เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า


เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

 นิทรรศการบนเส้นทางงานวิจัย  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปี  2552” ในงานวันเกษตรแห่งชาติ  ประจำปี  2552

วันที่  30  มกราคม  - 7  กุมภาพันธ์  2552

  อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

                                                                Increase efficiency techinque of Lemon propagation for commercial

          สามารถ เศรษฐวิทยา,กาญจน์ จันทร์ลอย,นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์,รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี

ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขร้อน  สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

 

ปัจจุบันราคาผลมะนาวจะขยับราคาสูงขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม  ถึง เมษายน   จึงเป็นช่วงที่มีการผลิตมะนาวนอกฤดู ทำให้เกษตรกรมีความต้องการซื้อหากิ่งพันธุ์มะนาวที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก  แต่การเตรียมกิ่งพันธุ์มะนาวให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรนั้นจะต้องมีการวางแผนการผลิตกิ่งพันธุ์มะนาว เทคนิคและวิธีการผลิตกิ่งพันธุ์มะนาว   ให้ได้ต้นมะนาวที่สมบูรณ์สามารถให้ผลผลิตได้ดีตามความต้องการของตลาด  ดังนั้นการเพิ่มทักษะการขยายพันธุ์มะนาวให้แก่เกษตรกรตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการผลิตกิ่งพันธุ์มะนาว เทคนิคและวิธีการผลิตกิ่งพันธุ์มะนาว   จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และสร้างอาชีพให้แก่ครัวเรือนและชุมชนได้ต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ช่วงที่2

ช่วงที่1

 

ความต้องการกิ่งพันธุ์มะนาวมีความสัมพันธ์กับราคาผลผลิตมะนาวตามท้องตลาด ซึ่งความต้องการกิ่งพันธุ์มะนาวจะเริ่มตั้งแต่ช่วงที่1 เดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน และช่วงที่2 ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตามในช่วงรอยต่อของช่วงที่1และ2 คือ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฏาคม ที่มีความต้องการในปริมาณกิ่งพันธุ์มะนาวไม่มากนั้น

ก็สามารถนำกิ่งพันธุ์มะนาวที่เหลือจากการจำหน่ายในช่วงที่1มาบำรุง และจำหน่ายในช่วงที่2ได้ ซึ่งกิ่งพันธุ์มะนาวจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นด้วย การผลิตกิ่งพันธุ์มะนาวให้ได้ตามความต้องการของตลาดนั้นจำเป็นจะต้องมีการวางแผนการผลิตและกิ่งพันธุ์มะนาวที่จำหน่ายนั้นจะต้องมีคุณภาพ

การขยายพันธุ์มะนาว เป็นวิธีการเพิ่มปริมาณของกิ่งพันธุ์มะนาวให้มากขึ้น ส่วนการเพาะเมล็ดนั้นมะนาวนั้นไม่นิยมเพราะจะมีการกลายพันธุ์  แต่ยังมีการเพาะเมล็ดมะนาวเพื่อให้ได้ต้นตอที่แข็งแรงและมีรากแก้ว  เพื่อใช้เป็นต้นตอในการขยายพันธุ์

การตัดชำกิ่งมะนาว  การตัดชำ คือ การตัดส่วนส่วนของกิ่งพันธุ์มะนาวที่มีสภาพต้นที่สมบูรณ์ แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดรากและยอด พัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ โดยที่ต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการและจะช่วยร่นระยะเวลาในการออกดอกติดผลให้เร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเมล็ด มะนาวที่ปลูกด้วยกิ่งปักชำใช้เวลา  2-3 ปี  ก็จะให้ผลผลิต ส่วนการเพาะเมล็ดอาจใช้ระยะเวลามากกว่าการปักชำจึงไม่เหมาะสำหรับการผลิตมะนาวเชิงการค้า

                  การตัดชำกิ่งอ่อน (Soft wood cutting) คือ การตัดกิ่งที่เพิ่งแตกออกมาใหม่ มีลักษณะอ่อนและอวบน้ำ ความสำเร็จในการขยายพันธุ์โดยการตัดชำกิ่งอ่อนขึ้นอยู่กับอาหารและฮอร์โมนของพืช กล่าวคืออาหาร ที่มีอยู่ในกิ่งอ่อนหรือยอดของพืชไม่ใช่ปัจจัยอันสำคัญ เพราะอาหารในส่วนของพืชดังกล่าวมีไม่มากพอ ดังนั้นอาหารที่จะนำมาสร้างรากจะต้องได้จากการสังเคราะห์แสง ด้วยเหตุนี้การตัดชำกิ่งอ่อนจะต้องมีใบติด นอกจากนั้นปัจจัยอื่นๆ คือ อุณหภูมิ ความชื้น และแสงที่พอเหมาะก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเช่นกัน

การตัดชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ( Semi hard wood cutting) กิ่งชนิดนี้เป็นกิ่งที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และมีเนื้อไม้เริ่มแข็งเหมาะแก่การผลิตมะนาวเชิงการค้า สำหรับกิ่งที่ใช้ในการตัดชำ ควรริดใบแก่หรือใบล่างออกเหลือไว้เฉพาะใบที่เจริญเต็มที่และใบที่อยู่ด้านยอดประมาณ  4-5 ใบ

 

วิธีการตัดชำกิ่ง

1.เมื่อตัดกิ่งพันธุ์มะนาวมาแล้วควรพ่นน้ำให้แก่กิ่งพันธุ์มะนาวเป็นระยะ เพื่อช่วยลดการคายน้ำ

               2.   เตรียมกิ่งขนาดยาวโดยทั่วไปประมาณ  6 – 9   นิ้ว ขนาดของกิ่งประมาณ  1   นิ้วโดยรอยตัดควรอยู่บนข้อและใกล้กับข้อให้มากที่สุด

       3.   กิ่งจะต้องมีข้อจำนวน ประมาณ 3 - 5 ข้อ และมีใบอยู่ 4-6 ใบ

               4. โคนกิ่งควรตัดเป็นรูปปากฉลามหรือฝานบวบ จะมีรอยแผลช้ำบริเวณรอยตัดให้ใช้คัดเตอร์ตัดรอยช้ำออกซ้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกราก

                5.ใช้คัดเตอร์กรีดบริเวณโคนกิ่งในแนวตั้งความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร 3-4 รอย

                6.หลังจากนั้นนำกิ่งมะนาวแช่ลงในน้ำที่ผสมสารป้องกันเชี้อรา และเชื้อแบคทีเรีย เพื่อไม่ให้เชื้อราและเชื้อแบคทีเรียเข้าทางรอยแผล

7.นำกิ่งพันธุ์จุ่มลงในสารเร่งการเกิดรากจำพวก NAA  และ IBA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกรากของกิ่งพันธุ์มะนาว 

8. หลังจากเตรียมกิ่งพันธุ์มะนาวเสร็จแล้ว ใช้ไม้ที่มีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาดของกิ่งปักชำ แทงลงในวัสดุปลูกก่อนนำกิ่งลงปักชำ เพื่อป้องกันการเกิดรอยช้ำบริเวณแผล

               9.  ฝังกิ่งลึก  ½  ส่วน ของความยาวกิ่ง และที่สำคัญคือต้องกดบริเวณโคนกิ่งให้แน่น 

               10.  ใช้วัสดุพรางแสง ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก และต้องบังกระบะปักชำไม่ให้มีลมมาปะทะเพื่อไม่ให้กิ่งปักชำขยับและลดการคายน้ำของกิ่งพันธุ์มะนาว

                11.สังเกตดูว่าวัสดุเพาะชำหรือน้ำที่จับบริเวณใบแห้งเกินไปหรือไม่ ถ้าแห้งเกินไปควรพ่นน้ำให้ถี่ขึ้น

 

ปัจจัยที่จะทำให้กิ่งตัดชำออกรากดี
สภาพภายในกิ่ง  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือมีอยู่ในกิ่งตัดชำนั้นเอง ได้แก่สภาพดังต่อไปนี้
              1. การเลือกกิ่ง  ควรจะเลือกกิ่งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
                  1.1 เลือกกิ่งที่มีอาหารมาก  เพราะอาหารภายในกิ่งจำเป็นในการเกิดรากและการเจริญของกิ่งสำหรับการตัดชำกิ่งแก่ไม่มีใบ   อาหารจะสะสมอยู่ภายในกิ่ง  ซึ่งกิ่งที่แก่มาก (ไม่เกิน ๑ ปี) อาหารยิ่งสะสมอยู่ภายในกิ่งมาก การเกิดรากและ แตกยอดก็จะง่ายขึ้น
                 1.2 อายุของต้นพืชที่จะนำมาตัดชำควรเลือกกิ่งจากต้นที่มีอายุน้อย (นับจากเพาะเมล็ด)เพราะกิ่งจากต้นที่มีอายุน้อยจะออกรากได้ง่ายกว่ากิ่งที่นำมาจากต้นที่มีอายุมากๆ
                 1.3 เลือกชนิดของกิ่งให้เหมาะกับการเกิดราก โดยพิจารณาดังนี้ คือถ้าเป็นการตัดชำกิ่งแก่ ควรเลือกกิ่งข้างมากกว่ากิ่งกระโดง เพราะกิ่งข้างมีอาหารภายในกิ่งมากกว่ากิ่งกระโดง  แต่ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งอ่อนหรือกิ่งมีใบ การใช้กิ่งกระโดงจะออกรากง่ายกว่ากิ่งข้าง  
                 1.4  การเลือกฤดูการตัดชำกิ่งให้เหมาะ  คือ เป็นการตัดชำกิ่งแก่ที่ไม่มีใบ  ควรจะตัดชำกิ่งในระยะที่กิ่งพักการเจริญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตาบนกิ่งเริ่มจะเจริญใหม่อีกครั้งหนึ่ง  ส่วนการตัดชำกิ่งอ่อนนั้น อาจทำได้เมื่อกิ่งเจริญได้ระยะหนึ่งโดยกิ่งที่เจริญ นั้นมีความแข็ง (firmness)  พอสมควร และมีใบเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  สำหรับการตัดชำไม้ผลหรือไม้ประดับบางชนิดที่ออกรากค่อนข้างยากการใช้กิ่งที่แข็ง  กลม  และมีเส้นลายบนกิ่งเล็กน้อยจะออกรากได้ดีกว่าใช้กิ่งค่อนข้างอ่อน

                   1.5 การทำแผลโคนกิ่ง  แผลโคนกิ่งจะช่วยให้กิ่งมีเนื้อที่ที่จะเกิดรากได้มากขึ้น นอกจากจะช่วยให้กิ่งเกิดจุดกำเนิดรากได้ง่ายแล้วยังช่วยให้กิ่งดูดน้ำและฮอร์โมนได้มากขึ้นอีกด้วย
                 1.6 การใช้ฮอร์โมนและสารบางอย่างช่วยการออกราก  ฮอร์โมนช่วยให้กิ่งตัดชำออกรากดีขึ้น  ช่วยให้เกิดรากมาก ออกรากไวและรากเจริญได้เร็ว สารฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เป็นตัวสารเคมีที่ใช้ผสมอยู่ในชื่อฮอร์โมนการค้าต่างๆ มักจะมีสารฮอร์โมนอยู่สองชนิด คือไอบีเอ(IBA)หรือชื่อเต็มคือ กรดอินโดลบิวไทริค (indolebutyric acid) และ เอ็นเอเอ (NAA) หรือชื่อเต็มคือกรดแนฟทาลีนอะซีติก (naphthaleneaceticacid) สารฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้เป็นสารที่เสื่อมช้าคือไม่สูญเสียง่าย  แต่ในการใช้มีข้อที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การใช้ฮอร์โมนกับพืชใด ควรจะรู้ความเข้มข้นที่แน่นอนและให้พอเหมาะกับพืช         

        

 

การจัดสภาพแวดล้อมให้กับกิ่งตัดชำในระหว่างรอการออกราก
                    1. การจัดความชื้นในอากาศรอบๆ  กิ่งตัดชำความชื้นในอากาศเกี่ยวข้องกับ การตัดชำโดยที่กิ่งตัดชำเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาใบไว้ปรุงอาหาร เพื่อช่วยการออกราก ฉะนั้นจึงต้องรักษาใบไว้ให้สดและติดอยู่กับกิ่งตลอดไป แต่การที่ใบจะสดอยู่ได้ก็จะต้องมีความชื้นในอากาศรอบๆ ใบสูงพอ น้ำจากใบจึงจะไม่คายออกมาและใบก็จะไม่เหี่ยว   เราควรฉีดหรือพ่นละอองน้ำให้จับใบอยู่ตลอดเวลาหรือเป็น ระยะ ซึ่งวิธีการหลังนี้อาจใช้คนช่วยฉีดพ่น  หรือโดยการใช้เครื่องพ่นน้ำอัตโนมัติ (autometic mist) ก็ได้

                    2. แสงสว่างกับการออกรากแสงสว่างมีความจำเป็นสำหรับการตัดชำกิ่งพืชที่ต้องมีใบติด เพราะแสงสว่างจำเป็นในการปรุงอาหาร  รวมทั้งสร้างสารฮอร์โมนเพื่อช่วยการออกรากของกิ่งตัดชำ การให้กิ่งตัดชำได้รับแสงมากเท่าไร ก็จะช่วยให้การออกรากดีขึ้น


                    3. วัตถุที่ใช้ในการตัดชำการออกรากของกิ่งตัดชำ จะไม่เกี่ยวกับอาหารที่มีอยู่ในวัตถุปักชำนั้น  แต่จะเกี่ยวข้องกับความชื้น (moisture) และอากาศ (areation) ที่มีอยู่ในวัตถุปักชำนั้น โดยที่วัตถุปักชำแต่ละชนิดจะดูดความชื้นและมีอากาศผ่านเข้าออกได้ต่างกัน  ซึ่งจะเป็นผลให้การออกรากแตกต่างกันไปด้วย  วัตถุที่จะช่วยให้การออกรากเกิดได้ดี  จะต้องดูดความชื้นได้มาก และมีอากาศผ่านได้สะดวก สำหรับวัตถุปักชำที่นิยมใช้กันทั่วๆ ไป ได้แก่ทรายหยาบ  ถ่านแกลบที่ล้างด่างหมดแล้ว หรือส่วนผสมของทรายหยาบกับถ่านแกลบอย่างละเท่ากัน

 

สถานเพาะชำไม้ผลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ

                1.มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นมะนาวที่นำมาปลูก มีทิศทางและความเข้มของแสง ระยะเวลาที่ได้รับแสงที่เหมาะสม  การให้น้ำชลประทานปริมาณและความชื้นสัมพันธ์ในอากาศความเร็วและทิศทางลม ระดับอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมไปถึงการมีอยู่ของโรคและแมลงศัตรูพืช วัชพืชและศัตรูอื่นๆด้วย

                2.สถานเพาะชำสามารถปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการของต้นมะนาวได้เช่น ต้นมะนาวที่มีช่วงอายุต่างกัน อาจมีความต้องการสภาพแวดล้อมต่างกันไปเช่นต้องการแสงมากน้อยต่างกัน ต้องการน้ำในปริมาณที่ไม่เท่ากัน หากสามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในสถานเพาะชำให้เหมาะสมกับความต้องการในขณะนั้นได้ ก็จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตแข็งแรงได้ดี

                3.มีพื้นที่เพียงพอสำหรับต้นไม้และพื้นที่ใช้งานอื่นๆและใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                4.ไม่มีปัญหาด้านกายภาพ เช่น น้ำท่วมขัง ดินเค็ม พื้นที่ลาดเทมากเกินไป มีร่มเงา ไม้ใหญ่ อันเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของต้นมะนาว

                5.ตั้งอยู่ใกล้ทางคมนาคม ขนส่งต้นไม้สะดวก มีการวางแผนผังภายในที่ดี มีที่ตั้งของหน่วยงานย่อยให้สอดคล้องกับวิธีการปฏิบัติงาน

                6.โรงเรือนมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการและมีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในลักษณะวิกฤติเช่น มีลมพายุ อุณหภูมิสูง หรือมีฝนตกหนัก

                7.มีต้นทุนการจัดตั้งที่เหมาะสมต่อการใช้งาน

หมายเลขบันทึก: 235228เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2009 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตรางการบรรยายและฝึกอบรม งานเกษตรกำแพงแสน 3-10 ธันวาคม 2552 โดยสถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

เสริมสร้างงานวิจัย

ใส่ใจบริการ

ประสานความคิด

มุ่งผลผลิตสู่ชุมชน

3ธ.ค.52

10.00-10.20 การเพาะและดูแลกล้าผัก

10.25-10.45การผลิวัสดุปลูกไม้ประดับ

14.00-14.20อ้อยคั้นน้ำพันธุ์กำแพงแสน

14.25-14.45การทำน้ำตาลงบจากน้ำอ้อย

4ธ.ค.52

10.00-10.20ละมุดย้อยสีธรรมชาติ

10.25-10.45เทคนิคการยืดอายุดอกไม้ในแจกัน

14.00-14.20เทคนิคการขายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

14.25-14.45เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

5ธ.ค.52

10.00-10.20เทคนิคการขายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

10.25-10.45เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

10.50-11.10เทคนิคการเก็บรักษามะนาวให้ได้2เดือน

13.30-14.30พิมเสนน้ำและยาหม่อง ทำเองได้ง่ายจัง

14.35-15.05การ์ดน่ารักจากใยหนอน

15.10-15.30การผลิตวัสดุปลูกไม้ประดับ

6ธ.ค.52

10.00.00-10.20การเก็บและจัดการเมล็ดพันธุ์ในครัวเรือน

10.25-10.45การเพาะและดูแลกล้าผัก

10.50-11.10การปลูกและดูแลผักกระถาง

13.3.-14.30พิมเสนน้ำและยาหม่อง ทำเองได้ง่ายจัง

14.35-14.55สายพันธุ์ต้นไม้กินแมลงในประเทศไทย

15.00-15.20การปลูกเลี้ยงไม้กินแมลง

7ธ.ค.52

10.00-10.20เทคนิคการขายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

10.25-10.45เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

10.50-11.10เทคนิคการเก็บรักษามะนาวให้ได้2เดือน

13.3.-14.00การ์ดน่ารักจากใยหนอน

14.05-14.35สอนน้องพับหนอน

14.40-15.10การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้

8ธ.ค.52

10.00-10.20การผลิตวัสดุปลูกไม้ประดับ

10.25-10.45การปลูกและดูแลผักกระถาง

14.00-14.20อ้อยคั้นน้ำพันธุ์กำแพงแสน

14.25-14.45การทำน้ำตาลงบจากน้ำอ้อย

9ธ.ค.52

10.00-10.20ละมุดย้อมมีธรรมชาติ

10.25-10.45เทคนิคการยืดอายุดอกไม้ในแจกัน

14.00-14.20การปลูกกล้วยจากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

14.25-14.45การปลูกและดูแลผักกระถาง

10ธ.ค.52

10.00-10.20เทคนิคการเก็บมะนาวให้ได้2เดือน

10.25-10.45สายพันธุ์ต้นไม้กินแมลงในประเทศไทย

10.50-11.10การปลูกเลี้ยงไม้กินแมลง

14.00-14.20การเก็บและจัดการเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในครัวเรือน

14.25-14.55สอนน้องพับหนอน

เพื่อสะดวกต่อการเตรียมสถานที่หากเข้าอบรมเป็นหมู่คณะโปรดแจ้งชื่อ สถาบัน/โรงเรียน/หน่วยงานและจำนวนผู้เข้าอบรม มายังคุณยุพิน อ่อนศิริ โทรศัพท์/โทรสาร 034 355368 ภายในวันที่ 30 พ.ย. 52

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

โดย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน

ร่วมกับ

คณะเกษตร กำแพงแสน

จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร

"เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 (เวลา 8:30น. – 17:00 น.)

หลักสูตรดังกล่าว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว การขยายพันธุ์มะนาว ฯลฯ

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 ติดต่อคุณรัฐกานต์ 089-254-1552 หรือโทร. (034) 281090 หรือ โทรสาร (034) 281091

1. คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกษตรกร ข้าราชการ และผู้สนใจทั่วไป

2. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร ค่าลงทะเบียนคนละ 600 บาท แต่ถ้าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ลดเหลือ 500 บาท(รวมอาหารว่าง อาหารกลางวันและเอกสารประกอบการอบรม)

การจัดส่งค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ธนาณัติในนาม นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ (ปณ. กำแพงแสน) ที่อยู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 หรือ

โอนเงินเข้าบัญชีในนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 769 – 227500 - 5 หลังจากโอนเงินกรุณาส่งหลักฐานการโอนแนบมาพร้อมกับใบสมัครและท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม(ตามที่อยู่ข้างบน) เมื่อโอนเงินแล้วโปรดส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมใบสมัครมาที่ โทรสาร (034) 281091 และท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม

3. หัวข้อในการฝึกอบรม

8.00 - 9.00 น ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง

9.00 - 10.30 น. การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว( ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์)

10.30 – 12.00 น. การขยายพันธุ์มะนาว (อ.สามารถ เศรษฐวิทยา)

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น. การปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู(รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี)

ใบสมัคร

โครงการฝึกอบรม “เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1”

ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม

1.ชื่อ (นาง/นางสาว/นาย)…………………………นามสกุล……………………………อายุ………ปี

2.วุฒิการศึกษา……………………………………….…………………………………………………….

3.อาชีพ…………………………………………………………………………………………………….

4.สถานที่ทำงาน……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

5.ที่อยู่ที่บ้าน………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

6.ที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ สถานที่ทำงาน บ้าน

7.การลงทะเบียน ลงทะเบียนล่วงหน้า ค่าลงทะเบียน 500 บาท (ภายในวันที่ 15 ก.พ. 2553)

ลงทะเบียนวันฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน 600 บาท

การจัดส่งค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ธนาณัติในนาม นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ (ปณ. กำแพงแสน) ที่อยู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 หรือ

โอนเงินเข้าบัญชีในนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 769 – 227500 - 5 หลังจากโอนเงินกรุณาส่งหลักฐานการโอนแนบมาพร้อมกับใบสมัครส่งมาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ข้างบน หรือทางโทรสาร 034-281091

8.ประสบการณ์ในการปลูกมะนาว  มี  ไม่มี

9.การใช้ประโยชน์หลังจากการฝึกอบรม….……………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ…………………………………….

(………………………………)

…………./………../………..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท