ค้นหาหะดิษในหนังสือมุสนัด (المسند) (ต่อ)


หนังสือมุสนัดเป็นหนังสือที่รวบรวมและเรียบเรียงหะดิษนบีตามรายชื่อศอหาบะห์ แต่ไม่เรียบเรียงชื่อศอหาบะห์ตามอักษรอะลิฟ บาอฺ ตาอฺ

 

ในบทเรียนที่ผ่านมานั้นเราได้กล่าวถึงวิธีการค้นหาหะดิษที่มีมาตันและสายรายงาน ซึ่งหนังสือมุสนัดเป็นหนึ่งในประเภทหนังสือที่สามารถค้นพบหะดิษที่มีลักษณะดั่งกล่าว เพราะการเรียบเรียงตัวบทหะดิษนั้นจะเรียบเรียงตามชื่อศอหาบะห์

คุณลักษณะพิเศษของหนังสือมุสนัดคือเป็นหนังสือหะดิษที่รวบรวมเฉพาะหะดิษมัรพูอฺ (คือหะดิษที่พากพิงมายังนบี) อย่างเดี่ยว จะไม่มีคำพูดของศอหาบะห์และทัศนะของนักวิชาการอิสลาม ต่างจากหนังสือสุนัน(السنن)ที่มีการรวบรวมหะดิษนบี พร้อมๆกับคำพูดและทัศนะของศอหาบะห์และนักวิชาการอิสลาม

ในสวนของระดับแต่ละหะดิษในหนังสือมุสนัดนั้น สวนใหญ่จะเป็นหะดิษที่รับได้ (มักบูล) เป็นหะดิษที่ศอหิห์หรือหะสัน บางสวนเป็นหะดิษที่ฏออิฟ และอีกสวนหนึ่งเป็นหะดิษที่ไม่สามารถที่่จะนำมาปฏิบัติได้เลย

ด้วยเหตุนี้ ไม่ใช่ทุกๆหะดิษที่มีอยู่ในหนังสือมุสนัดสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ในเรื่องของฮาลาลฮารอมและเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัธทาได้

คำสำคัญ (Tags): #มุสนัด
หมายเลขบันทึก: 238352เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท