พุทธศาสนา และ Spinoza (1 และหวังว่าจะมีตอนต่อๆไป)


ปรัชญาของ Spinoza น่าสนใจมากและมีความคล้ายคลึงกับศาสนาพุทธอย่างมาก คือ ถ้าจะเปรียบแบบไม่พอดีนัก อาจบอกได้ว่า ปรัชญา Spinoza เป็นพุทธศาสนาแห่งโลกตะวันตกก็อาจจะพอได้อยู่

เทอมนี้เป็นเทอมที่หนักหน่วงเอาการทีเดียว ต้องเรียนถึง 7 ตัวในเทอมเดียว แต่โชคดีหน่อยที่มันจะเหลื่อมๆกัน คือ ตัวนึงเริ่มไปแล้วและใกล้จบ สี่ตัวกำลังเริ่มและเรียนไปพร้อมๆกัน อีกสองตัวจะมาต่อตอนหลังแบบไม่ให้หายใจกันเลยทีเดียว ใน 7 ตัวนี่ 4 ตัวเป็นเศรษฐศาสตร์ 3 ตัวเป็นปรัชญา --"

หนึ่งในวิชานึงที่ต้องเรียนเป็นวิชาเกี่ยวกับ Spinoza

Spinoza เป็นนักปรัชญาชาวดัตช์ (ลุกครึ่งยิวกับโปรตุเกส) ในศตวรรษที่ 17 เกิดที่ Amsterdam และก็ย้ายที่ไปหลายที่และไปจบชีวิตที่ Den Haag ด้วยอายุเพียง 44 ปี ถึงแม้ว่าอายุจะสั้นแต่ Spinoza มีอิทธิพลต่อนักปรัชญาที่เขารู้จักเป็นอันมาก นักปรัชญาเหล่านั้นแม้จะมีอายุมากกว่าเขาแต่ก็ถือว่าเขาเป็น Guru ทางด้านปรัชญา เป็นคนที่จะบอกว่า หลักปรัชญาที่คิดขึ้นมานั้นดีหรือไม่ดี ว่ากันว่า เขาย้ายจาก Amsterdam ไปที่อื่นๆเพราะว่ารำคาญคน มีแต่คนจะมาคุยกับเขา บ้างก็ว่าถูกแบนจากเมืองบ้าง

หนังสือเล่มหลัก ของเขาคือ Ethics มีเล่มอื่นด้วยแต่ว่าไม่น่าจะได้เรียนในตัวนี้ Ethics เป็นหนังสือที่กระทั่งตัว Spinoza เองตัดสินใจไม่พิมพ์ตอนมีชีวิตอยู่ด้วยความที่แน่ใจว่า จะต้องขัดกับหลักความเชื่อทางคริสตศาสนาเป็นแน่แท้ โดยเฉพาะในเรื่องคอนเซปเกี่ยวกับพระเจ้า หนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์หลังจากที่เขาเสียชีวิต เมื่อเขาสั่งเสียกับเพื่อนของเขาว่า ให้นำหนังสือเล่มนี้จากลิ้นชักไปจัดพิมพ์หากเกินอะไรขึ้นกับเขา หลังจากเขาเสียชีวิต เพื่อนเขาทำตามคำสั่งเสีย โดยการนำหนังสือไปพิมพ์ ขณะเดียวกัน ในลิ้นชักนั้นก็มีจดหมายโต้ตอบของ Spinoza พร้อมทั้งต้นฉบับที่ยังไม่เสร็จของหนังสือเรื่องอื่นๆอยู่ เพื่อนเขาจึงพยายามรวบรวมจดหมายทั้งหมด และพิมพ์พร้อมกับหนังสือ Ethics

เท่า ที่อาจารย์เล่าให้ฟังคร่าวๆเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้นั้น มันน่าสนใจมากและมีความคล้ายคลึงกับศาสนาพุทธอย่างมาก คือ ถ้าจะเปรียบแบบไม่พอดีนัก อาจบอกได้ว่า ปรัชญา Spinoza เป็นพุทธศาสนาแห่งโลกตะวันตกก็อาจจะพอได้อยู่ ทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมายของ Spinoza มิได้ต้องการตอบความจริงเกี่ยวกับโลกเท่าใดนัก แต่ต้องการที่จะหาวิธีที่จะทำให้มนุษย์อยู่อย่างเป็นสุขและพ้นทุกข์ไปได้!

ใน Ethics มีห้าส่วนหลักๆ Spinoza เล่าเรื่องราวไล่เรียงกันไปดังนี้คือ ส่วนแรกว่าด้วยเรื่องโลกและจักรวาล ให้เห็นภาพรวมของธรรมชาติ พระเจ้า ฯลฯ ส่วนที่สองว่าด้วเยรื่องมนุษย์ องค์ประกอบของมนุษย์ทั้งด้านกายและด้านจิตใจ ส่วนที่สามว่าด้วย ความรู้ของมนุษย์ คือส่วนที่ว่าด้วยจินตนาการ ส่วนที่สี่เป็นเรื่องของอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่งครอบงำจิตใจของมนุษย์ และส่วนสุดท้ายคือ ความรู้ที่จะทำให้มนุษย์อยู่อย่างเป็นสุข และพ้นทุกข์ !!!

ได้ฟังดังนี้ก็เกิดความคิดว่า ช่างคล้ายคลึงกับพระพุทธศาสนาอย่างมาก อย่างน้อยก็ในเชิงเป้าหมาย ในพระพุทธศาสนาเองก็ได้มีการพูดถึงในทุกๆส่วนที่ Spinoza ได้พุดถึง แม้ว่าจะไม่ได้ใช้วิธีการเขียนแบบเดียวกันก็ตาม แต่จากการที่ศึกษาศาสนาพุทธมาระดับหนึ่งก็ทำให้เห็นความคล้ายคลึงของทั้งสอง หลักมากทีเดียว

ระหว่างพักได้ไปถามอาจารย์ว่า ฟังเรื่อง Spinoza ทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้า อาจารย์บอกว่า มีหลายคนอยู่ที่เปรียบเทียบ Spinoza กับศาสนาพุทธ หรือปรัชญาตะวันออก แต่ก็มีจุดด้อยอยู่เยอะและไม่ค่อยวิพากษ์เท่าใดนัก ... ได้ฟังดังนั้นจึงรู้สึกว่า นี่น่าจะเป็นประเด็นสำหรับ final essay ได้เลยทีเดียว และรู้สึกได้กับตัวเองว่าเราน่าจะทำได้ดีกว่างานที่เคยมีมา ในฐานะที่เราเป็นคนพุทธและศึกษาศาสนามาระดับหนึ่งและเข้าถึงพระไตรปิฎก และชุมชนธรรมะที่จะให้คำแนะนำได้ ..

ตอนนี้สั่งซื้อหนังสือ Ethics ของ ​Spinoza ไปแล้ว (ประมาณ 12 ยูโรครับพ่อ) น่าจะได้อย่างช้าต้นสัปดาห์หน้า จากนั้นคงจะได้ศึกษาเรื่องนี้มากขึ้น และน่าจะได้ค้นพบจุดร่วมและจุดต่างของ Spinoza และพระพุทธศาสนา ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับตนเอง และอาจจะเป็นประโยชน์กับโลกตะวันตกก้ได้

คำสำคัญ (Tags): #spinoza#พุทธศาสนา
หมายเลขบันทึก: 239760เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2009 04:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากอ่านบ้าง....

และยิ่งกว่านั้น ก็หวังว่าจะได้อ่าน บทความของคุณ

เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้กับพุทธศาสนา

ในเชิงเปรียบเทียบ วิพากษ์ และ วิจารณ์

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์บาทเดียว

หวังว่าจะได้ติดตามตอนต่อๆไป เช่นกันครับ

ขอบคุณครับที่ได้แนะนำให้รู้จัก "ปราชญ์" ผู้ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท