Talent management 35การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและข้าราชการผู้มีสมรรถนะสูง(talent)กรมควบคุมโรค 2สรุปผลการประชุม


สรุปผลการประชุมและนำเสนอรองอธิบดี

  ันที่ 13มกราคม 2552

                           เวลา 09.00 น. – 10.00 น.   บรรยายเรื่อง “เทคนิคการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น และประสบการณ์การทำงานกับองค์กรนานาชาติและการประชุมระหว่างประเทศ” โดย นายแพทย์สมชาย         พีรปกรณ์ (WHO) ซึ่งท่านวิทยากรได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นเพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา สามารถทำงานจนประสบความสำเร็จ มีหลักการ 3 อย่าง คือ รู้เขารู้เรา, เอาใจเขามาใส่ใจเรา และการรู้จักใช้ 5 WH และ 1Howดยต้องสุภาพอ่อนโยน ไม่ให้อีกฝ่ายรู้สึกขัดข้องในใจ ช่นการแต่งตัวที่ไม่สุภาพ

 

เวลา 10.00 น. – 11.00 น.   บรรยายเรื่อง สารพัดการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆกันและข้อจำกัด”

โดย นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ท่านวิทยากรได้สรุปการพัฒนาบุคลากรมีการใช้คำหลายคำเช่น HRD, HR, TM, Competency และHCM (Human Capital Management) ซึ่งจะรวมตั้งแต่หามาใช้, บำรุง, ให้รางวัลและพัฒนาให้เติบโต ในที่นี้จะเล่าถึงการการบำรุงให้เติบโต ท่านวิทยากรเล่าถึงการเริ่มโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง (Talent Management) ของกรม การพิจารณาโครงการของคณะทำงานและส่วนที่วิทยากรได้ทำในโครงการปี 2551 คือโครงการพี่เลี้ยงที่พิจารณาจากความจำเป็นของหน่วยงานที่ต้องการความรู้เรื่องภาวะโรคร้อน (Global Warming) ทำให้ได้จัดทำโครงการพี่เลี้ยงโดยเบื้องต้นมีการพูดคุยกันและมีการร่วมกันทำ PowerPoint สำหรับใช้งาน ทำให้สามารถสร้างน้องเลี้ยงที่มีความรู้,         มีเครื่องมือที่จะนำไปใช้งานและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีภายในหน่วยงาน นอกจากนี้ยังได้ทำโครงการพี่เลี้ยง  อื่น ๆ ที่ได้นำเสนอ เช่น โครงการของสำนักคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ, โครงการพี่เลี้ยงของสำนักระบาดวิทยา ทำเรื่องการพัฒนาระบบเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ การควบคุมโรคระบาดLegionnaire และการควบคุมโรคระบาดที่ประเทศพม่า ซึ่งการพัฒนาคนโดยใช้ระบบพี่เลี้ยงน่าจะใช้ได้ผลดี และพี่เลี้ยงได้พัฒนาตนเอง

รื่องการเตรียมคนไปเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก(WHA) ที่ในอดีตไม่เคยมีการเตรียมตัวทำให้มีปัญหาของความพร้อมของกรมมาตลอด แต่ในปัจจุบันเริ่มจะมีการเตรียมได้ได้เร็วขึ้นเนื่องจากมีการจัดทำโครงการ Talent ขึ้นมา

รื่องการพัฒนา FETP และ SRRT ปัจจัยสำคัญที่ท่านวิยากรเน้น คือ หัวหน้าต้องมี awareness

โดยทุกคนทุกระดับต้องเอาใจใส่ และคนสุดท้ายต้องเป็นหัวหน้าตัวเองที่จะต้องตระหนักถึงการพัฒนาตนเอง  

 

เวลา 11.00 น. – 12.00 น.   บรรยายเรื่อง “เรื่องเล่าจากพี่เลี้ยง” โดย นายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ท่านวิทยากรพูดถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ในการควบคุมโรคขึ้นกับว่าเราต้องการสาขาอะไร ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับ Core Business ของกรม

รูปแบบของการสร้างผู้เชี่ยวชาญมีหลายรูปแบบ ท่านวิทยากรนำเสนอรูปแบบที่ได้ดำเนินการ เช่นการใช้ระบบ Coach เมื่อมีการรายงานโรคอหิวาตกโรค ทำให้สามารถรายงานโรคอหิวาตกโรคได้ทันเวลา

นอกจากนี้ท่านวิทยากรได้ให้น้องเลี้ยง 2 ท่าน คือ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร นายแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา เล่าถึงประสบการณ์ในการเขียนบทความทางวิชาการ ซึ่งทำให้น้องเลี้ยง มีโอกาสเปิดมุมมองทางวิชาการและแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และนายแพทย์โรม บัวทอง นายแพทย์ระดับชำนาญการ สำนักระบาดวิทยา เล่าถึงประสบการณ์การควบคุมโรค Legionnaire มีการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทำให้ประเทศอื่นๆเข้าใจประเทศไทยและยังได้ไปนำเสนอที่กรุง Stockholm โดยมีการให้ความรู้กับท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นสามารถทำการควบคุมโรคได้เอง

่านวิทยากรสรุปว่า การสร้างผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมโรค จะต้องทำแบบพี่ๆน้องๆ โดยมีคณะอำนวยการและมีแมวมองหาน้องๆเข้าสู่โครงการโดยมีหน่วยงานสนับสนุน และยังได้เน้นว่าอย่าถามว่า เราได้อะไรเพราะทุกสิ่งที่เราทำให้คนอื่นเราจะได้รับสิ่งที่ดีๆอยู่เสมอ

 

เวลา 13.00 น. – 14.00 น.   บรรยายเรื่อง “แผนการดำเนินงานปี 2553 และการติดตามประเมินผลโครงการ Talent”   โดย แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการ Talent Management ผู้จัดการโครงการได้แจ้งให้หน่วยงานที่รับงบประมาณจากโครงการ จำนวน 8 หน่วยงานให้ส่งผลการดำเนินโครงการ 2 ครั้ง คือ เดือน มีนาคม 2552 และเดือนสิงหาคม 2552 โดยให้สรุปเป็นบทเรียนและขอรูปกิจกรรมที่ประทับใจ

 

เวลา 14.00 น. – 15.00 น.   อภิปรายปัญหาทั่วไป / ตอบข้อสักถาม

้อสรุปจากการอภิปรายทั่วไป                            

               ท่านอธิบดีกรมควบคุมโรค (นายแพทย์ หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์) เน้นว่าจะสนับสนุนนโยบายการพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มที่, อยากให้มีการจัดประชุมแบบนี้อีกและ อยากให้นำกลุ่ม Talent ทั้งแพทย์และไม่ใช่แพทย์ไปดูงานที่ต่างประเทศที่ใกล้ๆเพื่อให้เกิดความรู้ ความสนิทสนมและรู้จักกันมากขึ้น

นายแพทย์จรูญ ปิรยะวราภรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อคิดว่าประทับใจในการบรรยายของวิทยากรมาก และไม่อยากให้คิดว่า โครงการ TM เป็นโครงการพิเศษ อยากให้เป็นโครงการที่ทุกหน่วยงาน ทำเองและมีการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน               

  

ิ่งที่ผู้เข้าประชุมอยากได้

1. Power point

2. การสื่อสารสองทางโดยแจ้งข้อมูลให้Talent ทาง E-mail

3. อยากให้มีเรื่องเล่าของพี่เลี้ยงแบบอื่นๆบ้าง

หมายเลขบันทึก: 236328เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2009 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการสรุปที่ขมวดเนื้อหาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ชอบจังเลย ค่ะอาจารย์อัจฉรา

มิใช่เป็น..คุณเอื้อ.... ที่เคยเห็นมา    แต่ตอนนี้เป็นคุณลิขิตด้วย

                 กังสดาล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท