11 มกราคม 2552 : วันหยุดที่ วังชมภู


ทันตกรรม ชุมชน

Sun 11 Jan 2009

 

            ตื่นมากินโจ๊กที่พี่หน่อยซื้อมา บอกว่าเป็นเจ้าอร่อยขอที่นี่ ถุงใหญ่มากเสร็จแล้วพี่หน่อยก็พาไปส่งที่วังชมภู อ้อ แวะเอางานให้พี่พัตราที่บ้านด้วย พอดีอยู่ละแวกเดียวกัน ถึงวังชมภูประมาณเก้าโมงกว่าๆ พี่หน่อยปล่อยพวกเราไว้ เพราะต้องไปทำคลีนิก บอกว่าเย็นๆจะมารับกลับ วันนี้พี่ต่วนว่างเลยพาพวกเราสำรวจหมู่บ้านโดยมีสามล้อคู่ใจเป็นพาหนะทุ่นแรงไม่งั้นคงเหนื่อยมาก

11 มกราคม 52

การก่อตั้งหมู่บ้านวังชมภู : แยกตัวมาจากป่าชุมชนที่ติดกับหมู่บ้านร่องบอน โดยมีดอยคั่นอยู่ระหว่างปุ่มชนและร่องบอน (อาณาเขตทั้งหมดเป็นของหมู่บ้านร่องบอน) เมื่อมีการถางป่าจึงให้มีการจับจองที่บริเวณนี้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ค่อนข้างห่างไกลจากความเจริญ เวลามีทางการเข้ามามักจะเข้ามาไม่ถึงบริเวณนี้ จึงมีการประท้วงซึ่งนำโดยพ่อปัน, พ่อไข่ ฯลฯ ที่ที่ว่าการอำเภอเพื่อขอเป็นหมู่บ้านวังชมภูโดยแยกจากร่องบอน

ระบบการประปา : น้ำใช้ : น้าประปาภูเขาจากห้วยน้ำจุมปู โดยจะเก็บน้ำไว้ในตุ่มน้ำ ไว้ใช้

                                น้ำดื่ม : ซื้อจากรถที่นำเข้ามาส่งในหมู่บ้าน หรือ ต้มจากน้ำประปาภูเขา

ระบบไฟฟ้า : ส่วนมากไม่ต้องเสียค่าไฟ เนื่องจาก มีการขยายค่าไฟให้ฟรีถ้าใช้ไม่ถึง 80 หน่วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ไม่เกิน 80 หน่วยอยู่แล้ว

ระบบเงินทุนในหมู่บ้าน ได้มาจาก เงินล้าน ซึ่งจะได้ปีละ 1 ครั้ง

-          กลุ่มออมทรัพย์ ซึ่งจะมีการเก็บเงินออมให้คนในหมู่บ้าน โดยจะทำหน้าที่ในการรับฝากเงิน ซึ่งอย่างน้อยต้องออม 20 บาทขึ้นไป  ต้องมีการเปิดสมุดเงินออมทุกครอบครัว แต่ในแต่ละครอบครัวจะมีกี่เล่มก็ได้ นอกจากนั้นยังให้เงินกู้แก่ผู้ต้องการลงทุน โดยจะต้องบอกล่วงหน้า 3 วัน การได้ผลกำไรจากกลุ่มออมทรัพย์ได้จาก ดอกเบี้ยจากธนาคาร, ดอกเบี้ยจากผู้กู้เงิน (ร้อยละ 5 ต่อเดือน) การทำการในกลุ่มออมทรัพย์นี้จะทำทุกวันที่ 11 ของทุกเดือน ให้เสร็จภายในครึ่งวันเช้า คณะกรรมการได้จากการเลือกตั้งทุกปี และจะได้ค่าตอบแทนเดือนละ 100 บาท

บุคคลสำคัญ : พ่อปัน เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มจักสาน เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกสร้างหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างให้ความเคารพนับถือ เป็นที่ปรึกษาของคนในชุมชน นอกจากนี้พ่อปันยังมีความรู้เรื่องสมุนไพรต่างๆด้วย

 

    พ่อยืน

    พ่อวรรณ

ภาวะทันตสุขภาพ : จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองของศูนย์เด็กเล็ก (พี่ต่วน พี่พัด พี่ม่วย) พบว่า

-          เด็กจะไปพบทันตแพทย์ทุกครั้งที่ไปรับการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นโครงการของรพ พาน และผู้ปกครองที่พาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนจะได้การตรวจสุขภาพช่องปากด้วย นอกจากนี้ยังมีการสอนแปรงฟันด้วย อย่าไรก็ตามยังพบว่าเด็กมีฟันผุอยู่ (น้องเค้ก น้องน้ำ)

-          ที่ศูนย์เด็กเล็กมีการประสานงานกับรพ พาน โดยมีเจ้าหน้าที่มาตรวจฟันเด็กปีละครั้ง โดยจะมีใบบันทึกการตรวจส่งคืนให้ผู้ปกครองด้วยเพื่อมารับการรักษาที่รพ พาน

-          ที่ศูนย์เด็กเล็กไม่มีการสอนแปรงฟัน

-          ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักปล่อยให้เด็ก (อายุสองขวบ) แปรงฟันเอง และไม่ค่อยตรวจดูและแปรงซ้ำ

-          ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์เมื่อมีอาการ (มากแล้ว)

สุขภาพทั่วไป  -    เมื่อมีการเจ็บป่วยชาวบ้านจะไปหาหมอที่รพ พาน โดยใช้สิทธิบัตรทอง  การเดินทางไปรพ ไม่ลำบากเนื่องจากทุกบ้านจะมีรถอยู่แล้ว

-          มีการบรรเทาความเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆโดยใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้านบ้าง โดยพ่อปัน

-          ชาวบ้านไม่มีความเชื่อด้านไสยศาสตร์ในเรื่องความเจ็บป่วย

-          มีการตรวจสุขภาพโดยแพทย์จากรพ พาน (มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม) เป็นประจำทุกปี จัดการตรวจที่ศูนย์อสม

-          มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆผ่านเสียงตามสาย

-          มีชาวบ้านหลายคนสูบบุหรี่และกินเหล้า ซึ่งมีขายที่ร้านของพ่อหลวง

-          เวลาไม่สบายจะไปเอายาจากอสม หรือผู้ใหญ่บ้าน

-          พบว่ามีผู้ติดเชื้อ HIV ในหมู่บ้านประมาณ 10 คน ซึ่งได้รับยาต้านเชื้ออยู่และสามารถอยู่ร่วมกับคนในหมู่บ้านได้ดี

วิถีชีวิตชาวบ้าน  

มีการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อกินเอง และส่วนที่เหลือก็สามารถนำไปขายที่บ้านพ่อหลวงไข่หรือตลาด นอกจากนั้นยังส่งไปขายที่ รพ.พาน

มีการทำการเกษตรครบวงจร เช่น การนำกากข้าวที่เหลือจากการกลั่นสุราไปเลี้ยงหมูและนำขี้มูลมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื้อทำผักปลอดสารพิษต่อไป      

มีการรวมกลุ่มอาชีพกันภายในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มตีมีด กลุ่มจักสาน กลุ่มกล้วยฉาบ เพื่อนำผลผลิตไปขายภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านได้

อาชีพ

                ส่วนมากทำสวน ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด มะขาม  ทำฟืนไปขายโรงเหล้า

                รับจ้าง

                กลั่นสุรา สามารถนำไปขายออกนอกอำเภอสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้ ดอยช้าง วังชมภูการสุราเป็นสุราที่ได้ขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว

                ทำปุ๋ยหมัก ส่งไปขายนอกหมู่บ้านได้

ความเชื่อ

                ก่อนมีการทำงานบุญต่าง ๆ มักจะมีการแห่หินที่นำมาจากห้วย ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าจะนำความหนักแน่นและไม่ทะเลาะเบาะแว้งเพื่อให้ทำความสำเร็จลุล่วงด้วยดี ซึ่งเรียกว่า อุบปะคุต ซึ่งหินจะถูกเลือกจากหลวงพ่อแล้วแห่ลงมาที่วัดก่อนวัดทำบุญ เมื่อทำบุญเสร็จแล้วจะต้องมีการแห่กลับไปที่เดิม

คำสำคัญ (Tags): #ทันตกรรม
หมายเลขบันทึก: 234888เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 02:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แวะมาเยี่ยมขมครับ

                   

^

^

^

^

แวะมาเยี่ยมขม(สงสัยมาอมบอระเพ็ด อิอิ)

(แซวไปเรื่อย)

ปล.จำไผ่ได้ป่าวน้องเปิ้ล รับแอดไฮไฟซักทีดิ

เด๋วคนน่ารักอย่างเราจะเสี้ยมเรื่องพี่อ้นนะ!!!

แซวแรงไปแน่เลย

น้องเปิ้ลลบเม้นข้างบนด่วนค่า

ขอร้องงงงงงง

กำลังเรียนรู้เหมือนกัน คุณซอแนะนำให้ทำ

เข้าไปที่ www.slide.com จะมีวิธีทำ

แวะมาทักทายนะคะ

ยินดีที่ได้รู้จัก

ขยันจังเลยนะคะ

ช่วงนี้ net ช้า

ข้อมูลไหลไม่ค่อยดี

แวะมาทักทายนะคะ

ยินดีที่ได้รู้จัก

ขยันจังเลยนะคะ

ช่วงนี้ net ช้า

ข้อมูลไหลไม่ค่อยดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท