Letter from dad to son "บิณฑบาต"


It's a tool to teach people "To give, not take only".

Dear Phu,my son

 

          I am writing this letter to you concerning my visit at your school (looked from your serious face).

 

          Don’t worry, your teacher - she told me that it was alright for visit you for urgent case such as  you are sick or something else.

 

          On Monday, I gave those stuffs; rice, drink-water and snacks to you and your friend for food –giving to monks (ตักบาตร).

        

         It's a tool to teach people "To give, not take only".

         And it's the way to practice ทาน ,one important Dhamma in our religion.

         

         Please try to get up early and get everything done quickly, my son.

 

           Do you need some special thing for Chinese New year (25-26 January), I will prepare some books for you, is it alright?

 

          I have program to go to Singapore and Korea next month, do you need something?

      

          I believe that you will request for charm, isn’t it?

 

                         We will see each other soon.

 

          Be kind to your friend and be smart for Mathematics and English subject.

 

           It’s your fundamental subject for your future, please remember.

 

                                       

                                         We miss you.

                                       

                                         Dad and mom

PS. don't forget to keep yourself warm !!!

 

คำสำคัญ (Tags): #from dad#letter
หมายเลขบันทึก: 236836เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2009 00:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มือาจารย์ที่นับถือ ยินดีมอบภาพสวยเผยแพร่ค่ะ

 

**It's a tool to teach people "To give, not take only".

         And it's the way to practice ทาน ,one important Dhamma in our religion.**

 

ลูกครับ แม่เติมให้นิดหนึ่งว่า พ่อสอนว่า "การบิณฑบาต เป็นโอกาสให้คนหัดทำทาน"

แต่ในทางกลับกัน "การที่พระภิกษุออกบิณฑบาต มิใช่เป็นการขอ"

 

พระภิกษุ ได้ให้โอกาส คน ได้ปฎิบัติ ทาน ซึ่งเป็นธรรมปฎิบัติหัวข้อหนึ่งซึ่งทำได้ง่าย ๆ

 

ลูกกลับมาแล้วเรามาคุยกันอีก

 

ระหว่างนี้ลูกอ่านแล้ว สงสัยตรงไหน คุยกับคุณครูของลูกได้ เพราะการที่โรงเรียนลูกจัดกิจกรรม "ตักบาตร" นี้เป็นสิ่งที่ดี แยบคาย(เปิดพจนานุกรมเอง!)  กุศโลบาย(เปิดพจนานุกรมอีก;P) ที่ดีจริง ๆ ครับ

-ขอขอบคุณผู้ไม่แสดงตน ที่ช่วยตรวจทาน คำผิด ค่ะ

-แก้ไขแล้วค่ะ

  • ทุกเช้า พี่พอ รอเสียง ฆ้อง สัญญาณ บอกถึง อีกไม่เกิน 5 นาที พระภิกษุในหมู่บ้าน จะมาบิณฑบาต
  • แล้วพี่พอ ก็จะรอ ตักบาตร
  • ถ้าทำอาหารไม่ทัน ก็จะเอา นมกล่อง ของสาวน้อย ใส่บาตร เจ้า
  • ด้วยความระลึกถึง
  • คิดถึง นะคะ

ปล.ฤดูหนาว  พี่พอ  ไม่ได้ ใส่บาตร   เพราะ  หนาว  ววววว เหลือเกิน  พี่พอ  ตื่นไม่ทัน   เจ้า

มาอ่านด้วยใจปิติ

แม้ช่วงนี้มิมีโอกาสได้ตักบาตรดั่งเคย

แต่นึกถึงคราใด แล้วใจก็แช่มชื่น ค่ะ

ขอบคุณ จดหมายจรรโลงใจนี้ นะคะ

และภาพนี้ ยิ่ง งาม งด ทุกย่างก้าว

 พี่พอ น้องเพียง น่ารักจัง ค่ะ

อายุ วรรณะ สุขะ พละ ...บุญที่ได้รับแน่ ๆ  ป้าขอแสดงความพลอยยินดีด้วย

P พลอยดีใจ และ พลอยยินดีกับใจที่เปี่ยมปิติ ของน้องปูค่ะ

การตักบาตร คือประเพณีอย่างหนึ่งที่เรา ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย  พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาตเพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ

ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยนะคะ
และเราเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้น  จะถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน
พี่ตักบาตร ไม่บ่อยนักเดี๋ยวนี้ ใช้วิธี ไปทำบุญถวายภัตตาหารทีละมากหน่อยทีเดียวเลย เพราะแถวบ้าน ไม่มีพระมาค่ะ

 

P ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ตอนลูกชายเล็ก ๆ เลยเขาเคยขอว่า..เขาขออธิษฐาน, ก่อนทานอาหารก็กล่าวคำขอบคุณพระเจ้า, ก่อนนอนสวดคำขอบคุณ God...

น้องถือเป็นโอกาสดี ที่ได้ฟังและพูดคุยกับเขาในเรื่องนี้ เพราะเขาเรียนจากที่โรงเรียนค่ะ

ส่วนใหญ่จะถาม แล้วให้เขาอธิบาย ได้ความรู้และเมื่อเราคิดตาม หลายอย่างที่น้องคิดว่า ศาสนาที่เขามีจิตศรัทธาในวัยเด็กนั้น มีข้อดีอยู่มากเช่นกัน

ที่รู้สึกได้คือ God มีแต่ให้(ในความคิดที่เก็บเกี่ยวมาได้จากคำพูดของลูกชายและครูของลูกชาย-เป็นชาวต่างประเทศค่ะ)

....เราสองคน พ่อแม่ พูดคุยกันลึกซึ้งนะคะ เพราะเราเป็น พุทธศาสนิกชน

น้องศึกษา"ธรรม"มาพอสมควร สามีบวชเพื่อเรียนรู้ในวัดแบบบ้าน ๆ หรือ ป่า ๆ

แต่ในวันเวลาช่วงนั้น เราให้สิทธิ์ และเคารพความคิดของลูกค่ะ เราเองไปร่วมกิจกรรมบ้าง พูดคุยโดยเฉพาะคุณพ่อ ถือโอกาสเล่า นำให้เขาอยากรู้ถึง "ศาสนาเปรียบเทียบ"

ทุกวันนี้ เขาตัดสินใจเองว่า ขอเข้าร่วมตักบาตร ภาวนา นั่งตามลมหายใจตัวเองกับแม่ ฯลฯ

และเขาเคยพูดว่า "ขอไปบวชเณร"

ถึงแม้จะเป็นเพียงความคิด อย่างไรน้องก็ พลอยยินดีไปด้วยแล้วค่ะ

...หากอย่างไรก็ตาม น้องและสามียังจำได้ว่า และเคยคุยกันว่า ศาสนาทุกศาสนา น่าจะมีแก่นแท้เหมือน ๆ กัน ที่มาของจุดเริ่มต้นอาจเชื่อ,ศรัทธาต่างกัน, ที่หมายอาจใกล้กัน คล้ายกัน ไม่เหมือนกันเปี๊ยบ..

แต่เราเชื่อมั่นใน"แก่น"ของแต่ละศาสนา ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณหมอเล็ก
ตัวพี่เองก็เชื่อในเรื่อง"แก่น"แท้ของแต่ละศาสนาค่ะ
แต่ครอบครัวพี่เป็นพุทธ ก็เลยคิดว่า ศาสนาหลัก ควรเหมือนกัน เพราะสะดวกดี
หลานพี่ กำลังจะไปเข้าร.ร.อินเตอร์ฯ ก็คงมีการศึกษาทางด้านศาสนาอื่นบ้าง ก็ไม่ปิดกั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีค่ะ ที่จะให้เด็กได้เรียนรู้หลายศาสนา
พี่เองทำบุญสม่ำเสมอ ทั้งทำที่วัด และการทำทานแบบอื่นๆ
เสียดาย ที่ไม่ค่อยได้ตักบาตร กำลังคิดว่า ถ้าหลานโตอีกหน่อย จะพาไปใส่บาตรบ้างค่ะ
ภาพข้างล่าง เป็นภาพจาก 3 จังหวัดภาคใต้ค่ะ ขนาด มีเหตุการณ์ไม่สงบ คนก็ยังใส่บาตรค่ะ

ชาวพุทธแทบทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ ตื่นเช้า หุงหาอาหารคาวหวานนานาชนิด เพื่อตักบาตรพระเณรที่มารับบิณฑบาตรที่หน้าบ้าน หรือ เมื่อถึงวันสำคัญ เช่น วันพระ หรือ วันเกิด ก็อาจมีการไปทำบุญตักบาตรที่วัดตามที่แต่ละคนศรัทธา
ซึ่งการตักบาตร หรือ การถวายอาหารหวานคาวที่วัด  จัดเป็นการบริจาคทานที่มีอานิสงส์มาก
เมื่อเราได้มีโอกาสตักบาตรพระสงฆ์ ก็ยิ่งทำให้เรา เป็นผู้มีีจิตเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธยิ่งขึ้นนะคะ


ภาพงามจับตาและใจ จริงค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ใช้เครื่องที่อื่น(นอกบ้าน) ยังต้องรีบขอบคุณเลยค่ะ

เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 9 ของพี่หมอค่ะ

แล้วเมื่อนั้นคนที่แตกต่างกันในโลกนี้จะสว่าง สะอาด สงบ

กลับมาเรื่องบิณฑบาต เคยอ่านจากไหนไม่ทราบว่าเป็นกุลโลบายที่พระพุทธเจ้าวางแผนไว้ให้พระภิกษุประพฤติดี เพราะถ้าชาวบ้านไม่เคารพก็มีสิทธิที่จะไม่ตักบาตร เป็น การ ban ทางสังคมแบบหนึ่งเป็นต้น เพราะฉะนั้นพระก็ต้องทำงาน ไม่ได้อยู่เฉยๆแล้วก็มีคนนำภัตตาหารมาถวาย ต้องเผยแผ่พระธรรมคำสอน เป็นต้นค่ะ (อันนี้ไม่มีแหล่้งอ้างอิงข้อมูลนะคะ แต่นำมาลปรร.ให้คิดต่อเล่นๆเฉยๆค่ะ)

สวัสดีค่ะ

  • เป็นจดหมายที่น่ารักมากค่ะ
  •  ชอบประโยคนี้ค่ะ 
  •  Be kind to your friend and be smart for Mathematics and English subject.

            It’s your fundamental subject for your future, please remember.

      ยังไงก็ต้องเตือนใช่ไหม่ค่ะ...

       

      

น้องมัท คะ วันนี้ก๊อบรูปยิ้มสดชื่นจริงใจลงมาไม่ได้

ขอตอบว่า"คนที่แตกต่างกันในโลกนี้จะสว่าง สะอาด สงบ"

เห็นด้วยค่ะ เหมือนคำน้องมัท ที่ว่า agree to disagree...ลึกซึ้งจริง ๆ ค่ะคำนี้

วันนี้โทรคุยกับพี่ชายแท้ ๆ พี่ถามถึงหลานว่ายังชอบครุ่นคิดอยู่กับเรื่อง.."ศาสนาเปรียบเทียบ"?

แม่คือพี่ก็ตอบตามตรง ว่าเวลาที่เขาอยู่โรงเรียนเราจะรับรู้ พูดคุยกับเขาได้เฉพาะเวลาจำเป็น เช่น ลืมของ,ประชุมผู้ปกครอง...

อย่างอื่น ๆ ต้องรอถึงกำหนดที่เขากลับบ้านจึงจะพูดคุยกัน

แต่เราไม่รู้สึกห่างกัน เพราะ พี่,สามีพี่ ใช้วิธีเขียนจดหมายคุยกับเขาทั้งทางลายมือและ บันทึกนี้

บางทีอดคิดเล่น ๆ ไม่ได้ว่า ถ้าเราไม่ได้ห่างกันแบบนี้ เราอาจไม่ได้เห็นคุณค่าความคิดถึง ขนาดนี้

อย่างไรก็ตามทั้งพี่และสามี บอกลูกว่า มันเป็น "การทำงาน"

ลูกทำงานด้วยการเรียนหนังสือ ,เรียนกิจกรรม,เรียนกีฬา,และศิลปะการใช้ชีวิตกับคนหมู่มาก

พ่อ ทำงานบริหาร ตื่นเช้า กลับค่ำ หัวฟู...อิ อิ

แม่ สบายสุด ที่ทำงานและบ้านที่เดียวกัน

แล้วพอครบเวลาเป็นคาบ ๆ ช่วง ๆ เราก็มาเฮฮากันตามประสา ครอบครัวจอมซ่าส์ ค่ะ;P

ครูอ้อยขา ไปมาแล้ว คิดหารูปไว้แล้ว..หมดเขตเมื่อไรนะ อ้อ 31/1/2552

สนุกนะคะ

คุณหนุ่ย คะที่ต้องเตือนเพราะลูกเคย

เคืองกันกับเพื่อน ๆ "น้องนับถึงสิบ เขายังแกล้งไม่หยุด น้องก็เลย..เปรี้ยง"..โอ ลูกหนอลูก"

Be kind to your friend and be smart for Mathematics and English subject

เป็นลูกวิศวกร ที่พิสมัย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แต่ไม่ค่อยชอบคณิตศาสตร์

คุณพ่อจึงเป็นห่วงเล็ก ๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท