kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การประชุมเรื่อง "เข้าใจแนวคิด เพื่อพิชิต PMQA" ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์


PMQA เป็นเครื่องมือในการทำงาน เป็นงานประจำ เพราะต้องทำทุกวัน ทำให้งานมีระบบ มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

        ในการประชุมการปรับแนวคิดพิชิต PMQA ของศูนย์อนามัยที่ 8 ที่ วนธารา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นหัวหน้ากลุ่มงาน ฝ่าย งาน หน่วยงาน นักวิชาการทุกส่วนของศูนย์อนามัยที่ 8 จุดมุ่งหมายของการประชุมเหมือนชื่อเรื่องเลยครับ

ในพิธีเปิดอย่างไม่เป็นทางการ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ นายแพทย์ชาญชัย พิณเมืองงาม  ได้กล่าวว่า

  • ศูนย์อนามัยที่ 8 จะใช้ PMQA เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพองค์กรเป็นหลัก ซึ่งเป็นข้อกำหนดของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • KM เป็นเรื่องที่ซ้อนกันในการพัฒนาคุณภาพ น่าจะทำมาแต่ดั่งเดิมแล้ว แต่ไม่ได้เก็บเกี่ยวออกมาอย่างเป็นรูปธรรม และน่าจะเป็นเรื่องเดียวกับ PMQA
  • ในเรื่อง Strategy map ศูนย์อนามัยที่ 8 จะเน้นใช้อย่างเป็นระบบ และเอาจริงเอาจัง
  • ผู้บริหารของกรมอนามัย เน้นเสาหลักของการพัฒนาองค์กรของกรมอนามัยคือ PMQA และ KM ส่วนเรื่อง Six key function เป็นเรื่องของแนวทางการทำงาน
  • การประชุมครั้งนี้ถือเป็นวาระสำคัญ เนื่องต้องการให้ระดับหัวหน้าหน่วยงานได้รับรู้ และไปสื่อสารให้กับคนในหน่วยงานของตนเองได้ ดังนั้นหัวหน้าหน่วยงานและนักวิชาการต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ PMQA อย่างลึกซึ้ง
  • หากหัวหน้าไม่รู้ ไม่เข้าใจ การทำ PMQA ก็เหมือนการทำการบ้านส่งงานเท่านั้น ไม่มีประโยชน์ สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องรู้และทำความเข้าใจให้ได้ และคิดว่าเป็นภารกิจที่ต้องทำ และเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง สามารถนำมาพัฒนาหน่วยงานของตนเองได้
  • ผู้อำนวยการท่านขอร้อง และร้องขอ ให้ทุกคนพยายามเรียนรู้ เพื่อให้ศูนย์อนามัยที่ 8 สามารถจะเป็นองค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้เหล่านี้สู่คนรุ่นต่อไปได้ ท่านบอกว่าองค์กรของเราก็จะไม่ตายตามบุคคลที่เกษียนไป

 

ต่อมาเป็นช่วงการบรรยายของคุณพัฒนาชัย  กุลสิริสวัสดิ์  กรรมการผู้จัดการบริษัท ชัยบูรณ์บราเดอร์ส   ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ - Thailand Quality Class - T QC มาแล้ว   อาจารย์กล่าวถึง

  • ความหมายของคำว่าผู้หลัก กับผู้ใหญ่ อาจารย์อยากให้ทุกคนเป็นผู้หลักมากกว่าผู้ใหญ่
  • แยกให้ออกระหว่าคำว่ามั่งคั่ง กับมั่นคง ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่บอกต้องการมั่นคงมากกว่า
  • อยากให้การเรียนต้องการความรู้เอาไปใช้ประโยชน์มากกว่าเรียนเพื่อเอาปริญญา หรือประกาศนียบัตรเพียงอย่างเดียว
  • การเป็นหัวหน้าที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปได้นั้น ลูกน้องจะเชื่อในสิ่งที่หัวหน้าทำ ไม่ใช่หัวหน้าพูด
  • ปราชญ์ เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนและคนอื่น
  • รากฐานเป็นสิ่งสำคัญ เหมือนการสร้างตึกหากมีฐานที่เพียงพอก็สามารถสร้างตึกได้ตามต้องการ ดังนั้นองค์กรต้องมีรากฐานที่แข็งแรงก่อน ซึ่งเราเรียนรู้ได้จากปัจจัยแห่งความสำเร็จ
  • วัฒนธรรมขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติ และรู้ได้โดยไม่ต้องเปิดตำรา
  • อาจารย์เน้นความสำคัญในการเปลี่ยนแนวการทำงานเพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง เช่นเดินไปปากซอยมาเป็นเวลา 10 ปี ถึงเวลาหรือยังที่จะเปลี่ยนมาเป็นขี่รถจักรยาน เพราะคนอื่นเขาเปลี่ยนกันไปหมดแล้ว (อันนี้แล้วแต่บริบท)
  • PMQA มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้เร็วยิ่งขึ้น
  • PMQA เป็นเครื่องมือในการทำงาน เป็นงานประจำ เพราะต้องทำทุกวัน ทำให้งานมีระบบ มีมาตรฐานยิ่งขึ้น
  • คุณภาพคือความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่ของเรา
  • การซื้อของ เราไม่ควรเลือกของที่ราคาถูกที่สุด แต่ต้องดูในเรื่องต้นทุน และการบริหารจัดการด้วย
  • การตรวจประกอบด้วย 3 ส่วนคือ การติดตาม (ดูว่าทำตามหรือไม่) , การประเมิน (ทำตามเกณฑ์หรือไม่) และการวินิจฉัย (ตรวจเพื่อหาข้อสมมติฐาน , อาการ และการรักษา) อาจารย์บอกเวลาเราไปตรวจงานเราควรเป็นผู้วินิจฉัยมากที่สุด
  • เวลาไปตรวจงานให้จับถูก จะดีกว่าจับผิด
  • องค์กรต้องทำความเข้าใจกับทุกคนในองค์กรให้เข้าใจตรงกัน อาจารย์ยกตัวอย่างว่าเห็นคนลงพุงแล้วรู้เหมือนกันหรือเปล่าว่าท้องหรืออ้วน หากแยกได้วิธีการปฏิบัติก็จะต่างกัน หากเข้าใจผิดจะทำให้แนวทางการดำเนินงานผิดไปด้วย จะเป็นการทำร้ายองค์กรมากกว่า
  • อาจารย์บอกว่า PMQA เริ่มจากหมวด 3.1 ความต้องการของลูกค้า และสุดท้ายให้บรรลุถึง หมวด 3.2 คือความพึงพอใจของลูกค้า
  • เน้นเรื่องการทำงานเป็นทีม ซึ่งแยกเป็น 4 ประเภทคือ
    • ทีมในระดับต้น - ตัวใครตัวมัน
    • ทีมในระดับที่หัวหน้าทีมมีความสำคัญมากขึ้น - มีดาวเด่น
    • ทีมในระดับที่สมาชิกทุกคนทำงานประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
    • ทีมแท้ - เป็นตายร้ายดีด้วยกัน

สุดท้ายอาจารย์เล่าถึง 9 ขั้นตอน การดำเนินงานตามเกณฑ์ การประเมินของ PMQA ซึ่งได้แก่

  1. หาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง
  3. ประเมินสภาพองค์กรในปัจจุบัน
  4. วางแผนกลยุทธ์
  5. วางแผนปฏิบัติงาน
  6. เสริมศักยภาพภายในองค์กร
  7. ปฏิบัติตามแผน
  8. วัดและประเมินผล
  9. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หลังจากอาจารย์บรรยายแล้ว ที่ประชุมได้นำเสนอแนวทางการทำงานของศูนย์อนามัยที่ 8 เกี่ยวกับ PMQA ซึ่งที่ประชุมนำเสนอแนวปฏิบัติในการนำ PMQA ไปใช้ในการทำงานดังนี้

 

ซึ่งผลที่ได้คงจะให้เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 8 รู้และปรับแนวคิดในการนำ PMQA ไปใช้ในการการพัฒนาหน่วยงานของตนเองได้เป็นอย่างดี 

 

ขอบคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 235491เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2009 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ดีจังเลยครับ
  • เอาเอกชนมารวมบรรยายด้วย
  • ชอบโมเดลสุดท้ายครับ

ทำอย่างไรที่จะให้คนคิดไม่ยึดติดกับของเดิมมากไป น่าจะเอาสิ่งที่คิดว่าดีในของเดิมมาผสมกับแนวความคิดวิธีใหม่ๆนะ เพราะธรรมชาติของคนเรามักคิดว่ามันดีที่สุดอยู่แล้วหมอก้องคิดว่าไง

ตามมาเรียนรู้ PMQA ครับ เมื่อวาน ปรับใช้ให้กับ นักศึกษา ชาวมอดินแดง ระดับผู้นำในคณะเทคนิคการแพทย์ ครับ

ขอบคุณ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง , พี่เป๋ง และ อาจารย์ JJ ที่เข้ามาในบันทึกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท