พินัยกรรมแห่งชีวิต


ทางที่ทุกคนต้องเดินไป

พินัยกรรมแห่งชีวิต.....คนเราควรเขียนพินัยกรรมชีวิตไว้นะ

เราต้องการตายอย่างไร     อยากให้ชีวิตเราเป็นอย่างไร  เพื่อในกรณีที่เราไม่สามารถพูด เขียน สื่อสารใดๆ ได้ จะได้มีพินัยกรรมชีวิตไว้ให้คนอื่นๆ  ทำตามความต้องการของเราได้


ถ้าเจ็บป่วยถึงขั้นช่วยตัวเองไม่ได้   แพทย์ลงความเห็นแล้วว่า...ไม่รอดแน่...  ก็ปล่อยไปเถอะ อย่ายื้อไว้เลย เครื่องช่วยหายใจ..ก็อย่าใช้เลย ทรมานสังขารร่างกายเปล่าๆ

แล้วธรรมมะที่จะเปิดให้ฟังก็ไม่ต้อง ...ขอแค่ความสงบ ขอตายอย่างมีสติ สมาธิและปัญญา

แล้วการร้องไห้เสียอกเสียใจ ก็ไม่ควรนะ เพราะร่างกายที่มันเสื่อมไปแล้วจะเอาไว้ทำไม มันก็แค่สังขาร

ถ้าเศร้าใจเพราะการพรากจาก ...ต่อนี้ไปไม่เห็นอีก.. แต่แค่เพียงนึกถึง มันก็คือการไม่ตายจากกันไปหรอก

ส่วนพิธีศพก็ไม่ต้องทำอะไร เสื้อผ้าชุดไม่ต้องหา.....สะดวกยังไงก็ได้เท่าที่หาได้ แบบจีนไม่เอาเลยนะจะเผากระดาษเงินทองอะไรไม่ต้อง ให้ทำที่วัดป่านั่นแหละสวดวันเดียวแล้วเผาเลย ซากที่เหลือจากเผาก็เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ที่วัดนั่นแหละต้นอะไรก็ได้ไม่ต้องคิดมาก ก็แค่เศษซากที่เหลือ ไม่ต้องคิดว่าจะมีใครมาเหยียบ มีหมามาฉี่ใส่ มันไม่มีอะไรเลย เป็นแค่ความคิดของคนที่ยังอยู่ต่างหากว่าคิดอย่างไร ไม่ต้องมีพิธีกรรมอะไรอีกแล้ว... พิธีกรรมอื่นๆใดๆ ...ไม่ต้อง ทำบุญตักบาตรที่บ้านก็ไม่ต้อง ไว้ทุกข์ก็ไม่ต้อง ไม่ต้องทำอะไรเลย มันเป็นเพียงร่างกายสังขารที่ตายจาก...

สิ่งที่สำคัญคือไอ้คนนี้มันเป็นใคร..ทำอะไร..

แต่ว่าไปก็เท่านั้น....ด้วยความจริงมันก็แค่นั้น...ที่ว่ามาว่าสำคัญที่จริงก็ไม่สำคัญเลย..

มันไม่มีอะไร..ทุกสิ่งคือความว่างเปล่าไม่มีอะไรที่คงทน... .ทุกอย่าง..เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไป

 


แม่ยังมีอิทธิพลกับความคิดเหมือนเดิม  ...

แม่เคยบอกไว้ในตอนที่ยังไม่่ป่วยหนักมาก..ว่า..แม่ต้องการอะไร อย่างไร แต่นั่นคือสิ่งที่แม่บอกกับลูกคนเดียว  ด้วยความที่แม่มีลูกหลายคน  เมื่อต้องตัดสินใจทำอะไรๆ จริงๆ ก็ต้องปรึกษากันและทำทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดว่าดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อแม่...ทั้งๆที่ นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่แม่ต้องการ...

ดังนั้นด้วยบทเรียนที่แม่ให้ไว้...การพูดมันไม่มีหลักฐานยืนยัน ..มันต้องเขียนด้วยลายมือ..ประกาศให้รู้โดยทั่วๆ กัน...


นี่คือพินัยกรรมแห่งชีวิต...ที่ต้องการ...แล้วจริงๆ จะเป็นอย่างที่คิดมั้ย....ต้องดูกันต่อไป  เพราะเท่าที่คุยกันประเด็นที่โต้เถียงกันก็คือ...มันคือ ..การุนย์ฆาต...ใช่หรือเปล่า?????

 


บันทึกเพิ่มเติม "ความคิดเห็นในเรื่อง "การุณยฆาต"  ขอยกข้อความมาจากลิงก์นี้

http://www.ipsr.mahidol.ac.th/content/Home/ConferenceII/Article/Article14.htm

การุณยฆาตตามหลักศาสนา : การเชื่อมโยงและการเห็นต่าง
กระบวนทัศน์แนวพุทธ พุทธปรัชญาเน้นการสอนให้มองทุกอย่างทางโลกเป็นความจริง เพราะทุกสิ่งล้วนเป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา เปลี่ยนแปลง ไม่คงทน และไม่มีตัวตนให้ติดยึด ทุกข์ สุข เป็น ของคู่กัน หมุนเวียนกันเข้ามาในชีวิต ชีวิตและความตายเชิงพุทธปรัชญาถือว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ให้เผชิญกับความตายอย่างไม่หวั่นไหวและยอมรับสภาพ คือ การเตรียมตัวตายอย่างมีสตินั่นเอง ภาวะการตายคือ การละสังขาร สิทธิที่จะ "ถูกฆ่าให้ตาย" หรือ "สิทธิที่จะฆ่าตัวตาย" (จะด้วยมีผู้อื่นช่วยเหลือหรือไม่ก็ตาม) เป็นการละเมิดวัฒนธรรมว่าด้วยชีวิตตามกฎแห่งธรรมชาติของคนไทยหรือไม่ เพราะพุทธศาสนาให้ความสำคัญการละสังขาร คือ การตายอย่างสงบ อย่างมีสติ ดังที่ ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเราฝืนความตายในวาระสุดท้ายของชีวิตก็เสมือนว่า เรายอมรับ "ตายดี - ตายเป็น" ให้เป็น "ตายลำบาก - ตายทรมาน - ตายโหง" 11

หมายเลขบันทึก: 234870เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2009 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องกลับมาอ่านบันทึกของตัวเองอีกครั้ง

เพราะกรณีแม่ มีผลกระทบกับใครหลายคน

ญาติผู้ใ หญ่บางท่านจะเล่าให้ฟังว่า

"ได้บอกลูกหลานว่าถ้าป่วยหนักแบบแม่ ก็อย่ารักษาแบบแม่เลย

(ถูกเจาะคอใส่เครื่องช่วยหายใจ ) คือถ้าจะตายขอตายที่บ้าน "

หลายท่าน จะพูดประมาณนี้แหละ ซึ่งด้วยความคิดเห็นตอนนี้

คิดว่า ท่านคงมีความคิดแบบแม่ ที่เคยคุยกับลูกไว้ตอนที่ยังพูดได้

ทำให้ต้องมาศึกษาเรื่อง "การุณยฆาต" ก็พอดีเจอ

เรื่อง "วาระสุดท้ายแห่งชีวิตและสิทธิการตาย" ของ อมรา สุนทรธาดา และหทัยรัตน์ เสียงดัง ตามลิงก์ข้างบน

ความคิดตอนนี้คือ "คำกล่าวของท่านพุทธทาส"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท