นวัตกรรมการเรียนการสอน


การเรียนรู้แบบบูรณาการ

กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

 

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และที่แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2545  มาตรา  22  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  มาตรา  23  การจัดการศึกษา ในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา  มาตรา  24  การจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะบูรณาการความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กิจกรรมเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  มาตรา 24 (3) นั้น สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ ทำเป็น คิดเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และตามมาตรา 24 (5) นั้นผู้สอนจะต้องสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรูบูรณาการจึงสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าว เพราะ

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการ

 

                     1.  ผสมผสานหลักสูตร ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

                     2.  ผสมผสานกระบวนการสอน / กระบวนการเรียนรู้ / ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมอันดีงาม  โดยคำนึงถึง

-          ความแตกต่างระหว่างบุคคล

-          ความสามารถทางสติปัญญา

                การบูรณาการทางการสอนจะช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ไปผสมผสานกัน   ฝึกให้รู้จักใช้ เหตุผลและการนำไปประยุกต์ใช้  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

 

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

ด้านจิตวิทยา

ผู้เรียนได้มีโอกาสได้รับความรู้ที่หลากหลาย เกิดการนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ด้านสังคมวิทยา

ผู้เรียนต้องการทักษะจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ด้านบริหาร

-          แก้ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร

-          แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา

-          ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

        

แนวคิด / ทฤษฎี

              กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ

1.      ปรัชญาการศึกษาแบบ  Progressivism  ของ  John Dewey

-          การศึกษาคือชีวิต : คนต้องศึกษาตลอดชีวิต (ความรู้มากมายมหาศาล)

-          เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

-     การเรียนโดยการแก้ปัญหา

-          ส่งเสริมร่วมมือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

-          สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันในวิถีประชาธิปไตย

              2.   ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน  Cognitive  ที่ใช้  Constructivism  Approach 

      หลักสำคัญของ  Constructivism  คือ ผู้เรียนต้องสร้างความรู้เอง  ครูเป็นผู้ช่วย

      โดยจัดหาข้อมูลข่าวสารที่มีความหมายให้แก่ผู้เรียน  หรือให้โอกาสผู้เรียนได้ค้นพบ

      ด้วยตนเอง  และเป็นผู้ลงมือกระทำ

              3.   ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ  Ausubel

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Ausubel  เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน

              4.   การถ่ายโยงการเรียนรู้  (Transfer of Learning)

การถ่ายโยงการเรียนรู้  หมายถึง  การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเตรียมผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งในด้านประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ

 

ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ

              การบูรณาการทำได้หลายระดับ  โดยเป็นการบูรณาการระหว่าง

§       ความรู้ของวิชาต่าง ๆ     (บูรณาการหลักสูตร)

§       ความรู้และกระบวนการเรียนรู้   (บูรณาการกระบวนการเรียนการสอน)

§       พัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ (จิตพิสัย)  เน้นทั้งความรู้ และ

                    เจตคติ  ค่านิยม  ความสนใจ  สุนทรียภาพ

§       ความรู้และการกระทำ  เน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย

§       สิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน

§       สิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

 

หลักการจัดการเรียนรู้

         การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Integration)   อาจจัดได้  2  ลักษณะ  คือ

         1.  การบูรณาการภายในวิชา  (Intradisciplinary)   เป็นการบูรณาการที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลักการบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด คือ วิชาภาษา หรือกระบวนการทางภาษา ซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน   และการเขียน   เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบ  นอกจากวิชาภาษาแล้ว  วิชาสังคมศึกษา  วิทยาศาสตร์  หรือคณิตศาสตร์    ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

       2.  การบูรณาการระหว่างวิชา  (Interdisciplinary)   เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่าง ๆ  ตั้งแต่  2 สาขาวิชาขึ้นไปภายในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน   เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์ หรือความรู้ในวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป  เพื่อแก้ปัญหา หรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่าง ๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น

 

         การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้ง  2  ลักษณะนั้น    สามารถจัดเป็นรูปแบบของการบูรณาการ (Models  of  Integration)  ได้  4  รูปแบบ  คือ

1.      บูรณาการแบบสอดแทรก  (Infusion Instruction)   ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหา

ของวิชาอื่น ๆ เข้าในการเรียนการสอนของตน  เป็นการสอนตามแผนการสอนและประเมินผลโดยครูคนเดียว  วิธีนี้ถึงแม้นผู้เรียนจะเรียนจากครูคนเดียว  แต่สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาได้

 

         2.  บูรณาการแบบขนาน  (Parallel  Instruction)  ครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากันต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน  ระบุสิ่งที่ทำร่วมกันและตัดสินใจร่วมกัน  ว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอดและปัญหานั้น ๆ อย่างไร  ในวิชาของแต่ละคน ใครควรสอนก่อน-หลัง  งานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำจะแตกต่างกันไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน  การสอนแต่ละวิชาจะเสริมซึ่งกันและกัน   ทำให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างวิชา

 

         3.  บูรณาการแบบสหวิทยาการ  (Multidisciplinary Instruction)   การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้คล้ายกับบูรณาการแบบขนาน  กล่าวคือ  ครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน มาวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยกำหนดว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน  ต่างคนต่างแยกกันสอนตามแผนการสอนของตน  แต่มอบหมายให้ผู้เรียนทำงานหรือโครงการร่วมกัน  ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนสร้างชิ้นงานได้   ครูแต่ละวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนในส่วนวิชาที่ตนสอน

 

         4.  บูรณาการแบบข้ามวิชา หรือสอนเป็นคณะ (Transdisciplinary Instruction)  ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันวางแผน  ปรึกษาหารือ กำหนดหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ (Team)   โดยดำเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน  มอบหมายงาน/โครงการให้นักเรียนทำร่วมกัน  ครูทุกวิชาร่วมกันกำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน

 

ขั้นตอนและวิธีการ

         การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ทั้งการบูรณาการภายในวิชาและบูรณาการระหว่างวิชา  มีหลักการเช่นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้

 

       1.  การวางแผนและการประเมินผลการสอนแบบบูรณาการ

 

           ขั้นที่ 1    วิเคราะห์หลักสูตรและเลือกหัวเรื่อง  (Theme)

-          ระดมพลังสมองของครู/ผู้เรียน

-          กำหนดโครงการสอนให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวต

                        -     การศึกษาเอกสารต่าง ๆ

-          กำหนดหัวข้อเรื่อง (Topic) ให้แคบลง (หาความสัมพันธ์ของความรู้ในวิชาต่าง ๆ

 

           ขั้นที่ 2    การพัฒนาหัวเรื่อง

-          กำหนดเวลาในการสอนให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงปฎิทินปฎิบัติงานของโรงเรียน

-          กำหนดวัตถุประสงค์ โดยระบุความรู้ด้วยความสามารถที่ต้องการจะให้เกิดแก่ผู้เรียน

-          สร้างวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง

-          ให้ผู้เรียนคาดการณ์ถึงความสำเร็จขั้นต้น

หมายเลขบันทึก: 238969เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครูอ้อย สอนแบบบูรณาการ ในตัวเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท