีความรู้ ทักษะ เจตคติที่เจากกระบวนการที่ตนเองได้ไปนิเทศ และประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพครู แล้วนำมาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นแก่กับผู้ที่ยังด้อยประสบการณ์และความรู้ ทักษะต่างๆ เพื่อสามารถนำไปเผื่อแพร่ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับการนิเทศที่ดี ของผู้นิเทศควรจะทำตัวอย่างไรถึงจะเหมาะสมและถูกต้อง....ค่ะ

นางสาวสิริพร เกษมเลิศตระกูล

สวัสดีค่ะ  ข้าพเจ้า นางสาวสิริพร  เกษมเลิศตระกูล  รหัส  51181823  สาขาวิชา  คณิตศาสตร์  หมู่เรียน  ค51.ค5.1  ( ภาคปกติ) sec  01

จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความของอาจารย์มาแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้หลายอย่างในเรื่องเกี่ยวกับการนิเทศ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ถึง  การนิเทศนั้น ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่อย่างเดียว มีความหมายกว้างมาก และทำให้พวกเราทุกคนที่เข้ามาศึกษาบทความของอาจารย์ได้รับประสบการณ์ ได้รับความรู้อย่างมากมาย

นางสาวจันจิรา วงษ์จักร์

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ดิฉันขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ ดิฉันชื่อนางสาวจันจิรา วงษ์จักร์ รหัสนักศึกษา 51181604 สาขาสังคมศึกษา section 01 เรียนวันศุกร์ เวลา 8.00 -12.00 น. ค่ะ

      จากบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้ได้ทราบถึงการนิเทศนั้นสามารถแปลได้หลายความหมาย และการนิเทศนั้นไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการชี้แนะ แนวทางต่างๆ ให้ผู้ร่วมงาน และการที่เราจะนิเทศใครเราควรเข้าใจคนที่เราจะนิเทศก่อนและไม่ควรเอาตัวเองเป็นสำคัญค่ะ

อนุวรรต บุญเรือง 51181892

สวัสดีครับ   ผมนายอนุวรรต  บุญเรือง  รหัสนักศึกษา  51181892 คบ51.ค5.2  สาขาคณิตศาสตร์

จากข้อความที่ได้อ่าน   ทำให้รู้และเห็นได้ชัดเจนว่า  ชีวิตของเราในการเป็นครู  หรือจะประกอบอาชีพใด  จะสำเร็จและก้าวหน้าได้  จะต้องควบคู่ไปกับการนิเทศทุกๆอย่าง การนิเทศเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ   ที่เป็นจุดสำคัญให้เราสำเร็จบรรลุตามจุดมุ่งหมาย   และนำไปพัฒนา  ตัวเราเอง  และคนอื่นได้อย่างดีและตรงตามมาตรฐาน

      การนิเทศ  จึงสำคัญที่ทำให้เรา  เข้ากับคนอื่นได้ง่าย  และสามารถวางตัวได้เหมาะสมและเป้นที่รักของสังคม 

ชาติชาย ปองจันทรา

สวัสดีครับอาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย

ผมชื่อนายชาติชาย  ปองจันทรา   51271044 ภาคเสาร์-อาทิตย์  กป51ค501  ดีใจที่ได้เรียนกับอารย์อีกครั้งหนึ่ง  เรียนสนุกครับสอนแล้วเข้าใจง่ายครับ  จะตั้งใจเรียนให้มากๆ

จากบทความที่ว่าทำอย่างไร...จึงได้เพื่อนร่วมวิชาชีพจากบทความที่ได้อ่านแล้วว่าถ้าเราอยากได้เพื่อนร่วมวิชาชีพที่ดีเราต้องยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและไม่ยึดตัเองเป็นสำคัญครับสวัสดีครับ

นางสาว สมวัณญา วัฒนมาลา

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ  วิชาลัย แนะนำตัวนะค่ะดิฉันชื่อ นางสาว สมวัณญา วัฒนมาลา รหัสนักศึกษา 51171722 หมู่เรียน คพ51.ค5.1 เรียนภาคปกติ Sec. 01

จากที่ได้อ่านบทความนี้แล้วดิฉันคิดว่า การนิเทศเป็นการช่วยเหลือ แนะนำ ในด้านของการปรับปรุงการศึกษาซึ่งการนิเทศจะเข้าไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ครูได้มีความรู้ใหม่ๆไปสอนให้กับนักเรียนได้

ดังนั้น การนิเทศการศึกษาก็จะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาการสอนของครู เพื่อให้ครูมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นและดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์ที่ว่า

"การนิเทศที่ดีไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ การปฏิรูปการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอน  การนิเทศก็ต้องเน้นผู้นิเทศสำคัญกว่าเช่นกัน"

สวัสดีค่ะ  อาจารย์ อนงค์ศิริ  วิชาลัย

ดิฉัน นางสาว จันทนิภา  มุ่งตรง  รหัส 52171119  หมู่เรียน ค52.ค5.2  section 01

         จากบทความข้างต้นนอกจากอาจารย์จะอธิบายและให้ความหมายของคำว่านิเทศแล้ว อาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนิเทศอย่างไร....จึงได้ใจเพื่อนร่วมชีพ  ซึ่งดิฉันเห็นว่าเป็นข้อความที่ดีและมีประโยชน์สามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิตจริงและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่นบทความที่กล่าวว่า การนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นแบบอย่างในเรื่องนั้นๆ และบทความที่ว่า การนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ บทความทั้งสองบทความนี้ดิฉันชื่นชอบและเห็นด้วยอย่างยิ่ง

ยินดีต้อนรับเพื่อนร่วมทางวิชาการทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมBlog

ยังมีความรู้ ประสบการณ์มากมายที่สามารถสืบค้นและอ่าน

ในเว็บนี้ จงมาร่วมเดินทางสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกันนะคะ

นางสาวชนากานต์ พึ่งบ้าน

สวัสดีค่ะ  อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ดิฉันนางสาวชนากานต์  พึ่งบ้าน รหัสนักศึกษา 52171122  หมู่เรียน ค52.ค5.2 section01

       จากบทความข้างต้นดิฉันคิดว่า การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล คือ  การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยให้นึกถึงวาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน  เชอร์ชิลที่กล่าวไว้ว่า  "ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครมาสอน" สำหรับดิฉัน  ดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่ว่า พร้อมที่จะเรียนรู้  แต่ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครมาสอน  คือ เวลาดิฉันจะทำอะไร หรือ อยากเรียนรู้เรื่องอะไรซักเรื่องหนึ่ง ดิฉันอยากทำมันให้ถึงที่สุด ศึกษาเรื่องที่เราไม่เข้าใจด้วยตนเองก่อนที่จะให้ใครมาสอน ....เพื่อที่เราจะเข้าใจมากขึ้น....

         ดิฉันชอบที่อาจารย์บอกว่า ถ้าผู้เขียนอยากสอนศิษย์ให้เป็นคนตรงต่อเวลา ผู้เขียนไม่ตำหนิ ติเตียนศิษย์ที่มาสาย  แต่จะมาตรงต่อเวลาให้ศิษย์เห็น และทำสม่ำเสมอ  แล้วถ้าศิษย์มาสาย เขาก็จะรู้อยู่แก่ใจว่ามาสาย!!  และประการสำคัญของการนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ  คือ  การนิเทศที่ดี..ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

กระผมนายนิยม  ชมชื่น รหัส51181641 หมู่เรียน ส51.ค5.2 sec01 

จากการที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ในหัวข้อที่ว่า "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ"ในความคิดของผม การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพมากที่สุดและได้ผลดีที่สุดคือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบประโยคที่ว่า "ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครมาสอน ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะใจอยากเรียน ย่อมมีความสำคัญมากกว่าสิ่งใดๆทั้งหมด เมื่อมีการอยากรู้ อยากเรียนเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมามักจะสวยงามเสมอ การนิเทศโดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ ทำให้เราสมารถได้ใจของเพื่อนร่วมวิชาชีพได้เต็มเปี่ยม

นายกรกต ไชยยา  51181756 หมู่เรียน อส.ท51.ค5.1 sec 01

จากคำกล่าวข้างต้นนอกจากอาจารย์จะอธิบายและให้ความหมายของคำว่านิเทศแล้ว อาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนิเทศอย่างไร....จึงได้ใจเพื่อนร่วม ชีพ  ซึ่งกระผมเห็นว่าเป็นข้อความที่ดีและมีประโยชน์สามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิต จริงและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่นบทความที่กล่าวว่า การนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นแบบอย่างในเรื่องนั้นๆ และบทความที่ว่า การนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ บทความทั้งสองบทความนี้กระผมชื่นชอบและเห็นด้วยอย่างยิ่ง

ถือว่าการนิเทศเป็นการให้คุณค่าอย่างยิ่งสามารถนำมาปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูง...

สวัสดีครับอาจารย์ ผมนายนรุตม์ วันธงไชย รหัส52181360 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย การนิเทศนั้นเมื่อเราเรียนจบไปและไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับครู อาจารย์ ในระดับมหาวิทยาลัยเราก้อสามารถนำไปใช้ในการสอนได้ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและดีมากและมีประโยชน์มากทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพราะฉะนั้นจึงถือว่าการนิเทศจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

สวัสดีครับ ผมชื่อ นายกฤษฎากร  อิมัง 52181257 หมู่เรียน ท52.ค5.1 sec01 วันศุกร์ 08.00-12.00น.

ผมชอบประโยคที่ว่า  แต่..การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ

เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

 เพราะผมคิดว่าเป็นเรื่องที่จริงและใกล้ตัวผมที่สุด ทั้งการเรียนหรือการใช้ชีวิตทั่วไป เพราะการที่เรามีสังคม มีเพื่อนมักจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งยังเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเมืองเราทุกวันนี้ ที่เป็นเหตุไม่สงบทุกๆวันก็เพราะทุกคนคิดแต่ว่าตนเองคิดถูก ตนเองมีความรู้มาก จึงไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเลย ผมจึงคิดว่าการนิเทศเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ และจะช่วยให้ทุกๆคนผ่านเหตุการณ์ร้ายๆไปได้ครับ

นางสาวธิดารัตน์ ธรรมโม

ดิฉันนางสาวธิดารัตน์  ธรรมโม รหัส 50111257 (ท50.ค5.1) sec01 วันศุกร์ 08.00-12.00น.  จากการที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ในหัวข้อที่ว่า "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ทำให้ดิฉันได้รับความรู้แล้วเกิดความเข้าใจในเรื่องของการนิเทศมากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบวิชาชีว่าเราไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ เราควรรับฟังผู้อื่นบ้างจึงจะทำให้การทำงานผ่านไปอย่างราบรื่น ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า "การนิเทศที่ดี  ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ"

นางสาวพัชรินทร์ จันทร์แก้ว

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย

หนูเป็นนักศึกษาภาคปกติที่เรียนซัมเมอร์กับอาจารย์ในวันศุกร์ 8.00 - 12.00 น Sec. 01 รหัส 50111366  กน 50 ค 5.1 ชื่อนางสาวพัชรินทร์  จันทร์แก้ว คะ 

จากที่หนูได้อ่านบทความเรื่อง " นิเทศอย่างไร  จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ"  หนูคิดว่าการนิเทศเป็นสิ่งที่สำคัญช่วยให้ครูหรือผู้รับการนิเทศได้มีความรู้ที่มากขึ้นและเกิดการพัฒนาตนเอง และเป็นการสอนที่เป็นกันเองเป็นการที่ผู้มีประสบการณ์หรือผู้นิเทศคอยช่วยเหลือแนะนำในสิ่งต่างด้วยวิธีการแนะนำช่วยเหลือ เป็นการยกย่องให้เกียตรซึ่งถือว่าแตกต่างกับการสอนทั่วไป

สวัสดีครับ อาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย

ผมชื่อ นายรพีพจน์ หงษ์ผา ๕๑๑๘๑๐๔๘ หมู่เรียน ท๕๑.ค๕.๑ sec 01 วันศุกร์  เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

จากคำพูดที่ว่า

      "นิเทศ  เพื่อการไม่นิเทศ"  คือ การให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ จนทำให้เกิดกระบวนการได้เองแล้วก็ไม่ต้องนิเทศอีกต่อไป 

     ในความคิดของผมการนิเทศที่เเท้จริงคือการเข้าไปสร้างภูมิปัญญาความรู้ให้ครูผู้สอน เพื่อให้ครูผู้สอนได้เกิดการเรียนรู้ที่ทันนสมัยเเละตรงต่อความต้องการในการเรียนรู้ในยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งการที่ผู้นิเทศเข้าไปนั้นเพื่อการเสริมสร้างอาวุธทางปัญญาให้เเก่ครูผู้สอน เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของครู เเละอีกอย่างยังเป็นการพัฒนาการศึกษาของไทยให้เจริญก้าวหน้าเทียบเท่ากับนานาประเทศต่างๆทั่วโลกอีกด้วย

    

นางสาววรัญญา สะเอียบคง

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ดิฉันนางสาว วรัญญา สะเอียบคง รหัส52181341 หมู่เรียน ท5.ค5.2 sed01 เรียนวันศุกร์ตอน08-12 ค่ะ

จากที่ได้อ่านบทความ"นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ดิฉันได้รับความรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคำความหมายของ การนิเทศ ดิฉันชอบคำที่ว่าไม่มีการนิเทศใดดีที่สุดทุกวิธีการมีข้อดีในส่วนของตัวเองเพราะว่าในการจัดการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกันไม่มีวิธีการสอนใดดีที่สุด ตัวผู้สอนต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอเพื่อพัฒนาศักยภาพการสอนของตน บทความนี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้หลากหลายจริงๆและสามารถนะความรู้นี้เป็นแนวทางในการปฎิบัติในภายหน้าใด้อย่างแท้จริง

ขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้นำความรู้ที่มีค่ามาเผยแผ่ให้ได้อ่านได้คิดค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพครับ ผมนายสง่า ก้อนแก้ว รหัส 51181050 ท51.ค5.1 sec.01 เวลาเรียน วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00 น.

หวังว่าผมคงเข้ามาเป็นคนสุดท้ายของการคอมเม้นท์ในการเรียนซัมเมอร์ภาคฤดูร้อนนี้นะครับ เพราะมีความตั้งใจอยากจะเรียนตามหลักสูตรของวิชาการนิเทศกับอาจารย์ก่อนแล้วค่อยเอาความรู้ที่ได้มาผนวกเข้ากับ การอ่านบทความดีๆที่อาจารย์ได้เขียนเอาไว้ทั้งนี้เพื่อเป็นการที่จะต้องเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศให้มากขึ้น ซึ่งหลังจากที่ผมได้เรียนวิชาการนิเทศการศึกษาที่ผ่านมาแล้วนั้นทำให้ผมกลับเข้ามาอ่านบทความได้เข้าใจยิ่งขึ้น หลากหลายข้อความที่เคยอ่านนำมารวบรวมกับบทความนี้ ผมขอยกย่องอาจารย์ให้เป็นปราชญ์แห่งการนิเทศเลยนะครับ เพราะความรู้จากอาจารย์ทำให้หลายคนนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและในการเรียนได้เป็นอย่างดี คำพูดของอาจารย์ในบทความนี้ถ้าอ่านดีๆจะมีความรู้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง การนิเทศจึงไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้าเท่านั้น แต่การนิเทศของอาจารย์นั้นเป็นการนิเทศเพื่อการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มอบให้ครับ

นางสาวปุณณพร คงขจร 52121428 กป.52.ค5.2

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเพิ่งเคยเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรกเลยทำให้ไม่ค่อยรู้จักอาจารย์เท่าคนที่เคยเรียนมาแต่ได้ยินจากเพื่อนที่เคยเรียนกับอาจารย์บอกว่าอาจารย์เป็นคนเก่ง สอนดี ไม่หวงความรู้ และวันนี้ได้เข้าเรียนกับอาจารย์ก็ทำให้หนูเรียนได้อย่างสนุกสนานไม่เครียดและไม่ง่วงนอนด้วยค่ะ

หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วนะคะรู้สึกว่ามีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการเป็นผู้นิเทศและได้ใจสำหรับคุณครูหรือผู้ถูกนิเทศมากค่ะ หนูมีความคิดเห็นว่าถ้าหากผู้นิเทศมีแต่คำติเตียนหรือคำด่าทอ เสียดสีหรือแม้กระทั่งพูดในทางที่มีผลทางด้านลบก็จะทำให้ผู้ที่ถูกนิเทศหมดกำลังใจและก็กลัวกับการนิเทศในครั้งต่อ ๆ ไปหรือแม้กระทั่งไม่อยากจะทำงานนั้น ๆ ต่อไปอีกเลยค่ะ

ซึ่งการทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบายเหมือนที่อาจารย์เข้าห้องสอนตรงเวลาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษา ครูถ้าอยากให้นักเรียนมาตรงเวลาครูก็ควรมาตรงเวลา เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน

ในการดำเนินชีวิตของคนเราก็เหมือนกันค่ะ ถ้าอยากให้ใครทำอะไร ให้เราพอใจ เราควรที่จะทำให้เค้าดูเป็นตัวอย่างก่อน แล้วจึงจะให้เค้าทำและทำให้ดีกว่าที่เราทำ

ซึ่งจะตรงกับคำกล่าวที่อาจารย์ได้เขียนไว้ว่าการนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย

นางสาวจันทรา สุขสมใจ

สวัสดีค่ะดิฉันนางสาว จันทรา สุขสมใจ นักศึกษารหัส52121414 หมู่เรียน กป.52ค5.2เวลาเรียนวันจันทร์ (12.00 - 14.00)ภาคเรียนที่1/54 จากการที่ดิฉันได้เข้าเรียนวันแรกของเทอมและได้ฟังอาจารย์อธิบายเรื่องการนิเทศมาบ้างแล้วดิฉันก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีดิฉันจึงอยากรู้มากขึ้นว่าบทความที่อาจารย์แนะนำให้นักศึกษาเปฺิดอ่านนั้นมีสาระอะไรบ้าง และสำหรับการได้เข้ามาอ่านในวันนี้ดิฉันก็สดุดใจอยู่กับอาจารย์ท่อนหนึ่งที่ว่า การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆมักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

ดิฉันคิดว่าถูกต้องค่ะเพราะเวลาคนที่มีความรู้มากหรือมีประสบการณ์มากแล้วนั้นบางคนก็ยึดติดกับสิ่งเดิมๆไม่ยอมนำสิ่งที่แปลกใหม่เข้ามาคิดว่าประสบการณ์ของตนเองที่ได้รับมานั้นเพียงพอแล้วทั้งที่จริงหาใช่หรือไม่ และมีอีกหลายบรรทัดที่ดิฉันโดนใจในบทความของอาจารย์และขอขอบคุณที่อาจารย์ได้นำความรู้ดีๆมาเผยแพร่หากดิฉันไม่ได้เรียนกับอาจารย์วันนี้ดิฉันคงไม่รู้แหล่งบทความดีๆนี้หรอกค่ะ ดิฉันขอบคุณค่ะ

นางสาวจันจิรา แสนเทพ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ

หนูชื่อ นางสาว จันจิรา แสนเทพ 52121313 หมู่เรียน กป.52ค5.1 sec 01. เวลาเรียนวันจันทร์ (12.00 - 14.00) จากการที่ได้อ่าบทความ นิเทศอย่างไร....จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้ได้ทราบถึงคำว่า นิเทศ ที่มีหลายแบบ และเต่ละแบบ ใช้ยังไง เขียนยังไงและชอบคำกล่าวที่ว่า "ที่ใดมีการเรียนการสอนที่นั่นมีการนิเทศ" ไม่มีใครเก่งไปทุกเรื่อง ดั่งภาษิตทางถิ่นเหนือที่ว่า"ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง"ก็คือพี่ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรคมามาก ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่าน้อง ค่ะ

นางสาว มนัสวี รู้แหลม

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูชื่อ นางสาวมนัสวี รู้แหลม รหัสนักศึกษา 52121333 หมู่เรียน กป 52.ค5.1 หนูเรียนกับอาจารย์ในวิชาการนิเทศการศึกษา sec.01 เวลาเรียน วันจันทร์ 12.00-14.00 จากบทความข้างต้น เรื่อง "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ดิฉันคิดว่าบทความข้างต้นเป็นบทความที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะที่ว่า ไม่มีใครเก่งไปรู้เรื่อง ต่างคนก็ควรจะช่วยเหลือกัน หากทำงานร่วมกันเราก็ควรจะยอมรับในความเก่ง ความถนัดของแต่ละคน และยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ

ดิฉันคิดว่าบทความเรื่อง"นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" มีประโยชน์แก่ผู้เรียนมาก ถ้าผู้เรียนหรือผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ สิ่งเหล่าจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในอนาคตได้อย่างดีเลยค่ะ

นางสาวพรรณพฤกษา สุเตนัน

สวัสดีคะดิฉันนางสาวพรรณพฤกษา สุเตนัน รหัสนักศึกษา52121531 หมู่เรียน กป.52.ค5.3 วันนี้หนูได้เข้าไปเรียนกับอาจารย์แต่หนูไม่ได้มีชื่อในชั้นเรียนหรอกนะคะ หนูไปขอเพิ่มค่ะและเรียนไปด้วย แรกๆรู้สึกหวั่นนะคะเพราะที่ผ่านมาเรียนกับศาสตราจารย์นั้นจะมีแต่ทฤษฎี แต่อาจารย์ ไม่เลยเรียนแล้วสนุก ผ่อนคลายและได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ไม่เคลียดและรู้สึกว่าอาจารย์ไฮเทคมากเลยค่ะมากกว่านักศึกษาบางคนเสียอีก และหนูก็ได้มาอ่านบทความ "นิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" บทความข้างต้นทำให้หนูมีความรู้เกี่ยวกับคำว่านิเทศเพิ่มขึ้น ได้รู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นไม่ควรยึดตนเองเป็นสำคัญ และไม่ควรนิเทศโดยตรง ในความคิดของหนูแล้วหนูคิดว่าการนิเทศนั้นเราควรยึดผู้ที่ได้รับการนิเทศเป็นสำคัญและต้องทำให้ผู้ที่ได้รับการนิเทศมีความสุขและให้ความร่วมมือในระหว่าที่เรานิเทศไปด้วย จึงจะทำให้การนิเทศสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหนูคิดว่าการนิเทศนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะที่ใดมีการสอนที่นั่นย่อมมีการนิเทศ

ดิฉันคิดว่าบทความเรื่องนี้มีประโยชน์มากแก่นักศึกษาที่เรียนเป็นอย่างมากมาย ซึ่งบทความนี้จะช่วยได้ดีมากถ้านักศึกษาไม่เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ นักศึกษาก็สามารถมาอ่านเพื่อไขความข้องใจในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

สวัสดีครับครูอนงค์ศิริ วิชาลัย กระผมชื่อนายธิชากร สุดแดน รหัสนักศึกษา 52171511 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา ดนตรีศึกษา หมู่เรียน ดน .52.ค5.1 วันนี้กระผมได้เรียนกับครูก็รู้ศึกว่าครูเป็นคนพูดเก่งแล้วก็อารมณ์ดีกระผมได้เรียนกับครูเป็นครั้งแรกเลยครับจากที่กระผมได้อ่านบทความนี้กระผมได้รู้คำว่านิเทศเป็นอย่างไรแล้วฟังอ่านเขียนอย่างไรจะได้คำว่านิเนศเพราะการนิเทศทำให้เป็นการช่วยเหลือ แนะนำ ในด้านของการปรับปรุงการศึกษาซึ่งการนิเทศจะเข้าไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ครูได้มีความรู้ใหม่ๆไปสอนให้กับนักเรียนได้ดั้งนั้นการนิเทศสอนให้เราคิดตามแล้วก็ทำตามกับสิ่งที่เรานิเทศการที่บทความนี้กล่าวว่า..การนิเทศมิใช่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ

เพราะ..การทำงานร่วมกันกับผู้มีความรู้และประสบการณ์มากๆ

มักจะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในสิ่งที่ตนรู้ ในสิ่งที่ตนเชื่อจนยากที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ

เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในบทความนี้สอนให้เราได้รู้จัดของการทำงานร่วมกันของผู้ที่มีประสบการณ์มากแล้วผู้ที่มีประสบการณ์น้อยว่าเป็นอย่างไรแล้วก็อีกอย่างหนึ่งของบทความนี้ที่กระผมชอมคือบทความของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลที่กล่าวว่าข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่ ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน ทำให้รู้ว่าตนเองยังต้องเรียนอีกมากมายเลยคับ

สวัสดีครับ

นางสาวสุพัตรา วงศ์ต่อม 52121544 กป.52.ค5.3 เรียนวันจัทร์ เวลา 12.00-14.00 sec. 01

สวัสดีค่ะอาจารย์ จากที่ดิฉันได้อ่านบทความข้างต้นที่อาจารย์ได้เขียนไว้นั้น ทำให้ดิฉันได้ความรู้ในหลายๆเรื่องที่ควรรู้และได้รู้ในหลายๆเรื่องที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลายๆด้านได้ บทความข้างตนอาจเป็นบทความที่สั้นๆอ่านแล้วเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้ "การนิเทศ ไม่ควรที่จะยึดตนเป็นหลัก ต้องยึดผู้รับนิเทศเปนหลัก และการจะนิเทศเพื่อนร่วมงานก็ควรจะให้เกียรติแก่เพื่อนร่วมงาน" จากบทความได้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศเพิ่มมากขึ้น ดิฉันคิดว่าดิฉันจะนำความรู้ที่ได้มานั้นไปประยุกย์ใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากเลยนะค่ะที่ได้ให้เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆแต่มีประโยชน์มากมายค่ะ

นางสาว จรรยา ถิ่นภาบาง กป52.ค5.3 เรียนวันจันทร์ sec. 02 เวลา 14.00-16.00

สวัสดีค่ะอาจารย์..จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความข้างต้นแล้วนั้น ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับคำว่า"นิเทศ" รวมถึงได้รู้ว่าการนิเทศที่ไม่ใช่นิเทศนั้น...คือ..การสอนนั้นไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเรียนรู้ได้ แต่ การแสดงออกหรือกระทำให้เห็นหรือแม้แต่การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นแล้วที่จะทำให้ผู้อื่นปฎิบัติตาม.รวมถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเห็นผลตามมาอย่างชัดเจน..ซึ่ง ..เราควรคำนึงถึงผู้เรียนมากกว่าผู้สอน..ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ค่ะ ที่ได้มีกิจกรรมให้ทำ และ ให้ความรู้ที่มีความสำคัญกับการเรียนในรายวิชานี้ และการนำไปใ้ช้ในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ

นางสาว พวงผกา หล้าคำ รหัส 51181218 การนิเทศการศึกษา sec 01

สวัสดีค่ะ อาจาร์ย อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านมาข้างต้น ทำให้ดิฉันได้รู้ในหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับการนิเทศ โดยเแพาะได้รู้ว่าคำว่า นิเทศ นั้น

มีความหมายที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป อาจะพูดเหมือนกัน แต่ในการเขียนและความหมายนั้นแตกต่างกันออกไป

สำหรับคำที่ว่า นิเทศอย่างไร............จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพนั้น ในความหมายของดิฉัน ดิฉันคิดว่า การนิเทศ แบบการทำให้ดูเป็นตัวอย่างนั้นเป็นการนิเทศที่น่าจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ที่จะไปเป็นครูในอนาคตเขาย่อมจะทำตามและนำตัวอย่างที่ดีไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฎิบัติเพื่อให้เป็นครูที่ดีในอนาคต

ขอขอบพระคุณอาจาร์ยนะคะ ที่ได้นำความรู้และสาระดีๆมาให้ได้ศึกษาและทำให้ได้รับความรู้ดีๆจากตรงนี้มากเลยค่ะ

นาย ธนาวุฒิ มหายศดี กป.52ค.5.2 รหัส 52121403 sec 02

กราบสวัสดี คุณครู อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

จากบทความข้างต้นที่กระผมได้อ่านนั้น ผมได้รู้สึกถึง การเป็นนิเทศและจะนิเทสอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

อีกประการหนึ่งก็คือ การเป็นนักนิเทศที่ดีเราต้องนึกถึงใจเขาใจเราให้มากที่สุดและไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ

ควรยึดหลักศิลธรรมและจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อผู้อื่น จากข้อความข้างต้น สรุปได้ก็คือ เราจะต้องเห็นคุณค่าของการเป็นนิเทศ

และบทความได้สอนให้เรารู้จักประมานตน ให้มองดูที่ตัวเราเองก่อนที่จะไปมองคนอื่น

ขอขอบคุณ คุณครูอนงค์ศิริ วิชาลัย ที่สอนให้เราได้รู้จักประมาณตนมากข

นางสาว เตือนใจ อุโพอยู่โพ กป.52.ค.5.1 รหัส 52121321 sec 01

สวัสดีค่ะ อาจารย์

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านมาข้างต้น ทำให้ดิฉันได้รู้อะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับการนิเทศ ได้รู้ความหมายของการนิเทศ เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้น ดิฉันคิดว่า การนิเทศคือการเป็นตัวอย่างให้ดู และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนที่ดูเรา โดยที่เราไม่ต้องสอนและแนะนำให้มากมาย ให้เขาทำความเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง แต่เราต้องมีคุณธรรมสามประการ มีเจตคติที่ดีต่อทุกๆคน

เป็นนักนิเทศที่มีความรู้ความสามารถรอบตัว

ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ให้บทความดีๆนี้มา

นางสาว เตือนใจ อุโพอยู่โพ กป.52.ค.5.1 รหัส 52121321 sec 01

สวัสดีค่ะ อาจารย์

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านมาข้างต้น ทำให้ดิฉันได้รู้อะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับการนิเทศ ได้รู้ความหมายของการนิเทศ เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้น ดิฉันคิดว่า การนิเทศคือการเป็นตัวอย่างให้ดู และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนที่ดูเรา โดยที่เราไม่ต้องสอนและแนะนำให้มากมาย ให้เขาทำความเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง แต่เราต้องมีคุณธรรมสามประการ มีเจตคติที่ดีต่อทุกๆคน

เป็นนักนิเทศที่มีความรู้ความสามารถรอบตัว

ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ให้บทความดีๆนี้มา

นางสาวภัทราภรณ์ หวลอารมณ์

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ

หนูนางสาวภัทราภรณ์ เอกภาษาอังกฤษ จากบทความที่ได้อ่านมานะคะ ทำให้หนูได้รู้ว่าคำว่า "นิเทศ" มีหหลายอย่างและมี

ความหมายและการใช้ที่แตกต่างกัน และทำให้หนูได้เข้าใจความหมายของคำว่านิเทศมากขึ้น คือการเรียนการสอนย่อมต้องคู่กับคำว่านิเทศเพราะเมื่อครูสอนไปแล้วก็ต้องกลับมาดูเรา มาประเมินเราว่าที่สอนไปแล้วนั้น เราได้อะไรบ้าง เพราะครูเป็นผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่มากกว่า ย่อมบอกและก็สอนเราไได้ และจากบทความหนูเชื่อว่าทุกคนที่อ่านแล้วย่อมจะนำไปสร้างการเป็นผู้นิเทศที่ดีให้กับตนเองได้

ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ได้นำความรู้และสาระดีๆมาให้พวกเราได้อ่านและได้ศึกษากัน

นางสาวอัจฉรา จันทร์ไชยวงศ์ กป52.ค5.1 รหัส 52121351

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

จากบทความที่อาจารย์ได้เขียนขึ้นมา ถึงแม้ว่าจะเป็นบทความสั้นๆ กระทัดรัด แต่มีความรู้มากมายแฝงในบทความนี้ เกี่ยวกับการนิเทศ อย่างไรให้ได้ใจ เพื่อนร่วมงาน ทำให้นักศึกษา ได้รู้ ว่า การนิเทศ ไม่ใช่เพียง แค่สั่งๆ หรือ นิเทศ เพียงข้อมูลนั้นๆ แต่เป็น การนิเทศ เป็นเหมือนการ สร้างความสัมพันธ์ ในรูปแบบหนึ่ง ที่ได้ทั้งความรู้ และ มิตรภาพ การทำให้ดู เป็นการนิเทศ อีกประการหนึ่ง ชอบประโยคนี้มากๆค่ะ เพราะเมื่อ ผู้สอน หรือ ผู้นิเทศ ทำเป็นตัวอย่างที่ดี แล้ว ผู้ฟัง หรือตาม ก็คล้อยตามเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ คำพูดที่มากมาย แล้วผู้ฟังการนิเทศไม่ได้อะไรเลย

ขอบคุณสำหรับ บทความดีๆที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษา อ่าน และได้รับความรู้มากมายค่ะ

นางสาวอารีย์ ตาแตะ กป52.ค5.1 รหัสนักศึกษา 52121352 Sec 01

สวัสดีค่ะ อ. อนงค์ศิริ ที่เคารพ

หนูนางสาวอารีย์ ตาแตะ เอก การประถมศึกษาค่ะ จากที่หนูได้อ่านบทความขั้นต้นทำให้หนูเข้าใจความหมายของคำว่า นิเทศมากขึ้น เพราะคำนี้มืความหมายกว้าง การนิเทศที่ดีนั้นหนูคิดว่าต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ไม่ใช่ว่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้งอย่างเดียวใช่ใหมค่ะอาจารย์

ขอขอบพระคุณมากนะค่ะที่อาจารย์มีบทความดีๆให้พวกเราอ่านขอบคุณจากใจจริงค่ะ

อลงกรณ์ สุภาใจ 52171908 อ.52.ค5.1 การนิเทศการศึกษา เสค 02

การเรียนการสอน ต้องมีมาพร้อมกับการนิเทศ เพื่อการพัฒนาการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การนิเทศต้องอาศัยประสบการณ์อย่างมาก การนิเทศต้องใช้การนิเทศอย่างสร้างสรรค์ รู้จักใช้คำพูด การกล่าวการนิเทศ เพื่อให้มีความหมายในทางบวก ซึ่งแน่นอน ผลที่ออกมา จะเป็นที่น่าพอใจ แก่ทั้งสองฝ่ายและจะเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูในทางที่ดีขึ้น...

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูชื่อ นางสาวอุษา วังสาร รหัสนักศึกษา 52121353 หมู่เรียน กป 52.ค5.1 หนูเรียนกับอาจารย์ในวิชาการนิเทศการศึกษา sec.01 เวลาเรียนวันจันทร์ 12.00-14.00

จากบทความที่อาจารย์ได้เขียนขึ้นมา ถึงแม้ว่าจะเป็นบทความสั้นๆ กระทัดรัด แต่มีความรู้และแง่คิดต่างๆแฝงอยู่ในบทความนี้มากมายเกี่ยวกับการนิเทศ คำว่านิเทศถึงแม้เป็นคำสั้นๆ แต่มีความมายมากมาย การนิเทศต้องใช้การนิเทศอย่างสร้างสรรค์ รู้จักใช้คำพูด การกล่าวการนิเทศ เพื่อให้มีความหมายในทางบวก แล้วจะทำให้ผู้ฟังและผู้พูดเข้าใจเรื่องที่นิเทศตรงกัน

ขอบคุณสำหรับ บทความที่ดีๆที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษา อ่าน ทำให้ได้รับความรู้มากมายค่ะ

นางสาวกาญจนา สาริมา

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

ดิฉัน นางสาวกาญจนา สาริมา รหัส 51181251 อ51.ค5.2 จากบทความที่ได้อ่านข้างต้นนี้ ดิฉันมีความคิดเห็นว่าเป็นข้อความที่มีประโยชน์มาก เพราะทำให้ดิฉันได้รู้ความหมายในการเขียนที่แตกต่างกัน และการเรียนวิชานิเทศก็เป็นวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในวันข้างหน้า โดยเฉพาะอาชีพครู จากคำที่ว่า"ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง"(พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง) คือการที่ผู้ที่มีประสบการณ์มากผ่านมามากคือผู้ที่จะเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ด้อยค่ะ

นาย ฉลิมพล แซ่เฒ่า 52121302 กป 52 ค 5 01

จากบทความต่างๆ ข้างต้นที่ผมได้เข้ามาศึกษาหรือเข้ามาอ่าน เป้นข้อความที่ที่มีประโยชน์มากหรือเป็นความรู้เบื้องต้น

ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนหรือใช้ในการที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

นางสาวพิมพาพร วังท่า กป52.ค5.1 รหัส 52121331

สวัสดีอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านข้างต้นนี้ ทำให้ดิฉันได้รีบความรู้มากมายเกี่ยวกับ การนิเทศ ที่ไม่เป็นเพียงแค่การนิเทศ เพื่อให้ผู้ฟัง ได้รับความรู้เท่านั้น และไม่เป็นเพียง แค่สั่งการ เท่านั้น แต่การนิเทศ คือ การสร้างความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้ทั้งความรู้และ มิตรภาพ และที่สำคัญนั้น การนิเทศที่ดี ควรเป็นการนิเทศ ที่สร้างสรรค์ และควรให้ ผู้ที่ได้รับการนิเทศ ได้รับความรู้ให้มากที่สุด

นางสาวภัทราพร จริงแล้ว 52121532 กป52.ค5.3 การศึกษานิเทศ Sec01

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้นนี้ ทำให้ดิฉันได้รู้ความหมายที่ถูกต้องของคำว่านิเทศ และทำให้ได้รู้ความสำคัญของการนิเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้มากมาย ไม่ว่าเราจะเป็นผู้รับนิเทศหรือการเป็นผู้นิเทศเองก็ตาม เพราะปัจจุบันนี้บนโลกของเรามีคนเก่งมากมายแต่ก็คงไม่มีใครเก่งไปซะทุกเรื่อง ถ้าเราลดทิฐิและเปิดใจรับฟังการนิเทศจากผู้นิเทศที่ดีก็จะทำให้เราได้รับความรู้ใหม่ๆ ได้มากขึ้น และเราก็จะเป็นผู้ที่เก่งมากขึ้นแน่นอน

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่อาจารย์นำมาให้อ่าน ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย

นางสาวพรรณพฤษา สุเตนัน

สวัสดีค่ะคุณครู

คือว่าหนูลงทะเบียนเรียนรายวิชินี้ไม่ได้ และถ้าจะไปลงเซคอื่นก็จะทำให้ชนกับรายวิชาอื่นด้วย อาจารย์ช่วยรับเพิ่มหนูได้มั้ยคะ เทอมนี้เหลือแค่วิชาการนิเทศการศึกษาตัวเดียว หนูก็จะลงครบแล้วน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นางสาวจุฬารัตน์ ธรรมลังกา รหัสนักศึกษา 52121317 หมู่เรียน กป 52.ค5.1 sec.01

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ แม้เป็นเพียงบทความสั้นๆ แต่ดิฉันก็ได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับการนิเทศ รู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นต้องทำอย่างไร ดิฉันประทับใจในบทความตอนที่ว่า การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่ง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย เพราะทำให้เห็นว่า การที่ผู้นิเทศ ทำเป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว ผู้ที่ได้รับการนิเทศนั้น ก็สามารถปฏิบัติตามได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดที่มากมาย ดิฉันคิดว่า บทความนี้เป็นบทความที่ดีมากค่ะ เพราะ อ่านแล้วเราสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิต

ขอบคุณสำหรับ บทความดีๆที่อาจารย์นำมาให้อ่านนะคะ

นางสางววรรณลิสา แซ่จ๋าว กป.52.ค5.1 52121337 sec.01

สวัสดีค่ะอาจารย์

จากบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงนะคะที่ได้มอบความรู้เกี่ยวกับการนิเทศลงในบทความนี้ ทำให้หนูได้เรียนรู้ความหมายของการนิเทศมากขึ้น ว่าการนิเทศนั้นไม่ใช่แค่การเรียนรู้จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่การนิเทศเป็นการเรียนรู้จากทุกสิ่ง แล้วการเรียนรู้นั้นก็จะสร้างมิตรภาพ ความรู้ จากผู้นิเทศไปสู่ผู้รับการนิเทศค่ะ

นางสางวิไล ลามู กป.52.ค5.1 52121339 sec.01

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากบทความข้างต้นที่ดิฉันได้อ่านดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับคำว่า นิเทศ มากขึ้นกว่าเดิมและทำให้ดิฉันได้ความรู้ในหลายๆเรื่องที่ควรรู้และได้รู้ในหลายๆเรื่องที่ยังไม่รู้

เมื่อดิฉันได้อ่านในบทความที่อาจารย์ให้มาดิฉันคิฉันคิดว่าดิฉันสามารถนำความรู้ที่ได้นี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของดิฉันได้

ดิฉันก็ของอภัยอาจารย์ด้วยที่ดิฉันมาอ่านบทความของอาจารย์ช้าเพราะว่าเมื่อวานดิฉันไม่ได้เข้าเน็ตค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

นายเดชาวัฒน์ วงษ์ภูธร กป.52.ค5.1 52121303 sec.01

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้นนี้ ทำให้กระผมได้รู้ความหมายที่ถูกต้องของคำว่านิเทศ และทำให้ได้รู้ความสำคัญของการนิเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในประสบการณ์การทำงานเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าเราจะเป็นผู้รับนิเทศหรือการเป็นผู้นิเทศ และจากบทความทำให้ได้ทราบว่าการทำให้เห็นดีกว่าจะมาบอกหรือสอนเพราะถ้าคนไม่พร้อมที่จะรับรู้รสอนก็ไร้ประโยชน์

นายรุ่งภพ ไพรขจรเกียรติ

เรียน ผศ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

ท่านอาจารย์ครับจากตามที่กระผมได้อ่านบทความนี้ กระผมได้เรียนรู้ คำว่าการนิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ คือ การให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่นยเรียนรู้ ทักษะ เจตคติ ประสบการณ์ จนเกิดกระบวนการแล้วไม่ต้องมีการนิเทศอีกต่อไป ด้วยเหตุดังนี้ ก่อนที่กระบวนการต่างๆจะเกิดได้นั้น ต้องมีแบอย่างที่ดีและถูกต้องมีให้เห็นเสียก่อนที่จะมีการ ตำหนิ ลงโทษ ฯลฯ

ประการสำคัญทิ้งท้ายคือ การนิเทศที่ดี ไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ การเรียนรู้ที่ ย่อมต้องยึดนักเรียนเป็นสำคัญ

ฉะนั้น การนิเทศ ต้องเน้นผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญนั่นเอง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นาย รุ่งภพ ไพรขจรเกียรติ รหัส 51181283

สาขา วิชาภาษาอังกฤษ คณะ ครุศาสตร์

นางสาว ขวัญจิตร ไชยมงคล

จากที่ดิฉันได้อ่านได้รู้ว่าการนิเทศนั้นสามารถอธิบายได้หลายความหมายซึ่งจะสื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าการนิเทศนั้นไม่เพียงแต่สอนเพื่อนำไปปรับใช่ได้อย่างเดียวแต่ยังสามารถฝึกให้ผู้เรียนได้สอนอย่างมีคุณภาพและปลูกฝังให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือคนในสังคมได้เป็นอย่างดี

นางสาวระวีวรรณ เจริญลาภสกุล กป.52.ค5.1 52121334 sec.01 [IP: 110.164.72.3

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้นนี้ ทำให้ดิฉันได้รู้ความหมายที่ลึกซึ้งที่ถูกต้องของคำว่านิเทศ ได้รู้ ได้เข้าใจความสำคัญของการนิเทศเพิ่มมากขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลายๆด้าน ซึ้งเป็นประโยชน์ต่อทุกๆคน ที่สำคัญการนิเทศก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์ มิตรภาพระหว่างกันและกันค่ะ เมื่อดิฉันเรียนกับอาจารย์ ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในรายวิชานี้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่อาจารย์นำมาให้อ่าน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์..จากที่ได้อ่านบทความข้างต้นแล้วนั้น ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับคำว่า"นิเทศ"ว่ามีความหมายอย่างไรบ้างซึ่งแต่ก่อนที่จะได้มาอ่านบทความนี้ไม่รู้มาก่อนเลยว่าคำว่า นิเทศ ที่แท้จริงหมายถึงอะไร พอได้อ่านบทความนี้จบแล้วถึงได้เข้าใจว่าการนิเทศนั้น คือการให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือ นั่นเอง และเมื่อทำการนิเทศเราก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างไม่ใช่แต่ใช้ตัวเองเป็นคนตัดสินอะไรเพียงคนเดียว นึกถึงผู้รับนิเทศเป็นสำคัญและเป็นอันดับแรก จากข้อความที่ได้อ่านมาทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า ก่อนที่เราจะไปมองหรือตัดสินคนอื่นต้องมองที่ตัวเราเสียก่อนจะดีที่สุด

ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ให้บทความดีๆและมีความรู้แบบนี้มาอ่านนะค่ะ

นางสาว เบญจมาศ โมงยาม รหัส 51181215 การนิเทศการศึกษา sec 02

สวัสดีค่ะอาจารย์..จากที่ได้อ่านบทความข้างต้นแล้วนั้น ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับคำว่า"นิเทศ"ว่ามีความหมายอย่างไรบ้างซึ่งแต่ก่อนที่จะได้มาอ่านบทความนี้ไม่รู้มาก่อนเลยว่าคำว่า นิเทศ ที่แท้จริงหมายถึงอะไร พอได้อ่านบทความนี้จบแล้วถึงได้เข้าใจว่าการนิเทศนั้น คือการให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือ นั่นเอง และเมื่อทำการนิเทศเราก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างไม่ใช่แต่ใช้ตัวเองเป็นคนตัดสินอะไรเพียงคนเดียว นึกถึงผู้รับนิเทศเป็นสำคัญและเป็นอันดับแรก จากข้อความที่ได้อ่านมาทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า ก่อนที่เราจะไปมองหรือตัดสินคนอื่นต้องมองที่ตัวเราเสียก่อนจะดีที่สุด

ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ให้บทความดีๆและมีความรู้แบบนี้มาอ่านนะค่ะ

ตอบ ทุกๆท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยม ดีใจมากที่ Gotoknow เป็นที่รู้จักของผู้สนใจใฝ่เรียนเพิ่มขึ้น ลองแวะเข้าไปอ่านบทความ ข้อเขียนอื่นๆ ของผู้รู้แต่ละท่าน จะพบความหลากหลายและโลกแห่งการเรียนรู้มิรู้จบ นะคะ

สวัสดีคับอาจารย์ อนงค์ศิริ

ผม นายโอฬาร รินทกร 52121508 กป.52.ค5.3 เรียน วิชาการนิเทศการศึกษา Sec 02 เวลา 14.00-16.00น.

จากบทความที่อาจารย์ได้บรรยายถึง "การนิเทศ" ทำให้ได้รู้ถึงความหมายสำคัญ หรือ ใจความสำคัญของการนิเทศ

ทำให้ดิผมได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการนิเทศ รู้ว่าการนิเทศนั้นมีความสำคัญมาก ถ้าหากจะทำการนิเทศให้สมบูรณ์ได้นั้นจะต้องไม่ทำการนิเทศโดยตรงและที่สำคัญ ก็คือการนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ การนิเทศ ควรจะเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

และผู้นิเทศ ต้องมีความรู้ความสามารถพอสมควรและความเข้ามากพอสมควร เพราะผู้นิเทศจะต้องสามารถสร้างเเรงศรัทธาและความน่าเชื่อถือ การทำงานกับผู้ที่มีความรู้ และการที่จะเปลี่ยนเเปลงผู้ที่มีประสบการณ์นั้นยากมากเเค่ไหน ดังนั้นผู้นิเทศจึงถือว่าเป็นผู้ที่เก่งและมีความสามารถ และเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วเพื่อรับสิ่งใหม่ๆได้เสมอ เเละนำมาปรับใช้ในการสอนในอนาคต ::)) ^_^

นายสงกรานต์ เกตุยอย

สวัสดีค่ะอาจารย์

จากที่ได้อ่านบทความแล้วคำว่า"นิเทศ" นั้นมีความสำคัญกับการที่จะนำพาวิชาชีพครูนั้นไปสู่การพัฒนาเป็นอย่างมาก อีกการ"นิเทศ" นั้นยังเป็นแนวทางในการจะพัฒนาองค์กร แต่ที่สำคัญในการที่จะนิเทศนั้น ต้องเริ่มจากตนเอง เพราะว่าตนเองเป็นจุดเริ่มต้น ถ้าตนเองไม่เกิดการพัฒนาตนเอง การนิเทศก้คงจะไม่มีผล เสมือนกับ กับบทความตอนหนึ่งที่กล่าวว่า การปฏิรูปการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอนการนิเทศ ก็ต้องเน้นผู้รับการนิเทศมีความสำคัญ เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการนิเทศต้องเริ่มจากตนเองค่ะและต้องใส่ใจกับการกระทำทุกอย่างที่เป็นประโยช์ต่อผู้อื่นและไม่เดือดร้อนผู้อื่นเป็นสำคัญ

ขอขอบพระคุณสำหรับ บทความดีๆและมีความรู้และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษานะค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ

นางสาวเจนจิรา รากะรินทร์

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

นางสาวเจนจิรา รากะรินทร์ 52121318 กป.52.ค5.1 เรียนวิชาการนิเทศการศึกษา sec01

จากที่ได้อ่านบทความทำให้รู้ว่าถึงความหมายของการนิเทศ ซึ่งทำให้รู้ว่าการนิเทศเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือ แนะนำประสบการณ์ การนิเทศที่ดีจำเป็นต้องเน้นผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญ ซึ่งจะทำให้การนิเทศเกิดประโยชน์ต่อผู้รับการนิเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการนิเทศที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นอกจากนี้การทำให้ดูยังเป็นการนิเทศที่ดี เพราะการกระทำย่อมดีกว่าการอธิบาย จากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ทำให้ได้รับความรู้เรื่องอการนิเทศที่เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ และยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่ได้เขียนบทความดีๆให้ได้อ่านค่ะ

นางสาวเจนจิรา รากะรินทร์

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ

นางสาวเจนจิรา รากะรินทร์ 52121318 กป.52.ค5.1 เรียนวิชาการนิเทศการศึกษา sec01

จากที่ได้อ่านบทความทำให้รู้ว่าถึงความหมายของการนิเทศ ซึ่งทำให้รู้ว่าการนิเทศเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือ แนะนำประสบการณ์ การนิเทศที่ดีจำเป็นต้องเน้นผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญ ซึ่งจะทำให้การนิเทศเกิดประโยชน์ต่อผู้รับการนิเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการนิเทศที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นอกจากนี้การทำให้ดูยังเป็นการนิเทศที่ดี เพราะการกระทำย่อมดีกว่าการอธิบาย จากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ทำให้ได้รับความรู้เรื่องอการนิเทศที่เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ และยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่ได้เขียนบทความดีๆให้ได้อ่านค่ะ

นาย วิฑูรย์ เต่อคีซะ รหัส 51181238 วิชาการนิเทศการศึกษาSec 02

สวัสดีครับอาจารย์ที่เคารพ

ในเรื่องนิเทศอย่างไรจึงจะได้เพื่อนร่วมวิชาชีพ ผมก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมากมาย อย่างแรกคือ ได้เรียนรูคำศัพท์ที่หลักหลายเพราะคำศัพท์พวกนี้หลายครั้งเราอาจจะเขียนผิดและใช้ผิดโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อได้อ่านแล้วผมคิดว่า คงจะไม่ผิดในครั้งต่อไป สำหรับส่วนตัวผมเองแล้วการนิเทศเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะผมมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกไม่ดีประเสริฐเลิศ ทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อดี แต่ทั้งนี้ต้องดูว่า มีข้อดีมากแค่ไหน และข้อเสียมากแค่ไหน ผมคิดว่าคนเราทุกคนสามารถที่จะเสริมสร้างกันได้ ถ้าเรายอมรับการเสริมสร้างเพราะแต่ละมีทักษะความสามารถที่แตกต่างกันอยู้แล้ว แต่คนที่คิดว่าฉันดีแล้ว เก่งแล้วไม่ยอมรับการนิเทศพวกนี้แหละอันตราย เหมือกับว่าเขาฆ่าตัวเองโดยไม่รู้ตัว

ขอบคุณอาจารย์มากนะครับสำหรับบทความดีๆ

ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงในการสอนตลอดไปครับ

นางสาวรัตนา โยธา รหัสนักศึกษา52121534 รายวิชาการนิเทศการศึกษา Sec.02

จากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ ทำให้ได้รู้จักว่าการนิเทศนั้นมีประโยชน์อย่างไร และการนิเทศนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการที่เราจะนำไปใช้เพื่อที่จะให้เข้าถึงเพื่อนที่ได้ทำงานรวมกัน และนอกจากนี้ยังได้รู้การจักการเขียนคำศัพท์ที่ถูกต้องอีกหลายๆตัวเลยทีเดียว และยังได้รู้ความหมายของคำว่านิเทศ ว่ามีความหมายเป็นอย่างไร เพราะว่าคนเราบนโลกนี้ทุกคนไม่ได้เก่งมาจากท้อง แต่จะเก่งได้ต้องมีความพยายามในการศึกษาค้นหาความรู้ด้วยตนเอง และจากอาจารย์ผู้ที่ให้ความรู้ และบุคลากรที่มานิเทศ เพื่อให้ความรู้แก่เรา

ดังนั้นเราจึงจะเก่งและมีความรู้ใหม่เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับกับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยค่ะ

สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวอลิษา ลือชัย ระหัส52121550 วิชาการนิเทศการศึกษา Sec02 เอกการประถมศึกษา

จากข้อความที่ได้อ่าน คำว่านิเทศอย่างไรถึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นการช่วยเหลือ แนะนำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของซึ่งกันและกันทำให้มีเจตคติที่ดีต่อกัน เกิดความเข้าใจกันยอมรับในตัวของเขา คอยดูแล เอื้อเฟื้อกันเป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆได้ไม่ควรยึดความคิดตัวเองเป็นหลักควรเปิดใจให้กว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย การที่นิเทศจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับตัวนิเทศและเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วย

นางสาวนิภาภรณ์ ชาวน่าน รหัส 52121553 วิชาการนิเทศการศึกษา Sec02

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันนางสาวนิภาภรณ์ ชาวน่าน รหัส 52121553

จากบทความที่ได้อ่านนี้ ในความคิดของดิฉัน คำว่านิเทศอย่างไร...จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ การที่จะรักในอาชีพครูนั้นจะสำเร็จก็จะต้องมีการเจตคติที่ดี มีทักษะ มีความรู้ เข้ากับเพื่่อนในกลุ่มและเพื่อนร่วมงานของเราได้ การนิเทศจะช่วยให้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ทำให้เกิดความรู้อย่างไม่สิ้นสุด และสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคมได้ค่ะ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ และจะนำมาปรับใช้ในวิชาชีพครูในอนาคตค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

นางสาวจุฬารัตน์ ลิงการ์

สวัสดีค่ะดิฉันชื่อ นางสาวจุฬารัตน์ ลิงการ์ รหัส 51181254 sec.02 เอกวิชาภาษาอังกฤษ

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่า นิเทศ นิเทศน์ และนิเทศก์ ซึ่งทั้ง 3คำนี้ได้อ่านออกเสียงเหมือนกันแต่ทั้งสามคำนี้ก็ให้ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง เราควรที่จะใช้คำแต่ละคำให้ถูกต้องกับสถานการณ์ต่างๆให้ถูกต้องด้วยเช่นกัน ส่วนนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ การที่เราจะไปนิเทศใครเราควรให้เกียรติผู้ที่ถูกนิเทศ ไม่ควรที่จะดูถูกความสามารถของเขา ไม่จับผิดการดำเนินงานของเขา ถ้าเวลาเขาทำผิดเราควรอธิบายให้เขาเข้าใจและใช้น้ำเสียงที่สุภาพ ไม่ประจารผู้ที่ถูกนิเทศตรงๆจะทำให้เขาอายและเกียจเราอีกด้วย เราควรยึดตัวผู้ถูกนิเทศเป็นสำคัญจะดีที่สุด

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะที่ให้ความรู้แบบใหม่ๆที่ไม่เคยรู้มาก่อน ความรู้นี้จะช่วยให้ดิฉันสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีมากค่ะ

ฐิติรัตน์ บุญสูนย์

สวัสดีอาจารย์ อนงค์สิริ ดิฉัน นางสาว ฐิติรัตน์ บุญสูนย์ รหัส 51181257 Sec.02

จากบทความที่ได้อ่าน ทำให้ดิฉันเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศมากขึ้น การนิเทศ คือการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ การนิเทศที่ดีนั้น ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และการนิเทศที่ดีนั้น ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญการปฏิรูปการเรียนรู้ ต้องเน้นผู้เรียนมีความสำคัญกว่าผู้สอน

สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบพระคุณ อาจารย์ ที่แนะนำให้ดิฉันเข้ามาอ่านบทความนี้ ซึ่งดิฉันก็ได้รับความรู้จากการอ่านบทความนี้มาก ดิฉันหวังว่า ดิฉันจะได้รับความรู้และประสบการณ์ ในการเรียนวิชานี้ ซึ่งจะได้นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูในอนาคตได้

ศุภสรา ทวีนิธินันท์

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์สิริ วิชาลัย

ดิฉัน นางสาว ศุภสรา ทวีนิธินันท์ รหัส 52121538

Sec.02 สาขาการประถมศึกษาค่ะ

จากบทความที่ดิฉันได้อ่าน ทำให้ดิฉันเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศที่กว้างจากเดิมเยอะเลยค่ะ

การนิเทศ คือ เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ความคิดของผู้คนจากหลายๆมุมมองเข้าด้วยกันค่ะ

แล้วก็จะทำให้เกิดความรู้ ประสบการณ์และอีกหลายๆอย่างเข้ามาในชีวีต

ดิฉันคิดนะค่ะว่าการนิเทศที่ดีนั้น ผู้นิเทศต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน

เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบายเสมอส่วนมาก

ดิฉันก็เห็นด้วยและการนิเทศที่ดีนั้นคื่อ

** ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้นิเทศต้องเน้นผู้เรียนสำคัญกว่าผู้สอน**

ประโยคนี้เมื่อดิฉันอ่านแล้วรู้ว่าโดนใจมากค่ะ

สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณ อาจารย์มาก ที่ได้ให้ดิฉันเข้ามาอ่านบทความนี้ ซึ่งดิฉันก็ได้รับความรู้จากการอ่านบทความนี้มาก

ดิฉันหวังว่า ดิฉันจะได้รับความรู้และจะได้นำไปใช้ในชีวิประจำวันและนำไปประกอบวิชาชีพครูในอนาคตข้างหน้าได้ค่ะ

นางสาวศิริกานต์ ฟองน้อย รหัส 52121341 การนิเทศการศึกษา sec 01

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์สิริ วิชาลัย

จากบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ นั้นอ่านครั้งแรกรู้สึกงงกับบทความค่ะ แต่พออ่านครั้งที่สองก็เริ่มเข้าใจว่าการนิเทศ คือ การนำความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ได้สั่งสมมา มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อ ใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันยุคสมัยอยู่เสมอ

ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นผู้นิเทศและผู้ถูกนิเทศจะต้องมีความรู้และให้ความร่วมมือกัน การนิเทศจึงจะประสบผลสำเร็จ ไม่ควรมั่นใจกับความคิดของตนเองจนลืมเปิดรับความคิดเห็นของคนอื่นค่ะ

ขอขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆอย่างนี้นะค่ะ ที่ทำให้อ่านแล้วได้รับความรู่เพิ่มมาากขึ้นค่ะ

นางสาว กรรณิการ์ จันทร์ทิวงค์ 52121310 Sec.01

สวัสดีค่ะอาจารย์

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่อาจารย์แนะนำให้อ่านนั้น เป็นบทความที่ชวนให้เราได้คิด การนิเทศนั้น ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ ควรจะยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น การเรียนการสอนในปัจจุบันที่ยังเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนนั้นได้ปฏิบัติ ได้ลงมือทำ ได้รับความรู้ด้วยตัวเอง บทความนี้ทำให้ดิฉันเข้าใจ คำว่า "นิเทศ" มากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคตข้างหน้าได้อย่างดี

นางสาว จุฑามาศ สร้อยงามรหัสนักศึกษา 52121516 รายวิชาการนิเทศการศึกษา Sec.02

น.ส .จุฑามาศ สร้อยงาม รหัสนักศึกษา 52121516 รายวิชาการนิเทศการศึกษา Sec.02

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ

จากบทความที่ ดิฉัน ได้อ่านบทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ มีความคิดเห็นว่า ผู้ที่จะทำหน้าที่ ของการนิเทศ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ให้คำแนะนำ ชี้แจงในจุดที่ควรปรับปรุงเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและที่สำคัญต้องมีกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับและควบคุมผู้อื่น หนูคิดว่าผู้ที่ มานิเทศต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับ สิ่งใหม่ๆเข้ามาและไม่มองกระจก ด้าน เดียว แต่ต้องมองกระจกในหลายมิติ เพื่อเข้าใจถึงปัญหา ที่เกิดขึ้นมาพร้อมชี้แนะ ผู้ถูกนิเทศโดยไม่หวงความรู้ และไม่แสดงพฤติกรรมกริยาที่ไม่เหมาะสมถ้าไม่พอใจผู้ถูกนิเทศ และผู้ถูกนิเทศต้องเปิดใจยอมรับในสิ่งที่ผู้นิเทศได้ชี้แนะแนวทาง เพื่อไปนำปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น หนูเห็นด้วยนะค่ะคำที่ว่า การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี ประการหนึ่งก็ เท่ากับว่าเมื่อเราเป็นครู ใช้ ไม้เรียวตีนักเรียน หรือ ว่ากล่าวตักเตือน ไป นักเรียนก็จะจดจำและกลัวหรือเกียจเราไปในที่สุด แต่ก็มีหลายวิธีที่ไม่ใช้วิธีนี้ เช่น การทำข้อตกลงระหว่างครูกับนักเรียน เมื่อ นักเรียนฝ่าฝืนจะต้องได้รับการลงโทษที่เหมาะสมตามสมควรและนักเรียนจะเข้าใจยอมรับการลงโทษ และจะไม่ทำซ้ำพร้อมทั้งครูต้องสร้างแรงจูงใจ ให้นักเรียน โดย ใครประพฤติตัวดี ก็จะได้รางวัลหรือคำชมเชย ก็เหมือนกับผู้มานิเทศและผู้ถูกนิเทศ

สุดท้ายนี้ผู้ที่จะมานิเทศ และ ตัวผู้ถูกนิเทศ จะต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่ใช้อารมณ์ในการแสดงความคิดเห็น พูดจารักษาน้ำใจ ซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งเดินทางสายกลางและมี กัลยาณมิตร

*หนูขอขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้หนูได้อ่านบทความดีๆ เปิดโลกทัศน์ มากขึ้นในเรื่องการนิเทศว่าต้องวางตัวอย่างไร และนำไปประยุกต์ใช้ ในอนาคตที่จะถึงของการเป็น(ว่าที่)ครู ค่ะ

นางสาว ฐิติรัตน์ ใจดี

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาว ฐิติรัตน์ ใจดี รหัส 51181209 วิชา การนิเทศการศึกษา Sec. 02

จากบทความข้างต้นนี้ ทำให้ดิฉันได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของการนิเทศมากยิ่งขึ้น และยังได้รู้ถึงหลักการเขียน การจำ ทำให้การนำไปใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งการนิเทศ จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน การนิเทศจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ถูกนิเทศ เพราะการนิเทศ เป็นการแนะนำ ช่วยเหลือ ให้ความคิดเห็นที่ดี ช่วยให้ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง ทำให้เกิดทักษะและเจตคติที่ดีขึ้น และยังทำให้ดิฉันได้รู้ว่า การนิเทศที่ดีนั้น จะต้องเริ่มจากผู้นิเทศก่อน โดยการทำเป็นแบบอย่างให้ศิษย์ได้เห็น และศิษย์จะทำตาม เห็นถึงความสามารถของผู้อื่น และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น บทความนี้ได้สอนให้เราหันมามองตัวเองมากขึ้น ก่อนที่จะติเตือน หรือจะเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่น

สุดท้ายนี้ ดิฉัน ขอพระขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ที่ได้ให้แง่คิดดีๆ แก่ดิฉันและเพื่อนๆๆค่ะ

นางสาวฐิศิรักน์ สายหลาน รหัสนักศึกษา52121319 Sce.01

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์สิริ วิชาลัย

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความข้างต้นทำให้ได้รู้ถึงคาวมหมายของคำว่านิเทศที่แท้จริงว่า"การนิเทศ"คือการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเป็นความพยายามที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือ เกี่ยวกับการปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนของครูให้ดีขึ้น จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติที่ดี เพื่อที่จะเอาความสามารถของครูออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอน ความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนและโรงเรียนในที่สุด

สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ อนงค์สิริ วิชาลัย ที่ได้ให้แง่คิดและเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลให้กับนักศึกษาทุกๆคน ทำให้พวกเราได้รู้อะไรที่กว้างไกลขึ้น ไม่ได้รู้แค่ในหนังสือหรือในห้องเรียนเท่านั้น ดิฉันขอขอบพระคุณคะ

นางสาว กฤษดา วอพะพอ รหัส 52121510

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนู น.ส.กฤษดา วอพะพอ 52121510 วิชาการนิเทศการศึกษา Sec.02 สาขาการประถมศึกษาค่ะ

จากการที่หนูได้อ่านบทความสิ่งที่หนูได้รับมีดังนี้ค่ะ

การนิเทศที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ใช้ได้ผล คือการไม่นิเทศ

1.การทำให้ดู เป็นการนิเทศที่ดี เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย

2.การนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัดยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ

3.การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญการนิเทศ ก็ต้องเน้นผู้รับการนิเทศมีความสำคัญ

จากบทความนี้ทำให้หนูได้เข้าใจถึงวิธีการนิเทศที่ได้ใจเพื่อนร่วมงาน ทำให้หนูได้มองย้อนกลับมาที่ชีวิตของหนูที่เป็นนักศึกษาในเวลานี้วิธีการที่อาจารย์ได้นำเสนอนั้นสามารถมาปรับใช้ในชีวิตของการเป็นนักศึกษาที่จะต้องทำรายงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น ซึ่งการให้เกียรติ การเป็นอย่างนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องนำมาปฎิบัติในขณะที่เป็นนักศึกษาและสามารถนำไปใช้จริงได้ในอนาคตค่ะ

นางสาวขวัญดาว แก้วลา รหัส 52121511

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ ดิฉันน.ส.ขวัญดาว แก้วลา รหัส 52121511 วิชาการนิเทศการศึกษา Sec.02 สาขาการประถมศึกษาค่ะ

จากบทความข้างต้นที่ได้อ่านมานั้น ดิฉันได้รู้และเข้าใจในความหมายของกานนิเทศมากขึ้น และรู้ว่าที่จริงแล้วการนิเทศมีหลากหลายความหมายและสามารถแปลออกมาได้ในหลายแง่มุม การนิเทศนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการที่เราจะนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าเพื่อที่จะให้เข้าถึงเพื่อนร่วมงานและเข้าใจกันและกันมากขึ้น ซึ่งการที่เราเข้าใจกันในทีมเดียวกันนั้นก็จะทำให้งานที่เราช่วยกันทำออกมานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนิเทศจะช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ ภายในทีมเดียวกัน และยังช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ

การนิเทศนั้นจะช่วยสอนให้เรายอมรับความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน ช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันจนทำให้เกิดทัศนะคติที่ดีต่อกัน และเราทุกคนก็ควรที่จะรับฟังความคืดเห็นของคนอื่นด้วย ไม่ใช่ยึดความคิดของตนเป็นหลักเพียงผู้เดียว

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอาจารย์ที่นำบทความที่มีสาระมาให้นักศึกษาได้อ่านและแสดงความคิดเห็นกันซึ่งดิฉันเองก็เชื่อว่ามีนักศึกษาหลายคนรวมถึงตัวดิฉันที่ยังไม่เข้าใจในความหมายของการนิเทศและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ก็ได้รับความรู้ใหม่จากอาจารย์และสามารถนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันและอนาคตได้

ขอบคุณค่ะ

น.ส.ธิดาพร ปราณี 52121323 กป.52.ค5.1

สวัดดีค่ะอาจารย์

จากบทความที่ได้อ่านทำให้ดิฉันคิดว่าการนิเทศนั้นเกิดประโยชน์อย่างมากต่อการประกอบอาชีพและทำให้และทำให้แต่ละอาชีพสามารถแนะนำและช่วยเหลือกันในการทำงานได้ เพราะการนิเทศคือการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ เกิดกระบวนการ ผู้นิเทศจะต้องสามารถสร้างเเรงศรัทธาและความน่าเชื่อถือ

นางสาวพัชรีภรณ์ อาชาบุญญาวิศิษฏ์

สวัสดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย หนู นางสาวพัชรีภรณ์ อาชาบุญญาวิศิษฏ์ รหัส 52121530 sec 02

จากบทความที่ข้างต้น การนิเทศอย่างไร ถึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ การนิเทศนั้นถ้าจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราต้องการ รู้อยู่ว่าการเรียนรู้ที่ใช้แต่คำอธิบายล้วนๆนั้นมันน่าเบื่อ และผลที่ออกมาอาจจะไม่ได้เต็ม 100 % ซึ่งหนูคิดว่าการนิเทศที่ดีนั้นต้องให้ผู้ที่ได้รับการนิเทศได้ลงมือปฏิบัติจริงแสดงความคิดเห็นร่ามกัน เพราะว่าคนเรามีความคิดทัศนติที่ไม่เหมือน ยอมรับฟังความคิดของคนอื่น ไม่ใช่ว่าเราจะถูกเสมอไป คนเรามีประสบการณืชีวิตที่ไม่เหมือน การที่เรายอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นและเป็นคนง่ายๆกับผู้ที่รับการนิเทศ อาจได้ใจผู้ที่มารับการนิเทศ สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีความสุขนะคะ

นางสาว อัมพิกาเรือนสอน รหัส 52121551 sce 01

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่อ่านข้อความนี้แล้ว ดิฉันได้เข้าใจใน คำว่านิทศมากขึ้น เข้าใจในความหมาย คำศัพท์ของนิเทศ การนิเทศ คือ การให้แนะนำ ผู้ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนรู้ความรู้ประสบการณ์ จะช่วยให้เราเกิดเครือข่ายความรู้อย่างกว้างขวาง

คำว่านิเทศอย่างไรจึงจะได้เพื่อนร่วมอาชีพ เป็นการช่วยเหลือกันและกันกับเพื่อนร่วมอาชีพ รู้จักการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รู้จักการให้คำแนะนำที่ดี มีเจตคติที่ดี การนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ ดิฉันอ่านข้อความนี้แล้วให้ความรู้มาก

อ่านแล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้

นาย พงศ์ศักดิ์ ถาหล้า รหัสฯ 52171524 sec 02 ดน.52.ค5.1

สวัสดีครับ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

           ผมคิดว่า ประสบการณ์ที่ตัวผมเคยเป็นทั้ง  ผู้เทศก์ และผู้รับการนิเทศ ทำให้ผมรู้ว่า (รักแท้มีอยู่จริง) การนิเทศ นั้น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญนั้น คือตัวผู้รับ  และกลวิธีในการนิเทศ 

           ผมคิดว่า การนิเทศอย่างไรจึงจะได้เพื่อนร่วมอาชีพ (คล้ายกับการจีบหญิง) คือการช่วยเหลือกันและกันกับเพื่อนร่วมอาชีพ รู้จักการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รู้จักการให้คำแนะนำที่ดี มีทัศนคติที่ดี รับฟังความคิดของผู้อื่น และจดจำแต่สิ่งที่ดี แม้จะไม่รู้ถึงผลที่ออกมา

ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆของอาจารย์ ซึ่งได้ให้ความรู้ใหม่ๆ และ ผมจะนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปปรับใช้กับสาขาวิชาชีพต่อไปได้ในอนาคต

ผมชอบประโยคนี้มาก      นอกจาก  ผู้นิเทศจะไม่ได้ใจผู้รับนิเทศแล้ว อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชัง ก็ถูกสร้างทั่วไป 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

        (รักบัวแก้ว)

นางสาว นงนุช คำแปง รหัสนักศึกษา 51181213sec :02 สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ

สวัสดีค่ะอนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ สามารถทำให้เราเข้าใจถึงความหมายของคำว่านิเทศที่แท้จริง จะได้นำไปอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง ทำให้เราเข้าใจถึงการเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน การยกย่องให้เกียรติเขาเป็นตัวแบบ ช่วยเหลือเขา การนิเทศนั้นคู่กับการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในส่วนของคำพูดที่ว่า"ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน" ซึ่งหมายถึง เราพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่กำลังประสบอยู่ แต่ยังไม่พร้อมกับการอธิบาย ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วย การนิเทศคือการทำงานร่วมกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง เราควรต้องยอมรับในจุดนี้เพราะท่านเหล่านั้นจะยึดทัศนคติของตนเอง ได้ทราบว่าผู้นิเทศที่ดีนั้น ไม่ควรจ้องจับผิดผู้อื่นด้วยการใช้อำนาจที่มีมากกว่าของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดเพราะท่านจะไม่ได้ใจของผู้รับนิเทศเลย และข้าพเจ้าหวังว่าคงไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ในยุคปัจจุบัน

นางสาวเครือมาศ ขาวอ่อน 51181204 sec:02 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สวัสดีค่ะ อาจายร์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านมานี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจความหมายของคำว่า นิเทศ นิเทศน์ และนิเทศก์ ได้อย่างกระจ่างขึ้น

"การนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัด

ยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ" ในประโยคนี้ดิฉันชอบเป็นพิเศษเพราะการทำงานในสิ่งที่ตนเองถนัด จะทำให้

งานในนั้นออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งได้รับการยกย่องแล้ว จะทำให้ผู้ทำงานนั้นมีกำลังใจ่ในการทำงานและทำอย่างเต็มความ

สามรถและทำด้วยความภาคภูมิใจอีกด้วยค่ะ

ด้วยความเคารพ

เครือมาศ ขาวอ่อน

น.ส สุกาญจนา อิวาง รหัส 52121542 sec.02 กป52.ค5.3

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

ทำให้ดิฉันได้รู้จักคำว่านิเทศมากขึ้นจากเดิมดิฉันเข้าใจแค่ว่าคือการพูดให้ฟังแต่พอได้อ่านบทความนี้แล้วทำให้ได้รู้ว่านิเทศมีความหมายที่กว้างและลึกลงไปกว่านั้น เป็นการเปิดใจเข้าหากันและยอมรับ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นอกจากนี้แล้วผู้ที่นิเทศก่อนที่จะนิเทศให้คนอื่นฟังควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ฟังก่อนเพื่อที่จะได้เป็นตัวอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากถ้าเราทำตัวไม่ดีไม่น่าเชื่อถือการนิเทศก็คงไม่เกิดประโยชน์เพราะการกระทำมักดีการคำพูดเสมอ

นางสาวศิริพร บุญธรรม รหัสนักศึกษา 52121541 Sec.02 หมู่เรียนกป.52.ค5.3

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ ที่เคารพ

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ก็ทำให้รู้ถึงความหมายของการนิเทศลึกซึ้งมากขึ้น รวมถึงการปฏิบัติตัวของผู้นิเทศเอง การที่จะได้ใจผู้ที่ได้รับการนิเทศนั้น จะต้องเป็นคนที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เอาความคิดเห็นของตนเองเป็นหลัก และไม่เอาแต่ใจตัวเอง ไม่เห็นแก่ตัว ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความคิดที่แปลกใหม่และทันสมัยอยู่เสมอ ไม่จมกับความคิดเดิมๆที่มีอยู่จนไม่สามารถที่จะรับสิ่งใหม่ๆได้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ที่ได้รับการนิเทศ ต้องยึดหลักความเป็นจริงที่มีอยู่ มีจรรยาบรรณของความเป็นผู้นิเทศที่ดี ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีต่อผู้นิเทศและผู้ที่ได้รับการนิเทศเอง จะได้ไม่มีความเกลียดชังเกิดขึ้น อีกทั้งในทางตรงข้าม อาจจะมีความเท่าเทียมกับทั้งสองฝ่ายด้วยซ้ำไป

ทั้งนี้ก็ขอขอบคุณอาจารย์อย่างยิ่งที่ทำบทความดีๆแบบนี้มาให้ศึกษา ทำให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันและในอนาคต

** .ในโลกใบนี้ ไม่มีใครที่จะรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นจงรับฟังผู้อื่น เพื่อจะได้เสริมความรู้ใหม่ให้กับตนเอง **

นาย ปรมัตถ์ ใจจิตต์ รหัสนักศึกษา 52171518 Sec 02 หมู่เรียน ดน.52.ค5.1

สวัสดีครับ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่ผมได้อ่านบทความแล้ว ทำให้ผมได้เข้าใจถึงความหมายของการนิเทศมากขึ้น และได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของการนิเทศและสามารถนำไปปฏิบัติตนในการเป็นผู้นิเทศหรือผู้รับนิเทศในอนาคต ในการเป็นผู้นิเทศหรือผู้รับนิเทศเองเราควรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตนไปข้างหน้าและยอมเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ที่เข้ามาในชีวิตแล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปปรับใช้ในการนิเทศของตนเองได้ ซึ่งการรับฟังคามคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายนั้นช่วยให้การนิเทศและรับนิเทศเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน

ผมขอให้อาจารย์มีความสุขและขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้แก่ผมซึ่งผมจะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงานในอนาคตต่อไป

สวัสดีครับ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย ผมนาย สัมพันธ์ คำฟู รหัส 52171541 เอกดนตรี

หลังจากที่ผมได้อ่านบทความนี้ทำให้ผมได้ทราบว่า คำที่เขียนว่า นิเทศนั้นมีหลายคำมากเขียนแตกต่างกัน และนำเอาคำไปใช้เขียนในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ส่วนการนิเทศอย่างไรจึงจะได้ใจเพื่อร่วมงานนั้นจากที่ผมได้อ่านบทความ ทำให้ผมได้ทราบถึงการนิเทศการนิเทศนั้นเป็นการที่เรานิเทศเพื่อช่วยเหลือและแนะนำและแลกเปลี่ยนประสบการกับผู้ที่เรานิเทศด้วย เราไม่ควรเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางและคิดว่าความคิดของตัวเองถูกเสมอเราควรจะรับฟังความคิดหรือความต้องการของผู้อื่นด้วย และการนิเทศนั้นเราต้องไม่จมอยู่กับความคิดเดิมๆของเราแต่เราควรจะเปิดรับสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอและควรจะมีทัศนคติที่ดี ส่วนการนำไปใช้กับการนิเทศนักเรียนนั้นเราควรยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและควรจะให้คำแนะนำที่ดีกับผู้ที่เรานิเทศโดยไม่มีอคติใดๆ

"สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณอาจารย์มากที่มีบทความดีๆที่ให้ทำนักศึกษาได้อ่านและสามารถนำเอาไปใช้ได้ในอนาคตในการที่จะนำเอาไปใช้กับการทำงาน"

นางสาว กุลธิดา จันมะโน 52121411 กป.52ค5.2

จากที่ได้อ่านบทความ ทำให้ฉันได้เรียนคำว่านิเทศ และได้เรียนรุู้สำนวนมากขึ้น การนิเทศคือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น การให้คำแนะนำ รับฟังความคิดของกันและกัน หรือแปลอีกอย่างว่า การได้รับคำแนะนำจากผู้ที่เก่งและผ่านประสบการณ์มาก่อนเรา ส่วนคำว่านิเทศ ที่ได้ใจเพื่อนร่วมงานคือคือ ทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย และการไม่ดูหมิ่นเขา ที่สำคัญอย่าคิดว่าเราเก่งกว่าเขา เพราะการทำงานร่วมกันเราต้องมีน้ำใจ ไช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สุดท้ายดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่นำบทความมาให้ได้อ่านค่ะ

นางสาว ทิพวรรณ สิงขรบรรจง รหัส 52121422 กป.52ค5.2

สวัสดีค่ะอาจารย์

หลังจากที่ดิฉันได้อ่านบทความนี้ ทำให้รู้ว่าคำว่าเทศน์แปลได้หลายความหมายถ้าเราจากการออกเสียง แต่ถ้าอ่านเราก็พอรู้ ส่วนการนิเทศที่จะได้ใจเพื่อนร่วมงานนั้นจะต้องเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงาน แลกเปลี่ยนความคิดกัน รับฟังความคิดเห็นกัน ส่วนการนิเทศนั้นคงหมายถึงการที่เรานิเทศให้คำแนะนำผู้อื่น แลกเปลี่ยนความคิดกันหรือนำประสบการณ์มาสอนผู้อื่นที่ยังไม่มีประสบการณ์ ทั้งข้อความที่อ่านมาดิฉันชอบประโยคที่ว่า การนิเทศผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ ดิฉันชอบมาก

สุดท้ายดิฉันขอบคุณอาจารย์อย่างมากค่ะ ขอให้อาจาย์มีความสูขมากๆค่ะ ขอให้สูขภาพแข็งแรง

นางสาวสุพัตรา ยิ่งธนไพศาล

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ หนูชื่อนางสาวสุพัตรา ยิ่งธนไพศาล เรียนการประถมศึกษา ในภาคเรียนนี้ได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ในรายวิชาการนิเทศ หลังจากที่ได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้หนูมีความรู้และความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคำว่านิเทศ

นางสาวอรสา ต้องใจ 52121349 Sec.01

สว้สดีค่ะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

บทความ นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ เป็นบทความที่มีประโยชน์และน่าสนใจมากเลยคะ ทำให้หนูได้เข้าใจการนิเทศมากขึ้น สามารถที่จะเขียนและแยกแยะความหมายได้ถูกต้อง จากความรู้ที่ได้จากการอ่านบทความของอาจารย์เราสามารถนำบทความนี้ไปใช้เป็นข้อคิดเตือนสติเราในอนาคตและปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ขอขอบพระคุณอาจาร์ยนะคะ ที่ได้นำความรู้และสาระดีๆมาให้ได้ศึกษาและทำให้ได้รับความรู้ดีๆจากตรงนี้มากเลยค่ะ^^

นางสาวเจนจิรา นวลน้อย รหัสนักศึกษา 52121417 หมู่เรียน กป.52ค5.2 เรียนsection.02 ค่ะ

-‎> สวัสดีค่ะ! ... อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย ^_^! ก่อนอื่น หนูขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ! ที่ทำให้หนูได้ทราบถึง ความหมายของการนิเทศ อย่างลึกซึ้ง และเข้าใจง่ายค่ะ เพราะจากบทความ เรื่อง นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ! ...หนูเชื่อว่าผู้ที่มาศึกษาบทความนี้คงจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตในการประกอบวิชาชีพครูได้เป็นอย่างดีค่ะ! เพราะบทความนี้ได้ทำให้ผู้ที่มาศึกษาได้เข้าใจ ปรับเปลี่ยนมุมมอง และมีเจตคิที่ดี ต่อการนิเทศ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนมีกับเพื่อนร่วมงาน ทำให้หนูได้ทราบว่า ไม่มีใครที่จะเก่งไปซะทุกเรื่อง คนทุกคนก็ต้องการ การแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ อยู่เสมอเพื่อการเรียนรู้ค่ะ! หนูชอบประโยคหนึ่งที่ว่า "การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ" ค่ะ! เพราะว่าประโยคนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งและทำให้ผู้ที่อ่านหรือได้ยิน เข้าใจในความหมายตรงกันค่ะ!...

*** สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงนะคะ เพื่อที่จะนำความรู้ที่ดีๆมาให้นักศึกษาต่อไปค่ะ!!! ขอบคุณค่ะ ‎>.<!

นางสาวพัชญา สุภามงคล รหัสนักศึกษา 52121528 หมู่เรียน กป.52ค5.3เรียน sec 02 ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ จากการที่ดิฉันได้อ่านเรื่อง การนิเทศอย่างไร จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้ดิฉันได้รู้ถึงความหมายของคำว่า นิเทศ

จากการที่ได้อ่านจึงทำให้รู้ได้เข้าใจว่าการนิเทศการศึกษาไม่ใช่เป็นการนิเทศที่ง่ายๆ การนิเทศการศึกษาต้องมีกลวิธีที่นำมาใช้เพื่อที่จะทำให้การนิเทศมีความสำเร็จและได้ผลยิ่งขึ้น การนิเทศที่ได้ผลควรเป็นการนิเทศที่ไม่นิเทศโดยตรงคือ การนิเทศด้วยการเป็นตัวอย่างให้ดู การดูก็เป็นนิเทศที่ดีอย่างหนึ่ง การนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญเพราะผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเท่ากัน จากการที่ได้อ่านเรื่องนี้การนิเทศสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนซึ่งผู้ที่เรียนในคณะครุศาสตร์ทุกคนต้องเข้าใจและต้องรู้ถึงวิธีการนิเทศในห้องเรียนหรือการนิเทศเรื่องต่างๆได้ ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมากและมีประโยชน์มาก ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากเรื่องการนิเทศนี้ไปใช้ในอนาคตค่ะ

ดิฉันก็ขอขอบคุณอาจารย์นะคะที่นำเรื่องของการนิเทศมาให้อ่าน ทำให้ดิฉันได้เข้าใจถึงความนิเทศมากขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะ

น.ส.อรุณประไพ ศรีจันทร์

นางสาว อรุณประไพ ศรีจันทร์ รหัส52121350 sec01

จากบทความที่ว่านิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ดิฉันได้รับอะไรหลายอย่างจากบทความข้างต้นนี้ ได้ทราบถึงความหมายของคำว่านิเทศ และดิฉันก็ชอบคำที่ว่า "ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง"(พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง) เพราะว่ามันมีความหมายที่ดี

นางสาวนริศรา ภานุมาศ์เจริญคุณ

นางสาวนริศรา ภานุมาศ์เจริญคุณ รหัสนักศึกษา 52121325 หมู่เรียน กป.52ค5.1

จากการที่ได้อ่านบทความเรื่องนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ก็ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าการนิเทศเป็นการช่วยแนะนำ ช่วยเหลือและ แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง และการนิเทศต้องใช้กลวิธี กระบวนการ และความรู้ความสามารถ และที่สำคัญต้องเข้าใจถึงการนิเทศอย่างแท้จริง

คำว่านิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพในความเข้าใจของดิฉันก็คือการที่เรามีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และการที่เราให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและการแลเปลี่ยนประสบการณ์และที่สำคัญก็คือการร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

ดิฉันขอบคุณอาจารย์ที่ให้ดิฉันได้อ่านได้ทำความเข้าใจในบทความเรื่องนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพและดิฉันจะนำความรู้จากบทความมาใช้กับการเรียนต่อไปค่ะ

นางสาวสุชาดา สุดใจ

จากการได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพนี้ ทำให้ดิฉันรู้และเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ มากขึ้นว่าการนิเทศคือ การกระทำให้ผู้อื่นคล้อยตามสิ่งที่เราพูดหรืออธิบายให้ผู้อื่นฟัง ส่วนการนิเทศอย่างไรให้ได้เพื่อนร่วมวิชาชีพนั้น คือการทำให้เค้าเห็นแบบอย่างที่ดีในตัวผู้นิเทศก่อน และนิเทศให้เขารู้ถึงคุณค่าของตัวเอง ความสามารถของตนเอง และการนิเทศที่ดีนั้นเราไม่ควรยึดตัวเองเป็นหลัก ต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ได้หาบทความที่ดี แบบนี้มาให้ดิฉันได้อ่าน ได้ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การเรียนในวิชานิเทศ นี้ ดิฉันจะจำและนำความรู้ที่อาจารย์ให้นี้ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการเป็นครูของดิฉันในอนาคต ขอบคุณค่ะ

นาย สุขุม ทับเที่ยง 52171542 sec 02 ดน.52.ค5.1

สวัสดีครับ ผมชื่อ นายสุขุม ทับเที่ยง

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ก็ทำให้รู้ถึงความหมายของการนิเทศลึกซึ้งมากขึ้น รวมถึงการปฏิบัติตัวของผู้นิเทศเอง การที่จะได้ใจผู้ที่ได้รับการนิเทศนั้น จะต้องเป็นคนที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เอาความคิดเห็นของตนเองเป็นหลัก และไม่เอาแต่ใจตัวเอง ไม่เห็นแก่ตัว ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความคิดที่แปลกใหม่และทันสมัยอยู่เสมอ ไม่จมกับความคิดเดิมๆที่มีอยู่จนไม่สามารถที่จะรับสิ่งใหม่ๆได้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ที่ได้รับการนิเทศ ต้องยึดหลักความเป็นจริงที่มีอยู่ มีจรรยาบรรณของความเป็นผู้นิเทศที่ดี ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีต่อผู้นิเทศและผู้ที่ได้รับการนิเทศเอง จะได้ไม่มีความเกลียดชังเกิดขึ้น อีกทั้งในทางตรงข้าม อาจจะมีความเท่าเทียมกับทั้งสองฝ่ายด้วยซ้ำไป

ทั้งนี้ก็ขอขอบคุณอาจารย์อย่างยิ่งที่ทำบทความดีๆแบบนี้มาให้ศึกษา ทำให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่ศึกษาได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันและในอนาคต

นางสาวสุภาพรรณ แก้วรากมุก

น.ส. สุภาพรรณ แก้วรากมุก รหัส 52121445 กป.52ค5.2 Sec 01

จากบทความที่ว่านิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้รู้ความหมายของการนิเทศมากยิ่งขึ้น และได้รู้ว่าการนิเทศควรจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง และการนิเทศนั้นต้องมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่ยึดตัวเองเป็นหลัก ยอมรับในความคิดเห็นของคนอื่น

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน .. และจากบทความข้างต้น ทำให้ดิฉันเข้าใจการนิเทศมากขึ้น ขอบคุณอาจารย์มากคะ และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และปฏิบัติในวิชาชีพในอนาคตต่อไปในอนาคตคะ

นางสาวกาญจนา มั่งอุตม์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย ดิฉันนางสาวกาญจนา มั่งอุตม์ 52121311 กป52.ค5.1 Sec 01

จากการได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ดิฉันต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ ความหมายของคำว่านิเทศ "การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือ การไม่นิเทศ(โดยตรง) โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและเห็นคุณค่าความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยกย่องให้เกียรติให้เขาเป็นตัวแบบเรื่องนั้นๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย" และดิฉันหวังว่าจะนำความรู้ที่ไม่มากก็น้อยได้รับไปใช้ในอนาคตต่อไปค่ะ ขอบพระคุณบทความของอาจารย์มากค่ะ.

นางสาวพิมฤทัย ตองตึง

จากบทความที่ว่านิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ คือการนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัดยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ นั่นแหละได้ใจเหลือหลาย

นางสาว รุ่งนภา เจริญธรรม รหัส 52121336 sec. 01 กป.52.ค5.1

สวัสดีค่ะ อาจายร์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านมานี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจความหมายของคำว่า "นิเทศ " มากขึ้น การนิเทศ..ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่ใช้ได้ผล.. คือการไม่นิเทศ(โดยตรง) ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นผู้นิเทศและผู้ถูกนิเทศ จะต้องมีความรู้และให้ความร่วมมือกัน การนิเทศจึงจะประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการนิเทศที่ดี ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ และการทำให้ดูเป็นการนิเทศที่ดี เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำอธิบาย การนิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความเก่งที่เขาถนัดยกย่องให้เกียรติ และให้เขาเป็นตัวแบบในเรื่องนั้น ๆ

สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ อนงค์สิริ วิชาลัย ที่ได้ให้แง่คิดและเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลให้กับนักศึกษาทุกๆคน ทำให้พวกเราได้รู้อะไรที่กว้างไกลขึ้น ขอขอบพระคุณคะ

นางสาวอุทุมพร มูลศรี รหัส52121552 Sec.02 กป52.ค5.3

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความ เรื่องนิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้ดิฉันได้รู้ความหมายของการนิเทศการศึกษาที่แท้จริงและทำให้ได้เปลี่ยนมุมมองเจตคติที่มีต่อการนิเทศ หลายคนที่ได้อ่านบทความคงได้รู้ว่าการนิเทศคือการแนะนำช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความคิดความรู้ เพื่อที่จะนำไปพัฒนาตนเอง และดิฉันเห็นด้วยการที่นิเทศโดยเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงานยอมรับในความเก่งที่เขาถนัดยกย่องให้เกียรติ ช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ให้คำปรึกษาที่ดี

สุดท้ายดิฉันขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้นำบทความดีดีมาให้ศึกษาทำให้ได้รู้และนำไปปรับใช้ได้ในอนาคตต่อไปค่ะ

นางสาว นพรัตน์ ก๋องดี รหัส 52121324 sec 01 กป.52ค5.1

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากการได้อ่านบทความเรื่อง นิเทศอย่างไร จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพนี้ ทำให้ดิฉันรู้และเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ มากขึ้นว่าการนิเทศคือ การกระทำให้ผู้อื่นคล้อยตามสิ่งที่เราพูดหรืออธิบายให้ผู้อื่นฟัง ส่วนการนิเทศอย่างไรให้ได้เพื่อนร่วมวิชาชีพนั้น คือการทำให้เค้าเห็นแบบอย่างที่ดีในตัวผู้นิเทศก่อน และนิเทศให้เขารู้ถึงคุณค่าของตัวเอง และการนิเทศที่ดีนั้นเราไม่ควรยึดตัวเองเป็นหลัก ต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ได้หาบทความที่ดี แบบนี้มาให้ดิฉันได้อ่าน ได้ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การเรียนในวิชานิเทศ นี้ ดิฉันจะจำและนำความรู้ที่อาจารย์ให้นี้ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการเป็นครูของดิฉันในอนาคต และนำความรุ้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นให้มากที่สุด ขอบคุณค่ะ

นาย ศุภกานต์ ฤทัยกุล

สวัสดีครับอาจารย์ผู้ฝึกและผู้สอน จากข้อความที่กระผมได้ศึกษาอ่านนั้น กระผมก็ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิชานิเทศมาก่อน ไม่รู้เลยว่าความหมายของมันนั้นแท้จริงแล้วเป็นยังไงกันแน่ ข้อความนี้มันได้เพิ่มความรู้ของกระผมทำให้กระผมเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ รู้ถึงลักษณะของคำของมัน ต่อไปกระผมอาจจะรู้และเข้าใจกับคำว่านิเทศมากกว่านี้ จะศึกษาจากอาจารย์ต่อไป ขอบคุณครับ

นางสาวอรุณรัตน์ เทพทอง

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงศิริ วิชาลัย ดิฉันนางสาวอรุณรัตน์ เทพทอง รหัส 51181426 หมู่เรียน คม 51 ค 5.1

จากบทความที่ได้อ่าน ทำให้ดิฉันรู้และเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ มากขึ้น จากที่เคยคิดว่าการนิเทศคือ การไปสั่งสอน อบรมผู้ท่ี่มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่าเรา แต่ความจริงมีมากกว่านั้น การที่จะไปสอนให้คนอื่นทำได้ก็ต้องฝึกสอนตัวเองให้ทำได้ก่อน แล้วค่อยไปนิเทศบุคคลอื่น การเป็นผู้นิเทศนั้นต้องเป็นคนกว้างขวางพอพร้อมทีจะแสดงความคิดเห็นและพร้อมที่จะยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องยอมรับในที่นี้ด้วย

นางสาวอมรรัตน์ แก้ววรรณรัตน์ รหัส 51181274 อ51ค.52 sec02 วันจันทร์ 14-16น.

สวัสดีคะ คุณครูอนงค์สิริ วิชาลัย ดิฉันนางสาวอมรรัตน์ แก้วรรณรัตน์ รหัส 51181274 อ51ค5.2 sec02 บ่าย2

จากบทความที่ได้อ่านสิ่งที่ดิฉันได้ก็คือ ตอนแรกดิฉันก็เกิดความแปลกใจว่าทำไมในหนังสือ คำว่านิเทศ จึงเขียนแตกต่างกัน และอันไหนที่ถูกต้องจริงๆแต่พอได้มาอ่านข้อความบทนี้แล้วทำให้ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มขึ้นคะ และดิฉันคงจะเข้าใจมากขึ้น ส่วนการนิเทศตอนแรกดิฉันก็ไม่เข้าใจว่านิเทศมันคืออะไรทำไมต้องมีการนิเทศแต่พอมาอ่านบทความทำให้ดิฉันรู้มากขึ้นว่าการนิเทศเป็นการช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ครู ที่จะทำให้ครูสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดิฉันขอขอบพระคุณคะที่ทำให้ฉันได้มีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น

นางสาวสุดารัตน์ นาวินสันติราษฎร์ รหัส 52121443 กป.52ค.5.2

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากการอ่านบทความเรื่อง "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ซึ่งนับว่าเป็นความรู้ใหม่ในเรื่องของการนิเทศให้กับตัวดิฉัน เพราะเนื่องจากดิฉันเข้าใจมาตลอดว่าการนิเทศคือการชี้แนวทางให้นักเรียนหรือผู้อื่นปฎิบัติตามแนวทางบทพื้นฐานที่อยู่ในกรอบความรู้ มิเคยทราบว่าการนิเทศที่ดีที่สุดคือ การแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองและการนิเทศที่ว่าด้วยการนำเอาแบบอย่างที่ดีมาเป็นต้นแบบดิฉันชอบเป็นอย่างมากค่ะอาจารย์ เนื่องจากเมื่อเราได้มีเป้าหมายในชีวิตการดำเนินชีวิตของเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในอนาคตอันใกล้นี้ดิฉันจะได้เป็นคุณครูของนักเรียนดิฉันอยากให้อาจารย์ช่วยสอนการนิเทศและเป็นแบบอย่างให้ดิฉันด้วยค่ะ "การเรียนไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการลงมีทำนั้นยากกว่า"

ขอขอบคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย มากๆๆค่ะที่อาจารย์ให้นักศึกษาได้อ่านบทความที่มีความรู้ และสามารถนำไปปฎิบัติได้จริงในการเป็นครูที่ดีของนักเรียน ขอบคุณค่ะ

น.ส.กาญจนา จันทร์หล้า อ51.ค5.1 51181201

จากการอ่านบทความข้างต้น ทำให้ทราบได้อย่างหนึ่งว่ายังมีคนที่ไม่เข้าใจและสับสนความหมายของคำว่า"นิเทศ"อยู่หลายคนและหนึ่งในนั้นก็คือตัวของข้าพเจ้าเอง แต่หลังจากอ่านบทความจบสิ่งที่เห็นตรงกับอาจารย์เลยคือ ไม่มีใครเก่งทุกเรื่องเพราะแม้แต่ข้าพเจ้าที่คิดว่าเข้าใจในความหมายของคำว่านิเทศ สุดท้ายคือที่เข้าใจนั้นไม่ถ่องแท้ จนได้เข้าใจว่าคนเราจะเก่งมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการสะสมประสบการณ์ เช่นกันการนิเทศที่ดีและได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพต้องอย่ายึดตัวเองเป็นหลัก แต่ควรเปิดใจให้กว้าง มีหลายวิธีที่เราเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และบุคคล

นางสาว ศุภางค์ เมืองดี รหัส 51181420 หมู่เรียน คม51ค5.1 Sec 01

จากข้อความที่กล่าวข้างต้น ทำให้ดิฉันเข้าใจในคำว่านิเทสมากขึ้นค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ในความคิดของดิฉันคิดว่านิเทศ คือการจับผิด การที่จ้องจะเล็งจุดอ่อน แต่เมื่อได้อ่านบทความแล้ว ทำให้เข้าใจในอีกระดับหนึ่ง และเปลี่ยนความคิดจากเดิมเลยค่ะ

นางสาว นฤมล ทองคำ รหัส 51181409 หมู่เรียน คม 51 ค 5.1 sec 01

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากการอ่านบทความข้างต้น หนูชอบบทความตอนที่กล่าวถึง การนิเทศ...ที่ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพมากค่ะ เพราะว่ามนุษย์เรานั้นไม่เหมือนกัน ความคิดต่างกัน นิสัยต่างกัน ถ้าเราไปสอนเขามากๆเขาจะเกิดความรำคาญ และพาลจะไม่ชอบเราด้วย หลักการทำงานที่ดี เราต้องเชื่อมั้นซึ่งกันและกัน ถ้าเขาทำอะไรผิดไป เราก็อย่าไปว่าเขา ไปติเขา ไม่มีใครที่ทำอะไรถูกไปทุกอย่างมันต้องมีผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่เราทำตัวอย่างที่ถูกต้องให้เขาดูบ่อยๆแนะนำด้วยหลักเหตุผล เขาก็จะเข้าใจและปฎิบัติได้ ที่สำคัญเราต้องเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงานของเราว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ อีกอย่างการนิเทศนั้นไม่ได้ใช้เฉพาะอาชีพครูเท่านั้น สามารถใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเสมอ

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย เป็นอย่างสูงที่ได้ให้แง่คิดดีๆแก่นักศึกษาและขอให้อาจารย์มีบทความดีๆอย่างนี้มาอีกเรื่อยๆนะค่ะ

นายยุทธนา เตชรังศรี sec 02 ด.น.52ค5.1

สวัสดีครับ ผมชื่อ นายยุทธนา เตชรังศรี รหัส 52171530

จากการอ่านบทความเรื่อง "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ผมเข้าใจมาตลอดว่าการนิเทศคือผู้รู้ ผู้เข้าใจไปสอนคนที่ไม่เข้าใจไม่รู้ให้มีความรู้อย่างที่เขาสอน แต่เมื่อผมได้อ่านทำให้ผมเข้าใจว่า การนิเทศไม่ใช่แค่การสอนเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการทำให้ผู้ที่ถูกนิเทศรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นจากการนิเทศถ้าหากเพียงแต่ว่าผู้ที่นิเทศมีความเอาใจใส่ตระหนักถึงความสำคัญและมีมิตรไมตรีโดยไ่ม่คิดว่าผู้อื่นมีความรู้น้อยกว่าตนเอง♫

น.ส. ศรัณย์รัตน์ อ้อยหวาน sec.01 รหัส 51181417 คม51ค5.1

จากบทความดังกล่าว ทำให้ดิฉันได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้นและรู้สึกเห็นด้วยกับข้อความที่ว่า "พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง" เพราะคนเรานั้นไม่มีใครที่จะเก่งไปทุกอย่างจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และจากที่ดิฉันคิดว่าการนิเทศนั้นหมายถึงการที่เราไปสอน ไปแนะแนวทาง หรือ อบรม เพื่อให้ผู้อื่นได้รับความรู้อย่างเดียว เมื่ออ่านบทความนี้แล้วก็ทำให้ความคิดของดิฉันเปลี่ยนไปและเข้าใจความหมายของการนิเทศมากขึ้น ทำให้ดิฉันได้รู้ว่าการนิเทศนอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วหัวใจของการนิเทศก็คือการเป็นตัวอย่างที่ดีดังคำที่ว่า "ตัวอย่างที่ดี ย่อมมีค่ามากกว่าคำสอน"

ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ ที่ได้ให้ความรู้และข้อคิดดีๆ นี้ ขอบคุณค่ะ

นายสุบิน โสภา รหัส52171543 ดน.52.ค5.1 sec.02

จากบทความดังกล่าว ทำให้ผมได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้นได้รับความรู้เรื่องของการนิเทศว่ามีความหมายอย่างไรและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ ทั้งนี้เรื่องของการนิเทศคือการ ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ จนเกิดกระบวนการได้เอง นอกจากนี้ได้รับความรู้เรื่องของการนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพหรือเพื่อนร่วมงาน จากข้อความที่ผมได้อ่านนั้นการที่จะได้ใจเพื่อนร่วมงานนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องนิเทศใคร แต่เราความทำเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานหรือนำเอาแบบอย่างของเพื่อนร่วมงานมาปฏิบัติ ไม่ควรยึดเอาตัวเองเป็นใหญ่ ทำเท่านี้ก็จะมารถที่จะได้ใจเพื่อนร่วมงานได้

สุดท้ายนี้ ก็ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ที่ได้ให้ความรู้เทคนิคการเนศ นิเทศอย่างไรให้ถูก ขอบคุณครับ

นาย ศิวกร สิงห์กันฑ์ รหัส 52171539 ดน.52.ค5.1 sec02

สวัสดีครับ อาจารย์ อนงยค์ศิริ วิชาลัย

จากการอ่านบทความ "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ทำให้ตัวผมนั้นรู้และเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ มากขึ้น

และทำให้ผมได้รู้ว่าการนิเทศที่ดีนั้นผู้นิเทศและผู้ถูกนิเทศ จะต้องมีความรู้และให้ความร่วมมือกัน โดยการนิเทศนั้นจะต้องอยู่บนหลักการของประชาธิปไตย การนิเทศจึงจะประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการนิเทศที่ดีผู้นิเทศและผู้ถูกนิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ และทำให้ผมได้รู้ว่าการนิเทศมีความสำคัญอย่างไรที่จะนำเอาไปใช้กับอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถนำไปพัฒนาในด้านต่างๆได้ และสุดท้านผมคงจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยหลังจากที่ได้ศึกษารายวิชานี้ครับ

ขอบคุณอาจารย์ อนงยค์ศิริ วิชาลัย ที่ได้ให้ความรู้และข้อคิดดีๆและสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง

นางสาว สุดาลักษณ์ สุทธะคำ

จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความของอาจารย์.....ข้าพเจ้าเกิดชอบคำของ วาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลที่กล่าวว่า"ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่..ยังไม่พร้อมที่จะให้ใครสอน" เพราะว่าการที่ไม่พร้อมที่จะให้ใครสอนเป็นเพราะเราอยากเห็นตัวอย่างที่ดี เมื่อเห็นตัวอย่างที่ดีแล้วนั้น ตัวอย่างที่เ่ีราเห็นมีคุณค่า มีความรู้มากกว่าการได้รับการสั่งสอน เพราะบางทีคนที่สอนอาจจะไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาสอนได้ ดังนั้น การได้เห็นตัวอย่างที่ดี ดีกว่าการได้สั่งสอนโดนไม่เห็นตัวอย่าง

ดังนั้นการนิเทศทำให้้เรารู้ว่าก่อนที่เราจะนิเทศเราไม่ต้องใช้การสั่งสอนโดยตรงแต่เราควรทำตัวของเราให้ดีก่อน เป็นตัวอย่างที่ดี ให้คนรักที่เราเป็นเรา อย่าให้เขาเกลียดชังที่คำพูดกับการกระทำของเรา มันต่างกัน

สุดท้ายน้ี้ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เล็กๆน้อยๆเรื่องการนิเทศคะ ขอบคุณคะ

จิรประภา นางเมาะ 52121515 กป52.ค5.3

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ

จากการที่ข้่าพเจ้าได้อ่านบทความของอาจารย์ เรื่อง..นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงความหมายของการนิเทศ ว่ามีทั้ง นิเทศ,เทศน์,ศึกษานิเทศก์,ผู้นิเทศและ อาจารย์นิเทศก์

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อ่านออกเสียงเหมือนกัน ตัวสะกดคล้ายกัน แต่ความหมายกลับต่างกัน ตอนที่ข้่าพเจ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้ข้าพเจ้าก็ยัง งงๆ กับคำว่านิเทศแต่ตอนนี้ก็เข้าใจแล้วว่าควรใช้คำและสื่อความหมายอย่างไรจึงจะถูกต้อง ทั้งยังสอนเรื่องการนิเทศที่ทำให้ได้ใจเพื่อนร่วมงานอีกที่นิเทศโดยการทำเป็นตัวอย่างไม่ใช้ดีแต่สอน ดีแต่อวดอ้างตัวเอง เพราะตัวอย่างย่อมดีกว่าคำสอน คำๆนี้กินใจมาก ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ในกระทู้นี้ค่ะ ^^

นางสาว ทิพวรรณ ขัดแสน 51181407 คม51ค5.1

จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความเรื่อง "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ถึงความหมายที่แท้จริงของการนิเทศว่าเป้นอย่างไร ข้าพเจ้าชอบคำขวัญนี้มากที่กล่าวว่า "ที่ใดมีการเรียนการสอนที่นั่นมีการนิเทศ"

เพราะไม่ว่าจะไปไหนก้อจะมีการพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดกันตลอดเวลา เพราะการนิเทศต้องคู่การเรียนการสอนและ การเรียนรู้เสมอ

สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอขอบคุณ อาจารย์ที่ช่วยให้ความรู้เรื่องการนิเทศมากค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ที่เคารพ

จากการอ่านบทความ "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ทำให้ตัวผมนั้นรู้และเข้าใจความหมายของคำว่านิเทศ มากขึ้น

ทำให้รู้ว่าการนิเทศที่ดีต้อง นิเทศแบบไม่เทศโดยตรง เช่นด้วยการทำให้ดู มากกว่าการสอน เทศโดยเห็นคุณค่าและความสามารถของเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญต้องเทศโดยไม่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ

ขอบคุณอาจารย์ ที่ได้ให้ความรู้และข้อคิดดีๆและสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง คับ

น.ส. ไพลิน แสงอ้าย 52121332 กป.52.ค5.1

จากบทความดังกล่าว ทำให้มีเกี่ยวกับการนิเทสมากขึ้นและเข้าใจความหมายของการนิเทศเพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การนิเทศคือ การให้ความช่วยเหลือแนะนำ หรือปรับปรุง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนั้นการนิเทศจึงมีความสำคัญในการเรียนการสอนโดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขอบคุณอาจารย์ที่แนะนำความรู้ให้เกี่ยวกับเรื่องการนิเทศ

น.ส.นพมณี ตันบัญฑิต 52121523 กป.52.ค5.3

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากกว่าครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเคยได้ยิน ข้าพเจ้าคิดว่าการนิเทศเป็นสิ่งหนึ่งสำคัญในการประกอบวิชาชีพ ในการนิเทศแต่ละครั้งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เนื้อหาสาระที่ถูกต้องแตไม่ได้นำมาสอนแต่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนปรสบการณ์ นำมาซึ่งทัศนะคติที่ดีในการนิเทศ

เอมมิกา คำลือเกียรติ์

สวัสดีค่ะ

จากที่หนูได้บทความทำให้หนูการนิเทศหนูยอมรับว่าก่อนนเรียนหนูไม่รู้เลย ว่านิเทศคืออะไร เกี่ยวกับการศึกษาอย่างไร ทำไมจะต้องมี แต่พอเรียน และ ก็เข้ามาอ่านบทความจึงรู้ว่า สำคัญครับ มากๆด้วยกับวิชาชีพครูและทำให้หนูมีกำลังที่จะเรียนวิชานี้และหนูชอบบทความของครูมากมันแนวทางที่สำหรับครูพันอย่างพวกหนูค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูชื่อเอมมิกา คำลือเกียรติ์ เอกการประถมศึกษา 52121453

จากที่หนูได้บทความทำให้หนูยอมรับว่าก่อนนเรียนหนูไม่รู้เลย ว่านิเทศคืออะไร เกี่ยวกับการศึกษาอย่างไร ทำไมจะต้องมี แต่พอเรียน และ ก็เข้ามาอ่านบทความจึงรู้ว่า สำคัญครับ มากๆด้วยกับวิชาชีพครูและทำให้หนูมีกำลังที่จะเรียนวิชานี้และหนูชอบบทความของครูมากมันแนวทางที่สำหรับครูพันอย่างพวกหนูค่ะหนูจะนำมาใช้เป็นวิธีการสอนของในอนาคตค่ะ

นาย กฤษฎา หล้าสกุล รหัส 52171501

สวัสดีครับอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย กระผมนายกฤษฎา หล้าสกุล 52171501 ดน.52.ค5.1sec02

จากที่กระผมได้อ่านบทความนิเทศอย่างไร...จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้ผมได้รู้จักคำว่า"นิเทศ""เทศน์""ศึกษานิเทศก์""ผู้นิเทศ"

แตกต่างกันอย่างไร ได้รู้ถึงการใช้คำเหล่านี้แบบถูกวิธีอีกด้วย จากบทความทำให้ผมมีเจตคติที่ดีต่อการนิเทศมาก การนิเทศนั้นต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ที่มีมานาน ไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้ที่แสดงความคิดเห็นอย่างเดียว ต้องฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย การนิเทศจึงจะเกิดผลสำเร็จที่ดีครับ

สุดท้ายนี้กระผมขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่นำบทความดีๆมาให้พวกผมได้อ่าน และกระผมจะนำบทความนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด ขอบคุณครับ

ปิยวรรณ วงค์สงสัย รหัส 51181017 ท51.ค5.1

จากการอ่านบทความ "นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ"จากที่ข้าพเจ้าไม่เคยรู้จักคำว่านิเทศ พอมาเรียนวิชานิเทศนี้แล้วทำให้ข้าพเจ้ารู้จักคำว่านิเทศเพิ่มมากขึ้น และทำให้รู้ว่าการนิเทศสำคัญต่อวิชาชีพครูเป็นอย่างมาก และข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า "ผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ" เพราะว่าถ้าผู้นิเทศคอยแต่จ้องจับผิดผู้รับการนิเทศ การนิเทศการการศึกษาก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ สุดท้ายก็เกิดความเกลียดชัง

สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอขอบคุณ อาจารย์ที่ช่วยให้ความรู้เรื่องการนิเทศมากค่ะ

นางสาวปาริชาติ มหาวัน รหัส 52121328

สวัสดีครับอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความนิเทศอย่างไร....ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้นและเข้าใจถึงความหมายของการนิเทศว่านิเทศคืออะไร การนิเทศสำคัญอย่างไร และคำว่านิเทศ ว่ามีทั้ง นิเทศ,เทศน์,ศึกษานิเทศก์,ผู้นิเทศหมายถึงอะไรใช้คำได้ถูกต้อง

ดิฉันสามารถนำความรู้ที่ได้อ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และขอบคุณอาจารย์มากคะที่นำบทความที่ดีมาให้อ่าน

นางสาววิภาภรณ์ ฟังเย็น

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉัน นางสาววิภาภรณ์ ฟังเย็น รหัสนักศึกษา 52121338 กป52.ค5.1(ภาคปกติ)

จากบทความที่ดิฉันได้อ่านทำให้ดิฉันรู้ว่าการนิเทศการศึกษามีความสำคัญสำหรับครูมากเพราะ  การนิเทศเป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเราไม่ยึดถือตนเองเป็นหลัก เห็นคุณค่า  เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมงาน   และอีกอย่างหนึ่งก็คือการนิเทศที่ดี  คือการทำให้ดู  เพราะการได้เห็นตัวอย่างเป็นสิ่งที่ดีกว่าการอธิบาย     

นางสาวพรรณทิวา ส่างแป่

สวัสดีค่ะ อ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนู น.ส.พรรณทิวา ส่างแป่ นักศึกษาภาคปกติ รหัส 52121330 เอกการประถมศึกษา จากบทความเรื่อง "นิเทศอย่างไร..จึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ" ที่ได้อ่านมานั้นทำให้หนูเกิดองค์ความรู้ ในด้านต่างๆไม่ว่าการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในอนาคตหากเรารู้จักนำไปใช้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเราและคนรอบข้าง ในบทความนี้ทำให้หนูได้รู้ว่าการนำเอาวิธีการสอนที่ดีไปใช้ที่สุดไปใช้ คือ "การนิเทศ" ..

หนูชอบเทคนิคเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์มากเลยค่ะ อีกอย่างอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ หนูจะนำเทคนิควิธีการสอนและการวางตัวที่ดีในการเป็นคุณครูที่ดีของอาจารย์ไปใช้ค่ะ ^^"

......ขอบคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาวัย สำหรับบทความดีดีค่ะ.....

นางสาว จันทรา สุขสมใจ 52121414หมู่เรียน กป.52ค.5.2

จากที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วนั้นหนูก็ได้นำมาปรับใช้ในชีวิตบ้างในบางโอกาศ

หนูรู้สึกว่าหนูเป็นคนที่อยู่กับโลกส่วนตัวสูงและค่อนข้างไม่อยากอยู่กับคนหมู่มาก

แต่ไม่ใช่ว่าไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆนะค่ะถ้าหากว่าเขามีเหตุผลที่น่าเชื่อถือและ

หนูเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองมากๆแต่ถ้าเหตุการณ์บังคับจริงๆก็จะทำได้นะค่ะหนู

อยากให้อาจารญฝึกให้หนูเป็นคนที่มั่นใจและกล้าแสดงออกได้ไหมค่ะ

สุดท้ายวันนี้หนูเรียนภาษาอังกฤษมาค่ะและเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์นี้หนูจะกลับไไปทบทวนที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์และขอนำบทความบางตอนไปปรับใช้ได้ไหมค่ะจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

นางสาวจันทรา สุขสมใจ เอกการประถมศึกษา รหัส52121414ถ้าหากอาจารย์มีบทความดีๆไม่เป็นการรบกวนหนูมีอีเมลล์ด้วยค่ะ

[email protected] ค่ะ

นางสาว ศราพร กันทะนัน52121340 หมู่เรียน กป.52ค5.1

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้นเกี่ยวกับนิเทศอย่างไรจึงได้เพื่อน ร่วมงานทำให้ดิฉันรู้และเข้าใจความหมายของการนิเทศมากขึ้นที่ว่าการนิเทศจะช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์และช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง หนูขอขอบคุณอาจารณ์มากนะค่ะที่ทำได้รู้และเข้าใจความหมายของการนิเทศมากขึ้นค่ะ

นางสาวจารุวรรณ บุรวัตรนุกุล

สวัสดีค่ะ อาจารย์

จากบทความที่ว่า นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ดิฉันมีคามรู้สึกว่าเหมือนเป็นการคอยให้คำแนะนำ เปรียบเสมือนแนวทางในการช่วยให้เราคิดตัดสินใจเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความรู้แก่คนที่ไม่รู้มีและทัศนคติที่ดีเข้าใจความหมายของการนิเทศได้อย่างถูกต้องสามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคต

ขอบคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย มากๆนะค่ะที่มีบทความดีดีให้ได้แสดงความคิดเห็นขอบคุณค่ะ

นางสาวจารุวรรณ บุรวัตรนุกุล

สวัสดีค่ะ อาจารย์

จากบทความที่ว่า นิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ดิฉันมีคามรู้สึกว่าเหมือนเป็นการคอยให้คำแนะนำ เปรียบเสมือนแนวทางในการช่วยให้เราคิดตัดสินใจเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความรู้แก่คนที่ไม่รู้มีและทัศนคติที่ดีเข้าใจความหมายของการนิเทศได้อย่างถูกต้องสามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคต

ขอบคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย มากๆนะค่ะที่มีบทความดีดีให้ได้แสดงความคิดเห็นขอบคุณค่ะ

นางสาวพรทิวา แก้วสิงสุ 52121329 หมู่เรียน กป.52ค5.1

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากการที่ได้ท่านบทความ เรื่อง นิเทศอย่างไร...ถึงจะได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทำให้ดิฉันได้รู้และเข้าใจความหมายของการนิเทศการศึกษามากขึ้น และมองเห็นความสำคัญของการนิเทศการศึกษาเป็นอย่างมาก รู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้ ซึ่งการนิเทศนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญมากยิ่งขึ้น สำหรับเราที่เป็นนักศึกษาก็ถือเป็นการฝึกประสบการณ์ เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ต่อไป

นางสาว วาสนา มูลงาม 52121358 หมู่เรียน กป.52.ค5.1

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากการที่ได้อ่านบทความ เรื่องการนิเทศ ทำให้หนูเข้าใจและได้รู้ถึงความหมายของการนิเทศมากขึ้น การนิเทศจะเป็น การช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และการนิเทศที่ดีผู้นิเทศและผู้ถูกนิทศไม่ควรที่จะยึดตัวเองเป็นสำคัญ ดังนั้นควรที่จะเห็นคุณค่าความสามารถของกันและกันการนิเทศจึงจะประสบความสำเร็จ การนิเทศสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยค่ะ

สุดท้ายนี้ หนูขอขอบคุณ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย มากๆนะค่ะที่แนะนำเรื่องการนิเทศให้หนูค่ะ

นายเหมันต์ ยะอุทัย 51181237 sec02

"นิเทศ  เพื่อการไม่นิเทศ"  ความหมายคือ...

ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ

เกิดกระบวนการได้เองแล้ว...ก็ไม่ต้องนิเทศอีกต่อไป  นั่นเอง



อาจารย์ให้มาหา คำตอบ แต่ search เจอ ที่อาจารย์พอดี ... ตอนนี้กำลัง รวบรวมและเรียนรู้ ไปพร้อมกับอาจารย์ในห้องเรียนและนอกห้อง คืบหน้ายังไง รายงานต่อ... ตอนนี้ กระจ่างเรื่อง นิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ แล้วคับ

น.ส อารีย์ แซ่พาน 52121357 กป.52.ค5.1

ความเข้าใจเดิมกี่ยวการนิเทศนั้นมีความเข้าใจว่า ต้องมีครูคอยควบคุมการสอนจองเรา แต่เมื่อได้ อ่านบทความข้างบนนั้นก็เข้าใจว่า มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่มันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือ เป็นการให้คำปรึกษา การสอนให้มันมีคุณภาพยิ่งขึ้นเพื่อนให้ผู้สอนมีประสิทธิภาพไปด้วยกันเพื่อนให้ผลคือเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดี และมีความเข้าใจ มากขึน

สวัดดีครับ อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ผมนายนรากร ณ น่าน รหัสนักศึกษา 52121304 เรียนวัน จันทร์ เวลาเรียน 12.00-14.00น.

กระบวนการทำงานร่วมกัน ของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศในการ ในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้บรรลุผล เพื่อให้ผู้รับการนิเทศเป้นคนดีมีความรู้ ความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการทำกิจกรรม และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดทักษะใหม่ๆในการนิเทศ

นายจุลจักร เกเย็น รหัส 52171505 หมู่เรียน ดน.52.ค5.1 sec.02 วันจันทร์ เวลา 14.00-16.00

สวัสดีครับ

จากบทความที่กระผมได้อ่านไปนั้น กระผมสามารถสรุปและให้ความคิดเห็นว่า การนิเทศนั้นหมายถึง การช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การพัฒนา รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ จนนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนการนิเทศเพื่อการไม่นิเทศนั้น มีควาหมายพอสรุปได้ว่า คนเรานั้นไม่มีใครเก่งไปทุกด้าน ซึ่งการนิเทศเพื่อการไม่นิเทศ จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ แนะนำและพัฒนาทักษะ เจตคติ จนสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ และสามารถพัฒนาตนเองในระดับต่อไป

นาย จอลือ ประสงค์เลิศกุล รหัส 51181277 .เรียนวัน จันทร์ เวลา 14.00-16.00น.

การบสวัสดี อาจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

จากที่ผมได้อ่านบทความนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษามากขึ้น

ก่อนหน้านี้ผมเข้าใจว่า การนิเทศการศึกษา คือ การช่วยเหลือ ชี้แนะ แนะนำเพียงอย่างเดียว

แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ การช่วยเหลือและการลงมือปฏิบัติด้วยกันต่างหากที่ทำให้การบริหาร

การเรียนการสอนประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนีและทำให้เข้าใจเกี่ยวคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นิเทศการศึกษามากขึ้น

นายศิลา จะก่อ รหัส 51181236 sec : 02 วันจันทร์ 14.00-16.00น.

จากการที่ผมได้อ่าน บทความของอาจารย์ การนิเทศนั้นหมายถึง การช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การพัฒนา รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ จนนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการสอน และนิเทศการศึกษาอย่างไรจึงได้เพื่อนมากขึ้นก็ขอขอบคุนอาจารย์เป็นอย่างมากที่มีข้อคิดๆๆมาให้พวกเราอ่านขอบคุณคับ

อ่านบทความของอาจารย์แล้ว ท่านนี่คือ ศน.ตัวจริงค่ะ รอบรู้ทุกด้าน สามารถสื่อสารข้อมูลได้เข้าใจง่ายมากค่ะ

"นิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ" ความหมายคือ...

ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ เกิดกระบวนการได้เองแล้ว...ก็ไม่ต้องนิเทศอีกต่อไป นั่นเอง

กระจ่างแล้วค่ะ คำนี้ที่สงสัยมานาน

เรียน อ.อนงค์ศิริ

จากการที่ได้อ่านข้อความของอาจารย์ทำให้นึกถึงตอนที่อาจารย์สอนในห้องเรียนค่ะ เหมือนเป็นการย้ำความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว และยิ่งให้รู้ว่า การนิเทศไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนิเทศเพื่อการจับผิด ซึ่งผู้รับการนิเทศส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นอย่างนั้น และทำให้ไม่อยากรับการนิเทศ ซึ่งจริงๆ แล้ว การนิเทศเป็นการช่วยกันแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอน การจัดการศึกษาในสถานศึกษาร่วมกันในสถานศึกษา ดังนั้การนิเทศจึงควรที่จะนิเทศแบบกัลยานมิตรนั่นเอง

ตอบ ผู้อ่านทุกท่าน

ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบล็อกและร่วมแสดงความคิดเห็น

ช่วงนี้มีภาระงานหนัก ปิดครอสเตรียมสอบไฟนอล

เตรียมพานักศึกษาเข้าปฏิบัติธรรม อ่านไม่มีเวลาตอบทุกๆความเห็นแต่รับรู้

สุพัตรา ดวงแก้วกลาง 53856263

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

จากการที่ได้อ่านข้อความของอาจารย์ทำให้นึกถึงคำว่า " นิเทศ เพื่อการไม่นิเทศ " เพราะการนิเทศนั้นเป็นการให้คำปรึกษา หาแนวทางที่จะมาช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การนิเทศจึงไม่ใช่การจับผิด ดังนั้นเพื่อให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนของประเทศไทย การนิเทศที่เหมาะสมมากที่สุด ก็คือการนิเทศแบบกัลยานมิตร เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ต้องลำบากใจ แต่กลับจะส่งผลดีไปถึงนักเรียนอีักด้วย

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้มากคะ

เรียนท่านอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

จากบทความของอาจารย์ทำให้เข้าใจการนิเทศมากขึ้น และการนิเทศอย่างไรจึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ก็คือการนิเทศที่เป็นแบบกัลยาณมิตร จึงจะทำให้บรรยากาศในการนิเทศเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย และทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุผลสำเร็จ

ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่ให้ข้อมูลของการนิเทศ (ภากร พรหมรักษ์)

จากการที่กระผมได้อ่านบทความนี้แล้วทำไห้กระผมได้รับความรู้เกี่ยวกับการนิเทศเพิ่มมากขขึ้น ขอขอบคุณอาจารย์มากครับที่ให้ความกับทุกคนคับ

สงกรานต์ ตักเตือน

"อาจารย์ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรค

มามาก ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่ากระผม"

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ

จากการที่ได้อ่านบทความนี้แล้วทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการนิเทศและเห็นคุณค่าของการนิเทศและสิ่งที่อาจารย์ไดเขียนนี้ถ้าทุกคนปฏิบัติได้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและตนเองก็จะพยายามปฏิบัติดังเช่นบทความค่ะ

ผ่องพรรณ สุนทรีไพรวัลย์

จากข้อความที่ได้อ่านมาทำให้เพิ่มพูนความรู้และหลักการในการจะสื่อสารกับผู้อื่นทำให้เราพัฒนาตัวเองได้และรู้หลักการต่างๆมากขึ้นขอบคุณอาจารย์มาค่ะ

บุญรัตน์ มีสัตย์ใจ

อ่านแล้วทำให้เข้าเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้นและสามารถนำไปใช้กับวิชาที่เรียนได้ด้วย เพราะกำลังเรียนวิชานี้ขอขอบคุณอาจารยืมาก นะคะ

นางสาวโสรยา อารินทร์

ดิฉันคิดว่าบทคงามนี้เป็นบทความที่ดีมากคะ

เนื้อหาสาระเข้าใจง่าย สามารถนำไปประยุคใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะทางด้านความเป็นครู ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิต

นางสาวโสรยา อารินทร์ 51171931

ดิฉันคิดว่าบทคงามนี้เป็นบทความที่ดีมากคะ

เนื้อหาสาระเข้าใจง่าย สามารถนำไปประยุคใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะทางด้านความเป็นครู ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตได้

เราเรียนครู การนิเทศ ก็เป็น อีกอย่างหนึ่งท่เราต้องให้ความสำคัญเพราะการนิเทศไม่ได้ใช้กับใคร1คนแต่ใช้กับใครอีกหลายๆคน (นาย เอกลักษณ์ วารินทร์ 51181346)

นางสาว สุพัชชา เรือนคำ

กราบสวัสดี รศ.อ.อนงศ์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

หนู น.ส.สุพัชชา เรือนคำ รหัส 51171930 เอกวิชาภาษาจีนคะ มารายงานตัวแล้วคะ หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว หนูเริ่มเกิดแรงบันดาลใจอยากเขียนบทความเก่งๆเหมือนอาจารย์บ้างคะ มาวันนี้หนูก็ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วกับคำว่านิเทศ ปกติหนูก็สับสนเหมือนกันคะเวลาเราจะเขียน แต่ตอนนี้อาจารย์ทำให้หนุถึงบางอ้อแล้วคะ หนูได้เรียนรู้หลายๆปรัชญาเกี่ยวกับการนิเทศมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมของการนิเทศมากขึ้น การนิเทศแบบที่อาจารย์ให้ความรู้มานี่แหละคะที่ทำให้ได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพอย่างแท้จริง

กราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้เสนอบทความที่มีประโยชน์อย่างยิ่งแก่พวกหนูนะคะ

นางสาวอนงค์พร มูลถี

สวัสดีค่ะ ท่าน รศ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

หนูชื่อ น.ส.อนงค์พร มูลถี 51181524 คณะครุศาสตร์เอกสังคมศึกษา จากการที่ได้อ่านบทความที่อาจารย์เขียนขึ้นมาทำให้ได้รับความรู้ต่างมากมายซึ่งไม่เคยได้เรียนรู้ที่ไหนมาก่อน อาจารย์ทำให้พวกเรารู้ถึงกระบวนการที่เราจะทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งทำอย่างไรถึงจะได้ใจผู้ร่วมวิชาชีพ อาจารย์เขียนบทความได้ดีมากค่ะอ่านแล้วเข้าใจง่ายภาษาที่ใช้ก็อ่านแล้วกระทัดรัดดีค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะค่ะที่เขียนบทความดีๆให้ลูกศิษย์อ่าน

สวัสดีครับ ท่าน รศ.อนงค์ศิริ วิชาลัย

ผมชื่อนายสรายุทธ กิติยศ เอกคณิตศาสตร์ รหัส51181891

เรียนวิชานิเทศการศึกษากับอาจารย์sec02ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว

ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลย ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่แนะนำแต่สิ่วดีๆให้กับผม

ผมจำนำคำสั่งสอนของอาจารย์ไปปฏิบัติและจะทำตามที่อาจารย์แนะนำ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ

จิรนันท์ อูปจันทร์ 51181302 ศ.ศ 51

ขอขอบคุณ รศ.อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่ให้ความรู้เกียนกับนิเทศอย่างไร..จึงได้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ ซึ่งดิฉันนางสาวจิรนันท์ อูปจันทร์จะนำไปปฏิบัตในโอกาสต่อไปค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ผม พีรพล พรหมเผ่า เอกการประถมศึกษา รหัส 51171447 มารายงานตัวครับ ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วผมรู้สึกว่ามันไม่ได้มีแค่ความรู้ในเรื่องนิเทศเท่านั้นแต่ยังได้ความรู้ในด้านอื่นๆด้วย อาทิ ผู้ผ่านโลก ผ่านชีวิต ผ่านการงาน ปัญหาอุปสรรค

มามาก ย่อมมีความรู้หรือประสบการณ์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นบทเรียนนอกตำราอีกบทเรียนหนึ่งที่สอนให้ผมได้ความรู้เกี่ยวการนิเทศ นอกเหนือจากความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนและในตำรา เปรียบเสมือนจอมยุทธ์ที่ได้วิชายุทธ์เพิ่มมาอีกกระบวนยุทธ์นอกเหนือจากที่ปรมาจารย์สอน

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ครับที่ได้เขียนบทความดีๆเอาไว้ให้ทั้งศิษย์และคนทั่วๆไปได้เข้ามาอ่านมาชม ทำให้ได้รับประโยชน์อันเหลือล้ำนี้ครับ

นางสาวเกศวดี แก้วศรี

สวัสดีค่ะอาจารย์ อนงค์ศิริ^_^)

หนู นางสาวเกศวดี แก้วศรี รหัส 51181202 หมู่เรียน อ51.ค5.1 เรียน วิชาการนิเทศการศึกษา Sec 01 เวลา 13.00-15.00น.

จากบทความที่อาจารย์ได้บรรยายถึงการนิเทศ ทำให้หนูได้รับความรู้เกี่ยวกับการนิเทศมากยิ่งขึ้น รู้ว่าการนิเทศนั้นมีความสำคัญมาก และยังได้รู้อีกว่า การนิเทศที่ดีผู้นิเทศไม่ควรยึดตัวเองเป็นสำคัญ และควรจะเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

ผู้นิเทศ ต้องมีความรู้ความสามารถมากมาย เพราะต้องสามารถสร้างเเรงศรัทธาและความน่าเชื่อถือให้ได้ และทำให้รู้อีกด้วยว่าการทำงานกับผู้ที่มีความรู้ และการที่จะเปลี่ยนเเปลงผู้ที่มีประสบการณ์นั้นยากมากเเค่ไหน ผู้นิเทศจึงถือว่าเป็นผู้ที่เก่งและมีความสามารถ และเป็นผู้มีความกล้าความอดทน และมีศีลธรรมด้วย ซึ่งดิฉันจะนำความรู้เหล่านี้ไปปฎิบัตติต่อไป.

ผม นาย เกียรติพงศ์ มะทะ 51171441กป.51.ค5.2 เรียน วิชาการนิเทศการศึกษา Sec 02 จากบทความที่อาจารย์ได้นำเสนอมานั้น ทำให้รู้ว่าถึงความหมายของการนิเทศ เเละได้ เรียน รู็ สุภาษิตคำเมือง ที่อาจารย์ ได้ สอดเเทรก เข้าไปในบทความ เนื้อหาสาระ อ่านเเล้ว ทำให้เข้า ใจง่ายมากขึ้น เเละเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันเเละกัน อาจารย์ให้ความรู้ ประสบการณ์ เเละยัง เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และให้ความรู้แก่บุคคนอื่นๆ ที่ไม่มีความรู็ในเรื่องของการนิเทศก์ให้มีทัศนคติที่ดีเเละให้เข้าใจความหมายของการนิเทศได้อย่างถูกต้องเเละสามารถ นำไปเป็นเเนวทางในการพัฒนาในด้านทักษะการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท