เก็บตกจากการเสวนาเรื่องการคืนชาติ วันที่ 30 มกราคม 2552


 

เนื่องจากวันที่มีการเสวนา ได้รับมอบหมายให้เป็นคนบันทึการประชุมโดยละเอียด จึงไม่ค่อยมีโอกาสได้อ่านเอกสาร หรือจดสิ่งที่ตนเองคิดได้มาก ต่อไปนี้คือข้อห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายการคืนชาติ

 

เรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดูเหมือนประชาชนยังไม่ค่อยเชื่อมั่นกับการรวมกลุ่มของตนเอง โดยเฉพะาพี่เลี้ยง ซึ่งมันจะฝากความหวังไว้กับภาควิชาการ ภาคการเมืองหรือภาคราชการ ที่ต่างก็"สัญญา" ว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ ศักยภาพขององค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมกับภาคเอกชนในการร่างกฎหมาย ทำฐานข้อมูลทั้งในกลุ่มตนเองเเละขยายการสำรวจไปยังกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากวงจรเดิมของตน เเละยกร่างกฎหมายโดยประชาชน (โดยการให้คำปรึกษาของภาควิชาการ ไม่ใช่ให้ภาควิชาการยกร่างให้)

 

ภาคประชาชนคงต้องให้สัญญากับภาคอื่นๆ ด้วยว่าตนเองจะทำอะไรเพื่อการได้รับสัญชาติไทยบ้าง

 

ชนชั้นระหว่าง(สัญ)ชาติ ประเด็นการตีความชุดสิทธิระหว่างผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด เเละหลังการเกิด โดยหลักสืบสายโลหิต ทำให้เรารู้สึกว่าการเป็นคนไทยโดยการเกิด โดยหลักสายโลหิต เป็นประเด็นสำคัญกว่าการเรียกร้องให้คนไทยที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีสัญชาติไทยหลักสายโลหิตหลังการเกิดได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนที่ได้สัญชาติไทยตั้งเเต่เกิด 

 

การเรียกร้องสิทธิ ซึ่งจะครอบคลุมประชากรจำนวนมากที่มีสัญชาติไทยโดยหลักสายโลหิต ที่ได้รับการยืนยันสัญชาติไทยหลังการเกิด จะสามารถผลักดันให้ประชากรเหล่านี้ใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิ "ที่มีสัญชาติไทย" ได้อย่างเต็มที่ แทนที่จะถูกตีความว่าประชากรกลุ่มนี้ต้องใช้ชุดสิทธิเดียวกับผู้ทรงสิทธิที่ "ได้สัญชาติไทย" โดยการเเปลงสัญชาติ ซึ่งจะไม่ได้รับสิทธิทางการเมืองบางประการ

 

หากการมีสัญชาติไทยหลังการเกิด ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับการมีสัญชาติไทยตั้งเเต่เกิด บางคนที่สามารถใช้มาตรา 23 เพื่อขอลงรายการสัญชาติไทย คงไม่รู้สึกว่าถ้าเลือกมาตรา 23 แล้วจะได้สิทธิลดลง ในกรณีบุคคลที่จำเป็นต้องใช้สิทธิเเละการคุ้มครองสำหรับบุคคลชาติไทย เช่นการรักษาพยาบาล การเดินทาง อย่างเร่งด่วน การขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23 ร่วมกับการผลักดันการตีความชุดสิทธิสำหรับบุคคลมาตรา 23 ให้เท่าเทียมกับคนสัญชาติไทยตามปกติ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง

 

การเลือกระหว่างการ "แปลง" หรือ "มี" สัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่น หรือคนเชื้อสายไทย ก็จะเป็นเรื่องของความรู้สึก (ซึ่งสำคัญ) สำหรับเเต่ละบุคคล  แต่ไม่ว่าจะ "แปลง" หรือ "มี" คนเชื้อสายไทยก็ควรจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคนสัญชาติไทย เพราะเขาก็มีเลือดไทยเหมือนกัน

 

Internal Ultranationalism เเละ เกณฑ์การคัดกรองคนพลัดถิ่น การรอกกฎหมายคงจะต้องครอบคุลมคนเชื้อชาติไทยที่อพยพกลับเข้ามาหลายที่ ทั้งชายแดนกัมพูชา ชายแดนพม่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการระบุว่าใครเป็น "ผู้อพยพ... สัญชาติไทย" เป็นสิง่ที่ดี เเต่จะต้องมีการทบทวนจากนักกฎหมาย นักมานุษยวิทยา นักสังคมศาสตร์เเละนักรัฐศาสตร์ ว่าการกำหนด "เกณฑ์"  ได้ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความเข้มข้นของชาติพันธุ์ จนอาจเบียดขับผู้อื่นที่ีคุณสมบัติไม่เท่ากับกลุ่มของตน หรือกลุ่มที่สามารถแสดงอัตลักษณ์ความเป็นไทยได้น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ อาจจะพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเท่ากับกลุ่มที่อพยพเข้ามานานเเล้ว ถ้าใช้การพูดภาษาไทยเป็นตัววัด ก็จะทำให้กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบในการได้รับสิทธิในสัญชาติไทยหรือไม่ อีกประการหนึ่ง ความรู้ประวัติศาสตร์ในชุมชนของคนเเต่ละรุ่นก็เเตกต่างกันไป ทั้งบางครอบครัว หรือบางชุมชน ที่คนเชื่อชาติไทยไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อน เเต่กระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ อาจไม่สามารถสืบสาวเพื่อนบ้าน คนรู้จัก บิดา มารดา หรือผู้ทำคลอดได้ ผู้อพยพบางกลุ่มอาจนับถือศาสนาต่างกันจากกลุ่มใหญ่ อาจไม่ทราบประวัติของพระ หรือวัด ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเฉพาะกลุ่ม "ไทยพุทธ" 

 

การกำหนดเกณฑ์จึงต้องเกิดจากการหารือกับผู้อพยพเชื้อสายไทยทุกกลุ่ม ไม่ควรยึดถือหลักเกณฑ์ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกำหนด เเต่ควรให้ทุกกลุ่มได้มีส่วนกำหนดว่า การนิยาม "เชื้อชาติไทย" โดยรวม เป็นอย่างไร โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้อพยพเชื้อชาติไทยทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้ เพื่อสร้างเกณฑ์กลางที่ไม่เบียดขับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกไป การมีส่วนร่วมนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มเเข็งของภาคประชาชนด้วย  แต่เข้มเเข็งจนไปชี้นำ หรือเบียดขับ หรือเสียงดังกว่าคนอื่นจนกลายเป็น การนำประเด็นของตนเองเป็นตัวตั้ง โดยไม่รับฟังเสียงที่เบากว่าก็อาจเป็นปัญหาในการร่วมกันกำหนดเกณฑ์ 

 

เข้าใจว่าทุกคนกลัวว่าจะเกิดการสวมตัว เเละทำให้ปลาเน่าตัวเดียวทำให้คนอื่นเสียสิทธิในการได้สัญชาติไทย แต่ในทางกลับกันการตั้งเกณฑ์ที่มีความเป็นชาตินิยมเข้มข้น ก็อาจทำให้คนเชื้อสายไทยบางกลุ่มตกเกณฑ์ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไป

 

 

 

แว๊ก แม่แก้วเรียกเเล้วค่ะ 

เอาไว้อัพต่อตอนกลับมาละกัน   วันนี้ไม่เอาคอมไปด้วย อยากฮิปกลับมาใช้สมุด (ความจริงคือขี้เกียจแบก)

หมายเลขบันทึก: 238937เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พี่พบเรื่องจริงที่น่าบอกเล่า หรือเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนไม่แนใจ

ดังนี้ค่ะ

หญิงต่างชาติ สมรสกับหนุ่มไทย และหญิงไทยสมรสกับหนุ่มต่างชาติ (แรงงานชาติพม่า และแรงงานมอญ)

ลูกเกิดมาเป็นไทย....ใช่หรือไม่

มีความว่าหากพบหญิงมีครรภ์ต่างชาติ (แรงงานพม่า มอญ )จะถูกพลักดันให้กลับไปคลอดที่ฝั่งของตนเอง

กรณีหลังงงมาก หากเป็นจริงทำไมไม่ผลักก่อนมีครรภ์..ไม่บาปด้วย

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณจุฑิมาศ

การตั้งกฎเกณฑ์มากมาก

เพื่อป้องกันการสวมตัว

แต่บางอย่างน่าจะอนุโลมได้

เช่น สมาชิกที่ศูนย์ฯ

เป็นคนไทยภูเขา

ขอบัตรประชาชนของชาวเขามา 20 กว่าปีแล้ว

แต่ก้อไม่ได้

ทำทุกอย่าง

ตรวจดีเอ็นเอ

สืบหา พ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง

ผู้ใหญ่ กำนัน เซ็นต์รับรอง

แต่ก้อยังไม่ได้บัตรประชาชนเหมือนเดิม

ไม่เข้าใจค่ะ

ถ้าตั้งมาตรฐานไว้สูงเกินไปไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของคนที่มีเชื้อชาติไทย ก็คงเเก้ปัญหาไม่หมดค่ะ ส่วนเรื่องสวมตัว ควรแก้ปัญหาที่เจ้าหน้าที่เเละผู้เกี่ยวข้อง ในการตรวจพิสูจน์หลักฐาน ไม่ใช่ตั้งมาตรฐานสูงเกินกว่าที่คนไร้สัญชาติเชื้อสายไทยจะเข้าถึงได้ เห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะพี่จ๊อบที่ช่วยแสดงความคิดเห็นต่อเวที

แต่ตัวหนังสือมันเล็กเกินไปอ่ะ ต้องเล็งอย่างดีเลยนะเนี่ย

เอาไว้ทดสอบว่าใครแก่ คนที่แก่จะอ่านไม่ถนัด คนสาวๆ ไม่เห็นเป็นปัญหา คริๆ

กำลังทำดุษฎีนิพนธ์มีความสนใจจะทำเรื่องเกี่ยวกับคนไทยพลัดถิ่นอยากขอคำปรึกษาด้วยค่ะ

หายไปปีกว่า ต้องมาทวนงานใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท