ป้าเจี๊ยบ
น้อง พี่ อา ป้า ครู อาจารย์ คุณ นางสาว ดร. รศ. ฯลฯ รสสุคนธ์ โรส มกรมณี

ตลาดโบราณ 100 ปีมาแรง...


Gournet&Cuisine (November 2008)

          กินในตลาดโบราณ

         “ตลาดร้อยปี” หรือ “ตลาดโบราณ”  ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนี้   หลายจังหวัดรอบๆ กรุงเทพมหานคร  ทำการฟื้นฟูตลาดเก่าหลายแห่งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  เหมาะสำหรับไปเที่ยวสุดสัปดาห์แบบเช้าไปเย็นกลับ หรือจะพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์ก็ได้  ส่วนใหญ่จะคึกคักมากในวันเสาร์อาทิตย์  บางแห่งสามารถไปเที่ยววันธรรมดาก็ได้

ตลาดที่ฉันไปเยือนมาแล้ว ได้แก่ ลาดสามชุกที่จังหวัดสุพรรณบุรี ตลาดคลองสวนที่ตั้งคาบพื้นที่สองจังหวัดคือฉะเชิงเทรากับสมุทรปราการ ตลาดบ้านใหม่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ตลาดอัมพวาที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตลาดบางน้ำผึ้งที่จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดดำเนินสะดวกที่จังหวัดราชบุรี  และตลาดดอนหวายที่จังหวัดนครปฐม

ส่วนตลาดโบราณอื่นๆ  มีรายชื่อจ่อคิวตามแผน กระจายายได้สู่ท้องถิ่นของตัวเองอยู่แล้วค่ะ  มีโอกาสเมื่อไหร่จะไปทันที  

ไม่แน่นะคะ  ต่อไปฉันอาจจะกลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ตลาดโบราณก็เป็นได้ ?!?

ร้านขายสินค้าส่วนมากเป็นของกินค่ะ  คนที่ไปเที่ยวส่วนใหญ่ก็ตั้งใจไปกิน  สินค้าประเภทอาหารจึงเป็นพระเอกนางเอก ขณะที่สินค้าอื่นๆ รับบทพระรองนางรองกันไป 

การขายของกิน  มีทั้งซื้อกินแบบนั่งในร้าน ซื้อแล้วยืนกินหรือเดินกิน เพราะไม่มีที่ให้นั่ง  และซื้อกลับไปกินที่บ้าน

ร้านขายอาหารบางเจ้าอยู่ในเรือค่ะ ส่วนคนกินนั่งอยู่ริมฝั่ง จึงมีการใช้เครื่องช่วยรับส่งอาหารหรือค่าอาหารแบบด้ามยาว ได้บรรยากาศไปอีกแบบ

ความน่ากินของตลาดประเภทนี้คือ อาหารหลายอย่าง มีการแสดงวิธีทำให้เห็นกันสดๆใหม่ๆ เพิ่มความ “น่ากิน” ขึ้นอีก  ช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายนักท่องเที่ยวที่เดินผ่านให้ “อยากกิน” จนอดใจไม่ได้ ต้องซื้อ! 

เมื่อขายของกิน ก็ต้องมีการให้ชิมฟรี เพื่อลูกค้าจะได้รู้รสก่อนตัดสินใจซื้อ  ถ้าชิมทุกอย่างที่วางไว้ รับรองว่า “อิ่มแน่นอน”  ส่วนว่าหลังจากนั้น ท้องไส้จะปั่นป่วนเพราะกินเข้าไปหลายขนานหรือไม่  เป็นความสามารถเฉพาะบุคคลค่ะ 

แต่อย่างไรก็ต้องไม่ลืมว่า “ชิมฟรี” ไม่ใช่ “กินฟรี”  ควรหยิบในปริมาณแค่เพียงให้รู้รสเท่านั้น!

ตัวฉันเองเป็นคนธาตุอ่อน อาหารนอกบ้านมักจะทำให้ท้องเสียอยู่บ่อยๆ จึงชิมเฉพาะของกินที่ตั้งใจว่าจะซื้อเท่านั้น  ชิมแล้วชอบ จึงซื้อ   

ฉันคิดว่าคนที่มาเที่ยวส่วนมาก  ต้องการกินหลายๆ อย่างที่เห็นเช่นเดียวกับฉัน แต่ไม่ซื้อบางอย่างเพราะตั้งราคาสูงหรือมีปริมาณมากเกินไป  ร้านที่ฉลาดจึงตั้งราคาอาหารไม่แพงนัก ประมาณ 5-20 บาท จัดให้ในปริมาณสมราคา  ทำให้นักชิมทั้งหลาย  ยอมควักกระเป๋าซื้อโดยไม่ลังเล 

ชิมไปชิมมาอย่างละนิดละหน่อย ก็จ่ายไปคนละหลายร้อยได้เหมือนกัน

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ฉันพบว่าสิ่งที่เป็นตัวหารร่วมของตลาดเหล่านี้คือ การตั้งอยู่ริมน้ำ  โดยมีร้านค้าทอดเป็นแนวยาวไปตามสายน้ำ  บางแห่งเป็นแม่น้ำ บางแห่งเป็นลำคลอง  

สายน้ำนี่กระมังที่เป็นตัวบ่งบอกความ “โบราณ” ของตลาด?  ก็วิถีชีวิตคนไทยแต่โบราณผูกติดกับสายน้ำไงคะ  สมัยใหม่กลายเป็นถนน ตรอก ซอย

เมื่อคนมากินกันมาก  ภาชนะบรรจุอาหารที่ทิ้งเป็นขยะก็มีปริมาณมาก  ทั้งแบบที่ย่อยสลายยากและย่อยสลายง่าย  ถ้าสายน้ำเน่าเสียไปเพราะขยะพวกนี้  ก็น่าเสียดายอย่างยิ่ง  

ากคุณมีโอกาสไปกินในตลาดโบราณเหล่านี้   ขอให้ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมนะคะ  ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกลงให้น้อยที่สุด  ไม่ส่งเสริมร้านค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม  ทิ้งขยะในถังที่จัดไว้  และไม่ทิ้งขยะใดๆ ลงในลำน้ำโดยเด็ดขาด..

ตลาดโบราณเหล่านี้จะได้อยู่ต่อไปได้อีกหลายร้อยปี ..

 

คำสำคัญ (Tags): #ตลาด 100 ปี
หมายเลขบันทึก: 239944เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2009 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตามมาดูป้าเจี้ยบ อยากดูภาพอีกครับผม

สวัสดีค่ะป้าเจี๊ยบ

ห่างหายไปนาน สบายดีนะคะ  แหม คราวนี้มาไปถูกใจเลยค่ะ ว้าว มีแต่ของอร่อยๆ

...  ตลาดร้อยปี กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ...

ด้วยนะคะ มีความสุขมากๆ ค่ะป้าเจี๊ยบ ทั้งเรื่องการงานและความรัก:) ต้อนรับเดือนแห่งความรักไงคะ

ถ้ามีโอกาสจะไปเที่ยวนะค่ะ....

อาจารย์คะมีตลาดร้อยปีที่บางแสนด้วยค่ะ ลักษณะคล้ายตลาดทั่วๆไป แต่ทางโน้นเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล อาหารทะเลจึงเห็นวางขายเกือบทุกร้านเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณป้าเจี๊ยบ

- ตลาดโบราณเป็นตลาดที่มีมนต์เสน่ห์ค่ะ

- ชอบบรรยายกาศมากๆ โดยเฉพาะนักชิมทั้งหลายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท