ชีวิตที่พอเพียง : ๖๗๑. เรียนรู้วิธีทำงานขับเคลื่อนระบบ


 

          ผมไปเข้าโรงเรียน เรียนรู้วิธีทำงานขับเคลื่อนระบบ โดยการไปเป็นวิทยากรผู้ช่วย ให้วิทยากรใหญ่ คือคุณอุรพิณ ชูเกาะทวด ในเวที “ร่วมขับเคลื่อนระบบสุขภาพใหม่ ผ่านกระบวนการยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ของ สช.   ที่คุ้มแม่น้ำท่าจีน  หม่อมไฉไล  อ. บางเลน  จ. นครปฐม   ระหว่าง ๑๕ – ๑๗ ม.ค. ๕๒

          ที่จริงเราไปทำ KM Workshop โดยใช้ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นตัวเดินเรื่อง    คือคนที่มาร่วมเขาอยากเรียนรู้ KM ควบคู่ไปกับการ “ถอดความรู้” จากการมาร่วมกันทำงานยกร่างธรรมนูญฯ

          แต่ผมได้เรียนรู้วิธีทำงานขับเคลื่อนระบบอย่างตื่นตาตื่นใจ   ได้เห็นวิธีการที่เริ่มต้นแบบ “ไม่ชัด”   แต่มีการออกแบบวิธีทำงานโดยใช้ บารมี  ความรู้  ใจ  และความไว้วางใจ 
          เป็นการออกแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม ไม่เน้นทำงานเอง   หาคนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีบารมี (นพ. บรรลุ ศิริพานิช) มาเป็นประธาน   หาคนที่เข้าใจเรื่องการใช้ความรู้ (คือผม) มาเป็นประธานอนุกรรมการชุดที่ต้องใช้ความรู้มาก   หาคนที่มีใจ เห็นความสำคัญของระบบสุขภาพจากหลากหลายวิถีชีวิต มาร่วม   และสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน   เชื่อมั่นและไว้วางใจให้ภาคีที่มาร่วมได้ทำงานโดยอิสระ

          ธรรมนูญฯ มี ๑๒ ประเด็น   มีคณะอนุกรรมการรวม ๖ ชุด   คือ ๕ ชุดไปยกร่าง  และชุดที่ ๑ ทำหน้าที่สังเคราะห์รวม   ผมมองเห็นภาพการทำงานแบบมีคณะอนุกรรมการคิดรายละเอียดลงลึกเฉพาะด้าน   และมีการประชุมร่วมทุกอนุกรรมการ ๒ ครั้ง   เพื่อให้อนุกรรมการแต่ละชุดได้รู้ว่าภาพใหญ่เป็นอย่างไร   ผมเรียกยุทธศาสตร์การทำงานแบบนี้ว่า “ยุทธศาสตร์ภาพเล็กในภาพใหญ่”   ที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างภาพเล็กหรือส่วนย่อยด้วย (๑) คณะอนุกรรมการชุดที่ ๑  (๒) ฝ่ายเลขานุการกลางที่คุณติ๊ก อรพรรณ เป็นหัวหน้าทีม คอยประสานงาน  (๓) การประชุมใหญ่ร่วมกัน 

          นี่คือสุดยอดวิธีทำงานขับเคลื่อนระบบ ด้วยการทำงานแบบเครือข่าย   เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ

          ผู้ที่มาร่วม KM Workshop บอกว่า    จากการทำงานยกร่างธรรมนูญฯ ครั้งนี้ ได้เรียนรู้มาก   โดยเฉพาะการเรียนรู้วิธีทำงานแบบเครือข่าย ให้อิสระแต่ละ node ของเครือข่าย   แต่มีวิธีสื่อสารและเชื่อมโยงภาพรวมเข้าด้วยกัน   ได้เห็นพลังสร้างสรรค์ของวิธีทำงานแบบนี้

          สรุปว่า สช. และภาคี ขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทย ด้วยวิธีการแนว เคออร์ดิค (chaordic)   เพราะเป็นวิธีทำงานที่เปิดกว้าง   ให้อิสระแก่ทีมงานที่มีสไตล์การทำงานที่แตกต่างหลากหลาย   โดยแต่ละทีมมีปณิธานความมุ่งมั่นเดียวกัน   คือต้องการให้คนไทยทั้งมวลมีสุขภาพดี   และระหว่างการทำงาน มีการเรียนรู้และปรับตัวในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

         ที่ผมได้ประโยชน์มาก คือได้เห็นตัวอย่างของจริงของการทำงานขับเคลื่อนระบบ   ด้วยการขับเคลื่อนไปด้วยกันทั้งสังคม   ได้ตัวอย่างจากระบบสุขภาพ   ถ้าโอกาสอำนวย ผมจะเอาไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนระบบการศึกษา

วิจารณ์ พานิช
๑๖ ม.ค. ๕๒

                         

หมายเลขบันทึก: 236460เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

1.เป็นความโชคดีของประเทศไทยที่เรามีคุณลุงหมอวิจารณ์และผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีใจเอื้อเฟื้อ เสียสละ ในการเข้ามาเกื้อหนุนการขับเคลื่อนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ

2.ขอเรียนการบ้านเกี่ยวกับการเล่าตัวอย่างรร.เศรษฐกิจพอเพียงในเมืองตามที่คุณลุงหมอได้ขอไว้ ตาม weblink นี้ค่ะ

http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=870&member_id=277

                       nongnarts

ขอเรียนเพิ่มเติมตัวอย่างรร.เศรษฐกิจพอเพียงในเมือง (3) ตามweblinkค่ะ:

http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=874&member_id=277

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท