ป่าหิมพานต์


-

ป่าหิมพานต์ เป็นป่าในวรรณคดีซึ่งเป็นจินตนาการของคนไทยมานาน

ตำนานป่าหิมพานต์

ตามตำนานกล่าวไว้ว่าป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขา หิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ

- สระอโนดาต
- สระกัณณมุณฑะ
- สระรถการะ
- สระฉัททันตะ
- สระกุณาละ
- สระมัณฑากิณี
- สระสีหัปปาตะ

บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์

ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เราๆรู้จัก บ้างก็ว่า สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของ จิตรกร ที่ได้สรรค์สร้าง ภาพต่างๆจาก เอกสารเก่าต่างๆ

 เราจัดหมวดหมู่สัตว์หิมพานต์อย่างไร
นายช่วง สเลลานนท์ ประพันธ์หนังสือ “ศิลปไทย” ในปีพ.ศ. ๒๔๙๔ และได้มีการกล่าวถึงสัตว์หิมพานต์ ท่านได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๓ ประเภทคือ สัตว์ทวิบาท (สองขา) สัตว์จตุบาท (สี่ขา) และ ประเภทปลา

วิธีการจำแนกสัตว์หิมพานต์ ตามคงามคล้ายคลึงทางสรีระภาพของสัตว์ เพื่อให้ผู้อ่านจดจำได้ง่ายขึ้น
 
เราได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๑๕ ประเภทดังนี้

+ สัตว์ประเภทกิเลน

 
      - กิเลนจีน
      - กิเลนไทย
      - กิเลนปีก
+ สัตว์ประเภทกวาง
      - มารีศ
      - พานรมฤค
      - อัปสรสีหะ
+ สัตว์ประเภทสิงห์


      - บัณฑุราชสีห์
      - กาฬสีหะ
      - ไกรสรราชสีห์
      - ติณสีหะ
      - เกสรสิงห์
      - เหมราช
      - คชสีห์
      - ไกรสรจำแลง
      - ไกรสรคาวี
      - ไกรสรนาคา
      - ไกรสรปักษา
      - โลโต
      - พยัคฆ์ไกรสร
      - สางแปรง
      - สกุณไกรสร
      - สิงฆ์
      - สิงหคาวี
      - สิงหคักคา
      - สิงหพานร
      - สิงโตจีน
      - สีหรามังกร
      - เทพนรสีห์
      - ฑิชากรจตุบท
      - โต
      - โตเทพสิงฆนัต
      - ทักทอ
+ สัตว์ประเภทม้า
      - ดุรงค์ไกรสร
      - ดุรงค์ปักษิณ
      - เหมราอัสดร
      - ม้า
      - ม้าปีก
      - งายไส
      - สินธพกุญชร
      - สินธกนธี
      - โตเทพอัสดร
      - อัสดรเหรา
      - อัสดรวิหค
+ สัตว์ประเภทแรด

+ สัตว์ประเภทช้าง


      - เอราวัณ
      - กรินทร์ปักษา
      - วารีกุญชร
      - ช้างเผือก
+ สัตว์ประเภทวัวควาย


      - มังกรวิหค
      - ทรพี / ทรพา
+ สัตว์ประเภทลิง


      - กบิลปักษา
      - มัจฉานุ
+ สัตว์ประเภทสุนัข


+ สัตว์ประเภทนก


      - อสูรปักษา
      - อสุรวายุพักตร์
      - ไก่
      - นกการเวก
      - ครุฑ
      - หงส์
      - หงส์จีน
      - คชปักษา
      - มยุระคนธรรพ์
      - มยุระเวนไตย
      - มังกรสกุณี
      - นาคปักษี
      - นาคปักษิณ
      - นกหัสดี
      - นกอินทรี
      - นกเทศ
      - พยัคฆ์เวนไตย
      - นกสดายุ
      - เสือปีก
      - สกุณเหรา
      - สินธุปักษี
      - สีหสุบรรณ
      - สุบรรณเหรา
      - นกสัมพาที
      - เทพกินนร
      - เทพกินรี
      - เทพปักษี
      - นกทัณฑิมา
+ สัตว์ประเภทปลา


      - เหมวาริน
      - กุญชรวารี
      - มัจฉนาคา
      - มัจฉวาฬ
      - นางเงือก
      - ปลาควาย
      - ปลาเสือ
      - ศฤงคมัสยา
+ สัตว์ประเภทจระเข้


      - กุมภีร์นิมิต
      - เหรา
+ สัตว์ประเภทปู
+ สัตว์ประเภทนาค
+ สัตว์ประเภทมนุษย์
      - คนธรรพ์
      - มักกะลีผล

ความเชื่ออื่นที่คล้ายคลึงกับตำนานป่าหิมพานต์

เทพเจ้าหลายองค์ของอียิปต์มีร่างกายเป็นมนุษย์และ มีหัวเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ ดูไปแล้วคล้ายกับสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีหลายคนเชื่อว่าตำนานเทพเจ้าอียิปต์ อาจจะเป็นแรงบันดาลใจ และต้นกำเนิดของสัตว์หิม-พานต์ ตัวอย่างเทพเจ้าที่มีร่างกาย บางส่วนเป็นสัตว์มีดังนี้

อนูบิส—เทพเจ้าแห่งความตายของอียิปต์ ตามรูป เขียนทำเป็น มนุษย์มีเศียรเป็นหมาไนสีดำ

บัสต์—เทวีแห่งแมว

ฮาเธอร์—เทวีวัว

โฮรุส—เทพเจ้าของอียิปต์ ตามรูปมีร่างเป็นมนุษย์ เพศผู้์มีเศียร เป็นนกเหยี่ยว

เคนชู—เทพเจ้าแห่งการสื่อสารและดวงจันทร์

คนุม—เทพเจ้าแห่งน้ำ ตามรูปมีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียรเป็นแพะ

รา—เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์และเทพเจ้าแห่งการ สร้าง ร่างเป็นมนุษย์เพศผู้์มีเศียรเป็นนกเหยี่ยว

เสเบ็ก—เทพเจ้าจระเข้ ตามรูปมีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียรเป็นจระเข้

เซต—เทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียรเป็นตัวกินมด

เคบ—เทพเจ้าแห่งผืนดิน

ธอธ—เทพเจ้าแห่งความฉลาดมีร่างเป็นมนุษย์เพศผู้มีเศียร เป็นนกกระสา มงกุฏเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว



สัตว์พิศดารในตำนานกรีกสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ “สัตว์ผสม” และ “สัตว์ประหลาด”

สัตว์ผสม หมายถึงสัตว์ ที่มีลักษณะผสมระหว่างสัตว์ ธรรมดาตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป โดยปกติจะมีเป็นเผ่าพันธุ์

สัตว์ประหลาดหมายถึงสัตว์พิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ ตัวที่ไม่มีสัตว์อื่นเหมือน สัตว์ประหลาดส่วนใหญ่ใน ตำนานมักเป็นเพื่อนหรือศัตรูกับวีรบุรุษ

เซนธอร์—สัตว์ผสมชนิดหนึ่งระหว่างมนุษย์กับม้า

เซอเบรุส—สัตว์ประหลาดผู้เฝ้าปากทางนรก รูปร่างเป็นสุนัข ๓ หัว

ไคเมร่า—สัตว์ประหลาดในตำนานมีร่างกายแบบ ผสม โดยมีช่วงหัวเป็นสิงโต ช่วงตัวเป็นแพะเพศเมีย และช่วงหางเป็นงู

เอคิดน่า—สัตว์ประหลาดในตำนานมีร่างกายแบบ ผสม โดยมีช่วงบนเป็นสตรีงามและช่วงล่างเป็นงู เอคิดน่าเป็นผู้ให้กำเนิดสัตว์ประหลาดหลายตัว

ฮาปิ—สัตว์ผสมชนิดหนึ่งระหว่างมนุษย์กับนกแร้ง

ไฮดร้า—สัตว์ประหลาดในตำนานมีร่างกายเป็นงู หลายหัว อาศัยอยู่ในน้ำ เมดูซ่า—สัตว์ประหลาด หัวเป็นสตรีมีผมเป็นงู

มิโนทัว—สัตว์ประหลาด หัวเป็นวัว

เปกาซัส—สัตว์ประหลาดรูปร่างเป็นม้ามีปีก

สฟิงค์—สัตว์ประหลาดมีหัวเป็นสตรีตัวเป็นสิงโต.

 

คำสำคัญ (Tags): #มจร.ลำพุน
หมายเลขบันทึก: 239567เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ เรื่องน่าสนใจมากเลยนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ต่อไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท