ถึงเวลาผลิตบัณฑิต สาขาพื้นบ้านศึกษากันหรือยัง


เรื่องเล่าจากขอนแก่น

พรุ่งนี้มีภาระกิจต้องขึ้นนำเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น "การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน" ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น

ผมขึ้นนำเสนอในภาคบ่าย ๆ มีเวลาในการพูดงานวิจัยที่ตนเองทำราวยี่สิบนาที ซึ่งก็ไม่มากพอในการจะนำเสนอเรื่องที่พูด ดังนั้นจึงขอปูดเรื่องที่อาจจะไม่ใด้พูดไว้ในบันทึกนี้เสียเลย เผื่อท่านที่สนใจจะได้ตามอ่านกัน

ประเด็นเสนอแนะหลังจากงานวิจัยที่นำเสนอสิ้นสุดลงคือ การเพิ่มบัณฑิตสาขาวิชาเกี่ยวกับ ผ้าทอพื้นบ้านอีสาน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษา อาชีวะฯไหนในอีสานที่พัฒนาและผลิตอย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่มีช่างทอผ้าและชุมชนทอผ้าในอีสานมากมาย มากมายพอพอกับอาชีพเกษตรกรรม

ในทางเศรษฐกิจการทอผ้าดูเหมือนจะเป็นอาชีพเสริมรายได้ที่สามารถสร้างเม็ดเงินได้มากที่เดียว หากยึดเป็นอาชีพหลักก็เห็นว่าสามารถหาเลี้ยงตนเอง ครอบครัวได้อย่างดีที่เดียว  แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของช่างทออีสานคือการขาดรูปแบบลวดลายการทอผ้าใหม่ ๆ เท่านั้น

แต่ใหม่ ๆ ในความคิดของผมก็ไม่ควรเป็นการลงทุนที่มากเกินความสามารถของช่างพื้นบ้านที่เป็นชาวบ้าน ผมว่าลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นลงดีที่สุด เหมาะที่สุด  ซึ่งเราควรมองหาเทคโนโลยีในพื้นที่เป็นหลัก แบบนี้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีนัก

ซึ่งงานวิจัยที่ทำก็สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ว่า ช่างทอพื้นบ้าน เทคโนโลยีการทอแบบพื้นบ้าน วัตถุดิบแบบพื้นบ้านก็สามารถพัฒนาเป็นผ้าทอที่คนร่วมสมัยให้การยอมรับและกล้าซื้อมาให้มาบริโภคได้เช่นกัน ดังนั้นหัวใจของการพัฒนาผ้าทออีสานอยู่ที่การออกแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับตลาด

แนวคิดสำคัญคือ ระบบการศึกษาได้พัฒนาผลิตบัณฑิตด้านนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อมองไปในมหาวิทยาลัยในเขตอีสานพบว่าไม่มีเลย ที่มีก็ไม่ได้เน้นการผลิตบุคคลากรด้านนี้แบบจริงจัง ซึ่งในความเป็นจริง เราขาดแคลน  เราต้องการ  เราช่างทอพื้นบ้านต้องการนักออกแบบมือใหม่ ๆ ลายใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด

ซึ่งบางทีรัฐบาลเองก็พัฒนาไม่ตรงจุด ไม่ตรงหัวใจ  เอาช่างทอพื้นบ้านมาอบรมออกแบบ หมดไปกี่รุ่น กี่รุ่นก็ได้ผลน้อย ซึ่งตรงนี้ เราต้องเข้าใจความต้องการของช่างด้วย เพราะเขาไม่ต้องการเป็นนักออกแบบ แต่ต้องการเป็นช่างทอฝีมือดีที่สามารถทอผ้าได้ดีตามแบบที่ตลาดต้องการ  สวยงาม ตรงตรามความต้องการของคนนอก(ซึ่งเป็นผู้บริโภคหลัก)

ดังนั้นหากเพิ่มนักออกแบบมือใหม่ ที่เข้าใจงานทอพื้นบ้าน ก็น่าจะทำให้วงการทอผ้าของอีสานพัฒนาไปมาก เพราะแม่หญิงอีสานทอผ้ากันเป็นเสียส่วนใหญ่

มหาลัยในอีสานทำกันหน่อยนะครับ..............................................................แม่ใหญ่ขอร้อง

หมายเลขบันทึก: 238078เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะน้องออต

....

เห็นด้วยหลายๆ ค่ะ กับการศึกษา ที่ควรเน้นให้สอดคล้องกับ

วิถีและภูมิปัญญา ชาวบ้าน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค่ะ

....

เป็นกำลังใจให้ ค่ะ

อยากเป็นครูสอนวิชาที่นี่จังเลย เพื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่เอาเงิน ขอเพียงน้องออตมีที่ซุกหัวนอน และดื่มด่ำในค่ำคืนที่ เรียนรู้ร่วมกัน อยู่กับสหายที่รู้ใจ พันจอก ก็บ่เป็นหยัง เด้อ คำแพง เฮย

แวะมาเยี่ยมน้องชายออตจ๊ะ สบายดีนะคะ ยังขยันทำงานเพื่อสังคมบ้านเราเหมือนเดิมนะคะ มีความสุขมากๆ คะ น้องออต

ชอบวิธีคิดคุณออตค่ะ

สู้ๆ จะเป็นกำลังใจให้นะคะ

หลังจากได้โทรหาคุณแล้ว

เพราะความรู้ที่เป็น ๐...

ทำให้คิดว่าเดือนเมษานี้คงไปสุรินท์ เพื่อไปอยู่กับชาวบ้านที่ทอไหม และเลี้ยงไหมเอง

หวังว่าคงได้อะไรดีๆจากที่นั่นไม่มากก็น้อย

ขอบคุณที่แนะนำให้ไป Museum คะ

แปลกที่สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ไม่ใช่เฉพาะที่ขอนแก่นหรืออีสานนะคะ มักไม่ค่อยทำหลักสูตรที่ตอบสนองต่อโจทย์ความต้องการของท้องถิ่น แต่มักทำหลักสูตรที่ดูโก้ ดูอินเตอร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท