การรับรองบุตร


น้องบอกว่าเด็กเบิกสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมได้ถึงอายุ 6 ขวบ และถ้ายังไม่ใช้สิทธิย้อนหลังไม่ได้สองปี ดังนั้น ถ้าจะคิดทำอะไรต้องรีบทำก่อนที่อายุของลูกจะเกินสิทธิที่จะได้รับไปเสียก่อน

       อยากมีสามี อยากมีลูก แต่ไม่อยากมีห่วงมาผูกคอเพราะถึงเป็นสามีแต่ก็ยังไม่มั่นใจในความประพฤติ เรื่องนี้จึงต้องพึ่งอำนาจศาลอย่างเดียวเพราะลูกก็ควรมีพ่อและมีแม่ ถึงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แค่พ่อรับรองบุตรไว้ก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

        ผู้เขียนเริ่มทำงานหลังจากเรียนจบปริญญาตรีโดยเป็นเลขานุการอธิบดีผู้พิพากษาศาลฝั่งธนฯ โดยเรียนโทไปด้วย ทำงานไปด้วย ทั้งที่แม่ขอร้องให้เรียนอย่างเดียว แต่ตอนนั้นไฟแรงมาก อยากทำงานเหมือนเพื่อน จึงตามๆ กันไป บางครั้งเพื่อนอยากทำงานที่นี่ แต่ไม่อยากไปคนเดียว ก็ชวนผู้เขียนไปด้วย จึงเอาใบสมัครของตัวเองส่งไปด้วย ปรากฏว่ายังกลับไม่ทันถึงบ้าน เขาก็โทร.ไปตามให้มาทำงานแล้ว แต่ไม่ไป ที่จริงถ้าไปก็อาจจะได้เป็นผู้สอบบัญชีกับเขาไปแล้ว

       แต่ตัวเองดันเลือกมาทำงานที่ศาล โดยเป็นลูกจ้างชั่วคราวพอเรียนจบโทปุ๊บ ก็สอบเข้ารับราชการที่กระทรวงการคลังได้โดยยังไม่ได้รับปริญญา อย่างนี้ต้องเรียกว่า "ดวง" จากประสบการณ์การทำงานที่ศาล จึงพอมีคนรู้จักและพอทราบบรรยากาศ ตอนนี้น้องสาวมีปัญหา คือ มีลูกแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี เพราะตัวเขาเองมีนิติกรรมสัญญาเยอะ ถ้าจะเปลี่ยนชื่อ - สกุล คงยุ่งพอสมควร และแม่สั่งไว้ก่อนตายว่าห้ามจดทะเบียนสมรส คงกลัวเรื่องสมบัติ

       ผู้เขียนก็พยายามหาข้อมูลให้น้องสาว เรื่อง เบิกค่าเลี้ยงดูบุตร จากประกันสังคม (พอดีทำรายงานเรื่องนี้) แต่ประกันสังคมให้เอาหนังสือรับรองบุตรมาก่อน คราวนี้ก็ต้องไปขอที่เขตฯ เขตก็ขอใบทะเบียนสมรสอีก น้องสาวเซ็งจนไม่อยากสนใจ ผู้เขียนถามว่า คนไม่จดฯ แล้วเขตให้ทำไง น้องบอกว่าเขตให้เอาลูกไปเซ็นยินยอมรับว่าเป็นพ่อของเด็ก น้องสาวบอกเจ้าหน้าที่ของเขตไปว่า เด็กขวบเดียวเนี่ยนะยังเขียนหนังสือไม่ได้เลย

       สุดท้ายเขตบอกว่าต้องไปเอาคำสั่งศาลมา น้องได้ยินคำว่า ศาล จึงไม่ไปดีกว่า พอดีเมื่อไม่กี่วันมานี่ มีคนเอาเอกสารของศาลมาให้พ่อเซ็น น้องสาวเห็นว่าเรื่องไม่น่ายุ่งยาก วันนี้จึงลองโทร.ไปที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ศาลเด็ก) เจ้าหน้าที่ศาลบอกว่า เสียค่าธรรมเนียมให้ศาล 200 บาท

       รอทำเรื่องเพื่อให้ศาลไต่สวนและนำคำสั่งไปคัดสำเนาคำพิพากษาใช้เวลาก็เป็นเดือน แต่ก็คุ้มสำหรับน้องสาวเพราะสามีเขาเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ น้องสาวก็เอาไปเบิกประกันสังคมได้ ถ้ารอให้เด็กเซ็นชื่อตัวเองได้ สิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับก็คงหมดไปก่อนแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 238457เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท