ผลงาน Drug reconcile


 

Drug reconcile

แยกเก็บข้อมูลประจำเดือนรายละเอียดดังนี้

  •      ทั้งหมดกี่เคส/เดือน

  •      ในเวลากี่เคส/เดือน,นอกเวลากี่เคส/เดือน

  •      ตึกที่ส่ง/เดือน

ตารางสรุปจำนวนการบันทึกรายการยาเดิมผู้ป่วย

เดือน

ในเวลา

จำนวนใบ

รายการยา

เฉลี่ยรายการยา/ใบ

จำนวนรายการยาน้อยสุด

จำนวนรายการยามากสุด

 

2551/09

ในเวลา

5

24

4.80

1

8

 

2551/10

ในเวลา

33

200

6.06

1

15

 

2551/11

ในเวลา

26

127

4.88

1

10

 

2551/12

ในเวลา

17

98

5.76

1

14

 

2552/01

ในเวลา

29

117

4.03

1

16

 

 

การเทียบผลว่าทำได้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ทำได้กี่เปอร์เซ็นต์
ก็วัดลำบากเพราะเราทำโดยมีเงื่อนไขหลายข้อ คือ

·         คนไข้ admit ใหม่

·         คนไข้เคยได้รับยามาก่อน

·         คนไข้นำยาเดิมมาด้วย

ซึ่งข้อแรกยังพอหาได้แต่ข้อหลังไม่สามารถหาได้ชัดเจน
ถ้าเคยรักษาที่เรายังพอหาได้แต่หากจากที่อื่นเรามี่ประวัติ
ต้องอาศัยพี่ๆ พยาบาลบนตึกสอบถาคนไข้เอา

ส่วนเชิงคุณภาพ ยังหาตัวชี้วัดไม่ได้ว่า
ทำแล้วดี/ไม่ดี กับใคร อย่างไร ซึ่งต้องตอบตรงนี้ให้ได้

คนไข้

เภสัชกร/เจ้าหน้าที่พยาบาล

และจะพัฒนาตรงจุดนี้ต่อไปอย่างไร
ในสภาพปัจจุบันที่มีข้อจำกัดด้านไอทีและกำลังคนเท่านี้

 

ซึ่งสรุปสิ่งที่ทำตอนแรกไปแล้วได้ดังนี้

  • ฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลยาเดิมผู้ป่วยที่นำมาจากบ้านสำหรับคนไข้ที่ admit (Drug reconcile Admission form)

http://gotoknow.org/file/tansit/Admissionform11.xls

  • ทำข้อตกลงในการปฎิบัติระหว่างเจ้าหน้าที่ในการส่งยาเดิมและบันทึกข้อมูล ให้สื่อถึงกันและกันได้

http://gotoknow.org/file/tansit/FlowIPD_Drug_Reconsile11.doc

  • ทำแบบทดสอบความเข้าใจในการทำ Drug reconcile ซึ่งตอนนี้ทำในเวลาครบแล้วเหลือรอการทำในเจ้าหน้าที่นอกเวลาอยู่ แล้วสรุปผลออกมา

http://gotoknow.org/file/tansit/Drug_reconcile_Question1.doc

 

ซึ่งผลการทำแบบสอบถามกำลังครบเรียบร้อยแล้วจะบันทึกผล
รวมทั้งนำผลที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

ปัญหาคร่าวๆ ที่พบ

  • ไม่ทราบคำว่า Drug reconsile จึงตกลงว่าน่าจะหาคำไทยมาใช้ตอนนี้คิดว่าใช้ "ยาเดิมผู้ป่วยที่นำมาด้วย/ยาที่ผู้ป่วยนำมาจากบ้าน" แต่ไม่รู้ว่าเหมาะสมหรือไม่ต้องถกกันต่อไป
  • บางตึกจะไม่ค่อยมีกรณีผู้ป่วยที่นำยามาด้วยดังกล่าว ทำให้จำขั้นตอนปฎิบัติไม่ได้ คิดว่าต้องหาวิธีที่เหมาะสมแต่ละตึกต่อไป
  • ห้องยาก็เช่นกัน คือ เจ้าไน้าที่อยู่เวรบางท่าน นานๆ จะเจอกรณีนี้ซักทีจึงไม่ทราบต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง แก้ไขโดยเขียนขั้นตอนการดำเนินการพร้อมตัวอย่างติดไว้ที่แฟ้ม
  • ขั้นตอนในผังไม่ได้ลงรายละเอียดทำจริงๆ มากจึงต้องหาภาษาพูดหรือภาพเพื่อลงรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น แต่การทำเช่นนี้จะมีข้อปลีกย่อยมากเพราะแต่ละตึกและแพทย์แต่ละคนจะทำไม่เหมือนกัน รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนย่อยๆ มากจึงคิดว่าจะทำในตึกบางตึกที่มีปัญหาเท่านั้น
หมายเลขบันทึก: 237721เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2009 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็จะไปบอกต่อฝ่ายเภสัชที่ร.พ. ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท