แก่นทำ


  • เมื่อกว่า 2 ปีมาแล้ว ได้เสวนาธรรมกับพี่หนึ่งที่เคยตั้งใจว่าจะบวชไม่สึก ตอนนั้นผมศึกษาปริยัติธรรม (ทฤษฏี) จนถึงขึ้นอ่านพระไตรปิฎอย่างหนัก แต่ยังไม่เคยปฏิบัติเลย พอคุยกันไปสักพักพี่คนนั้นก็พูดขึ้นทำนองว่า "หยุดอ่าน หยุดศึกษาเถอะ ให้ปฏิบัติเอาเลย" ... ในตอนนั้นผมคิดเพียงว่า พี่เขาคงยังศึกษามาไม่มากพอ และยึดติดกับแนวปฏิบัติที่ทำสืบต่อกันมา ทำให้ตอนนั้น คำสอนต่อจากประโยคดังกล่าว ผมไม่ยอมฟัง (ทำเหมือนฟัง แต่ก็ตัดสินในใจไปแล้วว่า ไม่ใช่) ... จนเวลาผ่านมาเกือบปี เมื่อผมปริยัติมากเข้า รู้มากเข้า มีการบูรณาการสู่วิถีชีวิตมากขึ้น ผมถึงได้นึกถึงการสนทนาในคืนนั้น ว่า เป็นบันไดอีกขั้นหนึ่ง หรือคลื่นที่สูงกว่า ภูมิธรรมผมจะรับได้ จะเข้าใจได้
  • จุดอ่อนของการสนทนาในครั้งนั้น คือ พี่เขาบอกว่า ตอนที่ปฏิบัติมาก ๆ นั่งสมาธิมาก ๆ เหมือนตัวลอยได้ เหมือนส่วนขาหายไป และมีอยู่วันหนึ่งที่ไปธุดงค์ สามารถเห็นนิมิตเหตุการณ์ล่วงหน้าว่า คนที่ขับรถผ่านไปนั้นจะเกิดอุบัติเหตุในแยกข้างหน้า ... คำบอกเล่าเหล่านี้ทำให้ผมคิดไปเองว่า พี่แก "โม้" แน่ ๆ เลย แต่พี่เขาก็พูดตบท้ายว่า ปกติแล้วเขาไม่ค่อยเล่าให้ใครฟัง...

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แก่นธรรม
หมายเลขบันทึก: 238657เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2009 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

* ปฏิบัติและเรียนรู้จากธรรมชาติก็เป็นขั้นหนึ่งของการศึกษาธรรม

* โม้หรือเปล่าคนเล่าคือผู้ตัดสิน อิอิ

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีครับ

P

* ปฏิบัติและเรียนรู้จากธรรมชาติก็เป็นขั้นหนึ่งของการศึกษาธรรม

* โม้หรือเปล่าคนเล่าคือผู้ตัดสิน อิอิ

* สุขกายสุขใจนะคะ

  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ เป็นสุดยอดแก่นธรรมจริงครับ เห็นเอง รู้เอง
  • เท่าที่ไปศึกษาเพิ่มเติมมา พบว่า การฝึกจิตมีความเป็นวิทยาศาสตร์อยู่ไม่น้อย (วิทยาศาสตร์เข้าถึงได้เพียงบางส่วน) กล่าวคือ เมื่อทำสมาธิให้เข้าสู่ฌานในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เวลาของจิต กับเวลาของโลกแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อย จนสามารถข้ามกาลเวลาไปในอดีตและอนาคตได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ทำนองนั้นครับ (อย่างพึ่งเชื่อนะครับ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท