นวัตกรรมการเรียนการสอน


การจัดการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

หมายเลขบันทึก: 237384เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีให้อ่านต่อไหมคะ

ยินดีต้อนรับค่ะ

การเรียนการสอนแบบบูรณาการ

 

 

 

 

 แนวคิด

        การเรียนการสอนแบบบูรณาการ  เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะในวิชาต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งวิชาขึ้นไป  เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้  ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด  แระสบการณ์  ความสามารถ  และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน  ทำให้ได้รับความรู้  
ความเข้าใจลักษณะองค์รวม

รูปแบบการบูรณาการ
1. การบูรณาการภายในวิชา  เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน
2. บูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ
    2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก  เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชา
อื่น ๆ ในการสอนของตน
    2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป  วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
   2.3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ  เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน
   2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา  หรือสอนเป็นคณะ  เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  มีการวางแผน  ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด  หรือปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

     1. กำหนดเรื่องที่จะสอน  โดยการศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน  เพื่อนำมากำหนดเป็นเรื่องหรือปัญหาหรือความคิดรวบยอดในการสอน
     2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้  โดยการศึกษาจุดประสงค์ของวิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการ  และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในการสอน  สำหรับหัวเรื่องนั้น ๆ เพื่อการวัดและประเมินผล
     3. กำหนดเนื้อหาย่อย  เป็นการกำหนดเนื้อหาหรือหัวเรื่องย่อย ๆ สำหรับการเรียนการสอนให้สนองจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้      4. วางแผนการสอน  เป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ  โดยการเขียนแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับแผนการสอนทั่วไป คือ สาระสำคัญ  จุดประสงค์  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน  การ
วัดและประเมินผล
     5. ปฏิบัติการสอน  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน  รวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  ความสอดคล้องสัมพันธ์กันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผลสำเร็จของการสอนตามจุดประสงค์ ฯลฯ  โดยมีการบันทึกจุดเด่น  จุดด้อย  ไว้สำหรับการปรับปรุง  หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
    6. การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน  เป็นการนำผลที่ได้บันทึก  รวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอน  มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ครูมืออาชีพกับการจัดกระบวนการเรียนรู้

ครูมืออาชีพกับการปฎิรูปการเรียนรู้สู่คุณภาพของเด็กไทย

1. วิสัยทัศน์เด็กไทย

(ภาพเด็กไทยในอนาคต) -ใฝ่เรียนใฝ่รู้

- มีความรู้เป็นสากล มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การใช้เทคโนโลยี

- มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

- รักการออกกำลังกาย

- มีค่านิยมเป็นผู้ผลิต

- ภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย

- อนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย

- รักประเทศชาติและท้องถิ่น

- มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี

2.วิสัยทัศน์ครูไทย

(คุณลักษณะของครูมืออาชีพ) ด้านส่วนตัว – ศรัทธาในตนเอง

- ศรัทธาในวิชาชีพครู

- รัก เมตตาศิษย์

- มีบุคลิกมนุษยสัมพันธ์ดี

- ประพฤติปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

- พัฒนาตนเองให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ

- สามารถให้คำปรึกษากับนักเรียนเรื่องการเรียนและ

การดำรงชีวิต

- มีความคิดสร้างสรรค์

ด้านการจัดการเรียนรู้ - มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรธรรมชาติวิชาและผู้เรียน

- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดผลกับผู้เรียน

- พัฒนานวัตกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

- จัดและเสริมสร้างบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

- วัดและประเมินผลผู้เรียนตสมสภาพจริง

- มีความสมารถในการศึกษา วิจัยหรือพัฒนาผู้เรียน

3. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้

3.1 การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูมืออาชีพ -จัดกระบวนการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

- จัดสาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจความถนัดเด็ก

- ฝึกกระบวนการคิด การปฏิบัติ

- ให้ผู้เรียนได้คิด ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

- จัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน

- จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกที่ ทุกเวลา

- ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองจากสื่อเทคโนโลยีจนเต็มขีดความสามารถ

3.2 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้

“ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและตามศักยภาพ” จาก มาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ เด็กเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และครูต้องสร้างความใฝ่รู้ขึ้นในจิตใจของเด็กให้ได้คือให้มีธรรมฉันทะคือความใฝ่รู้และกุตตุกัมยตาฉันทะ คือความใฝ่ทำ เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ ครูสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็นสัปปุริสสังเสวะ หมายความว่าครูเป็นกัลยาณมิตร คือเพื่อนที่ดี มีเมตตาให้ความรักความอบอุ่นแก่ผู้เรียน..ครูอาจจะใช้วิธีเสริมแรงทางบวกให้มากขึ้น..จัดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน” จาก การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวทางสู่ปฏิบัติ ของพระราชวรมุนี(ประยูร ธมมจิตโต)

“ การจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาให้รู้จักตนเอง รู้จักโลก สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีความสุขสนุกสนานและเกิดฉันทะในการเรียนรู้” จาก การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวทางสู่ปฏิบัติ ของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

“การจัดการเรียนรู้ที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด คือการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้เอง โดยมีส่วนร่วมในการสร้างผลผลิตที่มีความหมายกับตัวเอง การเรียนรู้ที่มีพลังความคิดมากที่สุดเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งที่ดี มีความหมายต่อตนเอง ผู้เรียนเป็นศุนย์กลางจึงไม่ใช่วิธีสอนแต่เป็นเทคนิคการจัดการ เพื่อให้การเรียนรู้กับผู้เรียนเป็นสิ่งเดียวกัน หรือมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล” จาก การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวทางสู่ปฏิบัติ ของ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่

“ เด็กคนใดที่มีความรัก ความเชื่อถือและความหมั่นเป็นสันดาน แล้วมีบิดา มารดาและครูเป็นผู้รู้จักสั่งสอน และประกอบด้วยความรักความกรุณา เด็กคนนั้นจะได้รับความสุขทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนเมื่อโตขึ้นก็จะเป็นผู้รู้จักสิ่งถูกสิ่งผิดเพราะเคยเป็นเด้กดีมีบิดามารดาและครูบาอาจารย์ดีมาตั้งแต่เล็ก จะมีความรู้จักผิดและชอบ เกิดขึ้นในตนและประพฤติแต่สิ่งที่ดีที่ถูก” จาก ธรรมจริยา เล่ม 4 ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

“ การปฏิรูปหลักสูตร นอกจากเน้นให้เด็กเก่ง ดีและมีความสุขแล้ว ต้องสอนให้เด็กรู้จักท้องถิ่น ไม่ดูถูกพ่อแม่ หรือรากเหง้าตนเอง ส่วนด้านศาสนานั้นจะจัดกระบวนการเรียนการสอนอย่างไรเพื่อไม่ให้เรียนเพียงเป็นองค์ประกอบความรู้เท่านั้น แต่ต้องนำมากล่อมเกลานิสัย สร้างศรัทธา คุณธรรม จริยธรรม มีสติและน้ำใจจึงต้องบูรณาการเข้ากับวิชาต่างๆ” จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 3 ธันวาคม 2544 ของพระเทพสภณ (ประยูร ธมมจิตโต)

“ หลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนสำคัญที่สุด หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การปรับความคิดของครูให้มองนักเรียนบนพื้นฐานของความรักความเข้าใจว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ พร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ มีอิสระในการคิดลงมือปฏิบัติจริง” จาก กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

“หลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนสำคัญที่สุด หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การจัดประสบการณืการเรียนรู้ ยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนให้ถึงศักยภาพสูงสุด คือผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม หลังเรียนหรือหลังฝึกกิจกรรม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ภาคภูมิใจในผลปฏิบัติของตน” จาก กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

“หลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนสำคัญที่สุด หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีรูปแบบการคิดของตนเอง สามารถเชื่อมโยงความรู้ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆไปใช้ในชีวิตจริงได้” จาก การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด:แนวทางสู่การปฏิบัติ ของกรวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

“หลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนสำคัญที่สุด หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การจัดประสบการณ์โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการคุณธรรมในการจัดประสบการณ์ทุกกลุ่มวิชา และทุกขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ถือว่าครูทุกคนมีหน้าที่ะพัฒนาผู้เรียนให้ประพฤติตนยึดหลักคุณธรรมและพัฒนาให้มีค่านิยมอันพึงประสงค์” จาก การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวทางสู่ปฏิบัติ ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า “ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) “นั้น น่าจะหมายถึง การจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ นั้นคือใครก็ตามที่เป็นคนสำคัญของเรา เราย่อมมีความรักความปรารถนาดีต่อเข้า จะคิดทำอะไรก็มักจะคิดถึงเขาก่อนคนอื่นและคิดถึงประโยชน์ที่เจาจะได้รับ แต่การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ไม่ใช่แนวทางหรือวิธีสอนแต่เป็นหลักในการหรือแนวคิดในการสอนมากกว่า ซึ่งการจะนำแนวคิดสู่การปฏิบัติได้ครูจะต้องแสวงหาแนวทางและวิธีการที่ชัดเจนมาใช้

การจัดการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง คือการทำให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ตื่นตัวตื่นใจ หรือจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ ดังนั้นกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็ก ต้องมีลักษณะที่ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม อันได้แก่การมีส่วนร่วมในด้านร่างกาย จะทำให้

ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆที่จะเกิดขึ้น การมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญา จะทำให้เกิดความท้าทายความคิดของนักเรียน กระตุ้นสมองทำให้ผู้เรียนจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป เหมาะสมกับผู้เรียน การมีส่วนร่วมทางสังคม จะช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางสังคม อันส่งผลต่อการเรียนรู้ด้านอื่นๆ และการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์ หากกิจกรรมที่จัดมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้เรียน เป็นประสบการณ์ ชีวิตจริง เกี่ยวข้องและใกล้ จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีและคงทน รูปแบบหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางเช่น วิธีการใช้แผนภูมิกิ่งไม้ การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบโครงงาน การศึกษาจากสถานที่จริง ซึ่งต่อไปนี้จะยกตัวอย่างกิจกรรมการสอนที่เน้น นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งใช้สอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านศิลปะและกลุ่มอื่นๆได้

3.3 ตัวชี้วัดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

ด้านตัวครู - ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิด ฝึกทำและฝึกปรับปรุงงาน

- จัดสถานการณ์ให้มีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

- ใช้สื่อเพื่อฝึกคิด แก้ปัญหาและการค้นพบความรู้

- สังเกตและประเมินพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

- เอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลและเมตตา

- ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม

- สังเกตส่วนดีและปรับปรุงส่วนด้อยของนักเรียน

- ฝึกฝนกริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย

- เตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ

- จัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศเร้าใจ

- จัดแหล่งเรียนรู้หลากหลายเชื่อมโยงชีวิตจริง

ด้านนักเรียน - คิดหลากหลายสร้างสรรค์จินตนาการ

- แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม

- นักเรียนฝึกประเมินตนเองและยอมรับผู้อื่น

- ทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข

- นักเรียนฝึกตนเองให้มีวินัย และรับผิดชอบ

- ได้รับการเสริมแรงเพื่อค้นหาคำตอบ

- ประสบการณ์สัมพันธ์ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ฝึกค้นรวบรวมข้อมูล

- นักเรียนฝึกปฏิบัติและค้นพบความถนัดของตนเอง(http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_06.htm)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท