การตรวจประเมินแบบ Dialogue


Dialogue interview (DI)

              เข้าไป sensing   ไป ฟังเชิงลึก  ฟังเสียงภายในของตนเอง  ไปเห็น และ ไปเข้าใจ  ไปได้กลิ่น ไปชิม  ไปลงมือทำ ลองทำ สัมผัส   ไปรู้สึก  (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์)

              เข้าไปมีส่วนร่วม Co-intiation / Co-Sensing/ Co-presencing  

              Dialogue คือ คำพูดกระตุ้นใจ  กระตุ้นต่อมคิด  กระตุ้นสติ    ได้ win-win ทุกฝ่าย  หรือ ไม่ควรมีฝ่าย ตั้งแต่ต้น 

 

 

(ภาพบน)    ไปยืนนิ่งๆ   ไม่ต้องเดิน   ไม่ต้องพูด  ไม่ต้องคุย  ...   มองเข้าไปในงาน ....  ดูจิตตนเอง   ดับความกังวล   ดับนิวรณ์  ทำใจชิวๆ   ... เมื่อจิตสงบดีแล้ว   ก็จง สังเกตๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ   ดูการทำงาน  ดูกระบวนการ ฯลฯ  เราจะได้ แนวคิด  ได้ความอยากรู้อยากเห็น  ได้คำถามดีๆ น่ารัก  เพื่อจะเอาไปคุยกับ เจ้าของกระบวนการ ฯลฯ 

***********************************************************************************************

ไปยืนนิ่งๆ Ohno cycle   10 นาที ก่อนการ audit ------->  อ่าน เพิ่มเติมได้ที่  Blog ของผม http://romdharm.blogspot.com

หลายคน งง  ไปทำอะไร--  ............................. ก็ไป   sensing ไงล่ะ   หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

ได้รู้จัก “ช้าให้เป็น”   และ  สังเกตๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ดูตนเอง ดูความคิดตนเอง

ลด อหังการ   สันดานบ้าอำนาจของคนตรวจออกไป

เกิด ปิ๊งไหม (Sparks / Intuitions)  

เกิดคำถามไหม  คันปากอยากถาม


 (ภาพบน)   ทั้งผู้ตรวจ โดนตรวจ  เจ้าของกระบวนการ เจ้าภาพ  ผู้สังเกตการณ์  คนจด ฯลฯ  แบ่งกลุ่ม   และ silent หรือ ภาวนา   ก่อนที่จะเริ่ม ทำ DI

...."ยกวัด มาไว้ในองค์กร" 

**********************************************

 

Before audit (opening dialogue) หรือ จะเรียก Open meeting แบบเดิมก็ได้    ....  อ่านเอกสาร   ลงไปเดิน  ไปทำ Ohno cycle ฯลฯมาแล้ว ......  

              Silent ภาวนา  เช่น เงียบๆ สวดมนต์   กล่าวคำพูดดีๆ  ร่วมกัน  ขอคำอวยพรจากพระเจ้า   จับมือร่วมกันทั้งกลุ่ม อารัมภบท  อาจจะมี พิธีกรรม (Ritual)  เช่น  เคาะกระดิ่ง ระฆังธิเบต (ขันเล็กๆ) 

              Check in : พูดคนละนิด  มาทำอะไร รู้สึกอะไร  เป็นใคร  ใครบันทึก  ฯลฯ  ได้พูดทุกคน  พูดทีละคน  ใช้ Indian stick ก็ได้ 

During audit

              พยายามรักษา Flow ไหลลื่น  อย่าขัดคอ  พูดได้คนเดียว

              ถ้ามี การปิ๊ง  (Sparks)   ก็จดไว้  อย่าไปขัดคอ หรือ ขัดจังหวะเขา

              รักษาจิตใจให้สงบ  คลื่นสมองอัลฟ่า ชิวๆ  ฟังเชิงลึก (Deep listening)

              อาจจะวาดภาพประกอบให้เข้าใจร่วมกัน

              ถ้า Flow เริ่มหนืดๆ  ลองยิงคำถามป่วน ปั่น ให้ได้คิด  เช่น  ถ้า ….    หรือ  ได้ไหม  ได้ไหม  (Osbourne checklist)

              เล่านิทาน แบ่งปันสู่กันฟัง (Storytelling)

              แทรกธรรมะ คำคม  ----->  สร้างบารมี Charisma ได้ดีมากๆนะครับ  ลองดูสิ

After audit

              Check out :   ขอบคุณ   เรียนรู้อะไร ก่อน หลัง  ทุกคนพูดทีละคน   รู้สึกอย่างไร   ร่ายกลอน  ต่อกลอน  -----> กลอนที่แท้จริง คือ สัมผัสใจซึ่งกันและกัน     (เรื่องสัมผัสเสียงและอักษร   เอาไว้ทีหลัง)   

              Silent ร่วมกัน  ภาวนา สวดมนต์  

 

ได้ Intangible capital  เป็น Appreciate Inquiry

เป็น Multi-objective  มากกว่า Audit แบบเดิมๆ  ที่เอาแต่ จับผิด รอแต่แจก CAR

ดึงวัฒนธรรมไทยแบบเดิมๆกลับมา

สวนกระแสกลักการตรวจแบบเดิม   ทำให้ พนักงานกล้าคิด  กล้าออกนอกกรอบ   เอกสารบางอย่างไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ ไม่ต้องลงนามก็ได้ 

น้ำเน่าที่ ปากคลองตลาด ทำไมต้องโทษคนแถวนั้นด้วย  น้ำมันไหลมาจาก ยอดเขา ผ่านเมืองต่างๆ สะสมมาเรื่อยๆ

ควรทำ DI บ่อยๆ 

 

(ภาพบน)  ช่วยกันเขียน พันธสัญญาใจ  ว่า เราจะทำอะไร ต่อยอดอย่างไร ?

ถ้าพูดในภาษาเดิม คือ แจก CAR โดนทั้งคนตรวจ คนดู คนประเมิน   เพราะ ในการทำ Dialogue เราจะสะท้อน (Refelction) เห็น CAR ในหน่งยงานเราด้วย  เห็นเขา แล้วย้อนมาเห็นเรา  ...  จริงๆแล้ว ไม่มีทำว่า CAR นะ   มาฟังดู "คาใจ" ยังไงไม่รู้     เรามีแต่ เอาสิ่งที่เรียนรู้นี้  ไป "ต่อยอด" ครับ 

 

กลุ่ม  เขียน พันธสัญญาใจ  (ลงใน Flip chart)    ว่าแต่ละคนจะไปทำอะไร    เขียนแล้วลงนาม   เก็บเป็นบันทึกประจำห้องเอาไว้

ทั้ง auditor & auditee   จะกลับไปทำอะไรต่อ  เช่น  พูดคุยกันมากขึ้น  จะไปอุกรณ์มาให้นะ   จะส่งลูกน้องมาซ่อมให้ ฯลฯ  พึ่งพากันและกัน    มี Project ที่น่าสนใจดังนี้ 

นั่งล้อมแบบ อ่างปลา  โยนอาหาร (คำถาม)ให้ปลา

ตอนจบ  ร่าย กลอน คือ ร้อยใจกัน   สัมผัสใจมาก่อนสัมผัสนอกใน

 

Follow up :  ด้วยการมาล้อมวงคุยกัน  เอาพันธทางใจ ที่เคยเขียนไว้มาคุยกัน   ไม่ทำก็ไม่ว่ากัน ทำไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร   แค่ บอก  แค่เล่า  แค่โผล่หัวมาร่วมคุย  ก็ถือว่า  โอเคแล้ว   ....  "รักนะ เด็กโง่" 

 


 

ทำขนานกัน  แบบเก่า กับ DI ก็ได้  หรือ   ใช้ DI ไปเลย  อาจจะ ตรวจกินเวลามากน้อย   แต่ก็คิดสะว่า  "จะรีบไปไหน"

***************************************************************************************************

 

จริงๆแล้ว   การ audit  ตามที่ผมเรียนมา จาก ผู้ตรวจชาวฝรั่งเศส   เขาก็ส่งเสริมให้ ตรวจแบบคุยกัน   สร้างบรรยากาศ   เกิด rapport  ความร่วมมือ  เกิด empathy   ฯลฯ   ลองกลับไปเปิด  ตำรา Internal Audit  ดูสิครับ   

 

คนตรวจ  หากยังทำตัว ไม่มีคุณภาพ  ไม่เข้าใจ Soft side  ไม่เข้าใจ Intangible capital   ผมว่า ยิ่งตรวจ ยิ่งแตกแยก  น่าเบื่อ  ทำลายระบบดีๆ ทั้งหลาย 

 

ลอง ถอดหัวโขน   กะลา  หน้ากาก ฯลฯ  การเป็นคนตรวจออกไป    เอาอคติออกไป   แล้ว  ล้อมวง สุนทรียสนทนา กับ เจ้าของพื้นที่ๆโดนตรวจ  เราจะได้ อะไรดีๆมากมาย   .....   "ให้ความรัก  ก่อนให้ประเมิน ู้"    learn how to audit

 

ครูสมพรสอนลิง ท่านสอนว่า   ประเมินตนเอง นั่นแหละ  ดีที่สุด ....  เราเป็นคนตรวจ เราก็ต้องประเมินตนเอง   เปิดสมอง เปิดใจ (Open mind open heart openwill)  .....    ประเมินพฤติกรรม    .... ประเมินความตั้งใจ ...  ประเมินทััศนคติ .....

................................สัง เกตๆๆๆๆๆๆ

 

คนตรวจที่ดี ยิ่งตรวจ ต้องยิ่งมีสติ  มีปัญญา   ....  ไม่ใช่ เพิ่มกิเลส  เพิ่มศัตรู  นะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 237357เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เนียนมากๆครับ

เป็นรูปแบบ นำไปปฏิบัติจริงได้ทันที ไม่ต้องเติมน้ำร้อนเลย

ยกวัด อย่าลืมเอาป่าช้ามาด้วยนะครับ อิอิ

ซินเจี่ยอยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้

โห คุณหมอ มาคนแรกเลย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ

พ่อครูบาฯ ครับ ใช่เลย น่าจะยกป่าช้ามาจริงๆ อยู่ในองค์กรมีแต่ "ป่าเร็ว" ทำอะไร เร่งรีบเร่งด่วน ไปสะหมด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท